INSPO

Sustainable Decor Ideas

แต่งบ้านแบบยั่งยืนตามหลัก Sustainable Design ซึ่งนอกจากจะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังได้ผลลัพธ์ของการตกแต่งที่สวยแปลกตาจากที่เคยๆ ซึ่งมีหลายวิธีให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมและปัจจัยของแต่ละคน ทั้งการเลือกใช้วัสดุธรรมชาติ หรือวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การนำของเก่ามาหมุนเวียนใช้ใหม่ ไปจนถึงการสนับสนุนช่างฝีมือท้องถิ่น QoQoon นำเสนอตัวอย่างไอเดียการตกแต่งแบบยั่งยืนเพื่อบ้านและโลกใบนี้ที่สวยนาน 

Photo: RT acoustic https://rtacoustic.com/applications/walls/modular/
Photo: RT acoustic

แผ่นซับเสียงอะคูสติกรีไซเคิล

แผ่นซับเสียงปิดผนังที่ได้ครบทั้งประโยชน์ใช้สอยในเรื่องของการดูดซับเสียงรบกวน และช่วยในเรื่องของสิ่งแวดล้อม ของ RT acoustic ผลิตจากวัสดุรีไซเคิลจากขวดพลาสติก PET ที่สามารถนำกลับไปรีไซเคิลใหม่ได้ 100 % รวมถึงกรรมวิธีการพิมพ์ลายไม้แบบ water based ทำให้ไม่มีการระเหยของสารเคมีในอากาศ ช่วยลดมลภาวะทั้งทางเสียงและอากาศ 

Photo: RT acoustic https://rtacoustic.com/applications/walls/modular/
Photo: RT acoustic

ผนัง DIY แผ่นซับเสียงรีไซเคิล

ออกแบบลวดลายบนผนังด้วยตัวเองแบบง่ายๆ ด้วยแพทเทิร์นของสี ขนาด และรูปทรงต่างๆ จากแผ่นซับเสียงอะคูสติก Block Beat ของ RT acoustic ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะผลิตจากวัสดุรีไซเคิลจากขวดน้ำพลาสติก ติดตั้งง่ายด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งพาช่าง เพราะมีเทปกาวในตัว เลือกวางตำแน่งลวดลายปรับเปลี่ยนได้ตามใจชอบ หรือจะตัดเป็นรูปทรงขนาดต่างๆ ได้ตามความคิดสร้างสรรค์

พรมปูพื้น Eco

วัสดุปูพื้นเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่มีการนำเอาแนวคิดเรื่อง sustainability มาใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิต ไม่ว่าจะเป็นตัวเส้นใยที่ใช้ในการทอ หรือแม้แต่วัสดุรองพรมแผ่นที่ชื่อ EcoSoft® ซึ่งผลิตจากขวดน้ำดื่มพลาสติกที่ใช้แล้ว นอกจากเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังมีคุณสมบัติเหนือกว่า PVC ทั่วไป ทั้งในแง่ของความทนทาน ความนุ่ม การดูดซับเสียง และควบคุมคุณภาพของอากาศภายในอาคาร 

Photo: Aesop
Photo: Aesop

การใช้ไม้และวัสดุธรรมชาติอย่างคุ้มค่า

ไอเดียเรื่องของ Sustainable ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่การใช้วัสดุรีไซเคิล อัพไซเคิลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการใช้วัสดุจากธรรมชาติที่ย่อยสลายได้อย่างคุ้มค่า แม้แต่วัสดุหลักอย่างไม้ธรรมชาติ และการสนับสนุนงานช่างฝีมือท้องถิ่น โชว์รูมใหม่ของ Aesop ในกรุงเทพฯ ที่ออกแบบโดย Sher Maker Studio คือตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในไอเดียนี้ ด้วยการใช้ไม้เป็นส่วนประกอบหลักในการตกแต่งที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเสน่ห์ของวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมไปถึงการนำไม้เก่ากลับมาใช้ใหม่ในบางส่วน เช่น เสา หรือเคาน์เตอร์ นับว่าเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า 

Photo: 'Sanguine Sea’ Textile Wall Art by Ploenchan Vinyaratn
Photo: 'Sanguine Sea’ Textile Wall Art by Ploenchan Vinyaratn

