Design

The Philosophy of Balancing

เมื่อถึงเวลาที่จะต้องเริ่มวางแผนการสร้างบ้านหรือการตกแต่งบ้านใหม่ คนส่วนมากมักจะนึกถึงการปรึกษาสถาปนิกและนักออกแบบตกแต่งภายใน เพื่อให้คำแนะนำและก่อร่างสร้างไอเดียต่างๆ ให้เป็นบ้านที่ตรงใจ แต่ก็มีอีกไม่น้อยเช่นกันที่นึกถึงซินแสและการดูฮวงจุ้ยเป็นอันดับแรก เพื่อให้ได้ที่อยู่อาศัยที่เชื่อว่าอยู่แล้วจะเป็นสิริมงคล นำพาความโชคดี ความมั่งคั่ง ความเจริญในทุกด้านมาให้กับชีวิตของผู้อยู่อาศัย 

Photo: Ambitious Studio* | Rick Barrett (unsplash)
Photo: Ambitious Studio* | Rick Barrett (unsplash)

ซึ่งหลักความเชื่อเหล่านั้นหากจะว่าไปแล้ว หลักการของสถาปนิกกับฮวงจุ้ยนั้นมีความคล้ายคลึงกันอยู่ประมาณ 60-70% หากเพียงใช้ภาษาที่สื่อสารคนละแบบเท่านั้น กล่าวคือหลักการพื้นฐานของศาสตร์ทั้งสองนั้น เมื่อเป็นเรื่องของที่พักอาศัยก็เพียงอิงหลักพื้นฐานที่การอยู่สบาย โดยที่หลักสถาปัตย์ยึดการสร้างความสมดุลของการหมุนเวียนของพลังงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทิศทางแดด ลม ฝน การหมุนเวียนจากสิ่งภายนอก เช่น ถนนที่มีรถเข้าออกรวม ไปถึงทางสัญจรที่จะส่งผลต่อการอยู่อาศัยและการใช้งานจริง ในขณะที่ฮวงจุ้ยจะพูดถึงทิศทางการหมุนเวียนของดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นหลัก เพื่อให้พลังงาน “ชี่” จากธรรมชาติไหลผ่านอย่างสะดวก ซึ่งคือพลังจากสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกับการดำเนินชีวิตของผู้อยู่อาศัยโดยตรงเช่นเดียวกันและมีใจความใกล้เคียงกันกับหลักของสถาปัตย์ หากแต่ฮวงจุ้ยมีหลักเกณฑ์วิธีการที่แยกย่อยออกไปในเรื่องของโชคลางและคติความเชื่อ ซึ่งเหล่าความเชื่อและบริบทแยกย่อยเหล่านี้ เป็นปัจจัยที่อาจทำให้ใครหลายคนคิดไปเองว่าฮวงจุ้ยนั้นเป็นเพียงเรื่องของเหล่า​ “สายมู” หรือมองว่าเป็นความงมงาย รวมไปถึงพยายามหาเหตุผลจากหลักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ นำไปคัดง้างหลักฮวงจุ้ยที่มีมานับพันปี ซึ่งอันที่จริงแล้วความเชื่อเหล่านั้นไม่ใช่เรื่องผิด ถึงแม้จะถูกวัดด้วยไม้บรรทัดสมัยใหม่ก็ตาม เพราะทุกความเชื่อและหลักการล้วนมีเหตุผลรองรับซ่อนอยู่ เช่นเดียวกับความเชื่อในด้านอื่นๆ ของขนบธรรมเนียมที่มีมาแต่โบราณ เพียงแค่ทำความเข้าใจกับเหตุผลที่มาที่ไป ซึ่งมีหลักการจากเรื่องของธรรมชาติ สภาพอากาศ ไปจนถึงหลักการออกแบบ จะพบว่าทุกอย่างล้วนเชื่อมโยงเกี่ยวเนื่องกัน คือการบาลานซ์พลังงานที่จะทำให้สเปซนั้นๆ ส่งผลดีต่อผู้อยู่อาศัย ทั้งในแง่กายภาพและจิตใจ ความรู้สึก

