Design

"Livable Scape" Bangkok Design Week 2024

“Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดีคอนเซ็ปต์ในการจัดเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ Bangkok Design Week 2024 (BKKDW2024) ซึ่งเป็นแก่นความคิดสำคัญที่ดึงดูดให้เราได้เข้าไปร่วมงานในครั้งนี้ ทำให้เราได้มองเห็นภาพรวม ได้ตกตะกอน รวมถึงได้ครุ่นคิดในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับ ‘เมือง’ ที่เราอาศัยอยู่ในชีวิตประจำวัน กอปรเป็นกระบวนการคิดที่ทำให้ตระหนักรู้ได้ว่า เราทุกคนมีส่วนสำคัญที่จะสร้างสรรค์เมืองของเราให้น่าอยู่มากยิ่งขึ้น

อาคารชัยพัฒนศิลป์ หนึ่งในอาคารย่านเจริญกรุง อายุมากกว่า 100 ปี ที่ถูกพัฒนาขึ้นใหม่ให้เป็น Creative Space ในชื่อว่า “The Corner House”
อาคารชัยพัฒนศิลป์ หนึ่งในอาคารย่านเจริญกรุง อายุมากกว่า 100 ปี ที่ถูกพัฒนาขึ้นใหม่ให้เป็น Creative Space ในชื่อว่า “The Corner House”

“ถ้าช่วยกันลงมือทำ วันข้างหน้าเมืองจะยิ่งดี เรื่องสาธารณูปโภค ไลฟ์สไตล์ อาชีพ องค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้เกี่ยวข้องกันหมด ไม่ใช่แค่ออกแบบเมืองให้สวยแล้วมันจะน่าอยู่ เมืองสวยแต่ไม่สร้างรายได้ ไม่มีระบบขนส่งมวลชนที่ดี ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวก แบบนี้ก็ไม่ตอบโจทย์ เราอยากอยู่ในเมืองที่ทุกคนสามารถเข้าถึงแหล่งรายได้ การเดินทางที่สะดวก และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีได้” – บทสัมภาษณ์ใน bangkokdesignweek.com ของ คุณหมู นนทวัฒน์ เจริญชาศรี หัวเรือใหญ่แห่ง DUCTSTORE the design guru สตูดิโอออกแบบที่ขับเคลื่อนวงการกราฟิกไทยมากว่า 22 ปี ซึ่งเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการออกแบบ Key Visual ประจำปีนี้ โดย Bangkok Design Week 2024 (BKKDW2024) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งมีไอเดียตั้งต้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับเมือง และนโยบายของกรุงเทพมหานครฯ เป็นโจทย์ให้นักออกแบบและคนทำงานสร้างสรรค์ในหลายสาขาอาชีพได้มีโอกาสมาโชว์ผลงานที่สอดคล้องไปกับการพัฒนาและแก้ไขปัญหาให้กับเมือง โดยในการจัดงานครั้งนี้จะอยู่ภายใต้การผสานแนวคิด Graphitecture หรือ Graphic + Architecture หรือการผสานมุมมองกราฟิก และสถาปัตยกรรมเข้าด้วยกัน ซึ่งเป็นเป้าประสงค์ของคุณหมูที่ต้องการจุดประกายให้คนทั่วไปมีแนวคิดพื้นฐานแบบ Creative Thinking กล่าวคือใช้ชีวิตอย่างเป็นปัจเจกและสร้างสรรค์ ซึ่งถ้าเราทุกคนเริ่มให้ความสำคัญกับความเป็นปัจเจกและใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์อยู่เสมอ เมืองของเราก็จะถูกพัฒนาให้เต็มไปด้วยความสร้างสรรค์มากขึ้น งาน Bangkok Design Week 2024 (BKKDW2024) ครั้งนี้จึงทำหน้าที่สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ผ่านเมือง เพื่อเชื้อเชิญทุกคนมาร่วมสร้าง Livable Scape ที่จะเป็นไปได้

โดยในการจัดงานครั้งนี้จะอยู่ภายใต้การผสานแนวคิด Graphitecture หรือ Graphic + Architecture หรือการผสานมุมมองกราฟิก และสถาปัตยกรรมเข้าด้วยกัน ซึ่งเป็นเป้าประสงค์ของคุณหมูที่ต้องการจุดประกายให้คนทั่วไปมีแนวคิดพื้นฐานแบบ Creative Thinking กล่าวคือใช้ชีวิตอย่างเป็นปัจเจกและสร้างสรรค์ ซึ่งถ้าเราทุกคนเริ่มให้ความสำคัญกับความเป็นปัจเจกและใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์อยู่เสมอ เมืองของเราก็จะถูกพัฒนาให้เต็มไปด้วยความสร้างสรรค์มากขึ้น งาน Bangkok Design Week 2024 (BKKDW2024) ครั้งนี้จึงทำหน้าที่สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ผ่านเมือง เพื่อเชื้อเชิญทุกคนมาร่วมสร้าง Livable Scape ที่จะเป็นไปได้ 

