Design

The Future Materials

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา สถาปนิกและนักออกแบบพยายามควานหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ของวัสดุมาใช้ในสถาปัตยกรรมและงานออกแบบของตน โดยคุณสมบัติสำคัญที่สุดที่พวกเขาต้องการจาก “วัสดุใหม่” เหล่านี้ คือความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เหตุผลนั้นไม่ใช่แค่เพราะประเด็นนี้กำลังเป็นที่สนใจของทั่วโลกเท่านั้น แต่ที่ผ่านมา งานออกแบบส่วนใหญ่ โดยเฉพาะสถาปัตยกรรมใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลืองและปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ในกระบวนการผลิต การใช้งาน ไปจนถึงการทำลาย ซึ่งก็แน่นอนว่า บรรดานักออกแบบย่อมอยากที่จะล้างมลทินข้อนี้ให้กับผลงานของพวกเขา

น่าสนใจว่า หลังจากการวิจัยและทดลองต่างๆ นานา “วัสดุใหม่” (alternative materials) หลายประเภทที่พวกเขาค้นพบว่ามีศักยภาพตอบโจทย์การใช้งาน กลับไม่ใช่ของใหม่อะไร แต่ส่วนมากเป็นวัสดุเก่าที่เรารู้จักพบเห็นกันมานานแล้ว แค่เราไม่เคยมองเห็นความเป็นไปได้ที่จะนำพวกมันมาใช้ในสถาปัตยกรรมและงานออกแบบมาก่อน หรือพูดตรงๆ ก็คือ วัสดุเหล่านั้นดูไม่น่าจะเอามาสร้างบ้านให้เราอยู่ได้เลยด้วยซ้ำ 

วัสดุทางเลือกที่ว่ามีอยู่หลากหลาย แต่ครั้งนี้ QoQoon ขอเลือกวัสดุ 3 ชนิด ที่ว่ากันว่าเป็น “วัสดุแห่งอนาคต” (future materials) มาแนะนำกันก่อนก็แล้วกัน

The Future Materials

สาหร่ายทะเล (Seaweed) และสาหร่าย (Algae)

เทรนด์ “เครื่องหนังวีแกน” (Vegan leather) ในวงการแฟชั่นอาจทำให้เรารู้ว่า “สาหร่าย” สามารถนำมาทำเป็นวัสดุสำหรับงานออกแบบได้ แต่ถ้ามองดูประวัติความเป็นมาและสภาพภูมิประเทศในเดนมาร์ก ประเทศที่ธรรมชาติบริสุทธิ์สวยสดและมีสาหร่ายหลายร้อยชนิดอยู่เป็นจำนวนมาก เราก็จะรู้ว่า สาหร่ายถูกใช้ในงานออกแบบและก่อสร้างมานานมากแล้ว

เรื่องนี้ต้องขอพาคุณย้อนเวลากลับไปเมื่อหลายร้อยปีก่อน ที่ Læsø เกาะขนาดใหญ่ทางตอนเหนือของเดนมาร์ก

เกาะ Læsø นี้ เคยเป็นแหล่งผลิตเกลือสำคัญ ต้นไม้ที่อยู่บนเกาะจึงถูกตัดต้นแล้วต้นเล่าเพื่อนำมาใช้ในกระบวนการเผาทำเกลือ จนวันหนึ่งไม้หมดเกาะ ธุรกิจค้าเกลือยกเลิกไป แถมเกาะยังเผชิญกับความรุนแรงของพายุทราย เพราะไม่มีต้นไม้คอยช่วยบรรเทา แต่ถึงจะไม่มีต้นไม้ ชาวเกาะ Læsø ก็ยังมีสิ่งหนึ่งที่เกลื่อนชายหาด นั่นคือ สาหร่าย ชาว Læsø ในสมัยนั้นจึงเริ่มนำสาหร่ายมาใช้เป็นวัสดุคลุมหลังคาอาคารบ้านเรือน เพราะสาหร่ายเป็นพืชที่มีเกลืออยู่มาก ซึ่งเกลือมีคุณสมบัติในการเก็บถนอม จึงทำให้หลังคาที่ทำจากสาหร่ายแข็งแรงคงทนยาวนานหลายร้อยปี แถมยังกันน้ำกันฝน และไม่ติดไฟด้วย แต่หลังคาบ้านที่ทำจากสาหร่ายก็มีข้อเสียตรงที่ รูปร่างหน้าตามันดูประหลาดมาก คือเหมือนกับบ้านมีจอมปลวกขนาดใหญ่เกาะอยู่ แถมยังมีน้ำหนักมาก (ราว 300 กก. ต่อ 1 ตารางฟุต!) ที่สำคัญ มันไม่เหมาะกับสภาพภูมิประเทศที่ชื้น คุณสมบัติข้อนี้ทำให้ช่วงปี 1920s ที่เกิดโรคระบาดเกี่ยวกับเชื้อราไปทั่วเกาะ ชาวเกาะก็เลยลดความนิยมในหลังคาที่ทำจากสาหร่ายลง บวกกับเมื่อมีการปลูกป่าทดแทนมากขึ้น ปัจจุบัน บ้านหลังคาสาหร่ายบนเกาะที่เคยมีมากถึงราว 250 หลัง ก็ลดลงเหลือไม่ถึง 20 หลัง  

