Design

From Trash to Treasure

ในบทความ The Future Materials ของ QoQoon เราเคยนำเสนอไปแล้วว่า หลายปีมานี้ นักออกแบบพยายามหาความเป็นไปได้ของวัสดุใหม่ๆ มาใช้ในงานออกแบบ ด้วยเหตุผลหลักคือ วัสดุเดิมที่พวกเขาใช้อยู่ อย่างพลาสติกและเครื่องหนัง มีกระบวนการผลิตที่ทำร้ายสิ่งแวดล้อมอย่างมาก รวมทั้งเมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งานก็ไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติหรือรีไซเคิลได้

หนึ่งวัสดุทางเลือกที่นักออกแบบหลายคนหันไปหา คือ ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างเหลือเฟือ เช่น ก้อนฟาง เกลือ และสาหร่าย ซึ่งนอกจากการใช้วัสดุธรรมชาติดังกล่าวจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตแล้ว สิ่งก่อสร้างและเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากวัสดุเหล่านี้ก็ยังสามารถนำไปทำลายได้โดยการย่อยสลายตามวิธีธรรมชาติอีกด้วย จึงนับว่าเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้เกือบทั้งกระบวนการ

แต่นอกจากวัสดุธรรมชาติที่มีอย่างเหลือเฟือแล้ว ยังมีอีกทางเลือกหนึ่งในการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นที่นิยมไม่แพ้กัน นั่นคือ การนำ “ขยะ” มารีไซเคิลหรืออัพไซเคิลให้กลายเป็นวัสดุสำหรับผลิตเฟอร์นิเจอร์และข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ โดยทางเลือกนี้นับว่ามีข้อดีแตกต่างจากการใช้วัสดุธรรมชาติตรงที่ ถือเป็นการช่วยลดปริมาณขยะ ทั้งขยะจากอุตสาหกรรมอาหารที่มักไปสิ้นสุดที่หลุมฝังกลบ (landfill) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักหนึ่งของการเกิดก๊าซเรือนกระจก และขยะพลาสติกที่นับวันจะยิ่งล้นโลกและก่อให้เกิดการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกลงในธรรมชาติ

ปัจจุบัน แบรนด์สินค้าออกแบบหลายต่อหลายแบรนด์ ทั้งแบรนด์เล็กแบรนด์ใหญ่ ทั้งไทยและเทศ หันมาเลือกใช้ “ขยะ” เหล่านี้เป็นวัสดุในงานออกแบบของพวกเขา ซึ่งเมื่อผสมผสานกับฝีมือการออกแบบ เทคโนโลยี และมาตรฐานการผลิตชั้นเยี่ยม เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจาก “ขยะ” ก็กลับกลายเป็นงานออกแบบชิ้นสวยไม่แพ้วัสดุเดิมๆ ที่เราคุ้นเคยกัน

STACKED STOOL by SONITE - Photo from sonitesurfaces.com
STACKED STOOL by SONITE - Photo from sonitesurfaces.com

แต่นอกจากวัสดุธรรมชาติที่มีอย่างเหลือเฟือแล้ว ยังมีอีกทางเลือกหนึ่งในการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นที่นิยมไม่แพ้กัน นั่นคือ การนำ “ขยะ” มารีไซเคิลหรืออัพไซเคิลให้กลายเป็นวัสดุสำหรับผลิตเฟอร์นิเจอร์และข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ โดยทางเลือกนี้นับว่ามีข้อดีแตกต่างจากการใช้วัสดุธรรมชาติตรงที่ ถือเป็นการช่วยลดปริมาณขยะ ทั้งขยะจากอุตสาหกรรมอาหารที่มักไปสิ้นสุดที่หลุมฝังกลบ (landfill) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักหนึ่งของการเกิดก๊าซเรือนกระจก และขยะพลาสติกที่นับวันจะยิ่งล้นโลกและก่อให้เกิดการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกลงในธรรมชาติ

