Qoqoon Vol13 Home - The Maestro’s Dwelling

Home

The Maestro’s Dwelling

หากเอ่ยถึงทำเนียบศิลปินร่วมสมัยระดับไอคอนแห่งวงการศิลปะไทย แน่นอนว่าหนึ่งในนั้นจะต้องมีชื่อของคุณศักดิ์วุฒิ วิเศษมณี อยู่แถวหน้าสุด เพราะเขาคือศิลปินผู้เด่นชัดในความเป็นตัวเอง และสามารถยืนหยัดผ่านระยะเวลาการทำงานยาวนานร่วม 40 ปี ด้วยผลงานที่โดดเด่นทั้งภาพวาดและประติมากรรม ซึ่งล้วนมีเส้นสายลายเซ็นอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แบบที่ไม่ว่าใครเห็นผลงานก็จะรู้ได้ทันทีว่านี่คือผลงานของคุณศักดิ์วุฒิ เฉกเช่นเดียวกันกับบ้านหลังนี้ ซึ่งสะท้อนความเป็นตัวตนของศิลปินผู้เป็นเจ้าของในทุกรายละเอียด

บ้านของคุณศักดิ์วุฒิตั้งอยู่บริเวณโค้งน้ำในหมู่บ้านอันเงียบสงบแห่งหนึ่งย่านชานเมืองกรุง ท่ามกลางความร่มรื่นและเปิดรับลมริมน้ำได้อย่างเต็มที่ เมื่อถามถึงความเป็นมาของบ้าน คุณศักดิ์วุฒิเล่าว่า “ที่ผืนนี้ผมเห็นมานานมาก เพราะผมเคยอยู่แถวนี้เมื่อเกือบ 40 ปีที่แล้ว เดินผ่านเห็นก็ชอบ ผมเคยคิดว่าคงไม่มีปัญญา เราก็ไปทำงาน ออกไปอยู่หมู่บ้านอื่น วันหนึ่งเรากลับมา ที่ผืนนี้ก็ยังอยู่ บังเอิญเจ้าของเป็นลูกค้าที่มาซื้อรูปผมพอดี มันบังเอิญมาก ผมเอารูปมาส่ง แล้วเขาบอกว่าตรงนี้คือที่เขา ผมก็เลยถามว่าเขาจะขายไหม และก็เลยได้มา”

“แล้วเราก็เริ่มลงมือวางแปลนว่าถ้าเราจะมีบ้านใหม่ บ้านที่มีครบทุกอย่างในแบบของเรา ทั้งห้องทำงาน ห้องแสดงงาน ห้องออกกำลังกาย ห้องพระ ห้องรับแขก อะไรต่างๆ ก็คิดจากส่วนนี้ก่อน แล้ววางแปลนว่าตรงไหนควรจะเป็นยังไง ตอนแรกจะทำห้องรับแขกติดน้ำ แต่ก็มาคิดว่านี่บ้านเราเองนะ ไม่ใช่คนอื่นอยู่ กว่าจะมีแขกมาก็นาน ทำไมเราไม่อยู่เองในมุมที่สวยที่สุด มองเห็นวิวข้างหลังเป็นน้ำ เราควรคิดถึงตัวเองมากกว่า ก็เลยปรับแบบ”

“แล้วเราก็เริ่มลงมือวางแปลนว่าถ้าเราจะมีบ้านใหม่ บ้านที่มีครบทุกอย่างในแบบของเรา ทั้งห้องทำงาน ห้องแสดงงาน ห้องออกกำลังกาย ห้องพระ ห้องรับแขก อะไรต่างๆ ก็คิดจากส่วนนี้ก่อน แล้ววางแปลนว่าตรงไหนควรจะเป็นยังไง ตอนแรกจะทำห้องรับแขกติดน้ำ แต่ก็มาคิดว่านี่บ้านเราเองนะ ไม่ใช่คนอื่นอยู่ กว่าจะมีแขกมาก็นาน ทำไมเราไม่อยู่เองในมุมที่สวยที่สุด มองเห็นวิวข้างหลังเป็นน้ำ เราควรคิดถึงตัวเองมากกว่า ก็เลยปรับแบบ”