Image by Palle Knudsen from Pixabay
Image by Palle Knudsen from Pixabay

เมื่อบ้านหลังคาสาหร่ายแบบดั้งเดิมของเกาะ Læsø ทำท่าว่าจะค่อยๆ เลือนหายไป Realdania Byg องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในเดนมาร์ก ก็มีแนวคิดว่าอยากจะอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีนี้ไว้ ในปี 2015 พวกเขาจึงเชิญสตูดิโอสถาปัตยกรรม Vandkunsten เข้ามาหาหนทางที่จะผสมผสานวัสดุพื้นถิ่นนี้เข้าไว้กับเทคโนโลยีการก่อสร้างของศตวรรษที่ 21 ผลลัพธ์ที่ออกมาคือ The Modern Seaweed House บ้านไม้ตากอากาศดีไซน์ร่วมสมัยบนเกาะ Læsø (ไม่เหมือนจอมปลวกแล้ว) ที่ใช้สาหร่ายตากแห้งมายัดใส่ถุงตาข่ายหลายๆ ถุง แล้วนำไปหุ้มรอบตัวบ้าน รวมทั้งนำสาหร่ายไปติดเข้ากับกรอบไม้ด้านหลังผนังด้านหน้าตัวบ้านและพื้น เพื่อให้สาหร่ายเหล่านั้นทำหน้าที่เป็นฉนวนควบคุมอุณหภูมิภายใน 

Photo from Realdania Byg - realdaniabyogbyg.org | Credit: Helene Høyer Mikkelsen
Photo from Realdania Byg - realdaniabyogbyg.org | Credit: Helene Høyer Mikkelsen

เรื่องราวของสาหร่ายและงานออกแบบ (โดยเฉพาะจากนักออกแบบชาวเดนิช) ยังไม่หมดเพียงแค่นั้น เพราะในปี 2015 เรายังได้รู้จักคอลเล็กชัน Terroir ของ Jonas Edvard และ Nikolaj Steenfatt สองหนุ่มชาวโคเปนเฮเกนในนาม Edvard & Steenfatt ที่สนใจความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในทางวัสดุ พวกเขานำสาหร่ายมาผสมเข้ากับกระดาษ เกิดเป็นวัสดุที่แข็งแรงคงทนเหมาะสำหรับทำเก้าอี้ Terroir chair และโคมไฟ Terroir lamp นอกจากเก้าอี้และโคมไฟดังกล่าวจะมีรูปลักษณ์เหมือนไม้ก๊อก (cork) แล้ว โคมไฟยังมีหลายเฉดสี ตั้งแต่เขียวอ่อนจนถึงน้ำตาลเข้ม ซึ่งเป็นสีธรรมชาติที่ได้จากสาหร่ายนานาชนิด

เรื่องราวของสาหร่ายและงานออกแบบ (โดยเฉพาะจากนักออกแบบชาวเดนิช) ยังไม่หมดเพียงแค่นั้น เพราะในปี 2015 เรายังได้รู้จักคอลเล็กชัน Terroir ของ Jonas Edvard และ Nikolaj Steenfatt สองหนุ่มชาวโคเปนเฮเกนในนาม Edvard & Steenfatt ที่สนใจความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในทางวัสดุ พวกเขานำสาหร่ายมาผสมเข้ากับกระดาษ เกิดเป็นวัสดุที่แข็งแรงคงทนเหมาะสำหรับทำเก้าอี้ Terroir chair

