Home
Happiness Beyond Living
Beyond Living คือชื่อสตูดิโอของเพลินจันทร์ วิญญรัตน์ หรือคุณมุก และคือชื่อบนป้ายที่ติดอยู่หน้าบ้านที่ตั้งอยู่ท่ามกลางความร่มรื่นของต้นไม้ใหญ่หลังนี้ บริเวณชั้นล่างของบ้านถูกจัดเป็นพื้นที่ทำงานที่มีกี่ทอผ้าและวัสดุอุปกรณ์สารพันรูปแบบโดยเฉพาะพวกบรรดาขวด กระป๋องใช้แล้วที่กำลังรอรับการเปลี่ยนสถานะจากขยะไร้ค่าไปเป็นผลงานศิลปะ เพราะคุณมุกคือศิลปินและนักออกแบบด้านสิ่งทอระดับแถวหน้าของเมืองไทย ที่มักจะผลิตผลงานด้วยการรีไซเคิลหรืออัพไซเคิลสิ่งต่างๆ รอบตัว ที่สร้างทั้งประโยชน์และความหมายอันยั่งยืนให้กับวัสดุเหล่านั้นอีกครั้ง
สิ่งที่โดดเด่นที่สุดเมื่อมองจากภายนอกบ้านคือบันไดสีแดงส้มที่นำทางขึ้นไปสู่ชั้นสองของตัวบ้านซึ่งมีบานเกล็ดไม้สีเข้มอยู่โดยรอบ เมื่อเข้ามาในบ้านก็พบกับห้องโล่งกว้างเพดานสูงที่มีไม้ประกับบนเพดานในกลิ่นอายแบบ mid century เป็นห้องนั่งเล่นของครอบครัวซึ่งประกอบด้วยคุณมุก คุณแจ๊คผู้เป็นสามี และลูกชายฝาแฝดสามคนที่กำลังเริ่มเข้าวัยรุ่น ห้องนี้เป็นเหมือนศูนย์กลางของบ้านที่มีทั้งโซนนั่งเล่นดูโทรทัศน์ โต๊ะอาหารตัวยาวทำจากไม้ซุงแผ่นใหญ่ โซนห้องแพนทรีที่เชื่อมกับห้องครัวร้อนแบบเต็มรูปแบบ
ห้องนั่งเล่นกลางบ้านนี้ยังเป็นตัวแบ่งปีกบ้านด้านที่คุณมุกอยู่กับสามีซึ่งประกอบด้วยห้องนอนใหญ่ ห้องนั่งเล่น ห้องทำงาน ห้องน้ำและห้องแต่งตัว และปีกอีกด้านเป็นห้องนอน ห้องน้ำ ห้องดนตรีและห้องนั่งเล่นของลูกทั้งสาม เมื่อมองออกจากหน้าต่างจะเห็นสระว่ายน้ำที่คุณมุกบอกว่าเป็นสระที่มีมาตั้งแต่แรก และร่มเงาสีเขียวจากแมกไม้ที่รายล้อมตัวบ้าน ในแทบทุกส่วนของบ้านตกแต่งด้วยชิ้นงานศิลปะด้วยฝีมือคุณมุกเอง
“บ้านหลังนี้เป็นบ้านเก่าของครอบครัว น่าจะอายุประมาณ 60 ปี เป็นบ้านไทยที่มีสองเรือนแยก แล้วมีระเบียงแล่นตรงกลาง นั่นคือโครงบ้านแบบเดิม เราใช้ที่นี่เป็นสถานที่ทำงาน เป็นสตูดิโอทอผ้ามา 20 ปีแล้ว โดยเช่าจากคุณอา ช่วงหลังคุณพ่อก็บอกว่าอยากให้เป็นของขวัญให้ครอบครัว ของขวัญให้หลาน คุณพ่อก็เลยซื้อจากคุณอาแล้วยกให้หลาน เราไม่ต้องการจะทุบบ้านทิ้ง ทั้งที่ทุกคนบอกเราว่าการทุบทิ้งแล้วสร้างใหม่มันถูกกว่าการซ่อมบ้านเก่า แต่เนื่องจากมันเป็นบ้านของครอบครัว มันมีความทรงจำเยอะมาก เราเคยวิ่งอยู่บ้านนี้ตอนเด็กๆ เราก็ทำใจไม่ได้ที่จะทุบบ้าน