Design

Tom Dixon Experience

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา ได้มีการมาเยือนเมืองไทยของ Tom Dixon ผู้ก่อตั้งแบรนด์ออกแบบชั้นนำระดับโลกจากประเทศอังกฤษ โดย Motif ผู้เป็นตัวแทนจัดจำหน่ายเพียงผู้เดียวในประเทศไทยมากว่า 13 ปี ซึ่งในปี 2025 ทางแบรนด์เลือกปักหมุดในโซนเอเชียเพื่อจัดกิจกรรม Tom Dixon’s 48 Hours และเลือกประเทศไทยเป็นหมุดหมายแรกสำหรับการเดินทางครั้งใหม่ โดยอีเว้นต์นี้ได้เคยเกิดขึ้นกับเมืองใหญ่ทั่วโลกที่มีทั้งความเป็นเมืองแห่งดีไซน์ที่เรียกได้ว่าเป็น Design Destination อาทิ โคเปนฮาเกน ปารีส มิลาน สตอล์กโฮล์ม และเซี่ยงไฮ้ หนึ่งในวาระสำคัญของอีเว้นต์คือ Design Talk ที่คุณ Tom Dixon มาบอกเล่าและถ่ายทอดประสบการณ์ในการทำงานและแนวคิดรวมไปถึงแรงบันดาลใจในการออกแบบ

The Industrial Alchemist of Design จากความดิบแบบพังก์สู่การเล่นแร่แปรธาตุแห่งการออกแบบ

Tom Dixon

การเดินทางของ Tom Dixon เป็นประจักษ์พยานอันน่าทึ่งถึงพลังแห่งความไม่เหมือนใคร ทอมไม่เคยอยากเป็นนักออกแบบ ไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับการออกแบบ และไม่ได้มีความทะเยอทะยานใดๆ เลยในตอนเด็ก “แต่ผมชอบวาดรูป” ทอมกล่าว เมื่อประมาณอายุ 16 ทอมพบว่าตัวเองชอบปั้นดิน และได้ค้นพบความสามารถในการเปลี่ยนวัสดุหน้าตาน่าเกลียดให้กลายเป็นอะไรบางอย่างที่อย่างน้อยก็มีความน่ามองมากขึ้น สิ่งนี้ส่งอิทธิพลให้กับตัวเขาเป็นอย่างมากในเวลาต่อมา พอๆ กับการถือกำเนิดดนตรีพังก์ที่กลายมาเป็นมูฟเม้นต์สำคัญในวัฒนธรรมป๊อป “เช่นกันกับเด็กอื่นๆ รุ่นผม พวกเราเติบโตขึ้นในยุคที่มีวัฒนธรรมพังก์ในอังกฤษ และมันมีอะไรบางอย่างที่น่าสนใจเกี่ยวกับดนตรีในช่วงเวลานั้นคุณไม่จำเป็นจะต้องมีทักษะหรือประกาศนียบัตรอะไรรองรับ คุณอาจจะไม่ต้องเรียนรู้วิธีการเล่นดนตรีและคุณอาจจะร้องเพลงได้แย่มากแต่ คุณก็ยังสามารถขึ้นอันดับ 1 ในชาร์ตเพลงฮิตได้” ทอมกล่าวต่ออีกว่า “ผมไม่เคยเป็นพังก์แต่ช่วงเวลาที่ผมเติบโตขึ้นนั้นมันก็มีกลุ่มวัฒนธรรมย่อยที่หลากหลายมากในอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็น Glam Rock, Rock ‘n’ Roll, Skinhead, New Romantic”

อิทธิพลของดนตรีส่งต่อไปยังวงการแฟชั่น จาก The Sex Pistols สู่ Vivienne Westwood เช่นเดียวกับทอม “ผมสนใจในดนตรีมากกว่าการออกแบบ เมื่ออายุ 17 ผมเป็นมือเบสในวงดนตรีดิสโก้ แต่เนื่องด้วยอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ทำให้เส้นทางดนตรีของผมต้องสิ้นสุดลงและทำให้ผมไม่ต้องทำอะไรเลยอยู่ช่วงหนึ่ง ซึ่งเป็นช่วงที่ผมได้สะสมชิ้นส่วนจักรยานยนต์ รถยนต์ และได้เรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคการเชื่อมโลหะ” ทอมค้นพบว่า การเชื่อมเป็นเทคนิคที่น่าสนใจมาก มันทำให้สามารถสร้างประติมากรรมได้อย่างรวดเร็วและแข็งแรง “ผมคิดว่าถ้าคุณสร้างชิ้นงานจากเซรามิกหรือไม้ คุณจะต้องวางแผน และถ้าคุณทำอะไรผิดพลาดก็ไม่สามารถย้อนกลับไปได้แต่ในการเชื่อมโลหะถ้าคุณทำอะไรพลาดก็แค่ทำใหม่ ผมคิดว่าสิ่งที่ผมเรียนรู้จากอุตสาหกรรมดนตรีคือผมสามารถทำหรือสร้างอะไรโดยที่ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้วิธีและไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจากใครทั้งสิ้น ซึ่งคุณจะเห็นได้จากผลงานในช่วงแรกว่ามันค่อนข้างน่าเกลียด” ผลงานออกแบบเก้าอี้ของทอมในช่วงแรกส่วนใหญ่จึงมักทำจากโลหะในหลากหลายรูปแบบ

Tom Dixon
Tom Dixon
Tom Dixon
Tom Dixon

“ผมคิดว่ามันมีอะไรบางอย่างเกี่ยวกับการอยู่ในลอนดอนในช่วงนั้นที่ทำให้คุณสามารถทำผลงานที่เป็นอิสระมากๆ เก้าอี้ชื่อ Dangerous มันเป็นสนิม ไม่ได้ดูน่าดึงดูดและนั่งไม่สบาย แต่ความพิเศษของมันก็คือ ในช่วงเวลานั้น ในลอนดอนมีแค่ผมเพียงคนเดียวที่ทำงานรูปแบบนี้ ผมคิดว่าในโลกยุคใหม่มันเป็นเรื่องยากขึ้นและยากขึ้นที่จะมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ดังนั้นคุณจะเห็นได้ว่าผมก็ไม่ได้เก่งเรื่องการออกแบบ ไม่ได้เก่งเรื่องการทำงานโลหะ แต่ทั้งหมดเกิดจากการฝึกฝนที่ทำให้ผมมีฝีมือดีขึ้น” ทอมจึงเริ่มสร้างสิ่งต่างๆ จากข้าวของที่พบเจอ พวกของเหลือทิ้ง วัสดุเป็นของได้มาฟรีๆ และหาง่าย โดยใช้เทคนิคที่รวดเร็ว เขาจึงสามารถเรียนรู้ผ่านการทดลองทำชิ้นงานหลากหลายรูปแบบ