ห้องแรกสุดจากด้านหน้าตัวบ้านคือห้องโถงที่เจาะช่องแสงทำให้ดึงแสงสว่างเข้ามาในบ้านอย่างเต็มที่ เน้นความงดงามของผนังที่รายรอบด้วยพระบรมรูปในหลวงรัชกาลที่ 9 หลากหลายรูปแบบ จากนั้นเป็นพื้นที่เปิดโล่งเพดานสูงที่มีทั้งห้องครัวรวมทั้งเคาน์เตอร์และเครื่องทำกาแฟขนาดใหญ่ โต๊ะไม้สีเข้มตัวยาวสำหรับรับประทานอาหารตั้งเด่นอยู่กลางห้อง บริเวณรับแขกส่วนนี้เชื่อมต่อกับห้องนั่งเล่นอีกห้อง ด้วยการเจาะช่องซุ้มประตูรูปวงกลม ในแทบทุกมุมของทุกห้องถูกจัดวางด้วยงานศิลปะฝีมือของคุณศักดิ์วุฒิเอง ทั้งงานประติมากรรมและงานภาพวาด ไปจนถึงเหล่า Art toy ชิ้นหายากที่เป็นของสะสมส่วนตัว เมื่อเปิดประตูออกไป จะพบกับสระว่ายน้ำคั่นกลางระหว่างตัวบ้านด้านหน้าและโซนด้านหลังที่มีห้องนั่งเล่นและห้องทำงานขนาดใหญ่

“จริงๆ บ้านหลังนี้ไม่ได้มีแบบ เป็นแค่กล่องสี่เหลี่ยมที่ถูกสร้างขึ้นมา ผมมานั่งหน้างานที่สถานที่จริงแล้วก็ออกแบบทุกอย่าง เปลี่ยนไปตามสิ่งที่ควรจะเป็น เหมือนการวาดรูป คือการวางองค์ประกอบของรูป มีสี่เหลี่ยมแล้วก็วางว่าตรงนี้ควรจะเป็นยังไง ช่างทำเสาผิด เราก็มาแก้ไข ปรับเปลี่ยน เป็นการทำบ้านแบบด้นสด คือมันไม่มีอะไรผิดถูก ก็สนุกดี มีแบบอยู่ในหัวแล้วก็คิดว่าตรงไหนจะใส่อะไร ใส่ลายตกแต่งแบบไหน พอมาอยู่จริง การใช้งานจริงยังไม่เหมาะ ก็ปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการของเราจริงๆ”

สไตล์ที่เห็นได้เด่นชัดในบ้านหลังนี้คือความเป็นอาร์ตเดคโค โดยมีเอกลักษณ์โดดเด่นคือลวดลายที่ใช้ในการประดับตกแต่งทั้งบ้านซึ่งเป็นลายเดียวกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นราวบันได ช่องหน้าต่าง ประตู เหล็กดัด ราวระเบียง ไปจนถึงกระเบื้องในห้องน้ำ “ผมเรียนจบสายวิทย์แล้วไปต่อที่ศิลปากร การย้ายที่ไปอยู่แถวนั้นทำให้คุ้นชินกับตึกสองข้างริมถนนราชดำเนิน ผมก็รู้สึกว่ามันเป็นตึกที่สวย แต่ตอนนั้นไม่รู้หรอกว่าเขาเรียกยุคอะไร ผมชอบตึกเก่าๆ บริเวณแถวนั้น แล้วก็คิดว่าถ้าเรามีโอกาสทำบ้าน เราก็จะทำแบบนี้ ตอนหลังพอเริ่มเรียนศิลปะก็เลยได้รู้ว่าสไตล์แบบนี้เขาเรียกอาร์ตเดคโค คือการลดทอน การใช้รูปทรงเรขาคณิต และบางทีก็มีความฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อด้วยลวดลายต่างๆ การได้เรียนที่คณะจิตรกรรม ที่ศิลปากร ซึ่งอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ท่านเข้ามาในเมืองไทยในยุคที่การออกแบบก่อสร้างเป็นอาร์ตเดคโคเสียเป็นส่วนใหญ่ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยก็เป็นอาร์ตเดคโค รูปปั้นต่างๆ ของลูกศิษย์อาจารย์ศิลป์ก็เป็นยุคนั้น เป็นดีไซน์ของยุคนั้น” คุณศักดิ์วุฒิเท้าความถึงที่มาของความประทับใจในศิลปะและงานออกแบบสไตล์อาร์ตเดคโค

