Design

The Misconception Of Minimalist

ถ้าไม่นับศัพท์แสลงมากมายในจักรวาลโซเชียลมีเดียที่แพร่เร็วยิ่งกว่าโรคระบาด คำว่า “มินิมัล” (Minimal) หรือ “มินิมัลลิสม์” (Minimalism) หรือที่คนไทยออกเสียงกันว่า “มินิมอล” น่าจะเป็นคำที่ถูกใช้ในแวดวงไลฟ์สไตล์สมัยใหม่ได้อย่างเฝือที่สุดคำหนึ่ง แล้วก็มักใช้ในความหมายที่ผิดบริบท มีความย้อนแย้ง เพราะอะไรๆ ก็ดูจะเป็นมินิมัลไปหมด ขนาดว่าถ้า Mies van der Rohe รู้เข้า อาจจะร้องไห้เอาได้
ว่าแต่… ความหมายของงานออกแบบมินิมัลแท้ๆ นั้นเป็นอย่างไร? อะไรบ้างที่เราเข้าใจผิดมาตลอดว่าเป็นดีไซน์แบบมินิมัล แต่จริงๆ แล้ว กลับเป็นแค่ “สไตล์” ที่เอาเปลือกนอกของมินิมัลลิสม์มาใช้เท่านั้น? QoQoon มีคำตอบ
Photo by Santawat Chienpradit

Photo by Santawat Chienpradit

จุดเริ่มที่ศิลปะแบบมินิมัลลิสม์

ก่อนอื่น เราคงต้องย้อนกลับไปดูที่ต้นกำเนิดของงานออกแบบมินิมัลลิสม์เสียก่อน นั่นคือศิลปะมินิมัลลิสม์

ศิลปะมินิมัลลิสม์เกิดขึ้นในนิวยอร์ก ช่วงทศวรรษ 1950s โดยเป็นความเคลื่อนไหวทางศิลปะที่ต่อต้านศิลปะแอ็บสแตรกต์เอ็กซ์เพรสชั่นนิสม์ (Abstract Expressionism) หรือศิลปะที่เน้นการแสดงอารมณ์ความรู้สึกที่รุนแรงฉับพลัน ศิลปินในแนวนี้ที่เป็นที่รู้จักกันดีก็เช่น Jackson Pollock กับเทคนิคการทำงานศิลปะด้วยการสาด เท หยด สะบัดสีลงบนผืนผ้าใบอย่างเต็มไปด้วยพลังและอารมณ์

เมื่อปฏิเสธ “ความเยอะ” ของอารมณ์ที่ท่วมท้นในแอ็บสแตรกต์เอ็กซ์เพรสชั่นนิสม์ มินิมัลลิสม์จึงมุ่งลดทอนองค์ประกอบและรายละเอียดต่างๆ จนกลายเป็นขั้วตรงข้าม นั่นคือ “ความน้อย” ไม่ว่าจะเป็นการลดทอนรูปทรงจนเหลือเพียงรูปทรงเรขาคณิตที่เรียบง่ายและเป็นนามธรรม ลดทอนการปรุงแต่งวัสดุให้เหลือเพียงสัจจะวัสดุ หรือ วัสดุธรรมชาติที่ปล่อยให้ธรรมชาติของวัสดุได้เปิดเผยตัวมากที่สุด โดยองค์ประกอบทั้งหมดเหล่านี้วางอยู่บนแนวคิดหลัก คือ ศิลปะมินิมัลลิสม์จะไม่แสดงถึงความจริงที่อยู่ภายนอกตัวมันเอง แต่ศิลปินต้องการให้ผู้ชมสนองตอบต่อสิ่งที่อยู่ตรงหน้าเท่านั้น เหมือนกับที่ Frank Stella กล่าวไว้ว่า “สิ่งที่คุณเห็น ก็คือสิ่งที่คุณเห็น” (What you see is what you see)

