Home
Raven Rhapsody
เจ้าสาวในชุดสีขาว คือภาพฝันของผู้หญิงแทบจะทุกคนบนโลกนี้ และเมื่อพูดถึงงานแต่งงาน ภาพในหัวของคนส่วนใหญ่ก็คงนึกถึงสีขาวเช่นเดียวกัน แต่สำหรับ Meshmuseum แบรนด์ชุดเจ้าสาวที่มีคาแรคเตอร์ไม่เหมือนใครนั้น ก้าวข้ามเส้นของขนบ วัฒนธรรม และนิยามความงามของเจ้าสาวแบบเดิมๆ โดยเฉพาะเมื่อมองผ่านอินทีเรียของโชว์รูมที่เป็นประหนึ่งพิพิธภัณฑ์ส่วนตัวแห่งนี้
หลังบานประตูเหล็กสีดำกรุกระจกภายใต้ป้าย MESHMUSEUM คุณจะได้พบกับภาพที่แปลกตาและชวนประหลาดใจ โชว์รูมภายใต้แสงสลัวที่ฉาบทาและห่อหุ้มด้วยสีดำเกือบทุกพื้นที่แห่งนี้ แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากโชว์รูมชุดแต่งงานทั่วไป เป็นความกล้าหาญชาญชัยและท้าทายรูปแบบการตกแต่งงานแต่งงานแบบดั้งเดิมแทบทั้งหมด พื้น ผนังสีดำสนิท เฟอร์นิเจอร์แบบมินิมัล และโคมไฟที่เรียบง่าย สร้างบรรยากาศที่น่าตื่นเต้นและลึกลับ เป็นพื้นที่ที่ท้าทายความคาดหวัง เชิญชวนให้คุณทบทวนความคิดแบบเดิมๆ เกี่ยวกับรูปแบบและนิยามของความหรูหราสง่างาม
ตึกแถวคูหาเดียวที่ซ่อนตัวอยู่ในซอยย่านสุขุมวิทแห่งนี้ไม่ได้เป็นตัวเลือกแรก “ด้วยความที่มันเป็นตึกร้างและหน้าแคบมาก เลยไม่ได้คิดที่จะซื้อตึกนี้ตั้งแต่ทีแรก แต่พอเดินเข้ามาข้างในแล้วเห็นโถงนี้ มีความรู้สึกว่ามันไม่เหมือนที่อื่น มันไม่เหมือนตึกแถวทั่วไป เวลายืนอยู่ข้างหน้า มันแคบ สเปซมันน้อย แต่พอเดินเข้ามาข้างในที่มีเพดานสูงแล้วรู้สึกว่ามันเล่นอะไรได้เยอะ เลยเป็นจุดเริ่มต้นของการตัดสินใจมาอยู่ที่นี่” พลัฏฐ์ พลาฎิ ครีเอทีฟไดเร็กเตอร์และผู้ก่อตั้งแบรนด์ Meshmuseum เล่าให้ QoQoon ฟังถึงการตกหลุมรักตึกร้างแห่งนี้ เพียงเพราะช่อง void ที่เปิดโล่งตั้งแต่พื้นชั้นล่างถึงเพดานชั้นบนสุดของตึกแถวที่มีแปลนเหมือนชั้นลอยซิกแซกแปดชั้นนี้ “โครงสร้างตึกที่มีบันไดทะแยงไปมา เหมือนเอาชั้นลอยมารวมกัน ซึ่งเสียสเปซไปเยอะพอควร แต่สิ่งนี้คือสิ่งที่เราชอบ”
