Art & Lifestyle
The Right Combination At Slowcombo
ในใจกลางเมืองที่เรียกได้ว่าเป็นโซน CBD ของกรุงเทพฯ สามย่านคือชุมชนที่ผสมผสานความเก่าและใหม่เข้าด้วยกัน ทั้งความเป็นแหล่งสถานศึกษา ย่านการค้าแบบดั้งเดิม ไปจนถึงศูนย์การค้าสมัยใหม่ และในมุมหนึ่งของชุมชนแห่งนี้ เป็นที่ตั้งของ Slowcombo คอมมิวนิตี้สเปซที่มีคอนเซ็ปต์แตกต่างไปจากบริบทรอบด้านโดยสิ้นเชิง คือความเป็น mindfulness playground สถานที่แห่งนี้เชิญชวนให้คนเมืองหันมาใช้ชีวิตให้ช้าลง หากให้ความสำคัญกับความยั่งยืนมากขึ้น
Slowcombo แห่งนี้เกิดขึ้นโดยฝีมือของคุณ โต๋ นุติ์ นิ่มสมบุญ ผู้ก่อตั้งและดีไซน์ไดเร็กเตอร์แห่ง Slowmotion ที่สายงานดีไซน์ต้องรู้จักกันดี และคุณอิ๊บ คล้ายเดือน สุขะหุต Co-Founder แห่งแบรนด์ Sretsis แบรนด์แฟชั่นไทยที่มีชื่อเสียงไกลระดับประเทศ
“แรกเริ่มเลยคือออฟฟิศของ Slowmotion ย้ายมาอยู่แถวนี้แล้วเราก็มาเจอพื้นที่ตรงนี้ เป็นพื้นที่ 3,000 ตารางเมตร 3 ชั้น เราก็คิดว่าสเปซแห่งนี้น่าจะเหมาะกับอะไร แล้วเราก็รู้สึกว่าเราอยากทำคอมมิวนิตี้สเปซที่ connect กับคนรุ่นใหม่หรือว่าคนที่ใส่ใจกับเรื่อง wellbeing แต่จะต้องทำออกมาในรูปแบบที่รู้สึกว่าสนุกและคนสามารถเข้าถึงได้” คุณอิ๊บ เล่าถึงที่มาที่ไปของโครงการแห่งนี้
เมื่อเดินเข้ามาในตัวอาคาร สิ่งแรกที่มากระทบความรู้สึกคือสไตล์ความดิบแบบล็อฟต์ (Loft) ด้วยปูนเปลือย ซึ่งตัดกันอย่างสุดขีดกับสีส้มจัดจ้านของเหล่าเก้าอี้ที่วางไว้ในพื้นที่ส่วนกลาง
เมื่อเดินเข้ามาในตัวอาคาร สิ่งแรกที่มากระทบความรู้สึกคือสไตล์ความดิบแบบล็อฟต์ (Loft) ด้วยปูนเปลือย ซึ่งตัดกันอย่างสุดขีดกับสีส้มจัดจ้านของเหล่าเก้าอี้ที่วางไว้ในพื้นที่ส่วนกลาง
“ตึกนี้เคยเป็นตึกเก่าของคณะสถาปัตยกรรมศาตร์ จุฬาฯ ภาคอินเตอร์มาก่อน มันมีความเป็นตึกในยุค 2000 ที่มีกระจกค่อนข้างเยอะและเพดานเตี้ย เราก็ปรับบางส่วนออกไปแต่ยังอยากเก็บเอาโครงสร้างตึกเดิมเอาไว้ซึ่งก็ถือเป็นความ sustainable ในแง่ของการ renovation เราก็เริ่มศึกษาแล้วหาวิธีการรีโนเวท ก็ได้อาจารย์ภาคสถาปัตย์ที่มาช่วยดูแลโปรเจ็กต์ด้วย ใช้เวลาอยู่พอสมควรเพราะเราต้องการรื้อพื้นออกไปให้เกิดเป็นที่โล่งให้ชั้น 1 และ 2 เชื่อมกัน รื้อเพดานให้โปร่งขึ้น ให้คนที่เข้ามาแล้วรู้สึกสบาย โดยที่เรายังเก็บคานไว้
ทางสถาปนิกมาปรึกษาว่าอยากให้เก็บเอาไว้เพราะในยุคปัจจุบันคานแบบนี้จะถูกดีไซน์ปิดไว้ทั้งหมด แต่เขารู้สึกว่าการที่เราเก็บสิ่งนี้ซึ่งเป็นเหมือนโครงหลักของตัวตึกจริงๆ เอาไว้มันก็มีความเท่ และเราก็รู้สึกว่าด้วยความเป็น Slowcombo เราต้องการให้คนกลับสู่ภายใน กลับสู่ความรู้สึกของเราจริงๆ ก็เหมือนตึกนี้ที่สถาปนิกอยากให้เก็บความงามดั้งเดิมเอาไว้ และก็ให้กลิ่นอายของ brutalist ด้วย