ศิลปะมินิมัลลิสม์เกิดขึ้นในนิวยอร์ก ช่วงทศวรรษ 1950s โดยเป็นความเคลื่อนไหวทางศิลปะที่ต่อต้านศิลปะแอ็บสแตรกต์เอ็กซ์เพรสชั่นนิสม์ (Abstract Expressionism) หรือศิลปะที่เน้นการแสดงอารมณ์ความรู้สึกที่รุนแรงฉับพลัน ศิลปินในแนวนี้ที่เป็นที่รู้จักกันดีก็เช่น Jackson Pollock กับเทคนิคการทำงานศิลปะด้วยการสาด เท หยด สะบัดสีลงบนผืนผ้าใบอย่างเต็มไปด้วยพลังและอารมณ์

เมื่อปฏิเสธ “ความเยอะ” ของอารมณ์ที่ท่วมท้นในแอ็บสแตรกต์เอ็กซ์เพรสชั่นนิสม์ มินิมัลลิสม์จึงมุ่งลดทอนองค์ประกอบและรายละเอียดต่างๆ จนกลายเป็นขั้วตรงข้าม นั่นคือ “ความน้อย” ไม่ว่าจะเป็นการลดทอนรูปทรงจนเหลือเพียงรูปทรงเรขาคณิตที่เรียบง่ายและเป็นนามธรรม ลดทอนการปรุงแต่งวัสดุให้เหลือเพียงสัจจะวัสดุ หรือ วัสดุธรรมชาติที่ปล่อยให้ธรรมชาติของวัสดุได้เปิดเผยตัวมากที่สุด

Photo by Whisky Markdee
Photo by Whisky Markdee

โดยองค์ประกอบทั้งหมดเหล่านี้วางอยู่บนแนวคิดหลัก คือ ศิลปะมินิมัลลิสม์จะไม่แสดงถึงความจริงที่อยู่ภายนอกตัวมันเอง แต่ศิลปินต้องการให้ผู้ชมสนองตอบต่อสิ่งที่อยู่ตรงหน้าเท่านั้น เหมือนกับที่ Frank Stella กล่าวไว้ว่า “สิ่งที่คุณเห็น ก็คือสิ่งที่คุณเห็น” (What you see is what you see)

Photo by Whisky Markdee
Photo by Whisky Markdee

ไม่ใช่ว่า "น้อย" แล้วจะเป็นมินิมัลเสมอไป

เมื่อรับเอารากฐานทางความคิดมาจากศิลปะมินิมัลลิสม์ งานออกแบบตกแต่งภายในแบบที่เราเรียกกันว่า “มินิมัล” จึงใช้เส้นสายเรียบง่าย พื้นที่โล่งสบายตา เน้นแสงธรรมชาติ ลดทอนองค์ประกอบจนเหลือเฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้น และใช้วัสดุที่เปิดเผยให้เห็นเนื้อแท้ของวัสดุนั้นโดยไม่เติมแต่ง เช่น ไม้ กระจก ปูน เหล็ก
Photo by Santawat Chienpradit
Photo by Santawat Chienpradit

แต่เดี๋ยวก่อน นั่นไม่ได้หมายความว่า งานออกแบบตกแต่งบ้านที่ใช้เฟอร์นิเจอร์ไม่กี่ชิ้น เน้นโทนสีธรรมชาติของไม้ และอยู่ในห้องสีขาวโล่งๆ จะจัดเป็นมินิมัลลิสม์แท้ๆ เสมอไป เพราะอย่างที่บอก องค์ประกอบเหล่านี้คือ “สไตล์” ที่เป็นเปลือกนอกของมินิมัลลิสม์เท่านั้น

หัวใจสำคัญของงานออกแบบมินิมัลลิสม์ คือการลดทอนให้เหลือแต่สิ่งที่จำเป็นเท่านั้น อย่างในความหมายของ Mies van der Rohe สถาปนิกชาวเยอรมันที่นำเอาประโยค “น้อยแต่มาก” (Less is more) มาใช้อยู่บ่อยครั้ง (ซึ่งจริงๆแล้ว เขาไม่ใช่คนที่คิดคำพูดนี้ขึ้น) ก็คือ ความงามของงานออกแบบที่ถูกลดทอนจนเรียบง่ายที่สุดแล้ว (และไม่สามารถจะไปลดทอนอะไรกว่านี้ได้อีก) หรือถ้าในความหมายของงานออกแบบตกแต่งภายในที่เข้าใจได้ง่ายกว่า ก็อาจพูดได้ว่า การลดทอนให้เหลือแต่งานออกแบบและเฟอร์นิเจอร์ที่มีบทบาทหน้าที่ (function) สำคัญต่อผู้ใช้จริงๆ ไม่ว่าจะในทางกายภาพหรือทางจิตใจก็ตาม