เก้าอี้ Terroir chair - Photo from Edvard & Steenfatt - edvardsteenfatt.dk | Photo by Emil Thomsen Schmidt
เก้าอี้ Terroir chair - Photo from Edvard & Steenfatt - edvardsteenfatt.dk | Photo by Emil Thomsen Schmidt

และโคมไฟ Terroir lamp นอกจากเก้าอี้และโคมไฟดังกล่าวจะมีรูปลักษณ์เหมือนไม้ก๊อก (cork) แล้ว โคมไฟยังมีหลายเฉดสี ตั้งแต่เขียวอ่อนจนถึงน้ำตาลเข้ม ซึ่งเป็นสีธรรมชาติที่ได้จากสาหร่ายนานาชนิด

โคมไฟ Terroir lamp - Photo from Edvard & Steenfatt - edvardsteenfatt.dk | Photo by Emil Thomsen Schmidt
โคมไฟ Terroir lamp - Photo from Edvard & Steenfatt - edvardsteenfatt.dk | Photo by Emil Thomsen Schmidt

ปัจจุบัน สาหร่ายยังคงเป็นพืชที่นักออกแบบหลายคนทั้งในเดนมาร์กและประเทศอื่นๆ สนใจนำมาใช้งาน อย่างเมื่อปีที่ผ่านมา ที่ Chart Art Fair 2022 ในโคเปนเฮเกน เราก็ได้เห็นพาวิลเลียน Biosack ของ Rex Skov Arkitekter ที่เหมือนยกเอาบ้านหลังคาสาหร่ายบนเกาะ Læsø ในอดีต มาตั้งไว้ในงาน เพียงแต่พวกเขาออกแบบให้ร่วมสมัยขึ้นและภายในมีเคาน์เตอร์บาร์ทำจากสาหร่ายอัดเป็นก้อนที่เสิร์ฟหอยนางรม

นอกจากนั้น ที่น่าจับตาอีกอย่างคือ สาหร่ายในงานออกแบบแฟชั่น (นอกจากเครื่องหนังวีแกนและการใช้สาหร่ายมาย้อมสีผ้า) อย่างผลงานของ Jasmine Linington ที่นำเอาสาหร่ายมาใช้ในงานออกแบบแฟชั่นไฮเอนด์ โดยได้ผลลัพธ์เป็นผ้าที่สัมผัสนุ่มเหมือนผ้าไหมและตกแต่งด้วยงานประดับที่คล้ายลูกปัดสีสวยตามธรรมชาติ

เกลือ

ถ้าประเทศที่มีสาหร่ายมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกอย่างเดนมาร์กจะมีบ้านที่ทำจากสาหร่าย ก็คงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่โบลีเวีย ประเทศเจ้าของ “ทะเลเกลือ” (Salt flat) ที่ใหญ่ที่สุดของโลก (ที่อยู่บนพื้นที่เหนือน้ำทะเล) จะมีโรงแรมที่ทำจากเกลือทั้งหลัง

Palicio de Sal เป็นโรงแรมที่ตั้งอยู่ในทะเลเกลือ Salar de Uyuni ทางตะวันตกเฉียงใต้ของโบลีเวีย ซึ่งก็เพราะตั้งอยู่ห่างไกล เป็นเรื่องยากที่จะขนส่งคอนกรีตเข้ามา โรงแรมก็เลยหันมาใช้ทรัพยากรท้องถิ่นที่มีอยู่เต็มไปหมดรอบตัวเสียเลย นั่นก็คือ เกลือ โดยไม่ว่าจะเป็นผนัง เพดาน เฟอร์นิเจอร์ (ตั้งแต่โต๊ะ เก้าอี้ ไปจนถึงโซฟา) ทุกอย่างทำมาจาก salt block ขนาด 35 ซม. จำนวนทั้งหมดหนึ่งล้านชิ้น