ส่วนเฟอร์นิเจอร์ออกแบบโดยคุณชารีฟ ลอนา (ที่ QoQoon เคยไปเยี่ยมบ้านมาแล้ว) ซึ่งก็มีเรื่องราวคือดูจากก่อนที่เราจะมาอยู่ที่นี่ ในย่านนี้เป็นตลาดขายผลไม้ มีเชียงกง ซ่อมรถ ก็เลยเอาลังผักผลไม้มาหุ้มเบาะด้านบน ใส่สีนีออน ที่ให้อารมณ์สนุกแล้วก็มีความกล้าในความคิดสร้างสรรค์ก็เหมือนกับคอนเซ็ปต์ mindfulness playground ของที่นี่”
ทั้ง 3 ชั้นของที่นี่ มีหลายร้านรวงที่มีคอนเซ็ปต์แตกต่างกันออกไปแต่ยังคงสอดคล้องในเรื่องเดียวกัน “ความ wellbeing ก็หนีไม่พ้นกับพื้นฐานของชีวิตมนุษย์ คือเรื่องกินและเรื่องสุขภาพ ทั้งกายและจิตใจ เราก็แบ่งพื้นที่ตามนี้เลย คือชั้น 1 ให้เป็นเรื่องของอาหารการกิน เช่น มีร้านพิซซ่าที่ใช้ sour dough มี topping หน้าผักต่างๆ เป็นพิซซ่าเวอร์ชั่นที่ดีต่อสุขภาพ ชั้น 2 เป็นเรื่องของกายและใจ เช่น สตูดิโอพิลาทิส ร้านดอกไม้ Malibarn ที่เน้นดอกไม้พื้นถิ่น ร้าน regrow ที่ขายของใช้ที่มีความรักษ์โลกแต่ดีไซน์สวย ส่วนชั้น 3 อยากให้เป็น active space ที่สามารถเล่นกีฬาได้ อีกส่วนเป็น creative space ที่เป็นเหมือนกับผืนผ้าใบว่างเปล่าที่ให้มาลองไอเดียในการทำอะไรต่างๆ เรามองว่ามันเป็นสนามของความคิดสร้างสรรค์ นิทรรศการหมุนเวียนที่เคยเกิดขึ้นที่นี่ก็มีหลากหลายมากๆ อย่างเช่นงานที่ Ctrl+r มาจัดนิทรรศการที่พูดถึงวัสดุใหม่ซึ่งคิดค้นจาก Bio Material มาใช้ในการก่อสร้าง มีการจัดงานแบบ barter system แทนที่เราจะซื้อของก็เอาของมาแลกกัน เป็นงาน green market บรรดาแม่ๆ มาปล่อยเสื้อผ้าของเด็ก ไปจนถึงงานหนังสือมือสอง มันก็ทำได้เห็นว่าของ pre-loved ของเราสามารถส่งต่อไปให้คนอื่นด้วย ก็เป็นความ sustain ในรูปแบบหนึ่ง”
ร้าน regrow ที่ขายของใช้ที่มีความรักษ์โลกแต่ดีไซน์สวย ส่วนชั้น 3 อยากให้เป็น active space ที่สามารถเล่นกีฬาได้ อีกส่วนเป็น creative space ที่เป็นเหมือนกับผืนผ้าใบว่างเปล่าที่ให้มาลองไอเดียในการทำอะไรต่างๆ เรามองว่ามันเป็นสนามของความคิดสร้างสรรค์ นิทรรศการหมุนเวียนที่เคยเกิดขึ้นที่นี่ก็มีหลากหลายมากๆ อย่างเช่นงานที่ Ctrl+r มาจัดนิทรรศการที่พูดถึงวัสดุใหม่ซึ่งคิดค้นจาก Bio Material มาใช้ในการก่อสร้าง มีการจัดงานแบบ barter system แทนที่เราจะซื้อของก็เอาของมาแลกกัน เป็นงาน green market บรรดาแม่ๆ มาปล่อยเสื้อผ้าของเด็ก ไปจนถึงงานหนังสือมือสอง มันก็ทำได้เห็นว่าของ pre-loved ของเราสามารถส่งต่อไปให้คนอื่นด้วย ก็เป็นความ sustain ในรูปแบบหนึ่ง”
“ที่ผ่านมา 1 ปีครึ่ง เราเน้นเอา wellness เป็นตัวเล่าเรื่อง มีคลาส และกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับแง่ mental health หรือการทดลองเกี่ยวกับเรื่อง wellness ที่เรามักจะเห็นจัดอยู่ที่เกาะพะงันบ้าง เชียงใหม่บ้าง หรือหากเป็นกรุงเทพฯ ก็มักจะเป็นโซนสุขุมวิท ไม่ได้มาอยู่แถวนี้สักเท่าไหร่ ส่วนปีนี้ตั้งใจว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเรื่องอาหาร ไลฟ์สไตล์ที่มันจับต้องได้มากขึ้น