Key Visual ของงาน Bangkok Design Week 2024 ภายใต้แนวคิด Graphitecture
Key Visual ของงาน Bangkok Design Week 2024 ภายใต้แนวคิด Graphitecture ภาพจาก : https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2024/content/93098
“สนาม(ผู้ใหญ่)เล่น” โดย เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย หนึ่งในโปรแกรมของงาน Bangkok Design Week 2024
“สนาม(ผู้ใหญ่)เล่น” โดย เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย หนึ่งในโปรแกรมของงาน Bangkok Design Week 2024

BKKDW2024 เปิดกว้างต่อการจัดแสดงผลงานในหลายรูปแบบ เช่น การจัดแสดงงานออกแบบ เสวนา เวิร์กช็อป อีเวนต์ ดนตรีและการแสดง ฯลฯ โดยจัดขึ้นในพื้นที่ย่านต่างๆในกรุงเทพฯ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในคอนเซ็ปต์การพัฒนาเมืองให้เข้าถึงคนหมู่มากได้ โดยหลากหลายผลงานได้ถูกจัดแสดงขึ้นตามการตีความของเหล่านักออกแบบและแบรนด์ต่างๆ รวมกว่า 500 โปรแกรม ให้เข้าร่วมตามความสนใจ ทางเราขอหยิบยกบางโปรแกรมใน BKKDW2024 ครั้งนี้ มาเจาะลึกสารัตถะเพื่อส่งต่อแนวคิดให้ทุกคนได้เกิด Creative Thinking ตามเป้าประสงค์ของงานครั้งนี้

เริ่มต้นที่ความสร้างสรรค์ในการจัดแสดง “Charoen Krung Tone” โดย ชนาธิป หอมประทุม ศิลปินรุ่นใหม่ เจ้าของงาน Sticker Design ที่เป็นการนำเครื่องมือแทนค่าสีดิจิตัลอย่าง Pantone มาปรับใช้กับพื้นที่จริงในย่านเจริญกรุง ทำให้เราเกิดไอเดียเกี่ยวกับชุดสีที่เป็นภาพรวมของย่านแห่งนี้ รวมถึงมีภาพจำเรื่องวัสดุหรือพื้นผิวที่ปรากฏตามจุดต่างๆ ในย่านอีกด้วย “เจริญกรุงโทน” จึงทำให้เราได้สังเกตเห็นว่าในแต่ละย่านนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะของพื้นที่ เพราะถูกประกอบสร้างจากวัฒนธรรมการอยู่อาศัยที่แตกต่างของผู้คนตั้งแต่อดีตกาล 

“Charoen Krung Tone” โดย ชนาธิป หอมประทุม หนึ่งในโปรแกรมของงาน Bangkok Design Week 2024
“Charoen Krung Tone” โดย ชนาธิป หอมประทุม หนึ่งในโปรแกรมของงาน Bangkok Design Week 2024
เริ่มต้นที่ความสร้างสรรค์ในการจัดแสดง “Charoen Krung Tone” โดย ชนาธิป หอมประทุม ศิลปินรุ่นใหม่ เจ้าของงาน Sticker Design ที่เป็นการนำเครื่องมือแทนค่าสีดิจิตัลอย่าง Pantone มาปรับใช้กับพื้นที่จริงในย่านเจริญกรุง ทำให้เราเกิดไอเดียเกี่ยวกับชุดสีที่เป็นภาพรวมของย่านแห่งนี้ รวมถึงมีภาพจำเรื่องวัสดุหรือพื้นผิวที่ปรากฏตามจุดต่างๆ ในย่านอีกด้วย “เจริญกรุงโทน” จึงทำให้เราได้สังเกตเห็นว่าในแต่ละย่านนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะของพื้นที่ เพราะถูกประกอบสร้างจากวัฒนธรรมการอยู่อาศัยที่แตกต่างของผู้คนตั้งแต่อดีตกาล
เอกลักษณ์ของงาน Charorn Krung Tone คือการใช้เทคนิค Sticker Design มานำเสนอค่าสีดิจิตัลอย่าง Pantone โดยเปรียบเทียบกับพื้นที่ในชีวิตจริง
เอกลักษณ์ของงาน Charorn Krung Tone คือการใช้เทคนิค Sticker Design มานำเสนอค่าสีดิจิตัลอย่าง Pantone โดยเปรียบเทียบกับพื้นที่ในชีวิตจริง