ตึกแถวคูหาเดียวที่ซ่อนตัวอยู่ในซอยย่านสุขุมวิทแห่งนี้ไม่ได้เป็นตัวเลือกแรก “ด้วยความที่มันเป็นตึกร้างและหน้าแคบมาก เลยไม่ได้คิดที่จะซื้อตึกนี้ตั้งแต่ทีแรก แต่พอเดินเข้ามาข้างในแล้วเห็นโถงนี้ มีความรู้สึกว่ามันไม่เหมือนที่อื่น มันไม่เหมือนตึกแถวทั่วไป เวลายืนอยู่ข้างหน้า มันแคบ สเปซมันน้อย แต่พอเดินเข้ามาข้างในที่มีเพดานสูงแล้วรู้สึกว่ามันเล่นอะไรได้เยอะ เลยเป็นจุดเริ่มต้นของการตัดสินใจมาอยู่ที่นี่” พลัฏฐ์ พลาฎิ ครีเอทีฟไดเร็กเตอร์และผู้ก่อตั้งแบรนด์ Meshmuseum เล่าให้ QoQoon ฟังถึงการตกหลุมรักตึกร้างแห่งนี้ เพียงเพราะช่อง void ที่เปิดโล่งตั้งแต่พื้นชั้นล่างถึงเพดานชั้นบนสุดของตึกแถวที่มีแปลนเหมือนชั้นลอยซิกแซกแปดชั้นนี้ “โครงสร้างตึกที่มีบันไดทะแยงไปมา เหมือนเอาชั้นลอยมารวมกัน ซึ่งเสียสเปซไปเยอะพอควร แต่สิ่งนี้คือสิ่งที่เราชอบ”
แรกเริ่มเดิมทีซื้อตึกนี้ถูกทำเป็นออฟฟิศ เพราะก่อนหน้านั้น พลัฏฐ์ ทำเสื้อผ้า Ready to wear โดยทำการรีโนเวตใหม่หมด โดยมีชั้นบนทำเป็นห้องพักของเจ้าตัว เผื่อไว้เวลาทำงานที่อาจจะล่วงเลยไปถึงดึกดื่น “พอมีธุรกิจใหม่ (แบรนด์ชุดเจ้าสาว Meshmuseum) เลยรีโนเวตชั้นล่างกับชั้นลอยอีกทีเพื่อใช้เป็นโชว์รูมเอาไว้รองรับลูกค้าที่ทำการนัดหมายเข้ามาที่ออฟฟิศ เลยต้องเปลี่ยนคอนเซ็ปต์ใหม่ จากเดิมซึ่งเป็นออฟฟิศที่ไม่ได้ซีเรียสเรื่องการตกแต่งมากเพราะใช้สอยอย่างเดียว พอเปลี่ยนมาเป็นโชว์รูม เราก็อยากให้คนสัมผัสได้ในเรื่องของแบรนดิ้ง เลยต้องรื้อใหม่หมด ก็ออกแบบเอง ใช้โครงเดิม แต่เปลี่ยนพื้น ผนัง และเฟอร์นิเจอร์ ใหม่หมด ทำห้องน้ำหลังบ้าน และเฟอร์นิเจอร์ที่สั่งทำใหม่ก็ออกแบบเองทุกชิ้น โดยมีลูกน้องมาช่วยดูเรื่องโครงสร้าง ว่าตรงไหนที่ควรเสริมในเรื่องของความแข็งแรงเพิ่มเติม”
เดิมทีนั้น ตึกนี้เป็นสีขาว-เทา เพิ่งมาเปลี่ยนเป็นสีดำตอนที่เป็น Meshmuseum เฟรมหน้าบ้าน ฟาซาด เฟรมข้างใน โถงบันไดทำใหม่หมด เปลี่ยนวัสดุใหม่ โดยมี ไม้ ปูน เหล็ก เป็นหลัก พื้นชั้นล่างเป็นหินอ่อนสีดำที่นำมาซอยแล้วเรียงเป็นลายก้างปลา “เราอยากให้บรรยากาศมันเป็นตึกที่ผ่านการใช้งานแล้ว การที่เราจะเดินไปซื้อหินอ่อนที่สั่งตัดแล้วเอามาเรียง ยังไงมันก็จะเงาวับ มันดูใหม่ เลยสั่งให้ช่างขัด ปั่น ลงน้ำยา ก็มั่วเอา คือทำยังไงก็ได้ให้มันด้าน ให้มันสึก ทำให้เหมือนกับว่าตึกนี้เป็นตึกที่ผ่านการใช้งานแล้ว พวกกรอบประตูข้างหน้าก็เหมือนกัน ประตู ตู้กระจกทั้งหมด ก็ออกแบบและสั่งทำ คอนเซ็ปต์คืออยากให้ดูเป็นวินเทจ ผ่านการใช้งานแล้ว” พลัฏฐ์กล่าว