“ผมก็เก็บสิ่งเหล่านั้นมาเป็นแรงบันดาลใจ นั่งสเก็ตช์ไปเรื่อยๆ ออกแบบลายขึ้นมาให้เป็นสัญลักษณ์ของบ้านหลังนี้ แล้วก็สร้างขึ้นมา ทั้งด้วยปูน เหล็กดัด และกระเบื้อง คือถ้าใครเห็นก็จะรู้ได้ทันทีว่านี้คือบ้านศักดิ์วุฒิ เพราะมันไม่เหมือนที่อื่น คนที่มาเห็นอาจจะรู้สึกทึ่งว่าทำได้ยังไง เพราะดีเทลมันเยอะ แต่ว่าผมสามารถทำได้ด้วยการกระจายงานให้คนนั้นคนนี้ไปทำมา พอบ้านเสร็จก็เอาทุกอย่างมาประกอบรวมกัน อย่างประตู โต๊ะ ตู้ คือซื้อไว้ก่อนเป็นปี มีภาพในหัวว่าจะเอามาวางตรงไหนต้องทำผนังขนาดเท่าไหร่ บางอย่างก็ซื้อมาแล้วนำมาปรับเปลี่ยนใหม่ในแบบของเรา อย่างเช่น โคมไฟเหล็กเป็นโคมไฟแบบที่ใช้ในเรือ ใช้ทองแดงกับทองเหลืองผสมกัน ผมชอบมาก มันดูเป็นยุคนั้น แต่ถ้าเอามาใช้เลยก็จะดูเหมือนของทั่วไป เลยเอามาดีไซน์เพิ่ม”

“ผมก็เก็บสิ่งเหล่านั้นมาเป็นแรงบันดาลใจ นั่งสเก็ตช์ไปเรื่อยๆ ออกแบบลายขึ้นมาให้เป็นสัญลักษณ์ของบ้านหลังนี้ แล้วก็สร้างขึ้นมา ทั้งด้วยปูน เหล็กดัด และกระเบื้อง คือถ้าใครเห็นก็จะรู้ได้ทันทีว่านี้คือบ้านศักดิ์วุฒิ เพราะมันไม่เหมือนที่อื่น คนที่มาเห็นอาจจะรู้สึกทึ่งว่าทำได้ยังไง เพราะดีเทลมันเยอะ แต่ว่าผมสามารถทำได้ด้วยการกระจายงานให้คนนั้นคนนี้ไปทำมา พอบ้านเสร็จก็เอาทุกอย่างมาประกอบรวมกัน อย่างประตู โต๊ะ ตู้ คือซื้อไว้ก่อนเป็นปี มีภาพในหัวว่าจะเอามาวางตรงไหนต้องทำผนังขนาดเท่าไหร่ บางอย่างก็ซื้อมาแล้วนำมาปรับเปลี่ยนใหม่ในแบบของเรา อย่างเช่น โคมไฟเหล็กเป็นโคมไฟแบบที่ใช้ในเรือ ใช้ทองแดงกับทองเหลืองผสมกัน ผมชอบมาก มันดูเป็นยุคนั้น แต่ถ้าเอามาใช้เลยก็จะดูเหมือนของทั่วไป เลยเอามาดีไซน์เพิ่ม”

ชั้นสองของตัวบ้านเป็นห้องจัดแสดงงานที่เหมือนเป็นแกลเลอรี่ขนาดย่อมๆ “เราไม่ได้ดีไซน์เรื่องของไฟเลย เหมือนเป็นห้องเก็บรูปมากกว่า ผมยังมีความฝันว่าถ้าได้ทำบ้านใหม่อีก เราจะทำห้องแสดงงานให้มีพื้นที่มากกว่านี้ สำหรับผมถ้าเราเลิกฝัน มันจะเบื่อ จะขี้เกียจ จะหยุดงาน เพราะฉะนั้นต้องฝันต่อไป จะได้บอกตัวเองว่าเรายังต้องการหอศิลป์ของศักดิ์วุฒิ เรายังต้องการอะไรที่มันมากกว่านี้ เราจะได้หายสงสัยในการเกิดมาครั้งนี้ เพราะได้ทำทุกอย่างแล้ว”