เช่นเดียวกับสาหร่าย มนุษย์ริเริ่มใช้เกลือในการก่อสร้างมานานแล้ว โดยมีหลักฐานย้อนไปตั้งแต่ 300 ปีก่อนคริสต์ศักราชว่า อาคารบ้านเรือนและป้อมปราการในเขตเมืองเก่าใกล้กับ Damascus ในซีเรีย และหมู่บ้านเหมืองเกลือ Taghaza ในมาลี สร้างขึ้นจากเกลือดิบ (raw salt) ที่นำมาอัดเป็นบล็อก (salt block) ส่วนในอาณาจักรโรมันก็มีการใช้น้ำทะเลมาผสมกับปูนแทนน้ำธรรมดา ผลลัพธ์ที่ได้คือ วัสดุก่อสร้างที่มีความหนาแน่นมากขึ้น รูพรุนช่องอากาศน้อยลง แต่ยังคงแข็งแรงไม่แพ้คอนกรีตทั่วไป และเผลอๆ จะคงทนกว่าด้วย โดยเฉพาะสำหรับอาคารที่ตั้งอยู่ติดชายทะเล โดยวัสดุเกลือชนิดนี้จัดเป็นวัสดุแบบคอมโพสิต (composite salt) และมีปริมาณโซเดียมคลอไรด์น้อยกว่า raw salt

The salt is sourced locally - Photo from dezeen.com
The salt is sourced locally - Photo from dezeen.com

แต่ไม่ใช่แค่สถาปัตยกรรมในอดีตเท่านั้นที่มีการใช้เกลือในการก่อสร้าง ตรงกันข้าม แนวโน้มปัจจุบันบ่งบอกว่า เราน่าจะได้เห็นสถาปนิกและนักออกแบบหันมาใช้เกลือเป็นวัสดุกันมากขึ้นในอนาคต

“โลกอนาคตจะถูกสร้างขึ้นจากทั้งวัสดุใหม่และเก่า โดยเกลือเป็นหนึ่งในนั้น” นี่เป็นหนึ่งในประโยคแถลงการณ์ของ Henna Burney นักวิจัยและนักออกแบบจาก Atelier Luma ที่กล่าวไว้ใน Dezeen 15 Digital Festival 2021 เธอยังบอกอีกว่า เกลือมีประวัติการใช้งานมายาวนาน เป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อชีวิต และที่สำคัญไม่แพ้กัน เกลือเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มากมาย

จากแนวคิดนี้ Atelier Luma จึงเริ่มต้น The Salt Crystal Project เพื่อหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการนำเกลือมาใช้ในนวัตกรรมงานออกแบบ พวกเขาลงไปวิจัยในพื้นที่รอบๆ เมือง Arles และเขต Carmague ของฝรั่งเศส ที่ที่มีการทำอุตสาหกรรมเกลือมายาวนาน ผลลัพธ์จากโปรเจ็กต์นี้เห็นเป็นรูปธรรมได้จากอาคาร Luma Arles ออกแบบโดย Frank Gehry ที่บริเวณโถงล็อบบี้ใช้วัสดุทำจากเกลือ (salt panel) หุ้มผนังอาคาร โดย salt panel เหล่านี้ ผลิตขึ้นในทะเลเกลือใกล้กับเขตอนุรักษ์ธรรมชาติของแคว้น Carmague 

แต่ไม่ใช่แค่สถาปัตยกรรมในอดีตเท่านั้นที่มีการใช้เกลือในการก่อสร้าง ตรงกันข้าม แนวโน้มปัจจุบันบ่งบอกว่า เราน่าจะได้เห็นสถาปนิกและนักออกแบบหันมาใช้เกลือเป็นวัสดุกันมากขึ้นในอนาคต

“โลกอนาคตจะถูกสร้างขึ้นจากทั้งวัสดุใหม่และเก่า โดยเกลือเป็นหนึ่งในนั้น” นี่เป็นหนึ่งในประโยคแถลงการณ์ของ Henna Burney นักวิจัยและนักออกแบบจาก Atelier Luma ที่กล่าวไว้ใน Dezeen 15 Digital Festival 2021 เธอยังบอกอีกว่า เกลือมีประวัติการใช้งานมายาวนาน เป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อชีวิต และที่สำคัญไม่แพ้กัน เกลือเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มากมาย

จากแนวคิดนี้ Atelier Luma จึงเริ่มต้น The Salt Crystal Project เพื่อหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการนำเกลือมาใช้ในนวัตกรรมงานออกแบบ พวกเขาลงไปวิจัยในพื้นที่รอบๆ เมือง Arles และเขต Carmague ของฝรั่งเศส ที่ที่มีการทำอุตสาหกรรมเกลือมายาวนาน ผลลัพธ์จากโปรเจ็กต์นี้เห็นเป็นรูปธรรมได้จากอาคาร Luma Arles ออกแบบโดย Frank Gehry 