ศาสตร์จีนโบราณและงานสถาปัตยกรรมสมัยใหม่

ฮวงจุ้ยเป็นศาสตร์ที่กำเนิดขึ้นในประเทศจีน เป็นเวลากว่า 3,000 ปีมาแล้ว ดังนั้นในแง่ของบริบท สภาพดินฟ้าอากาศ สภาพภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งศักยภาพของมนุษย์ องค์ความรู้และความก้าวหน้าในด้านต่างๆ จึงแตกต่างกับทุกวันนี้ และแน่นอนว่าต่างจากประเทศไทยโดยแทบจะสิ้นเชิง ดังนั้นหากถามว่าอะไรคือทางออกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่ต้องการผสมผสานหลักฮวงจุ้ยเข้ากับการดีไซน์บ้านสมัยใหม่ คำตอบก็คือการยึดแนวทางสายกลาง ไม่สุดโต่ง และมองทุกอย่างด้วยการใช้เหตุและผลในการเลือกหรือการไม่เลือกใช้สิ่งใดก็ตามให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและการใช้ชีวิตของผู้อยู่อาศัย อาทิ

ทิศทางของการวางตัวบ้าน

Photo: Don Kaveen (unsplash)
Photo: Don Kaveen (unsplash)

หากเป็นหลักของฮวงจุ้ยนั้นจะมีความเชื่อที่ว่าหันบ้านไปทางทิศเหนือเป็นทิศแห่งอำนาจ ทิศตะวันออกคือทิศมงคล ทิศตะวันตกคือทิศบารมี และทิศใต้เป็นทิศแห่งความมั่งคั่งซึ่งถือกันว่าเป็นทิศที่ดีที่สุดในการหันหน้าบ้าน ซึ่งหลักการเหล่านี้มีที่มาจากทิศทางการรับลมของประเทศจีนในแต่ละฤดูกาล ในขณะที่เมืองไทยนั้นทิศใต้เป็นทิศที่รับแดดแรงมากเนื่องจากอยู่ในโซนเส้นศูนย์สูตร ส่วนทิศที่รับแดดกำลังพอเหมาะคือทิศตะวันออกและทิศเหนือ ส่วนทิศรับลมของประเทศไทยได้แก่ทิศตะวันตกเฉียงใต้คือลมมรสุมฤดูร้อน และทิศตะวันออกเฉียงเหนือคือลมมรสุมฤดูหนาว รวมไปถึงข้อจำกัดในทุกวันนี้ ที่การสร้างบ้านหรือการเลือกซื้อบ้าน ซึ่งมักจะต้องสร้างให้หันหน้าบ้านไปสู่ถนน ทำให้เราอาจจะไม่สามารถเลือกอะไรได้มากนัก ดังนั้นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกันและควรคำนึงถึงมากกว่าคือทิศทางลมและตำแหน่งของหน้าต่าง และการใช้งานจริงว่าเราจะใช้ชีวิตอยู่ส่วนไหนของบ้านเป็นหลัก และอยากให้มีห้องไหนที่สามารถเปิดหน้าต่างรับลมและรับแสงแดดได้ โดยตามหลักฮวงจุ้ยแล้ว บ้านที่สว่างด้วยแสงธรรมชาติจะช่วยให้ผู้อยู่อาศัยสามารถมีรายได้และเจริญมั่งคั่งมากกว่าบ้านที่อับแสง ซึ่งเมื่อมองตามหลักกฎหมายปัจจุบัน แต่ละห้องจะต้องมีช่องระบายอากาศมากกว่า 10 % คือทุกห้องจะต้องมีแสงเข้าหรือระบายอากาศได้ และแน่นอนว่าแสงสว่างมีผลต่อสุขภาพจิตและอารมณ์ของผู้อยู่อาศัยโดยตรง จากงานวิจัยพบว่าการได้รับแสงธรรมชาติอย่างเพียงพอจะช่วยลดอาการซึมเศร้า สร้างอารมณ์เชิงบวก ในทางกลับกัน หากได้รับแสงธรรมชาติน้อยจะส่งผลต่ออารมณ์และสมดุลของสารเคมีในสมอง การออกแบบหรือการเลือกบ้านจึงควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นหนึ่งในปัจจัยหลัก 

รูปทรงอาคาร

Photo: Pixasquare (unsplash)
Photo: Pixasquare (unsplash)
Hidden Colony from QoQoon vol 3
Hidden Colony from QoQoon vol 3 Read More

