Home
Sun Ray & Monsoon
เมื่อทราบว่าอาคารหลังนี้เป็นบ้านของคุณชารีฟ ลอนา Design Director และเจ้าของ Studio Act of Kindness ที่สร้างผลงานเอาไว้มากมายทั้งงาน residence และ commercial ให้กับหลากหลายแบรนด์ อาทิ Sretsis, Greyhound, Panpuri, Comma and ซึ่งทำให้เราไม่แปลกใจกับดีไซน์สุดล้ำของตัวบ้าน หากเมื่อก้าวเข้าสู่ด้านในเราก็ต้องรู้สึกเซอร์ไพรส์กับความโปร่งโล่งและแสงธรรมชาติจากหน้าต่างกระจกที่สูงจรดชั้นบนสุดในทิศด้านหลังของบ้าน แถมยังดารดาษด้วยชิ้นงานศิลปะทั้งขนาดใหญ่เล็กจนดูราวกับเป็นอาร์ตแกลเลอรี่ขนาดย่อมๆ
เมื่อทราบว่าอาคารหลังนี้เป็นบ้านของคุณชารีฟ ลอนา Design Director และเจ้าของ Studio Act of Kindness ที่สร้างผลงานเอาไว้มากมายทั้งงาน residence และ commercial ให้กับหลากหลายแบรนด์ อาทิ Sretsis, Greyhound, Panpuri, Comma and
ซึ่งทำให้เราไม่แปลกใจกับดีไซน์สุดล้ำของตัวบ้าน หากเมื่อก้าวเข้าสู่ด้านในเราก็ต้องรู้สึกเซอร์ไพรส์กับความโปร่งโล่งและแสงธรรมชาติจากหน้าต่างกระจกที่สูงจรดชั้นบนสุดในทิศด้านหลังของบ้าน แถมยังดารดาษด้วยชิ้นงานศิลปะทั้งขนาดใหญ่เล็กจนดูราวกับเป็นอาร์ตแกลเลอรี่ขนาดย่อมๆ
“เบื้องต้นของแรงบันดาลใจคือเราเจอที่ผืนนี้ตอนหน้าฝน เลยอยากทำบ้านที่ให้ฟีลเหมือนฝนตกตลอดเวลา เลยเรียกที่นี่ว่า Monsoon House จริงๆด้วยตัวอาคารอยากจะทำอะไรให้มันสะท้อนความเป็นตัวเรา ผมเป็นคนที่ดูจากภายนอกแล้วค่อนข้างจะดูปิด อาจจะดูบล็อก ปิดตัวเองกับคนอื่น แต่คนที่สนิทจะรู้ว่าภายในจริงๆแล้วผมเป็นคนเปิดเผย เลยออกมาเป็นรูปแบบอาคารที่ข้างนอกปิดทึบ ดูเหมือนป้อมปราการ
“เบื้องต้นของแรงบันดาลใจคือเราเจอที่ผืนนี้ตอนหน้าฝน เลยอยากทำบ้านที่ให้ฟีลเหมือนฝนตกตลอดเวลา เลยเรียกที่นี่ว่า Monsoon House จริงๆด้วยตัวอาคารอยากจะทำอะไรให้มันสะท้อนความเป็นตัวเรา
ผมเป็นคนที่ดูจากภายนอกแล้วค่อนข้างจะดูปิด อาจจะดูบล็อก ปิดตัวเองกับคนอื่น แต่คนที่สนิทจะรู้ว่าภายในจริงๆแล้วผมเป็นคนเปิดเผย เลยออกมาเป็นรูปแบบอาคารที่ข้างนอกปิดทึบ ดูเหมือนป้อมปราการ
แต่ข้างในมีความ expose และ transparent ก็ตั้งใจทำบ้านให้เป็น void สูงๆ ทะลุขึ้นไป3 ชั้น และพยายามจะดึงแสงลงมาให้ครบทุกชั้น ด้านบนก็มีช่องแสง และอยากให้การเคลื่อนไหวในบ้าน สามารถมองเห็นสิ่งแวดล้อมรอบๆ ได้
ตัวบันไดก็ตั้งใจให้เป็นเหมือนงาน sculpture ของบ้าน ซึ่งเป็นทรงที่แขวนอยู่โดยไม่มีเสา ต่างจากบันไดอื่นที่จะมีแผงตรงกลาง”
เมื่อถามถึงเรื่องสไตล์ ชารีฟบอกกับ QoQoon ว่า “จริงๆแล้ว ผมชอบสไตล์ Brutalism ที่สุดแต่ไม่เคยมีโอกาสได้ดีไซน์ให้กับลูกค้า เพราะมันค่อนข้างจะหนักหน่วงเกินไป และผมชอบ sense ของความ Romanticism ซึ่ง contrast กัน ก็เลยเอามาใช้กับบ้านตัวเอง เป็นภาษาของความดิบผสมความเนี้ยบ”