“หลังจากนั้นผมก็เปลี่ยนจากใช้ขยะเหลือทิ้งเป็นการใช้ของจากร้านเครื่องครัว ไม่ว่าจะเป็นกระทะหรือทัพพีจากร้านจีน โดยเอามาผสมกับตะเกียบจักรยาน วัตถุเหล่านี้คือสิ่งที่ทำให้ผมเรียนรู้เกี่ยวกับรูปฟอร์มและสัดส่วนที่ผมนำมาใช้ในการทำงาน” ซึ่งในขณะนั้นทอมยังคงซุ่มสร้างสรรค์ผลงานของเขาอยู่เงียบๆ คนเดียว “ข้อดีของการทำงานคนเดียวคือ ไม่มีใครมาบอกคุณว่าควรหรือไม่ควรทำอะไร ผมเคยไปเห็นโรงเรียนศิลปะซึ่งมีการวิจารณ์มากมาย ซึ่งมักจะมีการบรีฟที่จำเพาะเจาะจง และคุณจะต้องทำงานตามที่อาจารย์สั่ง แต่คุณจะเห็นได้ว่าผมมีความอิสระอย่างเต็มที่ที่จะสร้างชิ้นงานให้ออกมาเป็นรูปร่างไหนก็ได้ตามวัสดุที่ผมพบเจอ และนั่นคือสิ่งสำคัญเช่นกันสำหรับผมในการที่ไม่ได้ไปโรงเรียนศิลปะ” ในแง่ของผลลัพธ์คือ ในทันทีที่ทอมเริ่มขายของได้ เขาจึงเริ่มสนใจในความคิดที่จะกลายมาเป็นดีไซเนอร์ “เพราะผู้คนอยากซื้อของจากผม ดังนั้นสำหรับผม นี่คือการเปลี่ยนขยะให้กลายเป็นทองคำได้ราวกับนักเล่นแร่แปรธาตุ”

จากนั้นเทคนิคการเชื่อมของทอมเริ่มพัฒนาขึ้นอย่างมาก จากการฝึกฝนและลองผิดลองถูก “ในช่วง 1-2 ปีแรก ผมอาจจะทำเก้าอี้ไปเกือบ 100 ตัว ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ถ้าผมทำงานหลักหรือเรียนอยู่” ทอมทดลองทำเก้าอี้จากหลากหลายวัสดุ และรูปทรงก็เริ่มที่จะดูดีมากขึ้น โครงสร้างก็เริ่มที่จะแข็งแรงมากขึ้นและนั่งสบายมากขึ้น “ในประเทศอังกฤษตอนนั้นไม่มีใครสนใจการออกแบบนักเราไม่ได้มี Design Museum ไม่มีสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับงานดีไซน์เลย” จึงเป็นเรื่องที่น่าโล่งใจเมื่อเขาถูกค้นพบโดยชาวอิตาเลียน และได้รู้ว่าเขาสามารถประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ได้จริงๆ “เก้าอี้ที่ผมทำขึ้นได้ถูกนำออกสู่สายตานานาชาติผ่านการจัดการของบริษัทลักชัวรี่แบรนด์ของอิตาลี และผมได้เรียนรู้อย่างมากจากชาวอิตาเลียนในแง่ของคุณค่าของดีไซน์ที่มีต่ออุตสาหกรรม” หลังจากนั้นทอมจึงมีร้านของตัวเอง พร้อมพนักงานประมาณ 15 คน ในโรงงานเล็กๆ ที่ผลิตงานโลหะให้กับเขา

The Journey of Tom Dixon การเดินทางครั้งใหม่

Tom Dixon Experience ที่โชว์รูม Motif
Tom Dixon Experience ที่โชว์รูม Motif
Tom Dixon Experience ที่โชว์รูม Motif
Tom Dixon Experience ที่โชว์รูม Motif

หลังจากการทดลองและลองผิดลองถูก และการทำงานเพื่อผลิตผลงานของตัวเอง ก็มาถึงจุดที่ทอมตระหนักได้ว่า ถึงเวลาแล้วที่เขาควรจะทำงานประจำเสียที

“งานแรกที่ผมทำคือที่บริษัท habitat ซึ่งเป็นของ IKEA บริษัทเฟอร์นิเจอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในฐานะ Creative Director จากจุดเริ่มต้นที่สร้างชิ้นงานด้วยตัวเองและมีโรงงานเล็กๆ ไปสู่การทำงานกับบริษัทยักษ์ใหญ่ เป็นที่ๆ ผมได้เรียนรู้เกี่ยวกับแบรนด์ดิ้งและการทำงานกับนักออกแบบ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ creative direction” เวลา 10 ปี ในการทำงานที่ habitat และผลงานมากมาย นานและมากพอที่จะทำให้ทอมรู้สึกเบื่อและอยากที่จะสร้างแบรนด์ของตัวเอง ทอมจึงเริ่มสร้างแบรนด์ Tom Dixon ขึ้นมา “เป็นชื่อที่มีประโยชน์มากเพราะมันออกเสียงง่ายในทุกภาษา” ทอมกล่าว “ผมสร้างแบรนด์ของตัวเองขึ้นมาโดยที่ใช้โมเดลของแบรนด์แฟชั่นในการทำแบรนดิ้งมากกว่าแบรนด์ดีไซน์ เพราะมันเป็นเรื่องค่อนข้างแปลกสำหรับนักออกแบบที่จะทั้งทำการผลิตเอง ทำการตลาดเอง และส่งคอลเล็กชั่นเหล่านั้นไปยังท้องตลาดเอง นักออกแบบส่วนมากจะมีสตูดิโอแล้วก็มีบริษัทที่เป็นตัวแทนมาทำงานหนักทั้งหมด ทั้งเอาไปผลิต ตั้งราคา และอื่นๆ แต่ผมอยากจะมีจักรวาลที่เป็นของผมอย่างแท้จริง และนั่นคือสาเหตุที่ผมเอาชื่อผมติดไว้เหนือประตู และคือสาเหตุที่ผมทำสิ่งที่ผมทำอยู่ในทุกวันนี้”