Salt panels - Photo from dezeen.com
Salt panels - Photo from dezeen.com

ที่บริเวณโถงล็อบบี้ใช้วัสดุทำจากเกลือ (salt panel) หุ้มผนังอาคาร โดย salt panel เหล่านี้ ผลิตขึ้นในทะเลเกลือใกล้กับเขตอนุรักษ์ธรรมชาติของแคว้น Carmague 

Salt panels - Photo from dezeen.com
Salt panels - Photo from dezeen.com

นอกจากนั้น ล่าสุด เมื่อต้องสร้าง Le Magasin Électrique สำนักงานของพวกเขาเองใน Luma Arles ทาง Atelier Luma ก็เลือกใช้วัสดุชีวภาพ (biomaterial) หลากหลายมาก โดยสองวัสดุในจำนวนนั้นคือ คริสตัลเกลือ (salt crystal) ที่นำมาใช้เป็นมือจับประตู และ สาหร่ายจากปากแม่น้ำ Rhône ที่ถูกใช้เป็นวัสดุกระเบื้องในห้องน้ำ

นอกจากงานสถาปัตยกรรมและตกแต่งภายใน เกลือยังถูกนำไปใช้ในงานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ด้วย อย่างโปรเจ็กต์ที่ดูดีมากๆ จนได้รับรางวัลชนะเลิศจาก Bolia Design Awards 2019 คือ Marbled Salts ของ Roxane Lahidji ในโปรเจ็กต์นี้ Lahidji นำเอาเกลือทะเล 95% มาผสมกับยางไม้ และเติมผงถ่านหินลงไปเพื่อช่วยขับเฉดสีธรรมชาติให้โดดเด่นขึ้น รวมทั้งยังดูเหมือนหินอ่อนมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งงานออกแบบ coffee table ของ Lahidij ที่ทำจาก Marbled Salts ก็ออกมาสวยหรูแบบไม่ง้อหินอ่อนที่ต้องผ่านกระบวนการผลิตที่ทำร้ายธรรมชาติจริงๆ

นอกจากนั้น ล่าสุด เมื่อต้องสร้าง Le Magasin Électrique สำนักงานของพวกเขาเองใน Luma Arles ทาง Atelier Luma ก็เลือกใช้วัสดุชีวภาพ (biomaterial) หลากหลายมาก โดยสองวัสดุในจำนวนนั้นคือ คริสตัลเกลือ (salt crystal) ที่นำมาใช้เป็นมือจับประตู และ สาหร่ายจากปากแม่น้ำ Rhône ที่ถูกใช้เป็นวัสดุกระเบื้องในห้องน้ำ

นอกจากงานสถาปัตยกรรมและตกแต่งภายใน เกลือยังถูกนำไปใช้ในงานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ด้วย อย่างโปรเจ็กต์ที่ดูดีมากๆ จนได้รับรางวัลชนะเลิศจาก Bolia Design Awards 2019 คือ Marbled Salts ของ Roxane Lahidji ในโปรเจ็กต์นี้ Lahidji นำเอาเกลือทะเล 95% มาผสมกับยางไม้ และเติมผงถ่านหินลงไปเพื่อช่วยขับเฉดสีธรรมชาติให้โดดเด่นขึ้น รวมทั้งยังดูเหมือนหินอ่อนมากขึ้นอีกด้วย

Marbled Salts - Photo from roxanelahidji.com/marbledsalts
Marbled Salts - Photo from roxanelahidji.com/marbledsalts

ซึ่งงานออกแบบ coffee table ของ Lahidij ที่ทำจาก Marbled Salts ก็ออกมาสวยหรูแบบไม่ง้อหินอ่อนที่ต้องผ่านกระบวนการผลิตที่ทำร้ายธรรมชาติจริงๆ

Coffee table - Photo from roxanelahidji.com/coffee-tables, Pictures credits Yen-An Chen
Coffee table - Photo from roxanelahidji.com/coffee-tables, Pictures credits Yen-An Chen