ปัจจุบัน แบรนด์สินค้าออกแบบหลายต่อหลายแบรนด์ ทั้งแบรนด์เล็กแบรนด์ใหญ่ ทั้งไทยและเทศ หันมาเลือกใช้ “ขยะ” เหล่านี้เป็นวัสดุในงานออกแบบของพวกเขา ซึ่งเมื่อผสมผสานกับฝีมือการออกแบบ เทคโนโลยี และมาตรฐานการผลิตชั้นเยี่ยม เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจาก “ขยะ” ก็กลับกลายเป็นงานออกแบบชิ้นสวยไม่แพ้วัสดุเดิมๆ ที่เราคุ้นเคยกัน

Photo from wishulada-art.com
Photo from wishulada-art.com

เฟอร์นิเจอร์จากขยะอาหารของนักออกแบบรุ่นใหม่ และเก้าอี้ Eames ของ Vitra เวอร์ชันทำจากพลาสติกรีไซเคิล

ปัจจุบัน ขยะอาหารหลายประเภท เช่น ใบสับปะรด เปลือกส้ม เปลือกหอย กากกาแฟ แกนกลางและเปลือกแอปเปิ้ล เปลือกไข่ ฯลฯ ถูกนำมาผลิตเป็นวัสดุทางเลือกที่ใช้ในงานออกแบบเฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้าน วัสดุทางเลือกบางประเภทมีรูปลักษณ์ไม่ต่างจากเครื่องหนัง แต่เพราะทำจากขยะอาหารที่ส่วนมากเป็นพืช จึงถูกเรียกว่า เครื่องหนังจากพืช หรือ เครื่องหนังวีแกน (vegan leather) โดยนอกจากวัสดุทางเลือกเหล่านี้จะช่วยลดปริมาณขยะอาหาร (food waste) แล้ว ก็ยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้มากกว่าเครื่องหนังจากสัตว์ที่มีกระบวนการผลิตที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเป็นจำนวนมาก และในขั้นตอนการฟอกหนังก็ยังใช้สารเคมีอันตรายที่สุ่มเสี่ยงต่อการปนเปื้อนลงแหล่งน้ำตามธรรมชาติอีกด้วย

หลายปีที่ผ่านมา เราจะเห็นว่านักออกแบบรุ่นใหม่หลายรายให้ความสนใจกับวัสดุทางเลือกที่ทำจากขยะอาหารเหล่านี้มาก และเฟอร์นิเจอร์ของพวกเขาที่ผลิตโดยวัสดุเหล่านี้ก็ทำออกมาได้อย่างน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น Carolina Härdh และ Emeli Höcks จากสวีเดนที่ทดลองนำเปลือกหอยนางรมมาพัฒนาเป็นวัสดุสำหรับม้านั่งยาวสีขาวที่มี texture สวย นั่นคือ  Besitt (2020) และ Mari Koppanen นักออกแบบจากฟินแลนด์ที่นำเอาพวกเห็ดรา (fungi) และสารคล้ายฟองน้ำที่ทำจากเชื้อรา (amadou) มาใช้เป็นวัสดุส่วนหนึ่งสำหรับม้านั่งยาว FOMES (2021) และโคมไฟ TRAPETSI (2024) โดยผลงานทั้งสองชิ้นมีรูปทรงกลมมนน่ารักน่าชังคล้ายเห็ด

Besitt (2020) by Carolina Härdh and Emeli Höcks - Photo from instagram.com/carolinahardh/
Besitt (2020) by Carolina Härdh and Emeli Höcks - Photo from instagram.com/carolinahardh/
และ Mari Koppanen นักออกแบบจากฟินแลนด์ที่นำเอาพวกเห็ดรา (fungi) และสารคล้ายฟองน้ำที่ทำจากเชื้อรา (amadou) มาใช้เป็นวัสดุส่วนหนึ่งสำหรับม้านั่งยาว FOMES (2021) และโคมไฟ TRAPETSI (2024) โดยผลงานทั้งสองชิ้นมีรูปทรงกลมมนน่ารักน่าชังคล้ายเห็ด
FOMES (2021) by Mari Koppanen - Photo from marikoppanen.com
FOMES (2021) by Mari Koppanen - Photo from marikoppanen.com