ถัดมาห้องแสดงงานคือห้องพระ ซึ่งอยู่ริมทางเดินที่ทอดไปสู่ห้องออกกำลังกาย ห้องออกกำลังกายนี้แปลกตากว่ายิมที่ไหนๆ เพราะมีงานศิลปะประดับอยู่เต็มผนัง

ก่อนจะไปถึงส่วนห้องนอนใหญ่และห้องน้ำที่อยู่ติดลำคลองวิวสวย เป็น walk-in closet มีตู้เก็บเสื้อผ้าที่ดูราวกับเป็นกรุสมบัติทอดยาวไปตลอดทาง “คอนเซ็ปต์ของห้องเก็บเสื้อผ้านี้ผมได้แรงบันดาลใจจากร้านเสื้อ Ralph Lauren เป็นร้านเสื้อที่มีของวางโชว์ในตู้ มีโซฟามีหนังสือวางดิสเพลย์ ด้วยความชอบส่วนตัวเลยนำมาทำบ้าง ทำให้เหมือนเราได้เดินช้อปปิ้งในร้านเสื้อทุกวันเป็นการแก้เบื่อ ข้าวของตลอดจนเสื้อผ้าเครื่องแต่งตัวเป็นของที่เก็บมาตั้งแต่เด็กๆ บางชิ้นตั้งแต่สมัยเรียนศิลปากร ไปจนถึงรูปเก่าๆตั้งแต่สมัยเรียน และรูปพ่อแม่” 

เมื่อถูกถามถึงบริเวณที่ชื่อนชอบและใช้ชีวิตอยู่มากที่สุดที่สุด คุณศักดิ์วุฒิตอบว่า “มุมโปรดที่ผมใช้ชีวิตในทุกๆวันก็คือห้องทำงาน ผมจะนั่งดูหนังสืออาร์ตแล้วก็เขียนรูป ฟังเพลง ใช้ชีวิตอยู่ในห้องนี้เยอะมาก ซึ่งมันก็ตรงกับที่เราคิดไว้ว่าเราไม่ได้ออกไปไหน ส่วนมากจะอยู่ในนี้ รวมถึงความคิดที่ว่าต้องติดโซลาร์เซลล์ เพราะห้องนี้จะต้องเย็นและเราต้องเปิดแอร์ตลอด” ห้องทำงานของศิลปินผู้นี้โปร่งโล่ง รับแสงธรรมชาติเข้ามาเต็มๆ “ตอนแรก จัดให้แสงเข้าทางทิศเหนือตามหลักแต่ก็ยังไม่เหมาะ ก็ต้องเจาะดาดฟ้าเพิ่ม แสงเข้ามุมตรงไม่พอก็เลื่อนกระจกออกไปให้รับแสงในมุม 45 องศา เราเข้ามาดูและปรับจากหน้างานจริงๆ เพื่อให้ลงตัวกับการใช้ชีวิตที่สุด” ในห้องที่ปูด้วยปาร์เก้ไม้ มีมุมเครื่องเล่นแผ่นเสียงโบราณที่ยังใช้การได้ดีตั้งอยู่บนโต๊ะที่ออกแบบเอง เราเห็นหนังสือศิลปะวางอยู่ตามที่ต่างๆ นอกเหนือไปจากชั้นวางอุปกรณ์ โต๊ะทำงานปั้น และภาพวาดมากมาย ในทุกอณูบรรยากาศคือความเข้มขลังและเต็มเปี่ยมด้วยพลังของศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ “ตอนนี้ผมมีงานชุดใหม่ อย่างที่บอกว่าเราเบื่อที่จะทำเหมือนเดิม คนอื่นเขาก็น่าจะเบื่อเหมือนกัน เราเบื่อตัวเอง และก็ไม่อยากเป็นคนแก่ที่ลอกงานตัวเองตอนเด็ก ก็เลยอยากจะเปลี่ยน แต่เปลี่ยนยังไงมันก็ไม่ได้หนีไปจากความเป็นตัวเรา เราก็ได้ทดลองทำงานชุดนี้ ซึ่งเกิดจากการเอางานที่ผ่านมา 30-40 ปี ที่เป็นงานภาพประกอบมาใช้เป็นแนวทาง ผมมานั่งคิดดูว่าการทำงานภาพประกอบนี่มันดี คือเราสามารถขีดเขียนอะไรก็ได้ เพราะมันไม่กลัว ไม่มีใครมาจับผิด ไม่เหมือนงานของเราจริงๆ ที่เราจะกลัวคนมาวิจารณ์มาจับผิดแบบนั้นแบบนี้ เราก็ใช้ความคิดนั้นมาทำงานชุดใหม่ คือฉีกหนังสือมาแล้วเขียนทับลงไป ก็ทิ้งภาพเดิมๆ ลองทำงานเป็นชิ้นใหญ่ล้อกับงานที่เราเขียน ทิ้งภาพที่เป็นต้นแบบไว้แล้วเขียนทับ ก็เป็นการทดลองที่สนุกดี”