“เกลือเป็นวัสดุที่มีศักยภาพอย่างไม่มีขีดจำกัด แต่มันกลับถูกมองข้ามในขณะที่เรามัวแต่ไปมองหาวัสดุใหม่ๆ จากแหล่งอื่น” เป็นคำกล่าวสรุปที่ดีที่สุดจาก Burney จาก Atelier Luma ศักยภาพของเกลือนอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วและเป็นที่น่าจับตามากว่านักออกแบบจะนำไปใช้งานในอนาคตได้อย่างไรนั้น เช่น ความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) ความสามารถในการสะท้อนและกระจายแสง (reflector/diffuser of light) และคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค (Anti bacterial)

ก้อนฟาง (Straw bale)

ความคิดว่าจะเอา “ฟาง” มาสร้างบ้านไม่น่าจะเข้าท่าสักเท่าไร เพราะถ้าไฟไม่ไหม้บ้านเสียก่อน ก็คงถูกหมาป่าเป่าจนปลิว แต่ถ้าเปลี่ยนจาก “ฟาง” เป็น “ก้อนฟาง” แล้ว เรื่องราวจะเป็นหนังคนละม้วนอย่างที่เราแทบคิดไม่ถึง

ก้อนฟางคือการนำเอาฟางมามัดรวมกันให้แน่น ใส่ลงเฟรม ก่อนจะฉาบด้วยดินหรือปูน หากมีการก่อสร้างและดูแลรักษาที่ถูกต้อง บ้านก้อนฟางสามารถมีอายุได้เป็นร้อยกว่าปี ที่สำคัญ หลายองค์กรได้ทำการศึกษาวิจัยจนได้ข้อสรุปแล้วว่า ก้อนฟางเป็นวัสดุก่อสร้างที่ทนไฟ เพราะก้อนฟางถูกบีบอัดแน่นจนไม่มีพื้นที่ให้ออกซิเจนเข้า (ปัจจัยการเกิดการลุกไหม้ต้องอาศัยความร้อน เชื้อเพลิง และออกซิเจน) และก้อนฟางยังเป็นฟางหลายๆ เส้นมารวมกันจนเป็นมวลที่มากขึ้น (อธิบายง่ายๆ คือให้ลองนึกถึงกระดาษแผ่นเดียวที่ติดไฟได้ง่าย แต่ถ้าเป็นสมุดโทรศัพท์เล่มหนาหนักก็จะติดไฟได้ยากขึ้น)

หนึ่งในองค์กรที่รับรองคุณสมบัติการทนไฟของก้อนฟางคือ The Commonwealth Scientific and Industrial Research ของออสเตรเลีย โดยพวกเขาทำการทดลองวัสดุชนิดนี้อย่างละเอียดก่อนจะประกาศให้เป็นวัสดุปลอดภัยต่อการติดไฟ และสามารถใช้ได้แม้ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อไฟป่า

ยังมีคุณสมบัติอีก 4-5 ข้อ ที่ทำให้ก้อนฟางกำลังเป็นวัสดุที่นักออกแบบหลายคนให้ความสนใจ นั่นคือ มันเป็นวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรที่ถ้าไม่เอาไปทำอะไรก็มักจะถูกเผาทิ้ง ราคาถูก สามารถควบคุมอุณหภูมิกักเก็บความร้อนภายในอาคารได้ดี มีความเป็นกลางทางคาร์บอนหรืออาจดูดซับคาร์บอนได้ด้วย (Carbon negative) และถ้าวันไหนเกิดเบื่อบ้านจากก้อนฟาง รื้อทิ้งออกก็ไม่ก่อให้เกิดขยะที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม เพราะย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ

หลักฐานว่าก้อนฟางสามารถควบคุมอุณหภูมิได้ดีแค่ไหน ขอให้ดูที่ Maya Boutique Hotel โรงแรมแห่งแรกในยุโรปที่สร้างจากก้อนฟาง Maya Boutique Hotel ใช้ก้อนฟางไปทั้งหมด 55 ตัน (พร้อมกับวัสดุอื่นๆ คือ ดิน หินปูน และกระจก) ผลที่ออกมาคือ พวกเขาใช้ฮีทเตอร์น้อยมาก แม้กระทั่งในฤดูหนาวในเขตเทือกเขาสูงของสวิตเซอร์แลนด์ที่อากาศหนาวจัด โรงแรมหรูขนาด 7 ห้อง เจ้าของรางวัลมากมายแห่งนี้ ก็จ่ายค่าไฟไปเพียง 6,000 สวิสฟรังก์ต่อปีเท่านั้น (เขาใช้ระบบโซล่าร์เซลล์และเตาอบไม้ฟืนเสริมด้วย) Lisa และ Louis Papadopoulos เจ้าของ Maya Boutique Hotel ยังบอกอีกว่า สภาพอากาศภายในโรงแรมให้ความรู้สึกที่ดีมากๆ เหมือนกับเราถูกห่อหุ้มไว้ในรังไหม เพราะก้อนฟางช่วยปรับสมดุลระหว่างอุณหภูมิและความชื้น ทำให้พวกเขาไม่ต้องติดแอร์และเครื่องระบายอากาศเลย