หรือถ้าจะย้อนเวลาไปไกลกว่านั้นอีกและหันไปดูที่นักออกแบบรุ่นใหญ่ขึ้นมาสักหน่อย เมื่อปี 2019 Philippe Starck ก็เลือกใช้วัสดุแทนเครื่องหนัง ชื่อว่า Apple Ten Lork มาใช้เป็นวัสดุหุ้มสำหรับเฟอร์นิเจอร์ของ Cassina ที่เขาออกแบบให้ทั้งคอลเล็กชัน โดย Apple Ten Lork นั้น ทำมาจากแกนกลางและเปลือกแอปเปิ้ลที่เหลือจากอุตสาหกรรมการผลิตน้ำแอปเปิ้ล ผลงานการพัฒนาของบริษัทจากอิตาลี Frumat  

Cassina Croque La Pomme - Photo from starck.com
Cassina Croque La Pomme - Photo from starck.com

นอกจากขยะอาหารแล้ว หลายแบรนด์ก็หันมาให้ความสนใจกับวัสดุที่ทำมาจากขยะพลาสติกรีไซเคิล ไม่เว้นแม้แต่แบรนด์ผู้ผลิตรายใหญ่อย่าง Vitra ที่เริ่มเปลี่ยนจากการใช้พลาสติกที่ผลิตขึ้นใหม่ (virgin plastic) ในเฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้านของพวกเขา มาเป็นการใช้พลาสติกรีไซเคิลตั้งแต่ปี 2020 โดยพวกเขาเริ่มต้นเส้นทางสายกรีนนี้จาก เก้าอี้ Tip Ton Chair โดย Edward Barber & Jau Osgerby เป็นอันดับแรก ตามมาด้วย HAL Chai โดย Jasper Morrison และของแต่งบ้านอีกหลายชิ้น แต่เฟอร์นิเจอร์ที่น่าจะฮือฮาที่สุดก็คือ The Lounge Chair by Charles and Ray Eames  

Tip Ton Chair by Edward Barber & Jau Osgerby - Photo from vitra.com
Tip Ton Chair by Edward Barber & Jau Osgerby - Photo from vitra.com
HAL Chai by Jasper Morrison - Photo from vitra.com
HAL Chai by Jasper Morrison - Photo from vitra.com
The Lounge Chair by Charles and Ray Eames - Photo from vitra.com

ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา เก้าอี้ระดับไอคอนชิ้นนี้ที่ผลิตโดย Vitra จะใช้วัสดุหุ้มภายนอกที่ทำขึ้นเป็นพิเศษจากพลาสติกรีไซเคิล โดยพลาสติกรีไซเคิลดังกล่าวนำมาจากขยะพลาสติกครัวเรือนที่ทางโครงการ Gelber Sack ในเยอรมนีเป็นคนจัดเก็บและรวบรวม Vitra ย้ำว่าพลาสติกรีไซเคิลที่ใช้เป็นพลาสติกรีไซเคิล 100% ที่ไม่มีพลาสติกที่ผลิตขึ้นใหม่ปะปนเลย และเมื่อเฟอร์นิเจอร์หมดอายุการใช้งานก็สามารถนำวัสดุหุ้มไปรีไซเคิลต่อได้อีก เพราะพลาสติกเหล่านี้ใช้สารเติมแต่งที่ทำให้สามารถรีไซเคิลได้