จากวันนั้นจนถึงวันนี้ แบรนด์ Tom Dixon นี้มีอายุ 22 ปีแล้ว “เราทำทั้งเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่ง เราทำแม้กระทั่งน้ำหอม และส่วนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนใหญ่มากที่เราทำคือโคมไฟ ผมคิดว่าเป็นเรื่องน่าสนใจที่โคมไฟมักจะเป็นเครื่องตกแต่งที่ผู้คนมักจะกล้าเสี่ยงกล้าลองอะไรใหม่ๆ ในบรรดาเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมด”

Divergent Reversal เรื่องตลก 69 ในวงการออกแบบ

ทอมเล่าถึงแรงบันดาลใจเบื้องหลังเฟอร์นิเจอร์บางชิ้นของเขา ชิ้นแรกคือโคมไฟที่ชื่อว่า Beat “เป็นเรื่องน่าสนใจอีกเช่นกันว่าบางครั้งคุณเริ่มโปรเจ็กต์ขึ้น แต่ผลลัพธ์ไม่ใช่สิ่งที่คุณเคยตั้งต้นไว้เลย” ในตอนแรกสุด British Council ซึ่งเป็นองค์กรภาครัฐได้มาขอให้ทอมทำโปรเจ็กต์การกุศลในอินเดียและไนจีเรีย โดยขอร้องทอมให้เดินทางไปที่ประเทศเหล่านี้และทำงานกับช่างเหล็ก เพื่อที่จะช่วยหาวิธีสร้างรายได้ใหม่ๆ ให้กับคนในท้องที่

โคมไฟ Beat
โคมไฟ Beat

“ที่เมืองไจปูร์ ผมได้พบกับช่างฝีมือที่ทำภาชนะโลหะสำหรับใส่น้ำผลิตด้วยกรรมวิธีที่ทำกันมานับพันปี แต่งานฝีมือแขนงนี้กำลังขาดแคลนคนสานต่อ เพราะไม่มีใครอยากใช้หม้อโลหะอีกต่อไป ชาวบ้านเปลี่ยนมาใช้หม้อพลาสติกซึ่งราคาถูกกว่าและมีน้ำหนักเบากว่า ดังนั้นสิ่งที่เราทำคือ สร้างคอลเล็กชั่นโคมไฟที่มีพื้นฐานจากรูปทรงของภาชนะใส่น้ำจากอินเดียเหล่านี้ พวกเราแค่เปลี่ยนฟังก์ชั่นของมัน แต่ยังคงเก็บรูปร่างและเทคนิคในงานโลหะเอาไว้” แล้วมันก็กลายมาเป็นหนึ่งในความสำเร็จแรกๆ “เราสร้างคอลเล็กชั่นโคมไฟ Beat จากทองเหลือง และเรื่องที่น่าสนใจก็คือ เกิดของลอกเลียนแบบปรากฏขึ้นในตลาดอย่างรวดเร็วมาก ซึ่งผมคิดว่านั่นคือปัญหาที่ทุกแบรนด์ต้องพบเจอ ผมเจอของปลอมที่ขายออนไลน์มากมายที่ราคาถูกกว่าของเรามาก เจอแม้กระทั่งการหยิบยืมกลิ่นอายไปใช้ในสินค้าอื่น เช่น ชามของ IKEA ซึ่งมีรูปร่างสีสันใกล้เคียงกันมาก เพียงแต่เป็นชาม ไม่ใช่โคมไฟ”​ และสิ่งที่น่าสนใจยิ่งขึ้นไปอีกก็คือมีคนทำคลิป Hack ไอเดีย ที่บอกว่าถ้าคุณอยากจะได้โคมไฟ Tom Dixon ในราคาถูกคุณก็สามารถไปซื้อชามจาก IKEA มาเจาะรูแล้วคุณก็จะได้โคมไฟ Beat “ดังนั้น จากชามใส่น้ำที่ไจปูร์ซึ่งกลายมาเป็นโคมไฟในงานของผม ได้กลับกลายเป็นชามอีกครั้งที่ IKEA และก็กลับมาเป็นโคมไฟอีกครั้งผ่านบรรดานักทำคลิป มันจึงน่าสนใจที่ได้เห็นวิวัฒนาการของสินค้าหนึ่งชิ้น”

โคมไฟ Beat
โคมไฟ Beat

“ที่เมืองไจปูร์ ผมได้พบกับช่างฝีมือที่ทำภาชนะโลหะสำหรับใส่น้ำผลิตด้วยกรรมวิธีที่ทำกันมานับพันปี แต่งานฝีมือแขนงนี้กำลังขาดแคลนคนสานต่อ เพราะไม่มีใครอยากใช้หม้อโลหะอีกต่อไป ชาวบ้านเปลี่ยนมาใช้หม้อพลาสติกซึ่งราคาถูกกว่าและมีน้ำหนักเบากว่า ดังนั้นสิ่งที่เราทำคือ สร้างคอลเล็กชั่นโคมไฟที่มีพื้นฐานจากรูปทรงของภาชนะใส่น้ำจากอินเดียเหล่านี้ พวกเราแค่เปลี่ยนฟังก์ชั่นของมัน แต่ยังคงเก็บรูปร่างและเทคนิคในงานโลหะเอาไว้” แล้วมันก็กลายมาเป็นหนึ่งในความสำเร็จแรกๆ “เราสร้างคอลเล็กชั่นโคมไฟ Beat จากทองเหลือง และเรื่องที่น่าสนใจก็คือ เกิดของลอกเลียนแบบปรากฏขึ้นในตลาดอย่างรวดเร็วมาก ซึ่งผมคิดว่านั่นคือปัญหาที่ทุกแบรนด์ต้องพบเจอ ผมเจอของปลอมที่ขายออนไลน์มากมายที่ราคาถูกกว่าของเรามาก เจอแม้กระทั่งการหยิบยืมกลิ่นอายไปใช้ในสินค้าอื่น เช่น ชามของ IKEA ซึ่งมีรูปร่างสีสันใกล้เคียงกันมาก เพียงแต่เป็นชาม ไม่ใช่โคมไฟ”​ และสิ่งที่น่าสนใจยิ่งขึ้นไปอีกก็คือมีคนทำคลิป Hack ไอเดีย ที่บอกว่าถ้าคุณอยากจะได้โคมไฟ Tom Dixon ในราคาถูกคุณก็สามารถไปซื้อชามจาก IKEA มาเจาะรูแล้วคุณก็จะได้โคมไฟ Beat “ดังนั้น จากชามใส่น้ำที่ไจปูร์ซึ่งกลายมาเป็นโคมไฟในงานของผม ได้กลับกลายเป็นชามอีกครั้งที่ IKEA และก็กลับมาเป็นโคมไฟอีกครั้งผ่านบรรดานักทำคลิป มันจึงน่าสนใจที่ได้เห็นวิวัฒนาการของสินค้าหนึ่งชิ้น”