The Maya Boutique Hotel & Spa - Photo from facebook.com/mayaboutiquehotel
The Maya Boutique Hotel & Spa - Photo from facebook.com/mayaboutiquehotel

นอกจากโรงแรมบูติคของสองสามีภรรยา Papdopoulos แล้ว องค์กรหลายแห่งก็เริ่มหันมาสนใจก้อนฟางกันมากขึ้น อย่าง อาคารสำนักงานราชการในเมือง Lausanne ก็ใช้ก้อนฟางในการก่อสร้าง เช่นเดียวกับสถาปนิกและนักออกแบบหลายเจ้า ไม่ว่าจะเป็น Nudes, Juri Troy Architects, Campana Brothers และล่าสุด Atelier Kaiser ที่ในปีนี้เองเพิ่งเผยโฉม The Straw Bale House ในเมือง Pfaffenhofen ของเยอรมันไป โดยงานออกแบบของพวกเขาหลังนี้ใช้ฟางที่ได้จากพื้นที่รอบไซต์ก่อสร้างมาอัดในเฟรมไม้จนได้ความหนา 36.5 ซม. จากนั้นฉาบด้วยปูนปลาสเตอร์ดิน ทำให้ได้วัสดุที่ช่วยกักเก็บความร้อน ทั้งในส่วนพื้นอาคาร เพดาน หลังคา และผนัง

นอกจากโรงแรมบูติคของสองสามีภรรยา Papdopoulos แล้ว องค์กรหลายแห่งก็เริ่มหันมาสนใจก้อนฟางกันมากขึ้น อย่าง อาคารสำนักงานราชการในเมือง Lausanne ก็ใช้ก้อนฟางในการก่อสร้าง เช่นเดียวกับสถาปนิกและนักออกแบบหลายเจ้า ไม่ว่าจะเป็น Nudes, Juri Troy Architects, Campana Brothers และล่าสุด Atelier Kaiser ที่ในปีนี้เองเพิ่งเผยโฉม The Straw Bale House ในเมือง Pfaffenhofen ของเยอรมันไป

The Straw Bale House - Photo from dezeen.com
The Straw Bale House - Photo from dezeen.com

โดยงานออกแบบของพวกเขาหลังนี้ใช้ฟางที่ได้จากพื้นที่รอบไซต์ก่อสร้างมาอัดในเฟรมไม้จนได้ความหนา 36.5 ซม. จากนั้นฉาบด้วยปูนปลาสเตอร์ดิน ทำให้ได้วัสดุที่ช่วยกักเก็บความร้อน ทั้งในส่วนพื้นอาคาร เพดาน หลังคา และผนัง 

The Straw Bale House - Photo from dezeen.com
The Straw Bale House - Photo from dezeen.com

อย่างไรก็ดี อาคารที่ใช้ก้อนฟางเป็นวัสดุดูจะเหมาะสำหรับพื้นที่ที่อากาศแห้ง เพราะถ้ามีความชื้นเกิน 25-30% เมื่อไร ฟางอาจชื้นและเกิดการเสียหายได้ง่าย แต่ก็อีกนั่นแหละ Maya Boutique Hotel เองก็ตั้งอยู่ท่ามกลางหิมะขาวโพลน โดยยังไม่มีปัญหาอะไร ซึ่งวิธีป้องกันของพวกเขาก็คือ ฉาบผนังด้านนอกด้วยไลม์มอร์ทาร์ (lime mortar) ที่ช่วยป้องกันไม่ให้น้ำฝนและหิมะผ่านเข้าไปได้ ส่วนผนังด้านในฉาบด้วยดินที่มีคุณสมบัติควบคุมความชื้น  

The Maya Boutique Hotel & Spa - Photo from facebook.com/mayaboutiquehotel
The Maya Boutique Hotel & Spa - Photo from facebook.com/mayaboutiquehotel
Share