การเลือกเอาเฟอร์นิเจอร์ชิ้นสำคัญๆ ของแบรนด์มาเปลี่ยนเป็นวัสดุที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิลของ Vitra นั้นมีเหตุผลที่น่าสนใจรองรับ โดย Nora Fehlbaum ที่นั่งแท่น CEO ของ Vitra บอกว่า พวกเขาเชื่อว่าการโฟกัสกับเฟอร์นิเจอร์ที่ขายดีอยู่แล้วสามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีกว่าและกว้างกว่าการไปเลือกปั้นโปรดักต์ชิ้นใหม่ แต่แน่นอนว่าแบรนด์ก็ต้องยอมรับความเสี่ยงด้วย เพราะลูกค้าบางรายอาจไม่ชอบวัสดุหุ้มทำจากพลาสติกรีไซเคิลที่พื้นผิวจะเห็นเป็น texture จุดๆ ไม่เรียบเนียนเหมือนพลาสติกที่ผลิตขึ้นใหม่ แต่พวกเขาก็หวังว่าลูกค้าจะเข้าใจความสำคัญของเรื่องสิ่งแวดล้อม และอาจมองว่า texture ดังกล่าวเป็นสุนทรียะแบบใหม่ก็เป็นได้

จาก OSISU แบรนด์ผู้บุกเบิกเรื่อง “กรีน” ​สู่แบรนด์น้องใหม่ที่น่าจับตา

สำหรับแวดวงงานออกแบบในบ้านเรานั้น แม้ว่าแนวทางเรื่องรักษ์โลกจะยังไม่กว้างขวางเท่าในต่างประเทศ แต่เราก็มีแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ที่บุกเบิกเรื่องกรีนมาตั้งแต่สมัยที่เรื่องสิ่งแวดล้อมยังไม่เป็นที่ตระหนักแพร่หลายอย่างทุกวันนี้เสียอีก นั่นคือ OSISU ที่เริ่มนำเอาขยะเหลือใช้ อย่าง เศษเหล็กจากโรงงานอุตสาหกรรม และขยะอาหาร เช่น กากกาแฟ เปลือกไข่ เศษข้าวบาร์เลย์ มาอัพไซเคิลเป็นวัสดุใหม่สำหรับงานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ โดยพวกเขาเริ่มทำงานในแนวทางนี้มาตั้งแต่ปี 2006

Emarble "EGG" from Osisu - Photo from facebook.com/Osisu
Emarble "EGG" from Osisu - Photo from facebook.com/Osisu

นอกจากนั้น หนึ่งในผู้ก่อตั้งของ OSISU คือ รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต ยังมีบทบาทสำคัญอยู่ที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม (SCRAP LAB) และศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) ซึ่งช่วยผลักดันให้นักออกแบบและแบรนด์รุ่นน้องได้เข้ามาทำงานขยะเหลือใช้ นำไปอัพไซเคิลเป็นวัสดุสำหรับงานออกแบบ

SONITE Innovative Surfaces เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ว่านั้น โดย SONITE แตกไลน์ธุรกิจมาจากบริษัทที่ทำเกี่ยวกับอุตสาหกรรมสิ่งทอ ผลิตสินค้าสำหรับงานเย็บปักถักร้อย เช่น ด้าย กระดุม ซิป ฯลฯ และเมื่อพวกเขาได้รับคำแนะนำจากอาจารย์สิงห์เกี่ยวกับการนำเอาขยะเหลือใช้ที่รีไซเคิลไม่ได้ ย่อยสลายเองก็ไม่ได้ อย่าง กระดุมพลาสติก ไปอัพไซเคิลเป็นหินสังเคราะห์สำหรับใช้ในงานออกแบบก่อสร้าง ความสนใจเกี่ยวกับวัสดุอัพไซเคิลก็เริ่มต้นขึ้น