ตามหลักฮวงจุ้ยแล้วบ้านทรงสี่เหลี่ยมคือรูปทรงบ้านที่ดีที่สุด ทั้งสี่เหลี่ยมจตุรัสและสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งความเชื่อนี้น่าจะมีส่วนมาจากสภาพอากาศของประเทศจีนที่มีความหนาวเย็น การสร้างบ้านสี่เหลี่ยมตันจะสามารถเก็บกักความอบอุ่นไว้ได้ดีโดยเฉพาะที่บริเวณใจกลางบ้าน หากแต่สำหรับประเทศเขตร้อนอย่างเมืองไทย และในหลักการดีไซน์บ้าน Tropical แล้ว รูปทรงบ้านแบบตัว L หรือตัว U ที่มี courtyard พื้นที่โอบล้อมไว้สำหรับทำกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งสามารถดักลมและหลบแดดได้ดีกว่าบ้านทรงสี่เหลี่ยมตัน ทั้งยังเพิ่มพื้นที่ในการใส่หน้าต่างให้ดึงแสงธรรมชาติและรับลมเข้าสู่ตัวบ้านอีกด้วย

การปลูกต้นไม้ใหญ่

Life In Colours from QoQoon vol 1
Life In Colours from QoQoon vol 1 Read More

ในทางหลักฮวงจุ้ยแล้วถือว่าการปลูกต้นไม้ใหญ่หน้าบ้านขัดขวางพลังชี่ที่จะเข้ามาสู่บ้าน หากแต่ในความเป็นจริงแล้วการปลูกต้นไม้หน้าบ้านช่วยให้ร่มเงาโดยเฉพาะบ้านที่หันไปทางทิศใต้หรือทิศตะวันตกซึ่งต้องโดนแดดบ่ายอยู่ทุกวัน และจะทำให้บ้านร้อน ไม่น่าอยู่อาศัย ซึ่งทิศหน้าบ้านของบ้านคนไทยนั้นมักจะเป็นห้องรับแขกที่อาจจะใช้เป็นห้องนั่งเล่นไปในตัว รวมทั้งชั้น 2 ห้องที่อยู่ด้านหน้าก็มักจะเป็นห้องนอน Master Bedroom การมีต้นไม้จะช่วยกรองแสงและลดอุณหภูมิในตัวบ้าน

Sun Ray & Monsoon from QoQoon vol 5
Sun Ray & Monsoon from QoQoon vol 5 Read More

เพียงแต่ต้องคำนึงถึงตำแหน่งการปลูกที่ลงตัว และเลือกปลูกไม้ยืนต้นที่ให้ร่มเงา มีรูปทรงโปร่ง มีกิ่งก้านสาขา ไม่เป็นพุ่มทึบบังลม หลักฮวงจุ้ยนั้นเชื่อว่าบ้านที่มีต้นไม้หน้าบ้าน หากมีลมพัดเกสรดอกไม้เข้าตัวบ้านอาจทำให้คนในบ้านเจ็บป่วย รวมทั้งอาจจะมีสัตว์หรือแมลงต่างๆ ที่มากับดอกไม้อาจสร้างอันตราย ซึ่งนับว่าเป็นหลักการที่ยังมีเหตุผลรองรับจนถึงยุคปัจจุบันนี้ที่ผู้คนมากมายเป็นโรคภูมิแพ้รวมไปถึงการแพ้ละอองเกสรดอกไม้ จีงควรเลือกพันธุ์ไม้ที่นำมาปลูกให้เหมาะสม

ประตูหน้าบ้าน

Photo: Paul Hanaoka (unsplash)
Photo: Paul Hanaoka (unsplash)