และสภาพบ้านก็ยังคงดีอยู่ เลยเก็บเงิน แล้วคุณพ่อคุณแม่ก็ช่วยส่วนหนึ่งเพื่อเป็นงบในการซ่อมบ้านหลังนี้ ใช้เวลาทั้งหมด 14 เดือนในการซ่อมแซมบ้าน โดยต้องชมว่าเราได้สถาปนิกที่ดีมาก คือจริงๆ ผู้รับเหมาเกือบถอดใจ เพราะว่าการซ่อมบ้านเก่า 60 ปี โดยเฉพาะบ้านไทยมาทำให้เป็นลุคโมเดิร์นขนาดนี้มันยากมาก โชคดีที่ได้สถาปนิกที่ละเอียดและทำงานดีมาก” สถาปนิกที่พูดถึงก็คือ ทีมสถาปนิกจาก V2IN Architects
“บรีฟที่ให้เขาคือบอกว่าให้ใช้ของเก่ามากที่สุด ไม้ที่มีอยู่เดิมให้ใช้ ห้ามทิ้ง ของอะไรที่เก็บมาใช้ได้ให้ใช้ upcycle มาใช้ใหม่ เพราะฉะนั้น ที่เห็นคือพื้นไม้พื้นเดิม ส่วนข้างนอกนี่พื้นใหม่เพราะระเบียงเดิมเป็น outdoor บ้านไทยหลังคาต่ำและภายในค่อนข้างมืด เราก็ให้ตีทะลุ มันก็เลยดูเป็นบ้านที่สูง กว้าง และแสงเข้าเต็มที่ สิ่งที่ประทับใจที่สุดคือบอกเขาห้ามตัดต้นไม้เลย และอะไรที่ใช้ใหม่ได้ก็ใช้ เนื่องจากด้านล่างเราใช้เป็นที่ทำงานด้วย แล้วเราก็อยู่ด้วย เราก็ต้องพยายามแยกให้เป็นสัดส่วนเพื่อความเป็นส่วนตัว ก็จะมีฉาก มีกำแพงที่เอากระเบื้องหลังคาเก่า 60 ปีจากบ้านเดิมมาทำ มุ้งลวดที่ดึงออกมาเอามาใช้ทำเป็นงานอาร์ต คือพยายามไม่ทิ้งอะไรเลย”
ในวันที่ QoQoon ไปเยี่ยม คุณมุกย้ายเข้ามาอยู่บ้านหลังนี้ได้ประมาณ 4 เดือน เมื่อถามถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่วันแรกที่ได้เข้ามาอยู่จริง “บ้านหลังนี้เป็นบ้านที่อยู่แล้วมีความสุข เป็นบ้านเราจริงๆ มีทุกอย่างที่คนในครอบครัวแต่ละคนชอบ และมีความเป็นตัวเรา อย่างในห้องนอนใหญ่ก็จะเป็นสี
ทุกสิ่งที่ชอบอยู่ในห้องเดียวกัน ส่วนโซนของลูกมีแค่ห้องนั่งเล่นกับห้องดนตรีที่จะมีสีสันหรือสไตล์แบบเราเข้าไปบ้าง แต่ห้องส่วนตัวลูกๆ ก็เป็นแนวมินิมัล ขาว-ดำ เพื่อให้เขามาใส่ความเป็นตัวเขาเข้าไปเอง ส่วนตัวเป็นคนชอบสีสด อย่างบันไดหน้าบ้าน ตอนแรกทางสถาปนิกออกแบบมาเป็นสีดำ มุกก็บอกว่ามุกเดินบันไดดำไม่ได้ ขอเปลี่ยนเป็นสีแดง ชั้นวางของในห้องกินข้าวก็เปลี่ยนจากดำเป็นแดงให้เป็นสีเดียวกับบันได ส่วนบันไดด้านหลังอีกข้างก็มีส่วนที่เพ้นต์เอง เป็นลวดลายแบบกระเป๋าที่เคยทำ คือทุกส่วนจะมีความเป็นตัวเราอยู่ โต๊ะ 1 ตัว ก็ไปหาไม้กันเองจนกว่าจะถูกใจ ขาโต๊ะก็ออกแบบกันเอง อย่างเก้าอี้คือไปตามหาตั้งแต่สมุทรสาครและในกรุงเทพฯ 3-4 ที่ กว่าจะหาได้ ต้องไปเลือกและนั่งจนพอใจ และก็ไม่ยอมให้เบาะเป็นสีเดียว คนทำสิ่งทอจะรู้เพราะการใช้สีเดียว ถ้าผ่านไป 1 ปีแล้วมันโดนอะไรเปื้อนแล้วเราไปเปลี่ยน ต่อให้เป็นสีเหมือนกันมันก็จะไม่เท่ากับตัวอื่นเพราะตัวอื่นซีดลงตามการใช้งาน เรามีลูกผู้ชายเยอะก็กลัวจะทำเปื้อน ดังนั้น ใช้เบาะหลากสีแทบไม่เหมือนกันสักตัวถ้าตัวไหนต้องเปลี่ยนขึ้นมาก็ไม่มีปัญหา บางคนที่มาเห็นบ้านจะบอกว่ามุกใช้สีโทนร้อน ขณะเดียวกัน เราเองมองว่ามันคือสีโทนอบอุ่น neutral เป็นสีที่อยู่ด้วยกันแล้วเรารู้สึกว่าสบายตาไม่ได้ร้อนเลย
ส่วนตัวเป็นคนชอบสีสด อย่างบันไดหน้าบ้าน ตอนแรกทางสถาปนิกออกแบบมาเป็นสีดำ มุกก็บอกว่ามุกเดินบันไดดำไม่ได้ ขอเปลี่ยนเป็นสีแดง ชั้นวางของในห้องกินข้าวก็เปลี่ยนจากดำเป็นแดงให้เป็นสีเดียวกับบันได ส่วนบันไดด้านหลังอีกข้างก็มีส่วนที่เพ้นต์เอง เป็นลวดลายแบบกระเป๋าที่เคยทำ คือทุกส่วนจะมีความเป็นตัวเราอยู่ โต๊ะ 1 ตัว ก็ไปหาไม้กันเองจนกว่าจะถูกใจ ขาโต๊ะก็ออกแบบกันเอง อย่างเก้าอี้คือไปตามหาตั้งแต่สมุทรสาครและในกรุงเทพฯ 3-4 ที่ กว่าจะหาได้ ต้องไปเลือกและนั่งจนพอใจ และก็ไม่ยอมให้เบาะเป็นสีเดียว คนทำสิ่งทอจะรู้เพราะการใช้สีเดียว ถ้าผ่านไป 1 ปีแล้วมันโดนอะไรเปื้อนแล้วเราไปเปลี่ยน ต่อให้เป็นสีเหมือนกันมันก็จะไม่เท่ากับตัวอื่นเพราะตัวอื่นซีดลงตามการใช้งาน เรามีลูกผู้ชายเยอะก็กลัวจะทำเปื้อน ดังนั้น ใช้เบาะหลากสีแทบไม่เหมือนกันสักตัวถ้าตัวไหนต้องเปลี่ยนขึ้นมาก็ไม่มีปัญหา บางคนที่มาเห็นบ้านจะบอกว่ามุกใช้สีโทนร้อน ขณะเดียวกัน เราเองมองว่ามันคือสีโทนอบอุ่น neutral เป็นสีที่อยู่ด้วยกันแล้วเรารู้สึกว่าสบายตาไม่ได้ร้อนเลย
“ถ้าให้พูดว่าสไตล์ที่ใกล้เคียงกับบ้านหลังนี้ที่สุดคืออะไร ก็น่าจะเป็น mid century เพราะบ้านก็ 50-60 ปีมาแล้ว ตัวสถาปนิกเป็นคนมินิมัล แต่ความเยอะจะมาจากตัวเราเอง อย่างไฟเหนือโต๊ะกินข้าว คุณสถาปนิกสเปคมา 3-4 ดวง เราบอกว่าโต๊ะยาวมากให้ใส่ 7 เขาก็ทักว่ามันไม่เหมือนกันเลยนะครับ เราก็บอกว่าเราไม่ได้อยากให้มันเหมือนกัน เราอยากให้มันดูเป็นคนละแบบ สูงต่ำไม่เท่ากัน เรามีความรู้สึกว่าบ้านมันต้องมีความไม่เข้ากัน ไม่เป็นเซ็ต อะไรที่เป็นเซ็ตเท่ากันแบบเป๊ะมันคือโรงแรม มันไม่ใช่บ้าน บ้านมันต้องมีนั่นมาจากฝั่งซ้าย นี่มาจากฝั่งขวา มีความหลากหลาย แต่สไตล์ที่บ่งบอกความเป็นคุณ ความเป็นครอบครัวคุณ หรือชีวิตคุณ อะไรที่คุณผ่านมา”