ปัจจุบัน SONITE สร้างสรรค์งานออกแบบเฟอร์นิเจอร์และข้าวของเครื่องใช้หลายชิ้นที่ถึงจะทำจากวัสดุเหลือใช้ แต่ก็สามารถยืนอยู่ในตลาดระดับไฮเเอนด์ได้ไม่ยาก โดยขยะเหลือใช้ที่พวกเขานำมาใช้ เช่น แกลบ (Husk) ที่อัพไซเคิลออกมาเป็นวัสดุที่ทนทาน ใช้งานได้ยาวนาน แถมยังมีสีและลวดลายแบบธรรมชาติที่สวยงาม อย่างที่เราเห็นกันได้ในชิ้นงานที่เป็นโต๊ะข้าง Baobab Side Table I Husk และเครื่องใช้ในครัว Bento Box/Bowl/Plate โดยการนำเอาแกลบมาใช้เป็นวัสดุนั้น นอกจากจะเป็นการประหยัดทรัพยากร ลดคาร์บอนฟุตพรินต์ในกระบวนการผลิตแล้ว ก็ยังเป็นการช่วยลดมลพิษทางอากาศได้ไปในตัว เพราะปกติแล้ว แกลบที่เหลือเป็นจำนวนมากจากกระบวนการสีข้าว มักถูกนำไปกำจัดด้วยการเผา
 
นอกจากแกลบแล้ว วัสดุที่ SONITE นำมาอัพไซเคิลก็ยังมี เส้นใยมะพร้าว พลาสติก และธนบัตรเก่าชำรุด (ที่นำไปทำลายได้ยาก) ซึ่งไม่ใช่แค่วัสดุเหล่านี้จะกลายมาเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่มี texture ที่สวยงามเท่านั้น แต่สีที่พวกเขาเลือกใช้ก็ยังละมุนละไม ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติและแสดงให้เห็นถึงที่มาที่ไปของวัสดุได้อย่างดี
Plates, Trays and Cups by SONITE - Photo from sonitesurfaces.com
Plates, Trays and Cups by SONITE - Photo from sonitesurfaces.com

ปัจจุบัน SONITE สร้างสรรค์งานออกแบบเฟอร์นิเจอร์และข้าวของเครื่องใช้หลายชิ้นที่ถึงจะทำจากวัสดุเหลือใช้ แต่ก็สามารถยืนอยู่ในตลาดระดับไฮเเอนด์ได้ไม่ยาก โดยขยะเหลือใช้ที่พวกเขานำมาใช้ เช่น แกลบ (Husk) ที่อัพไซเคิลออกมาเป็นวัสดุที่ทนทาน ใช้งานได้ยาวนาน แถมยังมีสีและลวดลายแบบธรรมชาติที่สวยงาม อย่างที่เราเห็นกันได้ในชิ้นงานที่เป็นโต๊ะข้าง Baobab Side Table I Husk และเครื่องใช้ในครัว Bento Box/Bowl/Plate โดยการนำเอาแกลบมาใช้เป็นวัสดุนั้น นอกจากจะเป็นการประหยัดทรัพยากร ลดคาร์บอนฟุตพรินต์ในกระบวนการผลิตแล้ว ก็ยังเป็นการช่วยลดมลพิษทางอากาศได้ไปในตัว เพราะปกติแล้ว แกลบที่เหลือเป็นจำนวนมากจากกระบวนการสีข้าว มักถูกนำไปกำจัดด้วยการเผา

นอกจากแกลบแล้ว วัสดุที่ SONITE นำมาอัพไซเคิลก็ยังมี เส้นใยมะพร้าว พลาสติก และธนบัตรเก่าชำรุด (ที่นำไปทำลายได้ยาก) ซึ่งไม่ใช่แค่วัสดุเหล่านี้จะกลายมาเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่มี texture ที่สวยงามเท่านั้น แต่สีที่พวกเขาเลือกใช้ก็ยังละมุนละไม ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติและแสดงให้เห็นถึงที่มาที่ไปของวัสดุได้อย่างดี 

Baobab Side Table | Husk by Sonite - Photo from sonitedecor.com
Baobab Side Table | Husk by Sonite - Photo from sonitedecor.com

WISHULADA ศิลปะจากขยะสร้างความตระหนักรู้

Secret in the backyard by Wishulada - Photo from wishulada-art.com
Secret in the backyard by Wishulada - Photo from wishulada-art.com