หลักฮวงจุ้ยเชื่อว่าประตูเข้าบ้านควรจะต้องเป็นบานใหญ่สูงและมีตำแหน่งเดียว การมีประตูทางเข้า 2 ตำแหน่งนั้นเหมือนมี 2 ปากจะทำให้เก็บทรัพย์ไม่อยู่ และเชื่อว่าการมีประตูหลังบ้านจะช่วยให้อากาศถ่ายเทในบ้านและทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความคิดที่ดี ปลอดโปร่ง จะทำอะไรก็สำเร็จ ประตูหลังต้องเล็กกว่าประตูหน้าบ้านเพื่อจะได้เปิดรับกระแสชี่เข้ามาจำนวนมากและระบายออกทางประตูหลัง ถ้าหากประตูหลังมีขนาดใหญ่กว่าจะทำให้กระแสชี่ไหลผ่านออกไปไวเกินไป หลักการเรื่องประตูนี้มีที่มาจากบ้านคนจีนซึ่งนิยมหันหน้าบ้านไปทางทิศใต้เพื่อรับลม จึงออกแบบให้ประตูหน้าบ้านมีขนาดใหญ่สามารถเปิดรับลมได้เต็มที่และเป็นบานผลักเข้า ส่วนประตูหลังบ้านให้มีขนาดปกติ ทำให้ลมเข้าได้มากและกระจายทั่วถึง หากในปัจจุบันแปลนบ้านมีความซับซ้อนยิ่งกว่านั้น จึงควรพิจารณาทางเข้าออกของลมในแต่ละห้องเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดี

ธาตุทั้งห้าและงานตกแต่ง

หนึ่งในแก่นของฮวงจุ้ยคือการผสมผสานธาตุพื้นฐานทั้ง 5 อันได้แก่ ไม้ ไฟ ดิน น้ำ และโลหะ (บางตำราคือ ทอง) ซึ่งแต่ละธาตุมีคุณสมบัติเฉพาะตัว และเชื่อว่าธาตุเหล่านี้มีความสัมพันธ์และส่งผลกระทบต่อกันเป็นวงจร ซึ่งต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและละเอียดอ่อนในการออกแบบตกแต่งภายใน

ไม้

Photo: Minh Pham (unsplash)
Photo: Minh Pham (unsplash)
Dream Dwelling from QoQoon vol 9
Dream Dwelling from QoQoon vol 9 Read More

เป็นสัญลักษณ์ของการเติบโต การขยายตัว และพลังชีวิต แทนด้วยสีเขียวและน้ำตาล สื่อผ่านได้ด้วยต้นไม้ เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้ และของตกแต่งที่ทำจากวัสดุจากธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการจัดวางต้นไม้ในห้องนั่งเล่นหรือห้องทำงาน การเลือกเฟอร์นิเจอร์ไม้มินิมัลเส้นสายเรียบง่ายเพื่อรับกับงานสถาปัตยกรรมแบบโมเดิร์น รวมไปถึงงานสิ่งทอหรือ Wall Art สีเขียวหรือน้ำตาล ซึ่งนอกจากจะสื่อถึงธาตุสำคัญตามหลักฮวงจุ้นแล้วยังช่วยสร้างบรรยากาศอบอุ่นให้กับสเปซด้วย 

ไฟ

Photo: Sanju Pandita (unsplash)
Photo: Sanju Pandita (unsplash)

เป็นสัญลักษณ์ของความหลงไหลและการเปลี่ยนแปลง แทนด้วยสีแดง และสามารถนำไปใช้กับบ้านได้โดยสื่อผ่านแสงไฟ เทียน และโทนสีอบอุ่น ทั้งการติดตั้งไฟส่องสว่างแบบปรับความสว่างได้ เพื่อสร้างความอบอุ่น การใช้แสงจากไฟโคม ตะเกียง หรือเทียน รวมไปถึงการหยอดสีแดง-ส้ม ลงไปในดีเทลของงานตกแต่ง เช่น หมอนอิง หรือพรม 

ดิน

Photo: Maria Orlova (unsplash)
Photo: Maria Orlova (unsplash)
Photo: Ambitious Studio* | Rick Barrett (unsplash)
Photo: Ambitious Studio* | Rick Barrett (unsplash)

ตัวแทนของความมั่นคง การลงหลักปักฐาน และความชุ่มชื่น แทนได้ด้วยสีเหลืองและน้ำตาล ของตกแต่งที่ทำจากวัสดุอย่างพวกหิน ดิน หรืองานเซรามิก คือตัวแทนของธาตุนี้ อย่างแจกัน ภาชนะ หรือประติมากรรมเซรามิก สร้างความรู้สึกมั่นคง รวมไปถึงสีเอิร์ธโทน ไม่ว่าจะเป็นสีน้ำตาลหลากเฉดหรือสีเหลืองมัสตาร์ด 