เดิมทีนั้น ตึกนี้เป็นสีขาว-เทา เพิ่งมาเปลี่ยนเป็นสีดำตอนที่เป็น Meshmuseum เฟรมหน้าบ้าน ฟาซาด เฟรมข้างใน โถงบันไดทำใหม่หมด เปลี่ยนวัสดุใหม่ โดยมี ไม้ ปูน เหล็ก เป็นหลัก พื้นชั้นล่างเป็นหินอ่อนสีดำที่นำมาซอยแล้วเรียงเป็นลายก้างปลา “เราอยากให้บรรยากาศมันเป็นตึกที่ผ่านการใช้งานแล้ว การที่เราจะเดินไปซื้อหินอ่อนที่สั่งตัดแล้วเอามาเรียง ยังไงมันก็จะเงาวับ มันดูใหม่ เลยสั่งให้ช่างขัด ปั่น ลงน้ำยา ก็มั่วเอา คือทำยังไงก็ได้ให้มันด้าน ให้มันสึก ทำให้เหมือนกับว่าตึกนี้เป็นตึกที่ผ่านการใช้งานแล้ว พวกกรอบประตูข้างหน้าก็เหมือนกัน ประตู ตู้กระจกทั้งหมด ก็ออกแบบและสั่งทำ คอนเซ็ปต์คืออยากให้ดูเป็นวินเทจ ผ่านการใช้งานแล้ว” พลัฏฐ์กล่าว
ฟังก์ชันเมื่อแรกเข้ามาอยู่ใหม่คือเป็นออฟฟิศ โครงสร้างเดิมจึงเป็นแบบอินตัสเตรียล เพราะเน้นฟังก์ชัน ใช้งบประมาณไม่สูงมาก แต่เมื่อเปลี่ยนการใช้สอย จึงมีการปรับเปลี่ยนดีไซน์ใหม่ “พอมีสิ่งใหม่เกิดขึ้น มันมีความคาบเกี่ยวกัน เลยต้องพยายามให้ความเป็นอินตัสเตรียลและสิ่งที่เกิดใหม่มันอยู่ด้วยกันได้ ด้วยความที่เป็นโชว์รูมเวดดิ้ง ซึ่งคือ feminine 100% เพราะฉะนั้นสิ่งที่อยากสร้างขึ้นใหม่ในโชว์รูมเลยอยากให้มีเหลี่ยมมุม มีความเป็นกราฟิก มีความ masculine เพื่อให้ความแข็งมาตัดกับความหวานของชุดเจ้าสาว เลยดึงเอาดีเทลของพวกอาร์ตเดคโคมาใช้ นอกจากการออกแบบเสื้อที่ทุกคนทราบแล้ว อยากให้เวลาลูกค้าเดินเข้ามาแล้วสถานที่มันเล่าเรื่องไปพร้อมกับเสื้อ ไม่อยากให้เสื้อมันโดดเดี่ยวอยู่ในตู้ ไม่อยากให้ทุกอย่างเป็นสิ่งที่ควรจะเป็นหรือเป็นสิ่งที่ลูกค้าคุ้นเคย เราไม่ต้องการแบบนั้น เราต้องการให้คนเข้ามาแล้วรู้สึกว่ามันคอนทราสต์กัน คือด้วยสีมันคอนทราสต์อยู่แล้ว ส่วนตัวเป็นคนชอบสีดำอยู่แล้ว เลยใช้สีดำ แล้วชุดเจ้าสาวเป็นสีครีม ดีเทลของสิ่งที่อยู่ในตู้กับสิ่งที่อยู่นอกตู้มันเลยคอนทราสต์กัน ถ้าลูกค้าเดินเข้ามาเขาก็จะสัมผัสได้ถึงดีเทลทั้งหมด นี่คือสิ่งที่อยู่ในหัวเรา”
