Home

The Greenhouse Effect

ท่ามกลางต้นไม้และทุ่งหญ้าบนพื้นที่ไร่ของครอบครัว คือเรือนกระจกที่ไม่ธรรมดาซึ่งเป็นบ้านของ Margit Klev สถาปนิกชาวนอร์เวย์และครอบครัวเล็กๆ ของเธอ บนพื้นที่แห่งนี้ เคลฟได้สร้างบ้านซ้อนบ้าน โดยก่อตั้งอาคารแบบสั่งทำพิเศษของเธอไว้ภายในโรงนาขนาดใหญ่ที่ทำจากกระจก ซึ่งส่งตรงเป็นเซ็ตมาจากเดนมาร์กและติดตั้งในสถานที่จริงภายในเวลาเพียงสองสัปดาห์ เรือนกระจกใสนี้ไม่เพียงแต่เป็นเกราะป้องกันบ้านของครอบครัวที่อยู่ภายในเท่านั้น แต่ยังเป็นที่กำบังสำหรับสวนในร่มและห้องสวน ที่เคลฟสามารถดูแลต้นไม้และพรรณไม้ชนิดต่างๆ ที่ปกติแล้วไม่สามารถรอดพ้นฤดูหนาวของนอร์เวย์ได้

“ภายในเรือนกระจกนี้ ฉันสามารถปลูกองุ่น แอปริคอต เนคทารีน และพีชได้” เคลฟ ผู้ซึ่งมีแพสชั่นแรงกล้าในสถาปัตยกรรมและการทำสวน กล่าว “ฉันยังสามารถปลูกสมุนไพรได้มากมายรอบๆ ต้นไม้อื่นๆ เช่น พาร์สลีย์ เสจ เมลิสซา สมุนไพรหลายชนิดที่เติบโตข้างนอกไม่ค่อยดี และฉันยังสามารถใช้เรือนกระจกเพื่อเพาะต้นกล้าเล็กๆ จากเมล็ด ซึ่งฉันนำไปปลูกข้างนอกได้ในภายหลัง ในช่วงฤดูใบไม้ผลิหรือต้นฤดูร้อน”

มาร์กิต เคลฟ เติบโตขึ้นในฟาร์ม ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ชนบททางตะวันตกของ Drammen และ Oslo โดยที่แม่และพ่อของเธอ ซึ่งเป็นนักสำรวจรางวัดที่ดิน รวมถึงพี่ชายและน้องสาวของเธอทุกคนอาศัยอยู่ใกล้ๆ เธอเริ่มต้นด้วยการศึกษาด้านนิเวศวิทยาก่อนที่จะเบนความสนใจไปที่สถาปัตยกรรมที่มหาวิทยาลัย Trondheim ตามด้วยการไปศึกษาต่อที่สตอกโฮล์มอีกหนึ่งปี และได้ร่วมงานกับบริษัทสองแห่งในออสโล ก่อนที่จะร่วมก่อตั้งบริษัทของตัวเองชื่อ เอาท์ไลน์ (Outline) ซึ่งตั้งอยู่ในดรัมเมน บ้านเรือนกระจก (The Greenhouse Home) เป็นหนึ่งในโปรเจ็กต์ส่วนตัวชิ้นแรกๆ ของเธอ และยังเป็นงานที่มีความเป็นส่วนตัวมากที่สุดโครงการหนึ่งที่อยู่ร่วมกับสามี Arnstein Norheim นักฟิสิกส์และผู้เชี่ยวชาญด้านไฮโดรเจน และลูกเล็กๆ สองคนของพวกเขา

บ้านเรือนกระจก (The Greenhouse Home) เป็นหนึ่งในโปรเจ็กต์ส่วนตัวชิ้นแรกๆ ของเธอ และยังเป็นงานที่มีความเป็นส่วนตัวมากที่สุดโครงการหนึ่งที่อยู่ร่วมกับสามี Arnstein Norheim นักฟิสิกส์และผู้เชี่ยวชาญด้านไฮโดรเจน และลูกเล็กๆ สองคนของพวกเขา