ในเรื่องของการทำงานที่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคุณมุกนั้น “เราทำงานแบบนี้มากว่า 10 ปี โดยที่เริ่มแรกไม่ได้คิดถึงคำว่า sustainability หรืออะไรก็ตาม คิดแต่ว่าเป็นการไม่ทิ้งของ หรือบริหารสต๊อก เราสอนลูกให้เห็นคุณค่าของ ของเก่าไม่ใช่ไม่ดีเสมอไป ของเล่นเนี่ยใช้ของเล่นเหลือจากพี่น้องหรือใครให้มาก็ได้ หรือของเก่าเอามาทำเป็นงานศิลปะ เป็นคีย์หลักของครอบครัวเรา ที่เราอยากให้ลูกเราไม่วิ่งเร็วกับสิ่งที่มาเร็วและไปเร็ว แต่หันกลับมาดูสิ่งเก่าๆ แล้วเอาของที่เดิมๆ มาทำให้เป็นของใหม่ มันก็เลยกลายเป็นมาเป็นแนวทางในการใช้ชีวิตจนเลยมาถึงเรื่องงาน จนเดี๋ยวนี้มันกลายเป็นเรื่องที่คนให้ความสนใจขึ้นมา เราเลยกลายเป็นมิสกรีน หรือมิส sustainability โดยที่ไม่ได้ตั้งใจ ก็ดีใจที่ทำสิ่งนี้มาแล้วคนเริ่มเห็น แต่โดยส่วนตัวเราไม่ได้มองว่าเราเป็น sustainable artist เรามองว่ามันเป็นวัตถุดิบชนิดหนึ่งที่เราเลือกที่จะใช้ เรียกได้ว่าเป็นความบังเอิญที่ทำมาให้เป็นแบบทุกวันนี้ แต่เราก็ยังทำงานอื่นที่เป็นเชิงพาณิชย์หรืองานอาร์ตที่เราต้องซื้อวัตถุดิบมา แต่อะไรที่เหลือเราก็จะเก็บไว้ใช้ เอามาทำเป็นงานอาร์ตของตัวเอง อย่างงานชิ้นนี้ก็เป็นเศษผ้าที่เหลือจากโปรเจ็กต์โรงแรม เศษด้ายเหลือจากพรม ก็เอามาประกอบเป็นงาน ก็เป็นความยั่งยืนในรูปแบบของการหมุนเวียนมาใช้” คุณมุกพูดถึงงานศิลปะบนกำแพงที่เป็นเหมือนประติมากรรมจากผืนผ้าและเส้นด้ายร้อยเรียงสลับสีสันสดใสของเธอ
ในเรื่องของการทำงานที่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคุณมุกนั้น “เราทำงานแบบนี้มากว่า 10 ปี โดยที่เริ่มแรกไม่ได้คิดถึงคำว่า sustainability หรืออะไรก็ตาม คิดแต่ว่าเป็นการไม่ทิ้งของ หรือบริหารสต๊อก เราสอนลูกให้เห็นคุณค่าของ ของเก่าไม่ใช่ไม่ดีเสมอไป ของเล่นเนี่ยใช้ของเล่นเหลือจากพี่น้องหรือใครให้มาก็ได้ หรือของเก่าเอามาทำเป็นงานศิลปะ เป็นคีย์หลักของครอบครัวเรา ที่เราอยากให้ลูกเราไม่วิ่งเร็วกับสิ่งที่มาเร็วและไปเร็ว แต่หันกลับมาดูสิ่งเก่าๆ แล้วเอาของที่เดิมๆ มาทำให้เป็นของใหม่ มันก็เลยกลายเป็นมาเป็นแนวทางในการใช้ชีวิตจนเลยมาถึงเรื่องงาน จนเดี๋ยวนี้มันกลายเป็นเรื่องที่คนให้ความสนใจขึ้นมา เราเลยกลายเป็นมิสกรีน