ถึงแม้จะเปิดโล่ง หากแสงที่สาดส่องเข้ามาในตัวบ้านก็ถูกกรองด้วยต้นไม้ภายนอกและเงาของตัวอาคาร ทำให้ได้แสงกำลังดี ไม่จ้าจนเกินไป รวมทั้งอุณหภูมิภายในห้องก็ไม่ร้อน ทำให้แทบไม่ต้องเปิดเครื่องปรับอากาศ ด้านข้างของตัวบ้านเป็นสระน้ำที่ดูสวยเป็นพิเศษจากต้นไม้ซึ่งเอนลู่ลงสู่ผิวน้ำ ที่นั่งสำหรับสังสรรค์
รายรอบด้วยผนังปูนขรุขระเป็นหนามแหลมเล็กที่คุณชารีฟบอกกับเราว่าช่างที่ทำจะต้องใส่ถุงมือแล้วจ้วงปูนทีละหย่อม “โดยส่วนตัวผมชอบสีเทา ก็มานั่งไล่ตัววัสดุว่าสีเทามีวัสดุอะไรบ้าง ไล่เฉดโทนสีเทา ดำ ทำเป็น palette และก็ดูสเกลที่ควรใช้ เลยออกมาเป็นหินขัดบ้าง กระเบื้อง ปูนฉาบเรียบ ไปจนถึงการตกแต่งด้วยหิน คือทุกอย่างโดนคุมโทนด้วยสี
และสีอื่นที่เข้ามาแจมได้บ้างคือสีเขียวเพราะด้านนอกเป็นสวนก็อยากจะดึงเข้ามา
และอยากให้มีหลาย texture ก็เลยใช้หลายเทคนิคผสมผสานกัน”
ชั้นล่างของบ้านเป็นห้องนั่งเล่น ห้องครัว และห้องกินข้าว
ชั้น 2 เป็นห้องนอนบวกห้องทำงานของคุณชารีฟ ห้องนอนของคุณแม่
และชั้น 3 เป็นห้องนอนของสมาชิกคนอื่นๆในครอบครัว และห้องสมุดขนาดใหญ่ใต้หลังคาทรงจั่วที่สว่างสดใส “จากด้านล่างที่มีความ Monsoon ผมอยากให้ชั้นบนสุดเป็นการเปิดรับแสงแดดให้เต็มที่ มู้ดโทนก็เลยเปลี่ยนไป ไล่ระดับขึ้นมา และพวก element ต่างๆ ก็ได้แรงบันดาลใจจากสไตล์เตอร์กิชที่นำมาลดทอน เปลี่ยนแปลงรูปแบบ อยากจะให้เป็นเหมือนห้องสมุดจริงๆ เพราะคนในบ้านทุกคนเป็นสายวิชาการ”
และชั้น 3 เป็นห้องนอนของสมาชิกคนอื่นๆในครอบครัว และห้องสมุดขนาดใหญ่ใต้หลังคาทรงจั่วที่สว่างสดใส “จากด้านล่างที่มีความ Monsoon ผมอยากให้ชั้นบนสุดเป็นการเปิดรับแสงแดดให้เต็มที่ มู้ดโทนก็เลยเปลี่ยนไป ไล่ระดับขึ้นมา
และพวก element ต่างๆ ก็ได้แรงบันดาลใจจากสไตล์เตอร์กิชที่นำมาลดทอน เปลี่ยนแปลงรูปแบบ อยากจะให้เป็นเหมือนห้องสมุดจริงๆ เพราะคนในบ้านทุกคนเป็นสายวิชาการ”
“ส่วนใหญ่แล้วผมได้รับแรงบันดาลใจจาก Fine Art ชอบดูภาพวาด โดยเฉพาะยุคโรแมนติก เลยนำมาถอดความและตีความในมุมแบบเรา กลายเป็นการผสมผสานสไตล์ต่างๆ เข้าด้วยกัน ด้วยความเป็น Brutalism จะมีความหนักด้วย mass หรือเทคนิคที่ใช้ แต่การจัดวางของผมคือพยายามจะมองสเปซทุกอย่างในบ้านเป็นภาพวาด หรือจัด composition ที่แฝงความโรแมนติก ทำให้บ้านมี movement แต่อยู่บนความแข็ง เช่นพอเปิดหน้าต่างลมก็พัดม่านพลิ้วไหวตัดกับความแข็งของผนังคอนกรีต หรือเงาของพรายน้ำจากแสงแดดสะท้อนผิวน้ำ รวมไปถึงการจัดวางชิ้นงาน sculpture ต่างๆ ก็เหมือนกับ object ในภาพวาด ตอนที่ออกแบบผมคิดกลับไปกลับมา ทั้งในฐานะดีไซเนอร์และผู้อยู่อาศัย คือเราอยากได้ statement อยู่แล้ว เพื่อให้มีความเป็นตัวตนของเราจริงๆ และการใช้พื้นที่ในฐานะคนที่อาศัยอยู่จริงๆ เช่นกัน”