Photo by Santawat Chienpradit
Photo by Santawat Chienpradit

ตัวอย่างเช่น ในห้องนั่งเล่นของบ้านหลังหนึ่ง โซฟาอาจถูกตัดทอนออกไป เพราะเจ้าของบ้านมักใช้เวลานั่งอ่านหนังสืออยู่บนเบาะและเสื่อปูพื้น และพื้นที่นั้นก็มีโคมไฟให้แสงสว่าง รวมทั้งประติมากรรมชิ้นหนึ่งที่แม้จะไม่มีประโยชน์ใช้สอยอะไรในทางกายภาพ แต่เป็นชิ้นงานศิลปะที่ให้แรงบันดาลใจแก่เจ้าของบ้าน

กฎเหล็กของมินิมัลลิสม์ที่เน้นถึง “สิ่งที่จำเป็นแท้จริง” (what’s truly needed?) นี้เอง เมื่อปรากฏเป็นงานออกแบบตกแต่งภายในที่ดูเรียบง่าย (แต่ผ่านการคิดมาอย่างซับซ้อน) จะเต็มไปด้วย สุนทรียะที่สงบ เรียบนิ่ง จนเราสามารถสัมผัสได้ถึงความสงบนั้นเพียงแค่เมื่อเดินเข้าไป

Photo by Manoo Manookulkit
Photo by Manoo Manookulkit

แต่งบ้านแบบมินิมัลลิสม์

ถ้าจะเนิร์ดกันให้สุด ก่อนอื่น คงต้องบอกว่า การตกแต่งบ้านแบบมินิมัล… แค่คิดก็อาจจะผิดแล้ว เพราะปรัชญาจริงๆ ของมินิมัลลิสม์คือการลดทอน ไม่ใช่การ “ตกแต่ง” อะไรเข้าไปเพิ่มเติม

แต่เอาเถอะ เราเข้าใจว่าคุณต้องการอะไร QoQoon จึงมีหลัก 3 ข้อ (ที่ลดทอนมาแล้วว่าสำคัญที่สุด) มาฝากสำหรับคนที่อยากได้บ้านแนวมินิมัลลิสม์

Photo by Santawat Chienpradit

1. รู้ว่าคุณต้องการอะไรมากที่สุด

อย่างที่บอกว่างานออกแบบตกแต่งภายในแบบมินิมัลลิสม์คือ การลดทอนให้เหลือแต่สิ่งที่จำเป็นต่อผู้ใช้งานอย่างแท้จริง ทั้งในแง่การใช้งานทางกายภาพและทางจิตใจ เพราะฉะนั้นอันดับแรก คุณต้องถามตัวเองก่อนว่า “อะไรคือสิ่งที่จำเป็นและสำคัญต่อคุณมากที่สุด” โดยคำถามนี้ไม่มีคำตอบตายตัว เพราะความต้องการของแต่ละคนสำหรับในแต่ละพื้นที่ย่อมแตกต่างกันไปตามวิถีชีวิต ความชอบ และปัจจัยอะไรอีกหลายอย่าง

ประเด็นที่น่าสนใจตรงนี้คือ เมื่อเราโฟกัสที่ “อะไรคือสิ่งที่จำเป็นที่สุดสำหรับคุณ” และคำตอบนั้นก็แตกต่างกันไปตามแต่ละปัจเจก ความเป็นมินิมัลลิสม์จึงอาจไม่จำเป็นต้องถูกจำกัดอยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หรือไม่จำเป็นต้องมีรูปลักษณ์ภายนอกครบทุกข้อตามคุณสมบัติของมินิมัลลิสม์ก็ได้ อย่างเช่นที่ Anishka Clarke จาก Ishka Design บริษัทออกแบบตกแต่งภายในจาก Brooklyn บอกกับ Architectural Digest เมื่อต้นปีที่ผ่านมาว่า ในขณะที่เรามักเข้าใจกันว่ามินิมัลลิสม์ต้องเป็นพื้นที่โล่งๆ ผนังขาว และมีเฟอร์นิเจอร์ไม่กี่ชิ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันไม่จำเป็นต้องเป็นอย่างนั้นทุกประการเสมอไป โดยเฉพาะในเรื่องการใช้สี เพราะเธอเชื่อว่าเจ้าของบ้านควรจะได้นำอัตลักษณ์ความเป็นตัวตนของพวกเขาผสมผสานลงไปในสุนทรียะแบบมินิมัลลิสม์ด้วย