เมื่อมาถึงตอนนี้ ทอมจึงต้องหาวิธีว่าจะจัดการกับคู่แข่งของเขา คือบรรดาของลอกเลียนแบบได้อย่างไร “ผมก็เลยคิดว่ามันอาจได้เวลาแล้วที่ผมจะขโมยไอเดียจากคนที่ขโมยของผมไปโดยการทำคอลเล็กชั่นที่ผมสามารถจำหน่ายในราคาถูกได้เช่นกัน ดังนั้นผมจึงลองทำโคมไฟ Beat โดยใช้อลูมิเนียม ไม่ใช่ทองเหลือง และไม่ใช่งานฝีมือ ซึ่งผมเลือกใช้อะลูมิเนียมที่มีคุณภาพมากกว่าที่พวกผลิตของปลอมใช้ และมันก็ยังให้ vibe ใหม่ๆ ที่ไม่ใช่ความละเมียดแบบงานฝีมือ แต่เป็น vibe แบบอินดัสเตรียล และมีราคาถูกเพียงครึ่งหนึ่งของคอลเล็กชั่นทองเหลือง” และนี่ก็คือเรื่องราวของโคมไฟ Beat ที่สอนให้เรารู้ว่าเราไม่ควรที่จะสมยอม ไม่ควรที่จะนั่งอยู่เฉยๆ และไม่ควรที่จะยอมแพ้ต่อผู้คนที่ขโมยไอเดียคุณไป

โคมไฟ Melt
โคมไฟ Melt
โคมไฟ Melt
โคมไฟ Melt

“โคมไฟเป็นของตกแต่งบ้านที่น่าสนใจ เพราะเป็นวัตถุที่จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของสเปซ และจะต้องดูดีทั้งในเวลาที่เปิดและปิด เราเรียนรู้เกี่ยวกับแสงเงาและการสร้างแสงผ่านตัววัสดุหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นแก้วหรือโลหะเพื่อที่ให้ได้ผลลัพธ์แบบแสงธรรมชาติ ความน่าสนใจก็คือ มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการตกแต่งภายใน แต่ก็เป็นเรื่องที่อยู่ตรงใจกลางการปฏิวัติทางวิศวกรรม เมื่อเทคโนโลยีก้าวไปข้างหน้าวงการดีไซน์ก็จะต้องก้าวไปด้วยกัน เราได้ก้าวผ่านยุคที่ใช้หลอดไฟธรรมดามาเป็นยุคของไฟ LED และนั่นก็คือโลกใหม่ทั้งใบสำหรับนักออกแบบ เราสามารถลดการใช้พลังงานแต่สามารถสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการออกแบบที่เพิ่มมากขึ้น”

หนึ่งในผลงานของ Tom Dixon ที่มาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี คือ โคมไฟ Melt ซึ่งเป็นสินค้า Best seller ที่เมืองไทย โดยแรงบันดาลใจเริ่มต้นคือโคมไฟรูปทรงกลม การผลิตโคมไฟนี้จะต้องใช้โลหะเคลือบผิว ซึ่งในกระบวนการผลิตจะมีประมาณ 5% ที่เป็นของมีตำหนิและ 5% นั้นก็จะถูกทุบแล้วหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งทอมกลับชอบชิ้นที่โดนทุบมากกว่าชิ้นที่เป็นวงกลม “ผมใช้ความพยายามอย่างมากในการที่จะทำให้สิ่งนี้กลายมาเป็นโคมไฟให้ได้ ผมทดลองใช้โพลีคาร์บอเนตแต่ก็ล้มเหลว แล้วอยู่มาวันหนึ่ง เราก็ทดลองใช้แบบพิมพ์มาเคลือบโลหะ ซึ่งสิ่งที่ได้นั้นคือการฉาบผิวแก้ว ด้วยโลหะที่หนาเพียง 2 มม. ซึ่งเราสามารถมองทะลุผ่านโลหะไปได้แต่เมื่อมองกลับมาจะดูเหมือนเป็นกระจกเงา มันเป็นเทคนิคเดียวกับที่ใช้ในแว่นตากันแดดและยานอวกาศ”

โคมไฟ Melt กลายมาเป็นสิ่งที่ให้ความสวยงามแบบ psychedelic ทั้งดูสมัยใหม่ แต่ก็สามารถดูเป็นธรรมชาติได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับแต่ละมุมมอง อาจจะดูเหมือนน้ำที่กำลังไหลในแม่น้ำหรือลวดลายในลูกแก้ว “เรามี Melt ทั้งเวอร์ชั่นโคมไฟห้อย แบบติดกำแพง และแชนเดอเลียร์ขนาดใหญ่ แล้วเรายังมีเวอร์ชั่นสีดำด้วย และตอนนี้เรากำลังผลิตเวอร์ชั่น Portable ซึ่งผมคิดว่าการพกพาได้นี้ก็จะเป็นเรื่องใหญ่เรื่องใหม่ในวงการออกแบบเช่นกัน ไม่ใช่เพียงแค่ LED ที่นำเอาสิ่งใหม่ๆ มาให้เรา แบตเตอรี่ก็เช่นกัน การทำงานที่มากขึ้นทำให้ตอนนี้คุณสามารถเอาโคมไฟไปไหนด้วยก็ได้ เหมือนกับที่คนเคยใช้ตะเกียงหรือเทียนไขเมื่อ 200 ปีก่อน คุณสามารถเอาโคมไฟไปได้ด้วยทุกที่ไม่ว่าจะภายในหรือภายนอกตัวอาคาร