ถ้าพูดถึงเรื่องการนำเอาขยะมาสร้างสรรค์เป็นงานศิลปะและออกแบบ WISHULADA น่าจะเป็นอีกชื่อหนึ่งที่หลายคนนึกถึง เพราะหลายปีที่ผ่านมานี้ วิชชุลดา ปัณฑรานุวงศ์ ทำงานจากขยะและข้าวของเหลือใช้มาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น ขยะพลาสติก กระป๋องน้ำอัดลม ฝาจีบ ตุ๊กตาเก่า เสื้อผ้าเก่า ฯลฯ โดยผลงานของเธอนั้น แม้จะไม่ใช่เฟอร์นิเจอร์หรือของแต่งบ้านเหมือนแบรนด์อื่นๆ ที่เรากล่าวไปข้างต้น แต่โปรเจ็กต์หลายชิ้นที่เป็น window display หรือศิลปะสำหรับตกแต่งในร้านค้า ห้างสรรพสินค้า หรือสถานที่ต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่เรามองว่าน่าสนใจมากในการช่วยลดการใช้วัสดุใหม่และนำเอาขยะเหลือใช้กลับมาต่ออายุอีกครั้งเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะว่าปกติแล้ว งานออกแบบจำพวก window display มักมีอายุการใช้งานไม่มาก ดังนั้นการทำงานระหว่าง WISHULADA และแบรนด์ต่างๆ เช่น Kiehl’s, SCG, Club21 และห้าง ICON SIAM ที่เธอเป็นคนทำต้นคริสต์มาสปี 2023 จากขยะ ของเล่น และตุ๊กตาเก่าเหลือใช้ จึงน่าจะพอนับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของแนวทางการออกแบบดิสเพลย์ในบ้านเราที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น 

Secret in the backyard by Wishulada - Photo from wishulada-art.com
Secret in the backyard by Wishulada - Photo from wishulada-art.com

นอกจากนั้น ผลงานแต่ละชิ้นของ WISHULADA ยังใช้ขยะเป็นจำนวนมาก และสไตล์ผลงานที่ออกมาก็แสดงให้เห็นชัดเจนว่าประกอบไปด้วยขยะชิ้นเล็กชิ้นน้อยมากมายมหาศาล หลากชนิด และหลากสีสันแค่ไหน เช่น ‘A-waiting Materials’ (2020) ที่เธอนำเอาขยะหลากสีสันมาตกแต่งทั่วทั้งห้องพักของโรงแรม The Peninsula Bangkok และ ‘Overflow’ ที่โถงบันไดทั้งสามชั้นของมิวเซียมสยามถูกถมเต็มไปด้วยกองเสื้อผ้าเก่าที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้แล้ว และมักต้องไปจบชีวิตที่หลุมฝังกลบ

‘A-waiting Materials’ (2020) by Wishulada - Photo from wishulada-art.com
‘A-waiting Materials’ (2020) by Wishulada - Photo from wishulada-art.com

นอกจากนั้น ผลงานแต่ละชิ้นของ WISHULADA ยังใช้ขยะเป็นจำนวนมาก และสไตล์ผลงานที่ออกมาก็แสดงให้เห็นชัดเจนว่าประกอบไปด้วยขยะชิ้นเล็กชิ้นน้อยมากมายมหาศาล หลากชนิด และหลากสีสันแค่ไหน เช่น ‘A-waiting Materials’ (2020) ที่เธอนำเอาขยะหลากสีสันมาตกแต่งทั่วทั้งห้องพักของโรงแรม The Peninsula Bangkok และ ‘Overflow’ ที่โถงบันไดทั้งสามชั้นของมิวเซียมสยามถูกถมเต็มไปด้วยกองเสื้อผ้าเก่าที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้แล้ว และมักต้องไปจบชีวิตที่หลุมฝังกลบ 