หรือมิส sustainability โดยที่ไม่ได้ตั้งใจ ก็ดีใจที่ทำสิ่งนี้มาแล้วคนเริ่มเห็น แต่โดยส่วนตัวเราไม่ได้มองว่าเราเป็น sustainable artist เรามองว่ามันเป็นวัตถุดิบชนิดหนึ่งที่เราเลือกที่จะใช้ เรียกได้ว่าเป็นความบังเอิญที่ทำมาให้เป็นแบบทุกวันนี้ แต่เราก็ยังทำงานอื่นที่เป็นเชิงพาณิชย์หรืองานอาร์ตที่เราต้องซื้อวัตถุดิบมา แต่อะไรที่เหลือเราก็จะเก็บไว้ใช้ เอามาทำเป็นงานอาร์ตของตัวเอง อย่างงานชิ้นนี้ก็เป็นเศษผ้าที่เหลือจากโปรเจ็กต์โรงแรม เศษด้ายเหลือจากพรม ก็เอามาประกอบเป็นงาน ก็เป็นความยั่งยืนในรูปแบบของการหมุนเวียนมาใช้” คุณมุกพูดถึงงานศิลปะบนกำแพงที่เป็นเหมือนประติมากรรมจากผืนผ้าและเส้นด้ายร้อยเรียงสลับสีสันสดใสของเธอ
“ห้องนี้เป็นห้องที่ได้ใช้เยอะที่สุด เราเรียกว่า cuddle room” คุณมุกบรรยายเมื่อพาเราเดินจากห้องนั่งเล่นใหญ่ผ่านประตูเข้าสู่ห้องนั่งเล่นส่วนตัวขนาดกะทัดรัดก่อนถึงห้องนอน ซึ่งมีโทรทัศน์ มุมนั่งเล่น และเครื่องออกกำลังกาย “ทุกวันพอกินข้าวเย็นเสร็จก็เข้าห้อง พักผ่อนดูหนัง ผ้าม่านในห้องนี้และห้องนอนก็เอามาจากผ้าที่มีเศษเหลือ ชิ้นงานที่ตกแต่งทอจากกระดาษออฟฟิศใช้แล้ว เอาไปใส่เครื่องย่อย แล้วนำมาฟั่นเกลียวด้วยมือแล้วจึงนำกลับไปทอใหม่ ทุกอย่างเราเน้นใช้ของหมุนเวียน ของตกแต่งก็ใช้ของที่เก็บๆ ไว้ มีชิ้นพิเศษคือนกยูงในห้องนั่งเล่นใหญ่ที่ได้รับมาจากคุณ Bill Bensley เราเป็นเพื่อนสนิทกันและก็ไปเล่าว่าแถวบ้านมีนกยูงที่บินมาจากบ้านอื่นเพราะคนบ้านนี้ให้อาหารแล้วนกยูงติดใจก็เลยมาบ่อย เลยกลายเป็นสัญลักษณ์ของบ้านนี้ที่เราเรียกว่า จุ๊ก กับแม็ค มาจากแจ็ค กับมุก”
“บ้านที่มีความเป็นบ้านสำหรับเรา คือบ้านที่อยู่แล้วไม่อยากออกจากบ้าน ทุกวันนี้ไม่อยากไปไหนถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ทุกคนก็อยู่แล้วมีความสุข โดยส่วนตัวแล้วครอบครัวคือสิ่งที่สำคัญที่สุด จะคอยถามลูกว่า รู้สึกว่าที่นี่เป็นบ้านหรือยัง เพราะเราย้ายมาจากใจกลางเมืองที่มีห้างมีอะไรทุกอย่าง แต่ตอนนี้ออกมาอยู่ไกลหน่อย แต่ยังโชคดีที่มีรถไฟฟ้า ลูกก็บอกว่าเขามีความสุขมาก สามีก็มีความสุข และเป็นคนช่วยเราออกแบบช่วยให้คอมเมนต์ตั้งแต่เริ่มต้นในทุกๆ เรื่อง ในเมื่อทุกคนมีความสุขก็คือเพียงพอแล้ว”
Story: Titima C
Styling: Whisky Markdee
Photos: Manoo Manookulkit