“งานศิลปะในยุคปัจจุบันนี้มันเปลี่ยนไปเยอะ วงการศิลปะก็เปลี่ยนไปมากเป็นสิ่งที่เราไม่คาดฝัน ได้เห็นเด็กๆ มาเข้าคิวดูงานศิลปะ เด็กตื่นเต้นกับงานศิลปะที่เป็นงานดีไซน์ การ์ตูน คาแรกเตอร์ต่างๆ ผมก็ตามไปดูนะ งานเด็กรุ่นใหม่ๆ เนี้ยบมาก มันไม่ใช่การทำงานแค่ชิ้นสองชิ้น แต่มีการผลิตจากโรงงานที่เนี้ยบกริบ คนที่ไปดูงานถ้าไม่ซื้อตัวประติมากรรม ก็สามารถไปซื้อเสื้อ ซื้อไอติม ของที่ระลึก มันไปถึงขั้นนั้น คืองานศิลปะมันไม่เหมือนโลกแบบของเราแล้ว โลกมันเปลี่ยนไป คนรุ่นผมมันตกสมัยแล้ว แต่เราได้เห็นว่าเด็กรุ่นใหม่เก่งมากๆ มีความตั้งใจทุกอย่าง โลกมันเปลี่ยน มันเป็นเรื่องของกระแส ทำให้ศิลปินรุ่นใหม่มีโอกาสมากกว่าแต่ก่อน อย่างรุ่นผม พอคุณจบมาปุ๊บคุณสร้างตัวเองเลย ใช้เวลา 10 ปี 20 ปี 30 ปี พออายุคุณ 40-50 คนเริ่มรู้แล้วว่าคุณมั่นคง คุณเป็นศิลปินจริงๆ ไม่ได้เลิกอาชีพนี้ คนก็เริ่มรู้จักและซื้องานคุณ แต่เราต้องยืนยันความเป็นตัวเอง อย่างผมคือแน่วแน่กับความเป็นศักดิ์วุฒิมาทั้งชีวิต”

“แต่สำหรับเด็กรุ่นนี้ ถ้าคุณเรียนจบปุ๊บ คุณมีกระแส ดัง ขายงานได้คุณมีเงิน มีชีวิตที่ดีได้เลย ผมก็คิดว่าสิ่งที่ดำเนินมาของรุ่นเรามันผิดหรือเปล่า? แล้วคนที่ตามผมมายังไม่ทันถึงฝั่งเลยจะทำยังไง จะไปต่อยังไงในเมื่อทุกอย่างมันเปลี่ยนแล้ว ความคิดคนเปลี่ยนไปหมด มันเปลี่ยนเร็วเกิน คนที่ไม่ได้ระวังตัวก็จะพังกันหมด” ซึ่งในความเปลี่ยนแปลงนี้ “เราก็ต้องคิดว่า เราจะไปนั่งโทษนั่นนี่ไม่ได้หรอก เราต้องเปลี่ยนตัวเอง ถ้าเราไม่เปลี่ยนเราก็จะตายเหมือนศิลปินแก่ๆคนหนึ่ง เราก็ต้องหันมามองว่า ทำไมเค้าฮิตแบบนี้กัน กลับมาดูงานเราเอง สิ่งที่เราเคยคิดเป็นยังไง แล้วที่ผ่านมามีอะไรเชื่อมโยงกับสมัยนี้ได้บ้าง ถ้าให้เราไปเขียนการ์ตูนมันก็ไม่ใช่แบบเรา ลองวิเคราะห์งานเราเองแล้วก็เลยเกิดเป็นการทำงานชุดนี้ ลองเอาที่เราเคยทำเป็นภาพประกอบสนุกๆ มาทำบ้าง ทำให้เราเปลี่ยนความคิดตัวเอง หาแนวทางทำงานใหม่ๆ ไม่โทษสังคมไม่โทษอะไร ถ้าคุณเอาแต่โทษ มันก็จบเหมือนคนอื่นๆ เราก็ต้องสู้กับมัน และก็ต้องอยู่กับมัน”