The New Trend After Pandemic เทรนด์อุบัติใหม่กับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป

ในช่วงภาวะการระบาดของโรคโควิด ที่ประเทศอังกฤษ ร้านอาหารส่วนมากต้องขยับขยายและนำโต๊ะออกมาวางด้านนอกมากขึ้น การเกิด Social Distance ถือเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวการผลิต เก้าอี้ Groove ซึ่งเป็นเก้าอี้ที่ทอมใช้เวลาการทำมากกว่า 10 ปี

“คนมักจะถามว่าแรงบันดาลใจของผมมาจากไหน ซึ่งบางครั้งมันก็เป็นแค่เพียงไอเดียที่แตกต่างออกไป ผมมีความหมกมุ่นกับหุ่นยนต์ เมื่อ 10 ปีก่อน ผมได้ตัดสินใจที่จะนำหุ่นยนต์อุตสาหกรรมไปมิลาน เพื่อผลิตเก้าอี้ขึ้น 200 ตัว แนวคิดเบื้องหลังสิ่งนี้คือการพูดถึงความซับซ้อนของธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ และแนวโน้มในอนาคตที่คนจะสามารถผลิตของจำนวนน้อยกว่าและใกล้แหล่งผู้บริโภคมากขึ้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องไปจ้างผลิตในประเทศที่ราคาถูกกว่าแล้วขนส่งไปทั่วโลก เก้าอี้ที่ผมผลิตขึ้นมาในตอนนั้นค่อนข้างที่จะเป็นเหลี่ยมและนั่งไม่ค่อยสบายนัก อย่างไรก็ตาม ผมได้เรียนรู้เกี่ยวกับการขึ้นรูปโลหะโดยเครื่องมืออุตสาหกรรม และผมก็เริ่มไปสนใจการใช้อะลูมิเนียมซึ่งเป็นโลหะที่เหมาะสำหรับการใช้ภายนอกตัวอาคารรวมทั้งยังรีไซเคิลได้ง่าย และกลายเป็นที่มาของ Groove ซึ่งใช้เทคนิคการผลิตที่เรียบง่าย โดยไม่ต้องการการตกแต่งเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นลวดลายหรือสีสัน เพราะว่าโครงสร้างของมันนั้นก็ดูสวยงามพอแล้ว”

เก้าอี้ Groove
เก้าอี้ Groove

“คนมักจะถามว่าแรงบันดาลใจของผมมาจากไหน ซึ่งบางครั้งมันก็เป็นแค่เพียงไอเดียที่แตกต่างออกไป ผมมีความหมกมุ่นกับหุ่นยนต์ เมื่อ 10 ปีก่อน ผมได้ตัดสินใจที่จะนำหุ่นยนต์อุตสาหกรรมไปมิลาน เพื่อผลิตเก้าอี้ขึ้น 200 ตัว แนวคิดเบื้องหลังสิ่งนี้คือการพูดถึงความซับซ้อนของธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ และแนวโน้มในอนาคตที่คนจะสามารถผลิตของจำนวนน้อยกว่าและใกล้แหล่งผู้บริโภคมากขึ้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องไปจ้างผลิตในประเทศที่ราคาถูกกว่าแล้วขนส่งไปทั่วโลก เก้าอี้ที่ผมผลิตขึ้นมาในตอนนั้นค่อนข้างที่จะเป็นเหลี่ยมและนั่งไม่ค่อยสบายนัก อย่างไรก็ตาม ผมได้เรียนรู้เกี่ยวกับการขึ้นรูปโลหะโดยเครื่องมืออุตสาหกรรม และผมก็เริ่มไปสนใจการใช้อะลูมิเนียมซึ่งเป็นโลหะที่เหมาะสำหรับการใช้ภายนอกตัวอาคารรวมทั้งยังรีไซเคิลได้ง่าย และกลายเป็นที่มาของ Groove ซึ่งใช้เทคนิคการผลิตที่เรียบง่าย โดยไม่ต้องการการตกแต่งเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นลวดลายหรือสีสัน เพราะว่าโครงสร้างของมันนั้นก็ดูสวยงามพอแล้ว”

เก้าอี้ Groove
เก้าอี้ Groove

“โดยส่วนตัวแล้วผมเป็นคนที่นั่งเก้าอี้ได้แย่มาก ผมมักจะใช้เฟอร์นิเจอร์แบบตามใจชอบ และนี่คือแนวคิดที่กลายมาเป็นคอลเล็กชั่นเก้าอี้ FAT คือสามารถรองรับการนั่งได้หลายรูปแบบ รวมทั้งการนั่งที่ไม่ได้เป็นไปตามแบบแผนทั่วไป ที่มันถูกเรียกว่า FAT มาจากการที่เราทำส่วนผ้าบุให้อ้วนขึ้น แล้วคุณก็สามารถใช้มันนั่งได้ทุกท่า ไม่ว่าจะหันหลังกลับ หรือนั่งหันข้าง หรือนั่งตะแคงแบบใดก็ตาม และ ความสวยงามไม่ได้อยู่เพียงแค่ผิวสัมผัสที่ใช้ แต่รวมไปถึงการเพิ่มจำนวนเก้าอี้และวางต่อกันในรูปแบบต่างๆ” เวอร์ชั่นล่าสุดของเก้าอี้นี้ เป็นเก้าอี้ทำงานซึ่งถูกสร้างขึ้นในช่วงโควิดที่ทุกคนต้องทำงานที่บ้าน “ถ้าคุณเอาเก้าอี้ทำงานแบบออฟฟิศไปไว้ที่บ้านมันก็จะดูไม่เข้ากัน เราเพียงแต่ต้องการเก้าอี้ที่นั่งทำงานชั่วครั้งชั่วคราว เพราะเมื่อเวลาคุณอยู่บ้าน คุณไม่ได้นั่งทำงานตลอดเวลา และนี่ก็เป็นอีกครั้งที่เราสร้างของชิ้นหนึ่งขึ้นมาเพื่อให้สอดคล้องกับช่วงเวลานั้นๆ เช่นเดียวกันกับที่เราจะผลิตโซฟาขึ้นมาในคอลเล็กชั่น FAT นี้เช่นกัน ในอดีตโซฟาเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ทุกคนนั่งหันหน้าไปทางเดียวกันโดยมีจุดกึ่งกลางอะไรบางอย่างเช่น เตาผิง หรือในยุคถัดมาคือโทรทัศน์ แต่ตอนนี้ วิธีการนั่งโซฟาของผู้คนไม่ได้เป็นแบบนั้นอีกต่อไปเพราะทุกคนมีสมาร์ทโฟนของตัวเอง ทุกคนแค่ดูหน้าจอของตัวเองไปแต่เราก็ยังอยากนั่งด้วยกัน เราจึงคิดที่จะผลิตโซฟาที่ทำให้คุณสามารถนั่งตรงไหนก็ได้ แบบไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องหันหน้าไปทางเดียวกัน แต่ก็ยังคงนั่งด้วยกันอยู่”