จากมรดกที่ดินส่วนหนึ่งในฟาร์ม หนึ่งในความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ที่สุดของเคลฟและนอร์ไฮม์คือการได้ดื่มด่ำความรู้สึกของชีวิตกลางแจ้งที่รายล้อมไปด้วยธรรมชาติได้ตลอดทั้งปี อันรวมไปถึงในช่วงฤดูหนาวที่โหดร้ายของนอร์เวย์ด้วย ทางออกคือเรือนกระจกขนาดยักษ์ ซึ่งผลิตโดย Drivadan ในเดนมาร์ก และส่งมายังไซต์ก่อสร้างเป็นเซ็ตของชิ้นส่วนขนาดใหญ่ ซึ่งพร้อมสำหรับการประกอบบนพื้นคอนกรีตที่เตรียมไว้ล่วงหน้า โรงเรือนกระจกที่ได้นั้นมีความสูง 38 ฟุต และมีพื้นที่ใช้สอยรวมประมาณ 4,000 ตารางฟุต ในขณะที่ระบบระบายอากาศแบบครบวงจรช่วยให้ระบายความร้อนตามธรรมชาติผ่านช่องระบายอากาศบนหลังคาในช่วงเดือนที่อากาศอบอุ่น เกราะกระจกนี้สร้างสภาพแวดล้อมที่เสถียรและปลอดภัย ซึ่งเคลฟสามารถสร้างบ้านที่สั่งทำพิเศษทั้งหลัง รวมไปถึงสวนในร่ม และห้องสวนเล็กๆ ของเธอเองได้ภายใต้หลังคานี้

“สิ่งสำคัญมาๆ อีกอย่างก็คือ ฉันต้องการให้แน่ใจว่าทุกห้องในบ้านมีหน้าต่างที่เปิดรับอากาศบริสุทธิ์ได้ ไม่ใช่แค่เปิดเข้าไปในเรือนกระจกเท่านั้น” เคลฟกล่าว “ดังนั้นห้องนอนและพื้นที่สำคัญทั้งหมดจึงตั้งอยู่ทางทิศเหนือ หรือทิศตะวันออก ซึ่งช่วยให้ห้องเหล่านั้นเย็นสบายในฤดูร้อนด้วย แต่ฉันก็ยังออกแบบให้ด้านหนึ่งของบ้านซึ่งเป็นที่ตั้งของพื้นที่สำคัญที่สุด นั่นคือห้องครัวและที่ที่เราใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในบ้าน เอียงทำมุมเพื่อให้เชื่อมต่อกับพื้นที่เรือนกระจกได้อย่างเต็มที่ ห้องครัวจึงเป็นศูนย์กลางของบ้านจริงๆ”

การจัดวางผังบ้านจึงพัฒนามาจากแนวคิดหลักเหล่านี้ ห้องครัวที่กว้างขวางนี้ยังเป็นที่ตั้งของพื้นที่รับประทานอาหารและมุมนั่งเล่นเล็กๆ ซึ่งทั้งหมดเปิดออกสู่บริเวณสวนที่สดใสและน่าดึงดูดที่อยู่เคียงข้างกัน ห้องสมุด ห้องทำงานส่วนตัวของทั้งคู่ และห้องนอนอีกสองห้องจากทั้งหมดสี่ห้องก็ตั้งอยู่บนชั้นล่าง ในขณะที่ชั้นบนเป็นที่ตั้งของห้องนั่งเล่นหลัก รวมถึงห้องสวีทใหญ่ และห้องนอนอีกห้องหนึ่ง หลังคาแบนเรียบของบ้านที่อยู่ภายในเรือนกระจกยังเปิดโอกาสให้สร้างพื้นที่ส่วนกลางอีกแห่ง นั่นคือระเบียงบนดาดฟ้า ซึ่งเหมาะสำหรับการสังสรรค์ แต่ก็ใช้เป็นพื้นที่สำหรับนอนเสริมในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงด้วย

“ปกติแล้วจะเป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง เพราะในฤดูหนาวมันหนาวเกินไป และในฤดูร้อนก็ร้อนเกิน แถมยังมีแดดจัดเกินไปด้วย” เคลฟกล่าว “อีกอย่างคือฟาร์มของเราไม่มีไฟหรือไฟถนนเลย มันจึงมืดสนิท ทำให้เราสามารถมองเห็นดาวต่างๆ ผ่านเพดานกระจกได้”

ความยั่งยืนเป็นหัวใจหลักที่ให้ความสำคัญ ฟาร์มแห่งนี้เกือบจะเป็นระบบการพึ่งพาตนเองแทบทั้งหมด ด้วยโรงไฟฟ้าชีวมวล แหล่งน้ำ และล่าสุด สถานีไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กที่ติดตั้งโดยพ่อของเคลฟ รวมถึงแผงโซลาร์เซลล์ นอกจากนี้ วิถีชีวิตของครอบครัวโดยทั่วไปก็มีองค์ประกอบของการพึ่งพาตนเองด้วย เคลฟปลูกผักและผลไม้ที่บ้าน ในขณะเดียวกันก็จัดหาอาหารและปศุสัตว์อื่นๆ ในท้องถิ่นให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ รวมถึงแกะของพวกเขาเองด้วย