จากบทความวิจัย “รูปแบบสีขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม พื้นที่ย่านถนนบำรุงเมือง กรุงเทพมหานคร” โดย ธนสาร ช่างนาวา และ สันต์ จันทร์สมศักดิ์ นิสิตและอาจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ระบุไว้ว่า “การรับรู้สีและความหมาย เกิดขึ้นพร้อมกันผ่านบริบททางวัฒนธรรม ดังนั้นการรับรู้สีจึงเป็นส่วนหนึ่งของการรับรู้อัตลักษณ์ของพื้นที่ นอกจากนี้ สียังเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้อัตลักษณ์ และทำให้เกิดการจดจำ ซึ่งจะพบได้ในแถบยุโรปและเอเชีย โดยอัตลักษณ์ที่แตกต่างกันในแต่ละเมืองจะสะท้อนรูปแบบสีที่แตกต่างกันด้วย ดังนั้นการพัฒนาภูมิทัศน์เมือง และการอนุรักษ์พื้นที่จึงต้องมีการวางแนวทางควบคุมรูปแบบสีขององค์ประกอบทางกายภาพให้สอดคล้องกับบริบททางวัฒนธรรมของพื้นที่” สิ่งเหล่านี้ทำให้เราได้นึกย้อนไปถึงสถาปัตยกรรมของย่านเจริญกรุง ตั้งแต่แรกเริ่มเดิมทีในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 ที่เริ่มตัดถนนเจริญกรุง ย่านนี้เคยเป็นย่านที่มีชาวตะวันตกอยู่อาศัยมากที่สุดของกรุงเทพฯ ส่งผลต่อสถาปัตยกรรมที่ทำให้ย่านเจริญกรุงเต็มไปด้วยกลิ่นอายตะวันตก และแม้จะกาลเวลาผ่านมายาวนาน ผ่านการเติมแต่งของศิลปะสมัยใหม่ แต่ร่องรอยของวัฒนธรรมจากอดีตที่หลงเหลือก็ทำให้เจริญกรุงยังคงเป็นย่านเก่าแก่ที่มีเสน่ห์เฉพาะตัวอยู่เสมอ

ชุดสีในแต่ละพื้นที่จะมีโทนที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับบริบททางวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่
ชุดสีในแต่ละพื้นที่จะมีโทนที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับบริบททางวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่
ชุดสีในแต่ละพื้นที่จะมีโทนที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับบริบททางวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่
ชุดสีในแต่ละพื้นที่จะมีโทนที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับบริบททางวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่
ดังนั้นการพัฒนาภูมิทัศน์เมือง และการอนุรักษ์พื้นที่จึงต้องมีการวางแนวทางควบคุมรูปแบบสีขององค์ประกอบทางกายภาพให้สอดคล้องกับบริบททางวัฒนธรรมของพื้นที่” สิ่งเหล่านี้ทำให้เราได้นึกย้อนไปถึงสถาปัตยกรรมของย่านเจริญกรุง ตั้งแต่แรกเริ่มเดิมทีในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 ที่เริ่มตัดถนนเจริญกรุง ย่านนี้เคยเป็นย่านที่มีชาวตะวันตกอยู่อาศัยมากที่สุดของกรุงเทพฯ ส่งผลต่อสถาปัตยกรรมที่ทำให้ย่านเจริญกรุงเต็มไปด้วยกลิ่นอายตะวันตก และแม้จะกาลเวลาผ่านมายาวนาน ผ่านการเติมแต่งของศิลปะสมัยใหม่ แต่ร่องรอยของวัฒนธรรมจากอดีตที่หลงเหลือก็ทำให้เจริญกรุงยังคงเป็นย่านเก่าแก่ที่มีเสน่ห์เฉพาะตัวอยู่เสมอ
การนำเสนอค่าสี Pantone ของงาน Charoen Krung Tone ถูกติดตั้งกระจายไปหลากหลายพื้นที่ในย่านเจริญกรุง สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตของผู้คนในย่าน
การนำเสนอค่าสี Pantone ของงาน Charoen Krung Tone ถูกติดตั้งกระจายไปหลากหลายพื้นที่ในย่านเจริญกรุง สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตของผู้คนในย่าน