เก้าอี้ FAT
เก้าอี้ FAT
โซฟา FAT
โซฟา FAT

Collaboration For Satisfaction ความร่วมมืออย่างยั่งยืน

สำหรับใครที่ติดตามแวดวงดีไซน์อย่างใกล้ชิด อาจจะได้เห็นการ collab ของ Tom Dixon กับแบรนด์อื่นๆ มากมาย ซึ่งเมื่อถามถึงหลักเกณฑ์ในการตัดสินใจที่จะร่วมทำงานกับแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งแล้วนั้น ทอมให้คำตอบว่า “ผมคิดว่ามันมีการคอลแล็บมากมายเกินไปที่เป็นเพียงแค่ความร่วมมือทางการตลาดมากกว่าการร่วมมือกันอย่างจริงใจ ดังนั้นผมจะปฏิเสธเมื่อรู้สึกว่าเป็นเพียงแค่การเอาโลโก้ไปแปะบนสินค้า โดยที่ไม่ได้สร้างความแตกต่างอะไรใหม่ให้เกิดขึ้นเลย การคอลแล็บที่ดี คือการที่ทักษะของคุณส่งเสริมกับทักษะของพาร์ทเนอร์ ดังนั้นเราจึงมองหาผู้เชี่ยวชาญที่จะมาช่วยส่งเสริมกันและกัน”

เมื่อถูกถามถึงว่าแล้วมีวงการไหนที่เขายังไม่เคยไปคอลแล็บด้วยและอยากจะทดลองทำ “นั่นก็คือสิ่งที่สวยงามเกี่ยวกับการเป็นนักออกแบบ มันคือการที่คุณไม่ควรจำกัดตัวเอง แต่เป็นการที่คุณสามารถเข้าไปสัมผัสสาขาอาชีพอื่นๆ ถ้าคุณอยากจะสำรวจโลกอื่น การออกแบบก็คือพาสปอร์ตที่จะพาคุณไปได้ ส่วนตัวผมคงมีเป็นร้อยอย่างที่ผมยังไม่เคยได้ออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญที่สุดในยุคนี้ ผมไม่เคยออกแบบอาคารมากกว่า 1 อาคาร รวมทั้งผมอยากที่จะออกแบบเสื้อผ้าผู้ชายซักคอลเล็กหนึ่ง หรือแม้แต่ยานพาหนะยานยนต์ต่างๆ อะไรก็ได้ ผมเป็นคนที่เบื่อง่ายและการออกแบบก็คืออาชีพที่เหมาะกับผม เพราะผมเป็นเหมือนเด็กที่อยากจะได้พบกับสิ่งใหม่อยู่เสมอ”

โคมไฟ Bell Portable
โคมไฟ Bell Portable
โคมไฟ Bell Portable
โคมไฟ Bell Portable

แล้วความยั่งยืนล่ะ? สิ่งนี้มีความสำคัญขนาดไหนสำหรับ Tom Dixon

“อันที่จริงแล้วผมคิดว่าความยั่งยืนเป็นเรื่องสำคัญกับเราทุกคน มันไม่ได้สำคัญกับผมมากไปกว่าคนอื่น และเราทุกคนควรจะมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ ข้อได้เปรียบเกี่ยวกับการทำงานในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ก็คือ อัตราการบริโภคเป็นไปอย่างช้าๆ เราสามารถผลิตสินค้าด้วยพลาสติกได้ เพราะของชิ้นนั้นจะถูกใช้งานอยู่นาน แต่ในทางกลับกัน ถ้าคุณใช้พลาสติกสำหรับการผลิตขวดน้ำหนึ่งขวดมันเป็นเหมือนอาชญากรรมแห่งความสิ้นเปลืองเลยทีเดียว ดังนั้นเราจึงพยายามที่จะทำให้ทุกผลิตภัณฑ์ของเรามีความทนทาน ตัวผมเองทุกวันนี้ใช้โต๊ะเขียนหนังสือที่ตกทอดมาจากคุณทวดซึ่งตอนที่ท่านซื้อมานั้นก็เป็นของโบราณแล้ว อาจจะจากสมัยหลุยส์ที่ 16 หรือประมาณห้าเจนเนอเรชั่นก่อนคุณทวดได้ โดยรวมแล้วกว่าจะมาถึงผมก็นับรวมเป็นเวลาแปดชั่วอายุคน และนั่นคือตัวอย่างของชิ้นงานที่มีประโยชน์ และมีความคงทนอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นอะไรที่ผมอยากจะใส่เข้าไปในผลิตภัณฑ์ทุกชิ้น เช่น เราไม่จำเป็นต้องทำให้มันแฟชั่นหวือหวามาก เราต้องผลิตให้มันมีคุณภาพที่ถูกต้องที่มันจะอยู่ได้ยาวนาน และเราต้องสามารถซ่อมแซมมันได้ด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจเป็นไปไม่ได้หากเป็นอุตสาหกรรมอื่น แต่ถ้าในวงการเฟอร์นิเจอร์แล้วคุณสามารถทำได้” ทอมกล่าวอีกว่าความยั่งยืนไม่ได้เป็นเพียงแค่เทรนด์ แต่มันเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับทุกคน “ผมคิดว่าทุกคนอาจจะรู้สึกสับสนเพราะว่ามันมี green-washing ที่เป็นแค่ความยั่งยืนแบบปลอมๆ และมันก็เป็นเรื่องยากที่จะทำถ้าคุณเป็นผู้ผลิตแต่สุดท้าย แล้วผมคิดว่าเราควรจะคำนึงถึงที่มาของวัตถุดิบว่าเกิดอะไรขึ้นกับมันภายหลังจากนั้น ระยะเวลาที่ผู้คนสามารถใช้งานของหนึ่งชิ้น และแบรนด์ทุกแบรนด์ก็ควรที่จะคำนึงถึงเรื่องนี้”