“พอเข้ามาอยู่ ก็รู้สึกว่าที่นี่เป็นที่ๆเป็นของเราจริงๆ ตอบโจทย์ที่ตัวเองต้องการและเป็น Safe Zone ของเรา เฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งส่วนมากผมออกแบบเองหรือของที่ซื้อ สะสมมาตลอดหลายปี อย่างเวลาไปต่างประเทศก็ชอบไปเดินดูตลาด ซื้อของเก่าของแอนทีคมา ผมชอบของเก่าที่มีความ worn out บ้างไม่ใช่ใหม่เนี้ยบจนดูเหมือนโชว์รูม”
“ส่วนใหญ่แล้วผมได้รับแรงบันดาลใจจาก Fine Art ชอบดูภาพวาด โดยเฉพาะยุคโรแมนติก เลยนำมาถอดความและตีความในมุมแบบเรา กลายเป็นการผสมผสานสไตล์ต่างๆ เข้าด้วยกัน ด้วยความเป็น Brutalism จะมีความหนักด้วย mass หรือเทคนิคที่ใช้ แต่การจัดวางของผมคือพยายามจะมองสเปซทุกอย่างในบ้านเป็นภาพวาด หรือจัด composition ที่แฝงความโรแมนติก ทำให้บ้านมี movement แต่อยู่บนความแข็ง เช่นพอเปิดหน้าต่างลมก็พัดม่านพลิ้วไหวตัดกับความแข็งของผนังคอนกรีต หรือเงาของพรายน้ำจากแสงแดดสะท้อนผิวน้ำ
รวมไปถึงการจัดวางชิ้นงาน sculpture ต่างๆ ก็เหมือนกับ object ในภาพวาด ตอนที่ออกแบบผมคิดกลับไปกลับมา ทั้งในฐานะดีไซเนอร์และผู้อยู่อาศัย คือเราอยากได้ statement อยู่แล้ว เพื่อให้มีความเป็นตัวตนของเราจริงๆ และการใช้พื้นที่ในฐานะคนที่อาศัยอยู่จริงๆ เช่นกัน”
“พอเข้ามาอยู่ ก็รู้สึกว่าที่นี่เป็นที่ๆเป็นของเราจริงๆ ตอบโจทย์ที่ตัวเองต้องการและเป็น Safe Zone ของเรา เฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งส่วนมากผมออกแบบเองหรือของที่ซื้อ สะสมมาตลอดหลายปี อย่างเวลาไปต่างประเทศก็ชอบไปเดินดูตลาด ซื้อของเก่าของแอนทีคมา ผมชอบของเก่าที่มีความ worn out บ้างไม่ใช่ใหม่เนี้ยบจนดูเหมือนโชว์รูม”
ทุกมุมในตัวบ้านเต็มไปด้วยรายละเอียดที่ถูกคิดมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นช่องชั้นบนผนัง ประตูลูกฟัก หรือหน้าต่างที่ดูราวกับปราสาทยุโรปในยุคกลาง “ผมชอบงานดีเทลเยอะๆ พอได้ทำบ้านตัวเองเลยปล่อยพลังเต็มที่ให้มีความเป็นเรา ไม่ต้องมีใครมาตัดสินว่าอันนี้ถูกใจหรือไม่ถูกใจ โดยปกติผมชอบสีโมโนโทน ซึ่งคนอาจคิดว่ามันคลาสสิก แต่ส่วนตัวผมมองว่ามันคาดเดายาก บางคนอาจชอบใช้สีดำเป็นยูนิฟอร์มแบบเดิมทุกวัน ส่วนผมชอบสีดำที่มี texture มีความลึกลับ แต่ละดำก็ให้อารมณ์ที่ไม่เหมือนกัน แต่ก็มีสีเขียวหยอดเข้ามา ทุกครั้งที่ผมพยายามออกแบบบ้านหรือสิ่งใดก็ตาม ผมจะพยายามออกแบบให้มันล้ำไปอยู่ข้างหน้า เกินเวลาไปนิดหนึ่ง คือมาก่อนกาล ถ้าในอีก 10 ปีข้างหน้า ผมอาจจะไม่ได้เปลี่ยนอะไรกับบ้านหลังนี้เลยนอกจากเติม element เล็กๆ น้อยๆ แต่ผมคิดว่าใครที่มาเห็นบ้าน ณ วันนี้กับในอนาคตนั้น mindset หรือ perception อาจจะแตกต่างกัน แต่ก็ยังคงความรู้สึกว่าบ้านนี้ไม่เก่าไปกับกาลเวลา”
Story: Titima C.
Photos: Manoo Manookulkit, Santawat Chenpradit
Styling: Whisky Markdee