เมื่อถามถึงที่มาที่ไปของชุดเจ้าสาวในห้องดำ ดีไซเนอร์ให้เหตุผลส่วนตัวว่า “สีดำเป็นสีที่ comfortable เวลาเอาตัวเองเข้าไปอยู่ การแต่งตัวก็เหมือนกัน ตั้งแต่เด็กก็ใช้สีน้อยมาก คือมีแค่ขาว-เทา-ดำ คือมันเป็นสีกลางสุด เวลาเราเลือกอะไรก็จะเลือกที่เป็น Nuetral คือกลางสุด แต่เรื่องสไตล์เราต้องดันให้มัน Edgy ไปเลย คือ ถ้าไม่ขาวมากก็ต้องดำไปเลย คือพอชุดเจ้าสาวมันไปสุดขั้วหนึ่ง งานอินทีเรียไปอีกขั้วหนึ่ง มันก็ตัดกัน เลยรู้สึกว่าสีดำน่าจะเป็นสีที่ตอบโจทย์มากที่สุด”
เมื่อถามถึงที่มาที่ไปของชุดเจ้าสาวในห้องดำ ดีไซเนอร์ให้เหตุผลส่วนตัวว่า “สีดำเป็นสีที่ comfortable เวลาเอาตัวเองเข้าไปอยู่ การแต่งตัวก็เหมือนกัน ตั้งแต่เด็กก็ใช้สีน้อยมาก คือมีแค่ขาว-เทา-ดำ คือมันเป็นสีกลางสุด เวลาเราเลือกอะไรก็จะเลือกที่เป็น Nuetral คือกลางสุด แต่เรื่องสไตล์เราต้องดันให้มัน Edgy ไปเลย คือ ถ้าไม่ขาวมากก็ต้องดำไปเลย คือพอชุดเจ้าสาวมันไปสุดขั้วหนึ่ง งานอินทีเรียไปอีกขั้วหนึ่ง มันก็ตัดกัน เลยรู้สึกว่าสีดำน่าจะเป็นสีที่ตอบโจทย์มากที่สุด”
นอกจากงานอินทีเรียแล้ว จุดกึ่งกลางระหว่างแสงสว่างและความมืดมิด การเล่นล้อของแสงและเงาคือสิ่งที่สร้างความเย้ายวนและความน่าสนใจให้กับสถานที่แห่งนี้ เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงพลังของการออกแบบในการกระตุ้นอารมณ์และสร้างแรงบันดาลใจ
“ไล้ท์ติ้งก็สำคัญ ตอนทำก็ปรึกษาคนทำไล้ท์ติ้งให้มาออกแบบให้ เพราะเราไม่รู้เรื่องนี้จริงๆ แต่ขนาดออกแบบแล้วก็แก้อยู่หลายรอบ เพราะความสว่างมีผลมาก เป็นคนเซนสิทีฟกับเรื่องแสง โชว์รูมจะค่อนข้างมืด คือนอกจากดำแล้ว ยังใช้เปอร์เซ็นต์ของแสงค่อนข้างน้อยด้วย อยากให้ชุดมันอยู่ในตู้แล้วสลัวอยู่ในนั้น ดีเทลแค่นั้นพอ” ซึ่งความสลัวนี้มีที่มาจากจุดเริ่มต้นของแบรนด์ “Mesh Museum เริ่มจากการที่ทำให้คนรอบตัวก่อน จากคนหนึ่งคน เป็นสอง สาม สี่ มันตีวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ เพราะก่อนหน้านี้เราทำ Ready to wear มาโดยตลอด และทำให้เพื่อน คนสนิท คนในวงการ พอมันตีวงออกโดยที่เราไม่ได้ใช้พีอาร์ สิ่งเริ่มต้นและสิ่งสำคัญในการก่อตั้งแบรนด์นี้ขึ้นมาคือคุณภาพของมัน เพราะฉะนั้นคนที่จะเข้ามาเขาจะต้องรู้อยู่แล้วว่า Meshmuseum เป็นอย่างไร คนที่เดินเข้ามาจะไม่สงสัยแล้ว เขารู้แล้วว่าเขาจะเจออะไร”