ทอมเล่าถึงโปรเจ็กต์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนของเขา ที่เป็นแนวคิดเกี่ยวกับอนาคต ว่านักออกแบบสามารถทำอะไรได้บ้างที่จะสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นกับโลกนี้

“ผมได้เรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคหนึ่งทางอินเตอร์เน็ต คือ เมื่อปี 1917 มีนักออกแบบได้นำเสนอแนวคิดที่ว่าเราสามารถสร้างเมืองใต้น้ำและลอยมันขึ้นมาสู่ผิวน้ำได้ เขาจึงได้คิดค้นเทคนิคที่นำเอากรอบโลหะและปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปเพื่อดึงดูดแร่ธาตุจากน้ำให้เข้ามาเกาะที่โลหะ มันไม่ได้สามารถสร้างเมืองได้ แต่สิ่งที่น่าสนใจคือมันกลายเป็นซีเมนต์ธรรมชาติ ผมจึงได้ทดลองทำสิ่งนี้ที่บาฮามาส ซึ่งนอกจากโครงโลหะจะกลายเป็นซีเมนต์ธรรมชาติแล้ว ยังดึงดูดสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลทุกอย่าง ทั้งปลา ฟองน้ำ และอื่นๆ การทดลองนี้ทำขึ้นเมื่อประมาณแปดปีที่แล้ว คุณจะสามารถมองเห็นเปลือกแข็งของซีเมนต์ธรรมชาติได้หลังจากสามถึงสี่ปีผ่านไป จะมีการก่อตัวหนาของสารแบบเดียวกันกับหินปูนและเปลือกหอย จากแกนโลหะที่หนาเพียง 10 มม. อาจจะกลายเป็น 20 ซม.ได้โดยซีเมนต์ธรรมชาติที่มาพอก มันอาจจะไม่ใช่วิธีที่ได้ดีนักถ้าจะนำผลการทดลองนี้ไปใช้ผลิตเก้าอี้ แต่สิ่งที่เราได้ค้นพบก็คือว่าเราสามารถนำปะการังที่แตกหักมาวางบนโครงสร้างเหล่านี้และมันจะโตเร็วกว่าปกติสี่ถึงห้าเท่าเลยทีเดียว ดังนั้นนี่จึงเป็นแนวคิดริเริ่มที่เราจะสามารถสร้างแนวปะการังถาวรขึ้นได้”

ทอมเล่าถึงโปรเจ็กต์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนของเขา ที่เป็นแนวคิดเกี่ยวกับอนาคต ว่านักออกแบบสามารถทำอะไรได้บ้างที่จะสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นกับโลกนี้

“ผมได้เรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคหนึ่งทางอินเตอร์เน็ต คือ เมื่อปี 1917 มีนักออกแบบได้นำเสนอแนวคิดที่ว่าเราสามารถสร้างเมืองใต้น้ำและลอยมันขึ้นมาสู่ผิวน้ำได้ เขาจึงได้คิดค้นเทคนิคที่นำเอากรอบโลหะและปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปเพื่อดึงดูดแร่ธาตุจากน้ำให้เข้ามาเกาะที่โลหะ มันไม่ได้สามารถสร้างเมืองได้ แต่สิ่งที่น่าสนใจคือมันกลายเป็นซีเมนต์ธรรมชาติ ผมจึงได้ทดลองทำสิ่งนี้ที่บาฮามาส ซึ่งนอกจากโครงโลหะจะกลายเป็นซีเมนต์ธรรมชาติแล้ว ยังดึงดูดสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลทุกอย่าง ทั้งปลา ฟองน้ำ และอื่นๆ การทดลองนี้ทำขึ้นเมื่อประมาณแปดปีที่แล้ว คุณจะสามารถมองเห็นเปลือกแข็งของซีเมนต์ธรรมชาติได้หลังจากสามถึงสี่ปีผ่านไป จะมีการก่อตัวหนาของสารแบบเดียวกันกับหินปูนและเปลือกหอย จากแกนโลหะที่หนาเพียง 10 มม. อาจจะกลายเป็น 20 ซม.ได้โดยซีเมนต์ธรรมชาติที่มาพอก มันอาจจะไม่ใช่วิธีที่ได้ดีนักถ้าจะนำผลการทดลองนี้ไปใช้ผลิตเก้าอี้ แต่สิ่งที่เราได้ค้นพบก็คือว่าเราสามารถนำปะการังที่แตกหักมาวางบนโครงสร้างเหล่านี้และมันจะโตเร็วกว่าปกติสี่ถึงห้าเท่าเลยทีเดียว ดังนั้นนี่จึงเป็นแนวคิดริเริ่มที่เราจะสามารถสร้างแนวปะการังถาวรขึ้นได้”

สุดท้ายทอมได้กล่าวทิ้งท้าย ฝากถึงนักออกแบบไทยรุ่นใหม่ว่า “ทุกวันนี้ดีไซเนอร์รุ่นใหม่จากประเทศไทยมีความเท่าเทียมกับดีไซเนอร์จากโตเกียวหรือลอนดอนและในประเทศอื่นๆ ในการที่จะเข้าถึงและติดต่อกับโลกแห่งการออกแบบ ดังนั้นมันหมายความว่า คุณเพียงแค่ต้องมีความเป็น Original ที่จะโดดเด่นออกมา แต่มันก็เป็นเรื่องยากสำหรับทุกคนที่จะโดดเด่นขึ้นมาในที่ซึ่งมีผู้คนเพิ่มขึ้นมากมายในวงการถ้าเปรียบกับช่วงที่ผมเริ่มต้น มันง่ายขึ้นที่จะผลิตผลงาน แต่มันก็ยากขึ้นที่จะประสบความสำเร็จ เพราะมีการแข่งขันที่สูงขึ้น ดังนั้นคำแนะนำก็คือหาความพิเศษของคุณให้เจอ”

“เพียงแค่คุณมาจากประเทศไทยคุณก็มีความพิเศษมากแล้ว ที่นี่เป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมรวมไปถึงประวัติศาสตร์และงานฝีมืออันน่าทึ่ง ดังนั้นจงใช้มันให้เป็นประโยชน์และนี่คือคำแนะนำของผม”

Story: Titima C. , Wachirapanee Whisky Markdee
Photos: Tom Dixon, Motif Art of Living

Share

Recently, Thailand had the privilege of hosting Tom Dixon, the visionary founder of the renowned British design brand, through Motif, their exclusive Thai distributor for over 13 years. Looking ahead to 2025, the brand has earmarked Asia for its signature ‘Tom Dixon’s 48 Hours’ event, choosing Thailand as the inaugural destination. This event, a celebration of design, has previously graced global design hubs like Copenhagen, Paris, Milan, Stockholm, and Shanghai. A central feature of the visit was a Design Talk, where Tom Dixon shared his invaluable insights, design philosophies, and creative inspirations.