ต่อเนื่องจากการประกอบสร้างเชิงวัฒนธรรมที่ทำให้เกิดเป็นผลงานสุดสร้างสรรค์ จึงทำให้เราอยากกล่าวถึงการจัดแสดง “PDM Supervision 10 Year Anniversary Exhibition” โดย PDM สตูดิโอออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นที่รู้จักจากการผลิตเสื่อคุณภาพที่มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และเป็นเวลากว่า 10 ปี ที่ PDM ได้พัฒนาสินค้าคุณภาพจนปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์มากกว่า 100 หน่วย ซึ่งมีที่มาแตกต่างกัน และยังได้มีโอกาสสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ร่วมกับแบรนด์ระดับชาติไปจนถึงระดับโลก

กล่องสีขาวขนาดใหญ่หลายใบบรรจุผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ PDM ในนิทรรศการ “PDM Supervision 10 Year Anniversary Exhibition”
กล่องสีขาวขนาดใหญ่หลายใบบรรจุผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ PDM ในนิทรรศการ “PDM Supervision 10 Year Anniversary Exhibition”

นิทรรศการจาก PDM ในครั้งนี้ เล่าเรื่องผ่านกล่องสีขาวที่วางเรียงรายเต็มพื้นที่ โดยแต่ละกล่องจะบรรจุผลิตภัณฑ์ และวัสดุของไอเดียนั้นๆ มาให้รับชมกัน เราจึงได้รับรู้ว่า นอกจากความเป็นผลิตภัณฑ์ Eco-Friendly แล้ว PDM ยังผลิตสินค้าแห่งวัฒนธรรมที่ถูกออกแบบให้ร่วมสมัย ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ Nap Pillow หรือหมอนขิดของภาคอีสาน งานเย็บมือโดยช่างฝีมือชาวยโสธรโดยเฉพาะ อีกทั้งยังมี Kyoto On The Floor Series เก้าอี้ที่ได้แรงบันดาลใจจากอาสนะของพระ ท้าทายการออกแบบที่ต้อง Transform ของใช้จากวัดเป็นของใช้ในบ้าน  

Nap Pillow ผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ PDM ที่ได้แรงบันดาลใจจาก หมอนขิด หมอนรูปทรงเหลี่ยมสุดเรียบง่ายจากชุมชนภาคอีสาน
Nap Pillow ผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ PDM ที่ได้แรงบันดาลใจจาก หมอนขิด หมอนรูปทรงเหลี่ยมสุดเรียบง่ายจากชุมชนภาคอีสาน
อีกทั้งยังมี Kyoto On The Floor Series เก้าอี้ที่ได้แรงบันดาลใจจากอาสนะของพระ ท้าทายการออกแบบที่ต้อง Transform ของใช้จากวัดเป็นของใช้ในบ้าน
Kyoto On The Floor Series ผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ PDM ได้แรงบันดาลใจจากอาสนะของพระ
Kyoto On The Floor Series ผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ PDM ได้แรงบันดาลใจจากอาสนะของพระ

หรือแม้กระทั่งผลิตภัณฑ์ All Dry Barrier Gate Clothes Rack ราวตากผ้าที่ได้แรงบันดาลใจมาจากรั้วกั้นของจราจรในประเทศไทย ที่นอกเหนือจากการเป็นราวตากผ้าแล้วยังทำหน้าที่เป็นรั้วกั้นทางได้อีกด้วย โดยผลิตภัณฑ์จาก PDM นั้นประยุกต์ใช้ได้กับคนทุกเพศวัย และเป็นกลางสำหรับตลาดโลก 

All Dry Barrier Gate Clothes Rack ผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ PDM ซึ่งเป็นราวตากผ้าที่ได้แรงบันดาลใจจากรั้วกั้นของจราจร
All Dry Barrier Gate Clothes Rack ผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ PDM ซึ่งเป็นราวตากผ้าที่ได้แรงบันดาลใจจากรั้วกั้นของจราจร