“ไล้ท์ติ้งก็สำคัญ ตอนทำก็ปรึกษาคนทำไล้ท์ติ้งให้มาออกแบบให้ เพราะเราไม่รู้เรื่องนี้จริงๆ แต่ขนาดออกแบบแล้วก็แก้อยู่หลายรอบ เพราะความสว่างมีผลมาก เป็นคนเซนสิทีฟกับเรื่องแสง โชว์รูมจะค่อนข้างมืด คือนอกจากดำแล้ว ยังใช้เปอร์เซ็นต์ของแสงค่อนข้างน้อยด้วย อยากให้ชุดมันอยู่ในตู้แล้วสลัวอยู่ในนั้น ดีเทลแค่นั้นพอ” ซึ่งความสลัวนี้มีที่มาจากจุดเริ่มต้นของแบรนด์ “Mesh Museum เริ่มจากการที่ทำให้คนรอบตัวก่อน จากคนหนึ่งคน เป็นสอง สาม สี่ มันตีวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ เพราะก่อนหน้านี้เราทำ Ready to wear มาโดยตลอด และทำให้เพื่อน คนสนิท คนในวงการ พอมันตีวงออกโดยที่เราไม่ได้ใช้พีอาร์ สิ่งเริ่มต้นและสิ่งสำคัญในการก่อตั้งแบรนด์นี้ขึ้นมาคือคุณภาพของมัน เพราะฉะนั้นคนที่จะเข้ามาเขาจะต้องรู้อยู่แล้วว่า Meshmuseum เป็นอย่างไร คนที่เดินเข้ามาจะไม่สงสัยแล้ว เขารู้แล้วว่าเขาจะเจออะไร”
“range ของเจ้าสาวที่นี่จะกว้างมาก ตั้งแต่มินิมัลไปจนถึงอวองการ์ด เพราะฉะนั้น Describtion เดียวที่ให้ได้คือเรื่องสไตล์ เพราะสไตล์มันควบคุมทุกอย่างไว้ การที่เรามาทำธุรกิจนี้ ไม่ใช่ทำเสื้อให้เขา แต่เป็นการหยิบยื่นความฝันให้กับเขา เพราะเป็นครั้งหนึ่งในชีวิตเขา เป็นสิ่งเดียวที่เขาจะใส่ในวันนั้น และมันเป็นสำคัญที่สุดสิ่งหนึ่งในชีวิตเขา เราหยิบยื่นสไตล์ให้กับเขา ซึ่งมันนิชมาก ถ้าคนเข้าใจเขาจะไม่ตั้งคำถามเลย มันเป็นเรื่อง personal เวลาเลือก เขาจะเลือกที่สไตล์ก่อน แล้วตามมาด้วย History ของแบรนด์ เวลาเขาเลือกแบรนด์ๆ หนึ่ง เขาจะดูสิ่งที่เราทำมาตั้งแต่ต้นว่าเราทำอะไรมา รูปแบบ สไตล์ วัสดุที่ใช้เป็นอย่างไร”
ชั้นล่างทั้งหมดที่ใช้เป็นโชว์รูม ไม่ได้มีการใช้งานจริงจัง เป็นพื้นที่ที่แขกเดินผ่าน หน้าที่หลักของส่วนนี้คือการสร้าง vibe จะว่าไปก็ไม่ต่างจากพิพิธภัณฑ์ ให้สเปซและเสื้อได้เล่าเรื่องราวของมัน “ถ้าลังเลแล้วมาเห็นสเปซเขาสามารถตัดสินใจได้เลย บางทีอินทีเรียก็มีผลกับโปรดักส์ คือเอาโปรดักส์ไปวางไว้ตรงไหน สิ่งที่อยู่รอบๆ นั้น มีผลกับการตัดสินใจ” ดีไซเนอร์กล่าว