The Industrial Alchemist of Design
Tom Dixon’s journey to design stardom is a remarkable story of self-discovery and unconventional creativity. He had no formal design training or aspirations, initially drawn to drawing and sculpting. At 16, he found he could transform mundane materials into visually appealing objects, a realization that significantly influenced his later work.

The punk movement’s DIY ethos also shaped his approach, emphasizing that skill and formal qualifications weren’t prerequisites for creative expression. Dixon’s musical ambitions, playing bass in a disco band, were cut short by a motorcycle accident, leading him to experiment with metalwork. He found welding particularly appealing, allowing for rapid and adaptable creation.
Dixon’s early furniture designs, primarily metal-based, reflected his “learn-by-doing” philosophy. He used scrap materials and found objects, experimenting with forms and techniques without formal constraints. This freedom allowed him to develop a unique and often raw aesthetic.

Dixon’s rise as a designer stemmed from his independent exploration of metalwork in London’s unconventional art scene. He transformed found objects and scrap materials into unique furniture, honing his skills through relentless experimentation, free from formal design training. This “learn-by-doing” approach allowed him to develop a distinctive, raw aesthetic.

Commercial success validated his unconventional methods, leading to international recognition and the establishment of his own workshop. Dixon’s journey exemplifies the power of self-taught innovation and the ability to find beauty and value in the discarded, ultimately shaping his influential design career.

The Journey of Tom Dixon
After extensive self-driven experimentation, Tom Dixon decided to pursue formal experience, joining Habitat (IKEA) as Creative Director. This transition from independent maker to corporate leader provided crucial insights into branding and design collaboration. However, after a decade, he launched his eponymous brand, aiming for a self-controlled universe, mirroring a fashion model.

Now 22 years old, Tom Dixon encompasses furniture, accessories, and fragrance, with a strong focus on lighting, which he finds uniquely allows for creative risk-taking in interior design.”

Divergent Reversal
Tom Dixon’s Beat lights is one of the most famous work, originated from a charity project in India, where he observed traditional metal water containers. Inspired by their forms, he created a lighting collection, repurposing the shapes while retaining the traditional metalworking techniques. The Beat lights became an early success, but quickly faced widespread imitations.

Dixon humorously noted the ironic cycle of his design: water containers inspired lamps, which then inspired IKEA bowls, which in turn inspired DIY lamp hacks. To combat the knock-offs, Dixon decided to “steal back” his own idea by creating a more affordable aluminum version of the Beat lights. This new line offered a different, industrial aesthetic at half the price of the original brass collection.

The Beat light story illustrates Dixon’s resilience and proactive approach to design challenges, emphasizing the importance of innovation and adaptation in the face of imitation. Tom Dixon views lighting as a crucial element in interior design, emphasizing its dual role as both a decorative piece and a functional light source. He highlights the interplay between light, shadow, and materials like glass and metal in creating natural-looking illumination. Dixon also acknowledges the impact of technological advancements, particularly LED technology, on design possibilities, allowing for energy efficiency and creative freedom.

His best-selling Melt lamp exemplifies this fusion of design and technology. Inspired by distorted spheres, the Melt lamp utilizes a unique metal coating technique, originally developed for sunglasses and space equipment, to create a psychedelic, flowing aesthetic. This innovative approach transformed a manufacturing defect into a design feature. Dixon notes the evolving portability of lighting, driven by battery technology, enabling lamps to become truly mobile, echoing the use of traditional light sources.

The New Trend After Pandemic
The COVID-19 pandemic, with its outdoor dining surge, influenced Tom Dixon’s design, notably the Groove chair, a decade-long project inspired by industrial robotics. This chair, initially angular and uncomfortable, evolved into a sleek, durable aluminum piece, reflecting a shift towards localized production and sustainable materials.

Dixon’s FAT collection, born from his personal discomfort with rigid seating, emphasizes adaptable, unconventional postures. The latest iteration, a home office chair, addresses the changing work environment. Similarly, a new FAT sofa design caters to modern social habits, where individuals engage with personal devices while still desiring shared spaces.

Dixon asserts that design is inherently tied to societal and technological evolution, with designers constantly adapting to create relevant and innovative solutions.

Collaboration For Satisfaction
Tom Dixon is selective about collaborations, rejecting purely marketing-driven partnerships that lack genuine creative synergy. He prioritizes projects where his skills complement those of his partners, focusing on meaningful contributions rather than simple logo placements.

When asked about unexplored collaborations, Dixon expresses a desire to transcend design boundaries. He views design as a versatile “passport” to explore diverse fields, including mobile technology, architecture, menswear, and automotive design. Driven by a constant need for novelty, he embraces the challenge of new creative territories.

Tom Dixon views sustainability as a universal responsibility, emphasizing the durability of furniture as a key factor. He advocates for creating long-lasting, repairable pieces, moving away from fleeting trends. He criticizes “green-washing” and stresses the importance of considering material sourcing, product lifespan, and overall environmental impact.

Dixon shared an experimental project inspired by a 1917 concept of underwater cities. He applied an electrochemical technique to grow natural cement on metal structures in the Bahamas, attracting marine life and fostering coral growth. This project demonstrated the potential for designers to contribute to ecological restoration, particularly in regenerating coral reefs.

Dixon’s own journey, from self-taught welder to iconic designer, exemplifies the power of unconventional talent and persistent innovation. His diverse portfolio, spanning furniture and lighting, showcases his ability to forge a distinctive design language rooted in industrial creativity.