Overflow - ท่วม/(ไหล)หลาก by Wishulada - Photo from wishulada-art.com
Overflow - ท่วม/(ไหล)หลาก by Wishulada - Photo from wishulada-art.com

จากสไตล์ผลงานนี้เอง เราจึงคิดว่านอกจากผลงานของ WISHULADA จะใช้ประโยชน์ในงานออกแบบตกแต่งแล้ว ในเวลาเดียวกัน ผลงานเหล่านี้ก็น่าจะเป็นหลักฐานชั้นดีที่ทำให้เราเห็นว่า จริงๆ แล้ว โลกของเรากำลังเต็มไปด้วยขยะมากมายแค่ไหน และน่าจะถึงเวลาสักทีแล้วที่พวกเราต้องลุกขึ้นมาทำอะไรกันสักอย่างเพื่อไม่ให้ขยะล้นโลกไปมากกว่านี้  

Share

In recent years, designers have been exploring the possibilities of new materials for their designs. The main reason is that the traditional materials they’ve been using, such as plastics and leather, have highly damaging production processes for the environment. Additionally, at the end of their lifespan, they cannot be naturally decomposed or recycled. One alternative material that many designers are turning to is abundant natural resources. However, in addition to abundant natural materials, there is another equally popular option for helping to protect the environment: recycling or upcycling ‘waste’ into materials for producing furniture and various household items.

Nowadays, many designers and brands have turned to using this “waste” as a material in their designs. When combined with skilled design, technology, and excellent manufacturing standards, products from “waste” has become beautiful designs that are no less impressive than the traditional materials we are familiar with.

Upcycle & Recycle

Food waste, such as pineapple leaves, orange peels, and eggshells, is being repurposed as materials for furniture and home decor. Swedish designers Carolina Härdh and Emeli Höcks created the Besitt bench (2020), featuring a unique white textured surface made from oyster shells. Finnish designer Mari Koppanen also explored innovative materials, using fungi and amadou to create the FOMES bench (2021) and TRAPETSI lamp (2024). Back in 2019, Philippe Starck’s Cassina collection featured an innovative approach to upholstery. By using Apple Ten Lork, a leather alternative made from apple cores and peels developed by Italian company Frumat, Starck showcased his commitment to both design and sustainability.

Besides food waste upcycle materials, the furniture industry is seeing a growing trend toward recycled plastic materials. Vitra, a leading furniture manufacturer, has been a pioneer in this movement, replacing virgin plastic with recycled plastic in their products since 2020. This shift began with the iconic Tip Ton Chair, followed by the HAL Chair and other pieces. Even the classic Lounge Chair by Charles and Ray Eames has been reimagined with recycled materials.

Sustainable Movement In Thailand

While the green design movement in Thailand may not be as widespread as in other countries, OSISU has been a pioneer in sustainable furniture design since 2006. The brand has been upcycling industrial waste, such as scrap metal, and food waste like coffee grounds, eggshells, and barley waste, into innovative furniture materials. Another brand is SONITE, a spin-off from a textile SONITE Innovative Surfaces. SONITE has expanded into furniture and homeware design, utilizing waste materials such as rice husks, coconut fibers, plastics, and even shredded banknotes.

When it comes to transforming waste into art and design, WISHULADA is a name that often comes to mind. For years, Wischulada Pandaranuwong has been creating art from a variety of discarded materials, including plastic waste, soda cans, bottle caps, old toys, and clothing. We find her window display projects and art installations for retail stores, department stores, and various venues particularly fascinating. Her collaborations with brands such as Kiehl’s, SCG, Club21, and her creation of the 2023 Christmas tree at ICON SIAM using recycled toys and dolls mark a significant step towards more environmentally friendly display design in Thailand. WISHULADA’s immersive installations, like ‘A-waiting Materials’ at The Peninsula Bangkok (2020) and ‘Overflow’ at the Siam Museum, have transformed these spaces into vibrant and thought-provoking environments. These works serve as powerful evidence of the overwhelming amount of waste on our planet, underscoring the urgent need for action.