ส่วนการใช้งานทุกอย่างเกิดขึ้นและจบที่ห้องฟิตติ้งที่ชั้นลอย ไม่ว่าจะเป็นการนัดหมายเพื่อพูดคุย วัดตัว ลองชุด ไปจนส่งมอบงาน ขยับขึ้นไปชั้นบนๆ คือห้องเก็บงาน (Finishing) 1 ห้อง ห้องเย็บ 2 ห้อง ห้องตัดผ้า 1 ห้อง ห้องทำงานของดีไซเนอร์ผู้ช่วย และห้องครัวกลาง ส่วนชั้นบนสุดที่เคยเป็นห้องพักนั้นได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นออฟฟิศส่วนตัวของคุณพลัฏฐ์ในปัจจุบัน
ชั้นล่างทั้งหมดที่ใช้เป็นโชว์รูม ไม่ได้มีการใช้งานจริงจัง เป็นพื้นที่ที่แขกเดินผ่าน หน้าที่หลักของส่วนนี้คือการสร้าง vibe จะว่าไปก็ไม่ต่างจากพิพิธภัณฑ์ ให้สเปซและเสื้อได้เล่าเรื่องราวของมัน “ถ้าลังเลแล้วมาเห็นสเปซเขาสามารถตัดสินใจได้เลย บางทีอินทีเรียก็มีผลกับโปรดักส์ คือเอาโปรดักส์ไปวางไว้ตรงไหน สิ่งที่อยู่รอบๆ นั้น มีผลกับการตัดสินใจ” ดีไซเนอร์กล่าว
ส่วนการใช้งานทุกอย่างเกิดขึ้นและจบที่ห้องฟิตติ้งที่ชั้นลอย ไม่ว่าจะเป็นการนัดหมายเพื่อพูดคุย วัดตัว ลองชุด ไปจนส่งมอบงาน ขยับขึ้นไปชั้นบนๆ คือห้องเก็บงาน (Finishing) 1 ห้อง ห้องเย็บ 2 ห้อง ห้องตัดผ้า 1 ห้อง ห้องทำงานของดีไซเนอร์ผู้ช่วย และห้องครัวกลาง ส่วนชั้นบนสุดที่เคยเป็นห้องพักนั้นได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นออฟฟิศส่วนตัวของคุณพลัฏฐ์ในปัจจุบัน
ส่วนสิ่งที่ขาดไม่ได้อีกอย่างในที่แห่งนี้คือ ดอกไม้ “ตั้งแต่วันแรกที่เปิดโชว์รูมมา ไม่มีแม้แต่วันเดียวที่ไม่มีดอกไม้ เพราะนางเอกคือชุดที่อยู่ในตู้ ดอกไม้เป็นนางรองที่มาเล่าเรื่องต่ออีกทีหนึ่ง” ไม่ว่าจะเป็นที่โชว์รูมชั้นล่างหรือในห้องฟิตติ้งจึงไม่เคยขาดดอกไม้สดเลย
“พอโชว์รูมเสร็จแล้ว ฟีดแบคที่ได้จากลูกค้าก็เป็นอย่างที่เราต้องการ คือกลุ่มคนที่อินกับงานออกแบบของเรา กับเสื้อผ้าในแนวนี้ เขาจะไม่ตั้งคำถามเลยว่า ทำไมที่นี่ถึงเป็นสีดำ ซึ่งสีดำกับเจ้าสาว มันไม่ใช่แค่ความไม่เข้ากัน มันมากกว่านั้น คือถ้าตัดเรื่องศิลปะออกไป มันค่อนข้างเป็นเรื่องของความเชื่อบางอย่างที่ค่อนข้างรุนแรง