งานดีไซน์จาก PDM สะท้อนถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์แบบ Cross-Cultural Design หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ดึงเอาวัฒนธรรมพื้นถิ่นมาเป็นหนึ่งในโจทย์ของการดีไซน์ และส่งต่อผลิตภัณฑ์สุดสร้างสรรค์โดยสามารถใช้ได้กับคนในวัฒนธรรมอื่นได้อย่างกลมกลืน การดีไซน์ผลิตภัณฑ์แบบ Cross-Cultural ได้ถูกคาดการณ์ไว้เมื่อนานมาแล้วว่าจะเป็นกระแสที่ได้รับความนิยมในอนาคต จากการศึกษาการออกแบบผลิตภัณฑ์ของไต้หวัน พบว่า อุตสาหกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์ในไต้หวันนั้นสามารถก้าวไปสู่จุดของการเป็นผู้นำในเวทีการออกแบบผลิตภัณฑ์ระดับโลกได้ โดยหนึ่งในข้อได้เปรียบคือ ไต้หวันเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยผู้คนหลากหลายวัฒนธรรม จึงทำให้ทุกครั้งที่มีการออกแบบมักจะเกิดกระบวนการคิดที่เป็นการผสมผสานวัฒนธรรม ซึ่งสามารถเข้าถึงความชอบของคนทั่วไปได้อย่างดี ส่วนอีกหนึ่งงานวิจัย Cross-Cultural Product Design By Chen Zhang จากมหาวิทยาลัย Carleton ประเทศแคนาดา ระบุไว้ว่า นอกเหนือจากเรื่องของฟังก์ชั่น Cross-Cultural Product ไม่เพียงแค่สร้างประสบการณ์ในเชิงของความสวยงามอย่างเดียว แต่ยังตอบโจทย์ต่อภาวะ Nostalgia ของมนุษย์อีกด้วย ซึ่งเป็นการหวนรำลึกถึงความทรงจำดีๆ ที่ถูกบันทึกผูกติดกับผลิตภัณฑ์นั้นๆ อย่างแยบคาย

อย่างไรก็ดี เมื่อโลกของเราได้ก้าวสู่ยุคที่ทุกวัฒนธรรมสามารถเข้าถึงกัน และหลอมรวมกันได้อย่างรวดเร็ว จึงไม่น่าแปลกใจที่ Cross – Cultural Design นั้นจะเป็นที่นิยมเป็นวงกว้าง ซึ่งโจทย์ต่อไปของนักออกแบบผลิตภัณฑ์สมัยใหม่ คงไม่ใช่แค่เรื่องของดีไซน์และฟังก์ชั่น แต่ต้องครอบคลุมถึงปัจจัย หรือความต้องการที่เป็นภาพใหญ่ในระดับ Global 

ผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นจากแบรนด์ PDM ถูกออกแบบให้มีความร่วมสมัย และมั่นคงในแนวทาง Eco-Friendly
ผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นจากแบรนด์ PDM ถูกออกแบบให้มีความร่วมสมัย และมั่นคงในแนวทาง Eco-Friendly

ส่วนอีกหนึ่งงานวิจัย Cross-Cultural Product Design By Chen Zhang จากมหาวิทยาลัย Carleton ประเทศแคนาดา ระบุไว้ว่า นอกเหนือจากเรื่องของฟังก์ชั่น Cross-Cultural Product ไม่เพียงแค่สร้างประสบการณ์ในเชิงของความสวยงามอย่างเดียว แต่ยังตอบโจทย์ต่อภาวะ Nostalgia ของมนุษย์อีกด้วย ซึ่งเป็นการหวนรำลึกถึงความทรงจำดีๆ ที่ถูกบันทึกผูกติดกับผลิตภัณฑ์นั้นๆ อย่างแยบคาย

อย่างไรก็ดี เมื่อโลกของเราได้ก้าวสู่ยุคที่ทุกวัฒนธรรมสามารถเข้าถึงกัน และหลอมรวมกันได้อย่างรวดเร็ว จึงไม่น่าแปลกใจที่ Cross – Cultural Design นั้นจะเป็นที่นิยมเป็นวงกว้าง ซึ่งโจทย์ต่อไปของนักออกแบบผลิตภัณฑ์สมัยใหม่ คงไม่ใช่แค่เรื่องของดีไซน์และฟังก์ชั่น แต่ต้องครอบคลุมถึงปัจจัย หรือความต้องการที่เป็นภาพใหญ่ในระดับ Global

แม้หลายผลิตภัณฑ์จะดูเรียบง่าย แต่สามารถถ่ายทอดวัฒนธรรมไทยที่สามารถใช้งานได้จริงกับคนทั่วโลก
แม้หลายผลิตภัณฑ์จะดูเรียบง่าย แต่สามารถถ่ายทอดวัฒนธรรมไทยที่สามารถใช้งานได้จริงกับคนทั่วโลก