ด้วยความที่พื้นที่ตรงนี้คือสามย่าน เรามองว่าอาจจะยังไม่ใช่ prime location ที่คนพูดถึงเรื่องเหล่านี้ แต่เราก็มองว่าการที่เรามาอยู่ในที่ซึ่งยังไม่มีอสิ่งเหล่านี้ แล้วมาเริ่มต้นขึ้นก็เป็นความท้าทายของเราว่าเราจะทำยังไงให้มันแตกต่างจากสิ่งที่มีอยู่ จากย่านชุมชนที่มีร้านเก่าแก่มากมาย ซึ่งเรามองว่ามันเป็นเสน่ห์ของสามย่านอยู่แล้ว ในขณะเดียวกันแค่ออกไปนิดเดียวก็มีอะไรที่เป็นย่านการค้าอย่างสามย่านมิตรทาวน์ สยามสแควร์ เราก็อยากจะให้คนรู้สึกว่ามีอะไรแบบนี้มาอยู่ในที่ๆ ไม่คาดคิด คือเป็นสถานที่ escape ที่ซุกซ่อนอยู่ในใจกลางกรุงเทพฯ อาจจะดูไม่กลมกลืนกับสภาพรอบด้านในตอนแรก แต่นั่นก็คือจุดหมายที่เราต้องการมีความแตกต่างจากความเป็น local ในย่านนี้ด้วย”
แนวคิดหลัก 3 อย่างของ Slowcombo คือ self love, love others และสุดท้ายคือ love the world เราเริ่มจากรักและดูแลตัวเองก่อน แล้วจึงรักผู้อื่น และรักษ์โลกใบนี้ “เรามองว่าเราไม่ต้องรอจนอายุมากหรือป่วยแล้วถึงค่อยทำ แต่เราอยากให้คนค่อยๆ เกิดความตระหนักรู้ และมีชีวิตที่สมดุลกับตัวเองมากขึ้น ในแง่ของความ sustainable เราต้องเข้าใจว่า เราแค่ต้องเริ่มเปลี่ยนตัวเองจากจุดเล็กๆ เท่านั้น มันคือแค่ความคิดว่า เราอยากจะทำอะไรให้มันดีขึ้นโดยเปลี่ยนหรือปรับพฤติกรรมตัวเอง ทุกอย่างเกิดขึ้นได้กับสิ่งเล็กๆ ใกล้ตัว อย่างที่นี่ ผู้ประกอบการ ผู้เช่าที่เข้ามาทุกคน ล้วนมีหลายหลายอย่างไอเดียที่อาจจะจุดประกายให้ใครได้เกิดความนึกคิดว่า เราสามารถทำอย่างนี้ได้ในชีวิตประจำวันของเราจริงๆ เช่น เครื่องสร้างปุ๋ยจากเศษอาหาร การแยกขยะ หรือร้านดอกไม้ที่ไม่ใช้โอเอซิสเลย หรือใช้ดอกไม้ท้องถิ่นเพื่อลด carbon emission เราอยากจะสร้างมุมมองบางอย่างที่ทำให้คนเห็นได้ว่า สิ่งต่างๆมันเกิดขึ้นได้ง่ายๆ และใกล้ตัวกับทุกคน”
“ความพิเศษของที่นี่คือเราอยากให้คนได้มาใช้ชีวิตที่ช้าลง คำว่า slow combo คือ การใช้ชีวิตที่ช้าลงแต่รวม combination ดีๆ ไว้ด้วยกัน เป็นความช้าที่เราได้ใช้ชีวิตที่ดีขึ้นด้วยอาหารการกิน ด้วยการดูแลสุขภาพทั้งกายและใจ”
“ความพิเศษของที่นี่คือเราอยากให้คนได้มาใช้ชีวิตที่ช้าลง คำว่า slow combo คือ การใช้ชีวิตที่ช้าลงแต่รวม combination ดีๆ ไว้ด้วยกัน เป็นความช้าที่เราได้ใช้ชีวิตที่ดีขึ้นด้วยอาหารการกิน ด้วยการดูแลสุขภาพทั้งกายและใจ”
ในวันที่เรื่องของ wellbeing และ sustainable ไม่ใช่แค่แนวคิดเพ้อฝัน หากเป็นใจความสำคัญของชีวิตที่ไม่ควรจะละเลย เป็นเรื่องน่าชื่นชมที่เราได้เห็นการมีอยู่ของคอมมิวนิตี้สเปซแบบ Slowcombo แห่งนี้ ที่ทำให้ทุกคนที่มาเยือนได้สัมผัสกับความช้าลง และทำให้เราได้หวนคิดถึงการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพอีกครั้ง
Slowcombo เปิดทุกวัน เวลา 10.00-20.00
[email protected]
FB IG Line @slowcombo
Story: Titima C.
Photos: Manoo Manookulkit