แต่ในเมื่อเราเลือกแล้วว่าเราจะนำเสนอความงามในอีกรูปแบบหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นชุดเจ้าสาวก็อีกรูปแบบหนึ่ง อินทีเรียก็เป็นอีกรูปแบบหนึง ไม่จำเป็นต้องเหมือนหรือเข้ากัน แต่อยู่ด้วยกันแล้วส่งเสริมกันในเรื่องของสไตล์และคอนเซ็ปต์” ด้วยเหตุนี้ พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวของ พลัฏฐ์ พลาฎิ ที่ชื่อ Meshmuseum แห่งนี้จึงยูนีคและแตกต่างจากนิยามความงามของเจ้าสาวอย่างที่ใครหลายคนคุ้นเคย
“พอโชว์รูมเสร็จแล้ว ฟีดแบคที่ได้จากลูกค้าก็เป็นอย่างที่เราต้องการ คือกลุ่มคนที่อินกับงานออกแบบของเรา กับเสื้อผ้าในแนวนี้ เขาจะไม่ตั้งคำถามเลยว่า ทำไมที่นี่ถึงเป็นสีดำ ซึ่งสีดำกับเจ้าสาว มันไม่ใช่แค่ความไม่เข้ากัน มันมากกว่านั้น คือถ้าตัดเรื่องศิลปะออกไป มันค่อนข้างเป็นเรื่องของความเชื่อบางอย่างที่ค่อนข้างรุนแรง แต่ในเมื่อเราเลือกแล้วว่าเราจะนำเสนอความงามในอีกรูปแบบหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นชุดเจ้าสาวก็อีกรูปแบบหนึ่ง อินทีเรียก็เป็นอีกรูปแบบหนึง ไม่จำเป็นต้องเหมือนหรือเข้ากัน แต่อยู่ด้วยกันแล้วส่งเสริมกันในเรื่องของสไตล์และคอนเซ็ปต์” ด้วยเหตุนี้ พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวของ พลัฏฐ์ พลาฎิ ที่ชื่อ Meshmuseum แห่งนี้จึงยูนีคและแตกต่างจากนิยามความงามของเจ้าสาวอย่างที่ใครหลายคนคุ้นเคย
About The Owner
“แรงบันดาลใจการทำงานของผมเปรียบเสมือนการทอผ้าที่ประกอบขึ้นจากเส้นใยหลากชนิดของวัสดุที่แตกต่างกันจากหลายที่มาไร้ขีดจำกัด ไม่ว่าจะเป็นศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี หรือภาพจำจากอดีต ผมเชื่อว่าทุกสิ่งรอบตัวคือแรงบันดาลใจ เพียงแต่เราต้องเปิดใจและมองเห็นความงามในรายละเอียดเล็กๆ ที่ซ่อนอยู่
สำหรับการใช้ชีวิต ผมหลงใหลในความงดงามของสิ่งที่ไร้ที่ติและไม่สมบูรณ์แบบในเวลาเดียวกัน ชีวิตเหมือนงานศิลปะที่สามารถสะท้อนตัวตนโดนไม่ต่องพยายาม อาจมีทั้งความประณีตและความกล้าหาญ การผสมผสานสิ่งที่แตกต่างแต่กลับลงตัวเป็นสิ่งที่ผมโหยหาอยู่เสมอ”
-พลัฏฐ์ พลาฎิ
Story & Styling: Wachirapanee Markdee
Photos: Manoo Manookulkit