“ฉันใช้เวลาว่างส่วนใหญ่ไปกับการปลูกผัก และสำหรับฉัน ความยั่งยืนเป็นส่วนหนึ่งของภาพรวมที่ใหญ่กว่า” เคลฟกล่าว “โรงไฟฟ้าชีวมวลใช้ไม้จากป่าแถวนี้ ซึ่งเป็นที่ของน้องสาวฉัน เป็นเชื้อเพลิงให้ความร้อนแก่บ้านและระบบน้ำร้อน พี่สะใภ้ฉันเลี้ยงม้า ดังนั้นเราจึงใช้ขี้ม้าเป็นปุ๋ยในสวนผัก ทุกอย่างเชื่อมโยงกันหมด มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มากมายในบ้านและสวนตลอดทั้งปี แต่เรือนกระจกก็ช่วยให้เราสามารถปลูกพืชผักให้เติบโตและใช้พื้นที่สวนเหล่านี้ได้ตลอดฤดูหนาวอันยาวนาน”

Story: Dominic Bradbury
Photos: Richard Powers
Translate: Wachirapanee Whisky Markdee

Share

Sitting upon the family farmstead, surrounded by trees and pasture, stands the extraordinary glasshouse where architect Margit Klev and her young family have made their home. Here, Klev has created a house within a house, placing her bespoke building inside a vast glass barn, delivered as a kit from Denmark and erected on site in just two weeks. This protective glass shell not only protects the family home inside it, but also shelters an indoor garden and garden rooms, where Klev can nurture the kind of plants and trees that would never usually survive a Norwegian winter.

‘Inside the greenhouse I can grow grapes, apricots, nectarines and peaches,’ says Klev, whose two greatest passions are architecture and gardening. ‘I can also grow a lot of herbs around the other plants: parsley, salvia, melissa – lots of herbs that don’t grow so well outside. And I can also use the greenhouse to grow small plants from seeds that I can plant out in the open later on, in the spring or early summer.’

Margit Klev grew up on the farm, situated in a rural area to the west of Drammen and Oslo, while her mother and father – a land surveyor – as well as her brother and sister all live close by. She initially studied ecology before switching her attention to architecture at Trondheim University, followed by a year in Stockholm. She worked with two practices in Oslo before co-founding her own practice, known as Outline, based in Drammen. The Greenhouse Home was one of her first independent projects and also one of the most personal, shared with her husband, physicist and hydrogen specialist Arnstein Norheim, and their two young children.

Having inherited a parcel of land on the farm, one of Klev and Norheim’s greatest wishes was to be able to enjoy the feeling of being outside and immersed in the natural world all year round, including the harsh Norwegian winters. The solution was the super sized greenhouse, manufactured by Drivadan in Denmark, and delivered to the site as a vast kit of parts, ready for assembly on a pre-prepared concrete pad. The resulting glass shed is thirty eight feet tall with around 4,000 square space in total, while an integrated ventilation system provides natural cooling via roof vents during the warmer months. This glass shell provided a secure and stable environment, beneath which Klev was able to create her own bespoke home, the indoor garden and a collection of garden rooms.

‘One really important thing was that I wanted to make sure every room in the house had a window that opened onto fresh air and not just into the greenhouse,’ says Klev. ‘So all the bedrooms and key spaces are located to the north, or to the east, which also helps keep those rooms cool in the summer. But then I also angled one side of the house holding the most important space, which is the kitchen and where we spend most of our time, so that it fully connects with the greenhouse spaces alongside. The kitchen is really the hub of the house.’

The layout evolved from these key decisions. This spacious kitchen also holds the dining area and a small lounge, all spilling out into the bright and enticing garden zones alongside. A library, his and her offices and two of the four bedrooms are also situated on the ground floor, while upstairs hosts the main sitting room plus the master suite and an additional bedroom. The flat roof of the house within a house also offered the opportunity to create another shared space – a rooftop terrace ideal for entertaining, but also used as additional sleeping zone in the spring and autumn.

‘It’s usually spring and autumn because it’s too cold in the winter and too warm as well as too sunny in the summer,’ says Klev. ‘Also we have no lights or streetlights on the farm, so it gets completely dark, so we can see the stars through the glass ceiling.’

Sustainability is a key concern, with the farmstead very close to functioning off grid with its own biomass plant, water source and, most recently, a micro hydro electricity station installed by Klev’s father, as well as solar arrays. There is also an element of self-sufficiency to the family’s way of living more generally, with Klev growing fruit and vegetables at home, while also sourcing other food and livestock as locally as possible, including their own sheep.

‘I spend most of my spare time growing vegetables and for me sustainability is part of a bigger picture,’ says Klev. ‘The biomass plant use woods from the forests around here, which my sister owns, which heats the houses and brings us hot water. My brother’s wife has horses, so we use the manure on the vegetable garden. It’s all connected. There are big changes in how we experience the house and the garden during the year, but the glasshouse does help to make it possible for us to carry on growing things and keep using these garden spaces all through the winter.’

margit@outline-ark.no