Photo by Santawat Chienpradit

Clarke ยกตัวอย่างงานออกแบบตกแต่งบ้านที่สตูดิโอของเธอทำให้กับลูกค้า แต่เราขอยกตัวอย่างที่แฟนมินิมัลชาวไทยน่าจะรู้จักกันดีอยู่แล้วดีกว่า นั่นคือ The Library โรงแรมบนเกาะสมุยที่ใช้งานออกแบบมินิมัลลิสม์มานานหลายปีก่อนที่คำว่ามินิมัลจะแพร่ไปทั่วเช่นทุกวันนี้เสียอีก ห้องพักของ The Library ใช้ผนังสีขาว เฟอร์นิเจอร์เส้นสายเรียบง่ายและน้อยชิ้น โทนสีหลักที่ปรากฏคือ ขาว ดำ และสีไม้ธรรมชาติ แต่โทนสีในห้องทั้งหมดไม่ได้มีแค่นั้น เพราะยังมีลูกเล่นที่เดย์เบดสีแดง โดยสีแดงสดนี้แทบจะเป็นลายเซ็นหนึ่งของ The Library เลยก็ว่าได้ เพราะหลายคนจดจำโรงแรมแห่งนี้ได้จากสระว่ายน้ำสีแดงสดที่รายล้อมด้วยอาคารทรงกล่องสีขาว

Clarke ยกตัวอย่างงานออกแบบตกแต่งบ้านที่สตูดิโอของเธอทำให้กับลูกค้า แต่เราขอยกตัวอย่างที่แฟนมินิมัลชาวไทยน่าจะรู้จักกันดีอยู่แล้วดีกว่า นั่นคือ The Library โรงแรมบนเกาะสมุยที่ใช้งานออกแบบมินิมัลลิสม์มานานหลายปีก่อนที่คำว่ามินิมัลจะแพร่ไปทั่วเช่นทุกวันนี้เสียอีก ห้องพักของ The Library ใช้ผนังสีขาว เฟอร์นิเจอร์เส้นสายเรียบง่ายและน้อยชิ้น โทนสีหลักที่ปรากฏคือ ขาว ดำ และสีไม้ธรรมชาติ แต่โทนสีในห้องทั้งหมดไม่ได้มีแค่นั้น เพราะยังมีลูกเล่นที่เดย์เบดสีแดง

Photo by The Library Samui - thelibrarysamui.com
Photo by The Library Samui - thelibrarysamui.com
โดยสีแดงสดนี้แทบจะเป็นลายเซ็นหนึ่งของ The Library เลยก็ว่าได้ เพราะหลายคนจดจำโรงแรมแห่งนี้ได้จากสระว่ายน้ำสีแดงสดที่รายล้อมด้วยอาคารทรงกล่องสีขาว
Photo by The Library Samui - thelibrarysamui.com
Photo by The Library Samui - thelibrarysamui.com

2. ระบบจัดเก็บของที่เป็นระเบียบ

ถ้าคุณใช้ MUJI ทั้งหลัง แต่ไม่มีห้อง ตู้ หรือชั้นเก็บของ ที่สามารถจัดเก็บข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและพ้นจากสายตาได้ บ้านคุณก็ไม่มินิมัลอย่างที่ฝันแล้ว (หรือจริงๆ มันอาจไม่มินิมัลตั้งแต่คุณถม MUJI เข้าไปจนเต็มพื้นที่แล้วก็ได้)