อีกหนึ่งโปรแกรมที่หลายคนให้ความสนใจสำหรับ BKKDW2024 คือ “The Openscape – Uniquely Together” by TAK & WG at Bangkok Design Week 2024 นิทรรศการเปิดโลกวัสดุจาก TAK & WG ผู้นำด้านธุรกิจวัสดุปิดผิวระดับพรีเมี่ยมที่คัดเลือกหลากแบรนด์ชั้นนำระดับโลกมาสู่ประเทศไทย ที่มาในธีม Unveil the Mystery of “The Openscape” จำลองการเปิดบานประตูเพื่อสร้างประสบการณ์การค้นหาตัวตน

กล่องขนาดใหญ่ถูกตั้งวางกลางพื้นที่กว้าง ไฮไลท์ของงาน "The Openscape – Uniquely Together” by TAK & WG ของ Bangkok Design Week 2024
กล่องขนาดใหญ่ถูกตั้งวางกลางพื้นที่กว้าง ไฮไลท์ของงาน "The Openscape – Uniquely Together” by TAK & WG ของ Bangkok Design Week 2024

พื้นที่นิทรรศการถูกเนรมิตให้มีกล่องขนาดใหญ่อยู่ตรงกลางสเปซ ซึ่งภายในกล่องจะมีประตูบานใหญ่ที่เปิดเข้าไปเจอกับพื้นที่ว่าง โดยทั้งสี่ด้านภายในกล่องจะเต็มไปด้วยแผ่น Metal Laminate รุ่น Reflective ซึ่งมีพื้นผิวที่ทำให้เกิดเงาสะท้อน จึงเห็น Object หลาย Object ประหนึ่งมีหลายมิติ โดยในส่วนด้านบนของกล่องถูกตกแต่งด้วยฟิล์มกระจกหลากสีที่แสงธรรมชาติสามารถส่องผ่านเข้ามาได้ ทำให้ทั้งพื้นที่ภายในถูกทาบด้วยสีสันที่เปลี่ยนไปทุกวินาทีโดยแสงธรรมชาติ ส่วนภายนอกกล่องจะมีประตูบานเล็กๆ ที่เมื่อลองเปิดจะเห็น Quote เชิงปรัชญาของการค้นหาตัวตน  

แผ่น Metal Laminate ถูกติดตั้งไว้รอบด้าน ทำให้ภายในกล่องเกิดเป็นมุมมองสะท้อนหลายมิติ
แผ่น Metal Laminate ถูกติดตั้งไว้รอบด้าน ทำให้ภายในกล่องเกิดเป็นมุมมองสะท้อนหลายมิติ

ภาพรวมของงานนิทรรศการนี้ ได้ใช้การดีไซน์มาส่งมอบแก่นความคิดในการตีความ Surface Materials หรือพื้นผิววัสดุ กับความเป็นตัวตน กล่าวคือ พื้นผิวแต่ละประเภทจะมีความสวยงามหรือมีเสน่ห์ที่แตกต่างกัน บางประเภทแค่เห็นหรือได้สัมผัสก็สามารถจำได้ทันทีว่าเป็นพื้นผิวของอะไร โดยแต่ละประเภทนั้นก็มอบคุณประโยชน์ที่แตกต่างกันอีกด้วย ซึ่งเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับมนุษย์แล้วนั้น เราต่างมีรูปลักษณ์ภายนอกที่ไม่เหมือนกัน เรามีความงามที่เป็นปัจเจก หรือเป็นอัตลักษณ์ ซึ่งเมื่อค้นหาตัวเองลงลึกไปสู่ภายในเราจะเห็นความงามในอีกหลากหลายมิติที่เราอาจจะยังไม่เคยค้นพบ นับเป็นอีกหนึ่งนิทรรศการที่ใช้การดีไซน์พาเราไปสู่โลกของปรัชญา 

รอบนอกของกล่อง มีประตูน้อยใหญ่หลายบานให้ลองเปิด ซึ่งมี Quote คำพูดที่เน้นย้ำการค้นหาตัวตน
รอบนอกของกล่อง มีประตูน้อยใหญ่หลายบานให้ลองเปิด ซึ่งมี Quote คำพูดที่เน้นย้ำการค้นหาตัวตน
ซึ่งเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับมนุษย์แล้วนั้น เราต่างมีรูปลักษณ์ภายนอกที่ไม่เหมือนกัน เรามีความงามที่เป็นปัจเจก หรือเป็นอัตลักษณ์ ซึ่งเมื่อค้นหาตัวเองลงลึกไปสู่ภายในเราจะเห็นความงามในอีกหลากหลายมิติที่เราอาจจะยังไม่เคยค้นพบ นับเป็นอีกหนึ่งนิทรรศการที่ใช้การดีไซน์พาเราไปสู่โลกของปรัชญา
"The Openscape – Uniquely Together” by TAK & WG กลายเป็นอีกหนึ่งนิทรรศการที่ใช้การดีไซน์เปิดประตูสู่โลกของปรัชญา
"The Openscape – Uniquely Together” by TAK & WG กลายเป็นอีกหนึ่งนิทรรศการที่ใช้การดีไซน์เปิดประตูสู่โลกของปรัชญา