โลหะ

Photo: Bernard Hermant (unsplash)
Photo: Bernard Hermant (unsplash)
The Maestro’s Dwelling from QoQoon vol 13
The Maestro’s Dwelling from QoQoon vol 13 Read More

เป็นสัญลักษณ์ของความแจ่มใส ความเป็นระเบียบเรียบร้อย มีวินัย ถ้าเป็นสีคือโทนสีขาวและเมททัลลิก การใช้งานตกแต่งเส้นสายเรียบกริบจากวัสดุประเภทโลหะช่วยสร้างสมดุลของธาตุ เช่น การใช้โลหะอย่างเหล็ก สเตนเลส โครเมียม หรือทองเหลือง ที่สามารถใช้ได้ทั้งงานโครงสร้าง งานตกแต่ง หรือพวกงานฟิตติ้งต่างๆ งานดีไซน์รูปทรงเรขาคณิต เป็นต้น 

น้ำ

Photo: Francesca Tosolini (unsplash)
Photo: Francesca Tosolini (unsplash)

สื่อถึงความลื่นไหล ความอิสระ และสติปัญญา สีโทนฟ้า น้ำเงิน ไปจนถึงดำคือสัญลักษณ์ของธาตุน้ำ สามารถนำเข้ามาใช้ในงานตกแต่งได้ผ่านทางกระจก แก้ว หรือส่วนตกแต่งที่เป็นน้ำทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น บ่อน้ำ สระ น้ำตก น้ำพุ หรือตู้ปลา นอกจากวิธีง่ายๆ พื้นฐานอย่างการตกแต่งด้วยน้ำตกน้ำพุอย่างที่เห็นๆกันทั่วไปแล้ว การใช้กรจะในการออกแบบเพื่อสร้างความต่อเนื่องและความลื่นไหลให้กับสเปซก็ถือเป็นการกระจายพลังของธาตุน้ำเช่นเดียวกัน 

ฮวงจุ้ยยังมีหลักความเชื่อที่แตกแขนงปลีกย่อยอีกมากมายนานัปการที่ครอบคลุมทุกห้องและเกือบทุกรายละเอียดในตัวบ้าน ตั้งแต่พื้นไปจรดหลังคา เป็นเหมือนกับคู่มือการอยู่อาศัยที่รวมไปถึงเมื่อใช้งานจริงและเมื่อระยะเวลาผ่านไป บ้านจะต้องถูกเปลี่ยนองค์ประกอบต่างๆ ในบ้านเพื่อให้รับกับยุคใหม่ๆ ที่เข้ามา ซึ่งสอดคล้องกับหลักการออกแบบเพราะเมื่อเวลาเปลี่ยน ดินฟ้าอากาศและสิ่งแวดล้อมรอบด้านก็ต้องเปลี่ยนไปเช่นกัน ซึ่งแม้บางความเชื่อเหล่านี้อาจจะไม่เหมาะสมกับบริบทในปัจจุบันหรือหยิบนำมาใช้ได้ยาก หากแต่ใจความสำคัญของฮวงจุ้ยที่อิงหลักธรรมชาติและคำนึงถึงความอยู่สบายของผู้อยู่อาศัย ก็จะยังคงเป็นความจริงที่ใช้ได้อยู่เสมอสำหรับทุกยุคเช่นกัน

อ้างอิง: All about บ้าน รู้ทันฮวงจุ้ยด้วยหลักการดีไซน์ โดย สิริกานดา ขาวเข็ม

Share

When it comes time to plan the construction or renovation of a new home, most people think of consulting architects and interior designers for advice and to shape their ideas into a dream home. However, there are also many who first think of feng shui masters to ensure that their living space is believed to bring good luck, prosperity, and success in all aspects of life.