จากการเยี่ยมชมบ้านที่มีความเป็นศิลปินสอดแทรกอยู่ในทุกรายละเอียด แถมท้ายด้วยข้อคิดมุมมองที่ยังคงเฉียบคมไม่เสื่อมคลาย ล้วนแล้วแต่บ่งบอกถึงความเป็นตัวจริงที่ทั้งยิ่งใหญ่แต่เรียบง่าย ซึ่งยืนหยัดผ่านมาทุกยุคของศิลปินที่ชื่อศักดิ์วุฒิ วิเศษมณี

Story: Titima C.
Photos: Manoo Manookulkit
Styling: Whisky Markdee

When it comes to the list of contemporary artists who are considered icons of the Thai art scene, one of them must have the name of Khun Sakwut Wisesmanee at the forefront. He is a notable artist and has been able to maintain a consistent presence over a 40-year career with outstanding works in both painting and sculpture, all of which bear his unique signature style. Just as with this residence, which reflects the artist’s individuality in every detail.

Khun Sakwut’s house is located by a canal in a quiet area on the outskirts of the city. Surrounded by lush greenery and open to the riverside breeze. He said, “This house did not have a construction plan when it was first built, it was just a rectangular box. I came to the site and designed everything accordingly, changing as needed. It’s like drawing a picture, placing the components on a rectangle white frame and then figuring out how it should be. Building a house from scratch is neither right or wrong. It’s just fun. Once you’re actually living in it, if it’s not suitable for everyday use, you adjust it according to our real needs.”

The style of the house is distinctly characterized by Art Deco, and the prominent feature is the consistent use of patterns for decoration throughout the house, such as on stair railings, window frames, doors, wrought iron balconies, and even tiles in the bathroom “I went to Silpakorn University, which made me familiar with the buildings on both sides of Ratchadamnoen Avenue. I felt that they were beautiful buildings, but back then I had no idea what era they were from. I thought that if I ever had the chance to build my own house, I would do it in a similar style. Later on, as I started studying art, I learned that this style is called Art Deco, which involves the use of geometric shapes and sometimes extravagant patterns with various details. I collected these as inspirations, sketching constantly to create patterns to be the symbol of this house.”

Even though this house has an art gallery-like room, he still has dreams of having the bigger one. “I still dream that if I build another new house, I will make an exhibition room with a larger space. It will be great fun for me. If I stop dreaming, it will become boring, lazy, and I will stop working. Therefore, I must keep dreaming. I will remind myself that I still want an art gallery. I still want something greater than this. So that in the end, I will have no regrets in this lifetime once I have done everything.”

“My favorite corner to spend my daily life is my workspace. I sit, read art books, draw, listen to music, and spend most of my time in this room. Currently, I’m working on a new project. I am bored of doing the same thing and I want to change, but changing does not mean escaping from who we are. I have tried working on this project by using my past illustration works of 30-40 years as a guideline. I have been thinking about how creating illustrations is fun, it’s because we can draw anything without fear of criticism which is different from our actual work. I have used this kind of thinking to work on a new project by tearing up a book and drawing on it. It has been a fun experiment.”

When we asked about how he looks at the art scene, he firmly replied “The art world nowadays has changed drastically beyond our imagination. People’s thoughts change rapidly, and those who do not adapt will fall behind. We must focus on self-improvement rather than blaming others. If we do not change, we will stagnate. We need to analyze our own work and think about what made others successful. We must adapt and come up with new ways of work, without blaming society or others. This is the way forward, and we must face it head-on”