ส่วนโปรแกรมที่ดึงดูดสายตาหลายๆ คน แค่เดินผ่านก็เหมือนถูกเชื้อเชิญให้ไปลองเล่น นั่นคือ สนาม(ผู้ใหญ่)เล่น โดย เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย ที่ออกแบบโดย Imaginary Objects สตูดิโอออกแบบที่เน้น Experience ของผู้ใช้เป็นหลัก  สนาม(ผู้ใหญ่)เล่น แห่งนี้เป็นงานดีไซน์แบบ Installation ขนาดใหญ่ที่ตั้งใจออกแบบให้เป็นเครื่องเล่น ติดตั้งเป็นแนวยาวอยู่บนลานกว้างสาธารณะใจกลางกรุงเทพฯ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Play heals” โดยเครื่องเล่นนี้ได้ถูกออกแบบมาเพื่อผู้ใหญ่โดยเฉพาะ ทั้งขนาดของเครื่องเล่นที่ดูมีพื้นที่กว้างขวาง และเรื่องวัสดุไม้ที่น่าจะดีไซน์มาเพื่อลดแรงกระแทก ภายในเครื่องเล่นมีทั้งสไลเดอร์ ปีนเขา บันได พื้นที่ต่างระดับ และพื้นที่นั่งชิลล์ ที่ดูเป็นทั้งเครื่องเล่นเพื่อสุขภาพและมอบความสนุกสนานให้ได้ในคราเดียว แต่แม้ว่าจะถูกออกแบบมาเพื่อคนวัยผู้ใหญ่ แต่เด็กๆ ก็สามารถมาเอ็นจอยได้เช่นกัน 

เครื่องเล่นของนิทรรศการ “สนาม(ผู้ใหญ่)เล่น” โดย เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย ที่ถูกออกแบบภายใต้คอนเซ็ปต์ "Play Heals"
เครื่องเล่นของนิทรรศการ “สนาม(ผู้ใหญ่)เล่น” โดย เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย ที่ถูกออกแบบภายใต้คอนเซ็ปต์ "Play Heals"

หลักสำคัญของเครื่องเล่นนี้ คือการเติมพลังใจให้บุคคลวัยผู้ใหญ่ที่ห่างหายจากคำว่า “เล่น” มานาน เนื่องด้วยการใช้ชีวิตการทำงานในเมืองที่มีแต่ความเร่งรีบวุ่นวาย ให้กลับมาอยู่กับปัจจุบันขณะ และให้ได้รู้สึกถึงความมีชีวิตชีวาที่เคยมี ปลุกพลังงานความเป็นเด็กของตัวเองให้กลับมาวิ่งเล่นอีกครั้ง ดังนั้น Intergenerational Design จึงสำคัญในโอกาสนี้ 

Intergenerational Design เป็นแนวคิดการออกแบบที่คำนึงถึงผู้คนในสิ่งแวดล้อมแบบองค์รวม ส่วนหนึ่งของแนวคิดนี้ถูกนำไปใช้กับการจัดการสเปซที่ต้องมีการใช้สอยร่วมกันระหว่างคนหลายเพศวัย อย่างเช่น ภายในบ้านมักจะมีพื้นที่ที่สามารถนั่งเล่นร่วมกันได้ระหว่างคนต่างวัยอย่างคุณยาย และหลานตัวน้อย เหล่านี้คือการนำการออกแบบมาสร้างสรรค์ต่อยอดเพื่อให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ พื้นที่ หรืออาคารที่พักอาศัย ที่สามารถมอบประโยชน์สูงสุดกับผู้ใช้งาน ซึ่งแนวคิด Intergenerational Design นั้นถูกให้ความสำคัญมากขึ้น จากการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปของผู้คนในยุคปัจจุบันที่มีความอิสระในความต้องการของตัวเอง มีไลฟ์สไตล์ที่หลากหลายมากขึ้นกว่าในสมัยก่อน เรียกได้ว่าแนวคิด Intergenerational Design จะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าไม่มี Cultural Change หรือการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในสังคม 