แต่งบ้านด้วยงานศิลปะรีไซเคิล

การแต่งบ้านด้วยงานศิลปะที่มาจากขยะและวัสดุเหลือใช้ เป็นอีกทางที่จะช่วยในเรื่องของความยั่งยืน รวมไปถึงได้ลุคที่แปลกใหม่ให้กับสเปซ ปัจจุบันมีศิลปินหลายคนที่สร้างสรรค์ผลงานศิลปะแบบ Sustanable Art จากวัสดุเหลือใช้ ตัวอย่างเช่นงานศิลปะสิ่งทอสำหรับตกแต่งผนัง เป็นต้น

Photo: SO Maldives https://so-hotels.com/en/maldives/
Photo: SO Maldives

ศิลปะจากขยะและวัสดุเหลือใช้

ภายในห้องพักของโรงแรม SO Maldives ตกแต่งภายในด้วยศิลปะแบบยั่งยืนที่ได้จากการทอเศษวัสดุเหลือใช้ของเพลินจันทร์ วิญญรัตน์ เท็กซ์ไทล์ดีไซเนอร์ที่หันมาสร้างสรรค์งานศิลปะสิ่งทอจากขยะและวัสดุเหลือใช้ ไม่ว่าจะเป็นวอลล์อาร์ตบนผนัง งานศิลปะแบบแขวนที่ห้อยลงมาจากเพดาน ไปจนถึงของตกแต่งในส่วนต่างๆ อย่างเช่นโคมไฟ เป็นต้น 

Photo: Sonite https://www.instagram.com/sonitesurfaces/
Photo: Sonite

ตกแต่งพื้นผิวด้วยวัสดุ upcycle

ห้องน้ำเป็นพื้นที่ที่มักจะตกแต่งผนังและพื้นผิวด้วยกระเบื้อง ภายในห้องน้ำที่ Waldorf Astoria Bangkok ตกแต่งผิวด้วย SONITE Mosaic ซึ่งเป็นโมเสกโพลิเมอร์ที่บางและเบา เหมาะกับพื้นที่ที่ต้องการวัสดุตกแต่งน้ำหนักเบา เป็นวัสดุที่ใช้กระบวนการผลิตที่ลดคาร์บอนฟุตพริ้นต์ ด้รับการรับรอง Carbon Footprint Label จาก TGO* ว่าเป็นวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Photo: id.moodboard https://www.instagram.com/sonitesurfaces/
Photo: Sonite

กระเบื้องโมเสกจากข้าวเปลือก

Husk Mosaic นวัตกรรมใหม่ของการออกแบบที่ใช้วัสดุธรรมชาติเหลือทิ้งอย่างเปลือกข้าว นำมาผ่านกระบวนการ Upcycled จนกลายเป็นโมเสกลวดลายใหม่ที่สร้างสรรค์ สวยงามและยั่งยืน ซึ่งสามารถออกแบบจัดวางลวดลายและเฉดสีตามดีไซน์ที่ต้องการ เหมาะสำหรับตกแต่งพื้นผิวของผนังภายในส่วนต่างๆ เช่นที่ Vlnce Restaurant ใน Sunter, Jakarta Utara 

Photo: loqa
Photo: loqa

วัสดุตกแต่งหมุนเวียนไม่รู้จบ

นอกจากการตกแต่งพื้นผิวด้วยกระเบื้องแล้ว อิฐ ก็เป็นวัสดุอีกหนึ่งอย่างที่นอกจากจะใช้ก่อขึ้นรูปในงานโครงสร้างแล้ว ยังนำมาใช้ในการตกแต่งที่ให้มู้ดและผิวสัมผัสที่แตกต่างได้อย่างมีเสน่ห์ และปัจจุบันมีนวัตกรรมการผลิตอิฐจากวัสดุเหลือใช้ อย่างแบรนด์ loqa ที่ยังใช้ความร้อนในการเผาต่ำกว่าอิฐแบบดั้งเดิม เพื่อเป็นการประหยัดพลังงานในกระบวนการผลิตอีกด้วย และอิฐนี้ยังสามารถหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ได้ไม่รู้จบ

Photo: loqa
Photo: loqa

วัสดุก่อสร้างและตกแต่งจากขยะ

แทนที่จะใช้เป็นแค่วัสดุก่อสร้าง อิฐที่ผลิตจากวัสดุเหลือทิ้งซึ่งได้รับการออกแบบรูปทรงที่แตกต่างกัน ยังสามารถนำมาตกแต่งผนังได้หลายหลายรูปแบบ ด้วยการจัดเรียงและสร้างแพตเทิร์นที่น่าสนใจ อย่างบริเวณด้านหน้าอาคารของ Ascend Design ที่สิงคโปร์ ซึ่งใช้อิฐของ loqa ที่ผลิตในประเทศไทย

Share