ตู้หรือชั้นเก็บของของมินิมัลลิสต์มักจะเป็นแบบ built-in โดยออกแบบให้กลมกลืนไปกับผนังเกือบจะเป็นเนื้อเดียวกัน คือเรียกว่าแทบดูไม่ออกเลยว่านี่คือตู้ที่เปิดได้ ไม่ใช่ผนังห้อง ส่วนชั้นหนังสือนั้น มินิมัลลิสต์จะโชว์แค่หนังสือบางเล่มที่มีเท่านั้น หรือบางรายที่ไม่ได้มีพื้นที่เก็บของมาก ก็อาจเลือกโชว์หนังสือทุกเล่ม แต่หันเอาสันหนังสือที่แต่ละเล่มมีลวดลายและสีต่างกันเข้าด้านใน แล้วหันด้านกระดาษสีขาวออก เพื่อให้ทั้งชั้นเป็นสีขาว (แนะนำว่าสวยเท่เลยทีเดียว แต่ไม่ค่อย practical เวลาจะเลือกหยิบหนังสือเล่มที่ต้องการออกมาอ่าน)

Photo by Whisky Markdee
Photo by Whisky Markdee

3. "ไลฟ์สไตล์" ไม่ใช่แค่ "สไตล์"

มินิมัลลิสต์ไม่ใช่คนวิ่งตามเทรนด์ แต่มีจุดยืนในรสนิยมของตัวเองชัดเจน เฟอร์นิเจอร์แต่ละชิ้นที่ผ่านการคัดสรรอย่างถี่ถ้วนแล้วว่ามีเหตุผลเหมาะสมที่จะอยู่ในพื้นที่ของมินิมัลลิสต์ มักเป็นเฟอร์นิเจอร์คลาสสิกที่อยู่เหนือกาลเวลา ความงามแบบมินิมัลลิสม์จึงเป็นความงามที่เรียบง่ายและคงทน ไม่ใช่ความงามอายุสั้นที่เจ้าของพร้อมจะโละทิ้งตามเทรนด์ที่เปลี่ยนไป

มินิมัลลิสต์ยังไม่ใช่พวกบริโภคนิยม แต่พอใจกับข้าวของน้อยชิ้นที่มี แต่เราก็ไม่ได้บอกว่าเป็นมินิมัลลิสต์แล้วจะห้ามช็อปปิ้ง เพราะมินิมัลลิสต์เองก็ช็อป แต่ไม่ได้มากและบ่อยเหมือนกับคนส่วนมากในสังคมทุกวันนี้ (และตู้เก็บของที่บอกในข้อก่อนหน้าก็ไม่ได้มีไว้เพื่อเก็บของที่ซื้อมาแล้วไม่ได้ใช้ แต่มักเป็นของใช้ที่ซื้อมาใช้จนหมดแล้วก็ซื้อมาเติมใหม่ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้าออก)

Photo by Whisky Markdee
Photo by Whisky Markdee
Photo by Whisky Markdee
Photo by Whisky Markdee

ทั้งหมดนี้บอกได้ชัดเจนว่าการจะมีบ้านแบบมินิมัลลิสม์แท้ๆ คุณไม่สามารถจะก๊อปเอาสไตล์มาโปะภายนอกได้แล้วก็เป็นมินิมัลลิสม์ทันที เพราะมินิมัลลิสม์เป็นไลฟ์สไตล์ ไม่ใช่แค่สไตล์ แล้วก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะเป็นมินิมัลลิสต์ได้

อ้างอิง:
architecturaldigest.com
tate.org.uk
archdaily.com

Story: Tunyaporn Hongtong

Share

The origin of minimalist design comes from Minimalist art, which rejects the “excess” of Abstract Expressionism and favors “simplicity”. Based on this concept, interior design in minimalist style uses clean lines, spacious areas, and natural lighting. It utilizes materials such as wood, glass, cement, and metal, while minimizing the use of furniture to only the necessary items. The main focus of minimalist design is to reduce and preserve only the essential elements, whether they are necessary for functionality or for the state of mind. This creates a serene and peaceful atmosphere that can be immediately felt when entering the space.

For those who want to decorate their home in minimalism style, the first thing you need to know is what is essential for you. The answer varies according to each person’s needs for that particular space. When there is no definitive answer, minimalism may not have to be confined to any particular form, but rather should incorporate the owner’s characteristics into the minimalist design.

In addition, minimalists often have a clear and satisfied preference for finely selected items. The beauty of minimalist design is a simple and durable beauty, not one that changes with every trend. Genuine minimalist design is not just an external style, but arises from the lifestyle of the user. Therefore, not everyone can be a minimalist.