สนาม(ผู้ใหญ่)เล่น ถูกติดตั้งโดดเด่นกลางพื้นที่โล่งกว้าง เพื่อเชื้อเชิญให้คนทุกเพศวัยได้นึกย้อนถึงความสุขวัยเด็ก
สนาม(ผู้ใหญ่)เล่น ถูกติดตั้งโดดเด่นกลางพื้นที่โล่งกว้าง เพื่อเชื้อเชิญให้คนทุกเพศวัยได้นึกย้อนถึงความสุขวัยเด็ก

ยังมีการจัดแสดงในรูปแบบของนิทรรศการภาพถ่ายที่เราให้ความสนใจ เพราะการดีไซน์ในโปรแกรมนี้อยู่ที่การนำเสนอแก่นความคิดของแต่ละภาพ ที่ใช้เทคนิคสะท้อนภาพจากแผ่นพลาสติกพื้นผิวคล้ายกระจกเพื่อทำให้เกิดมุมมองใหม่ และในการเดินรับชมนิทรรศการ เราสามารถนำแผ่นพลาสติกดังกล่าวมาสะท้อนภาพที่จัดแสดงอีกที เรียกว่า มิติในมิติ 

“Bangkok Reflection : สะท้อนกรุง” โดยสมัชชา อภัยสุวรรณ นิทรรศการภาพถ่ายแนวสตรีท นำเสนอภาพที่เกิดจากการสะท้อนกระจก ถูกถ่ายทอดด้วยสีขาวดำรวมกับสีธรรมชาติไว้ในภาพเดียว
“Bangkok Reflection : สะท้อนกรุง” โดยสมัชชา อภัยสุวรรณ นิทรรศการภาพถ่ายแนวสตรีท นำเสนอภาพที่เกิดจากการสะท้อนกระจก ถูกถ่ายทอดด้วยสีขาวดำรวมกับสีธรรมชาติไว้ในภาพเดียว

โปรแกรมนี้ได้แก่ Bangkok Reflection : สะท้อนกรุง โดยสมัชชา อภัยสุวรรณ อดีตช่างภาพในวงการโฆษณาที่ผันตัวมาถ่ายภาพแนวสตรีทและเชิงสารคดี สำหรับนิทรรศการครั้งนี้ เขาเริ่มสแนปภาพในพื้นที่เจริญกรุงตามจุดต่างๆ ตั้งแต่ปี 2563 โดยใช้เทคนิคในการถ่ายจากการสะท้อนกระจก และมีการใช้ ProPhoto RGB ช่วยจัดการสีของภาพ ทำให้ภายในหนึ่งภาพมีทั้ง Object สีขาวดำ และ Object สีธรรมชาติ อีกทั้งภายในห้องที่จัดแสดงยังมีเสียงดนตรีที่ถูกดีไซน์โดย ศรุต บวรธีรภัค ที่ได้เดินบันทึกเสียงในพื้นที่จริงตามพิกัดที่ของภาพถ่ายแต่ละภาพ ทำให้เราได้รับรู้ว่า ‘เจริญกรุง’ ย่านเก่าแก่แห่งนี้ไม่เคยหลับเลย

ภาพถ่ายจากนิทรรศการ "Bangkok Reflection : สะท้อนกรุง" ล้วนเป็นการตั้งคำถามเชิงปรัชญาเกี่ยวกับการใช้ชีวิตในเมืองที่ไม่เคยหลับใหล
ภาพถ่ายจากนิทรรศการ "Bangkok Reflection : สะท้อนกรุง" ล้วนเป็นการตั้งคำถามเชิงปรัชญาเกี่ยวกับการใช้ชีวิตในเมืองที่ไม่เคยหลับใหล

โปรแกรมที่หยิบยกมาเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของงาน Bangkok Design Week 2024 (BKKDW2024) เท่านั้น ยังมีอีกหลากหลายโปรแกรมที่มาพร้อมคอนเซ็ปต์ของการดีไซน์ ซึ่งทุกๆ คนสามารถถอดรหัส และนำไปต่อยอดใช้ได้ในชีวิตประจำวัน   หลังจากที่ผู้เขียนได้ลองครุ่นคิดกับกระบวนการผลิตของโปรแกรมต่างๆ ใน Bangkok Design Week 2024 ทำให้เห็นการพัฒนาของสิ่งต่างๆ ในบ้านเมืองและสังคมของเราอย่างชัดเจน ซึ่งมันไม่ใช่แค่ ‘บ้านเมืองเปลี่ยน คนเปลี่ยน’ แต่มันคือการเติบโตที่มีพัฒนาการในทุกๆ ระบบ 

ยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเติบโตในยุคสมัยที่อะไรๆ ต่างพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง 

Story: NAENOII 

Share