In fact, the underlying principles of architecture and feng shui share approximately 60-70% similarity, differing primarily in their language. Both disciplines, when applied to residential spaces, emphasize fundamental principles of comfort. Architecture focuses on balancing the flow of various energies such as sunlight, wind, and rain, as well as external elements like traffic, which impact daily living and functionality. Feng shui, on the other hand, primarily concerns the circulation of earth, water, wind, and fire energies to facilitate the flow of natural “chi” or energy. This energy, derived from the environment, directly influences the lives of occupants, mirroring the principles of architecture. However, feng shui incorporates additional guidelines and beliefs related to auspiciousness and traditional customs. These specific beliefs and contexts often lead to misconceptions, with many dismissing feng shui as superstition or attempting to scientifically validate ancient principles. While it’s natural to seek scientific explanations, it’s important to recognize that these beliefs, like many traditional customs, are often rooted in practical observations about nature, climate, and design. The underlying goal of both disciplines is to create balanced spaces that positively impact both the physical and psychological well-being of occupants.

Bridging Ancient Wisdom and Modern Design
Feng shui, a Chinese practice dating back over 3,000 years, has evolved significantly. Given the vast differences in historical, cultural, and environmental contexts, a direct application of ancient feng shui principles to modern homes may not always be suitable. Striking a balance between tradition and modernity is key. By using reason and considering individual needs, we can selectively incorporate feng shui elements into contemporary home design.

Building Orientation: Feng shui, while rooted in ancient Chinese principles, must be adapted to modern contexts. In Thailand, the focus should be on aligning a home’s orientation with prevailing winds and sunlight, while also considering modern building codes. Natural light is crucial for both feng shui and well-being. By balancing traditional wisdom with practical considerations, you can create a harmonious living space.
Building Shape: Feng shui traditionally favors rectangular or square houses. This is rooted in colder climates where these shapes retain heat. In tropical regions like Thailand, L or U-shaped houses with courtyards are more common. These designs offer better ventilation and natural light, aligning with tropical architectural principles.
Trees and Feng Shui: While feng shui discourages large trees in front of houses due to concerns about blocked energy, their practical benefits, such as providing shade and reducing indoor temperatures, are undeniable. However, tree selection is crucial. Trees with spreading canopies are preferred over dense ones to ensure proper airflow and prevent pollen-related health issues.
Door Placement: Feng shui suggests that a house should have one main entrance, preferably large, to welcome positive energy. A smaller rear door can aid in ventilation. This concept, rooted in traditional Chinese architecture, emphasizes the importance of airflow and energy flow within a home. While modern homes may have more complex layouts, the basic principle of ensuring a balanced flow of energy remains relevant.

Balancing the Five Elements in Interior Design
The harmony and balance of the five elements—wood, fire, earth, water, and metal—are central to feng shui. Understanding the relationships between these elements is essential for creating harmonious and balanced interior spaces.

The Wood Element: Representing growth and life, the wood element is associated with green and brown. Incorporating wood into your interior, through plants, furniture, or natural materials, can enhance the vitality of a space and create a warm ambiance, aligning with feng shui principles.
The Fire Element: Representing passion and transformation, the fire element is associated with the color red. Incorporate it into your home with warm lighting, candles, or red accents to create a vibrant and energetic atmosphere.
The Earth Element: Representing stability and nourishment, the earth element is associated with yellow and brown. Incorporate it into your home with materials like stone, clay, and ceramics to create a grounded and calming atmosphere.
The Metal Element: Symbolizing clarity, order, and discipline, the metal element is represented by white and metallic colors. Sleek, metallic designs contribute to the balance of elements. Materials like steel, stainless steel, chrome, or brass can be used in structural, decorative, or fitting applications. Geometric designs are often associated with the metal element.
The Water Element: Symbolizing fluidity, freedom, and wisdom, the water element is represented by colors ranging from blue to black. It can be incorporated into interior design through elements such as mirrors, glass, and water features like ponds, fountains, or aquariums. Beyond the obvious use of water features like waterfalls and fountains, incorporating curved lines and reflective surfaces into the design can also distribute the energy of the water element.

Feng shui is a vast and intricate belief system that encompasses every room and nearly every detail of a home, from the foundation to the roof. It serves as a comprehensive guide to living, taking into account both practical use and the need for adaptation over time. As time changes, so do the climate and surrounding environment, making it necessary to adjust the elements within a home. While some feng shui beliefs may not be suitable for modern contexts or difficult to apply, the core principles of feng shui, which are rooted in nature and emphasize the comfort of the inhabitants, remain timeless and applicable to all eras.