Design
Highlight From Chiang Mai Design Week 2023
ในช่วงปลายปีของทุกๆปี เชียงใหม่ ถือเป็นหมุดหมายสำคัญของผู้ที่ทำงาน หรือสนใจในงานศิลปะและการออกแบบ เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการจัดงานสำคัญอย่าง “เทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่” หรือ Chiang Mai Design Week และในปีนี้ Chiang Mai Design Week 2023 (CMDW2023) ได้จัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 9 แล้ว ภายใต้แนวคิด “Transforming Local : ปรับตัว ต่อยอด ท้องถิ่น เติบโต”
นำเสนอผ่าน อาหาร (Local Food), งานฝีมือหัตถกรรม (Craft), งานออกแบบ (Design) และดนตรี (Music) ซึ่งกระจายกันจัดในหลากหลายสถานที่ทั่วเชียงใหม่ เช่น ตึก TCDC เชียงใหม่, ตึกมัทนา, ธน-อาคาร และพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา ภายในงานนอกจากการจัดแสดงผลงานการออกแบบจากนักออกแบบแล้ว ยังมีนิทรรศการ การแสดงดนตรี ภาพยนต์ เวิร์กชอป (workshop) ตลาดนัดหัตถกรรมคัดสรร หรือ POP Market และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย ให้ได้เลือกดู เลือกชม เลือกทำ ตามความสนใจ
นิทรรศการ EVERYDAY CONTEM
ภายใต้แนวคิด ‘Transforming Local : ปรับตัว ต่อยอด ท้องถิ่น เติบโต’ นิทรรศการ EVERYDAY CONTEM หัตถกรรมร่วมรุ่น: จากภูมิปัญญาเชิงช่างสู่คุณค่าร่วมสมัย ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง MUJI และ Creative Economy Agency (CEA) เป็นนิทรรศการที่ชวนสำรวจแนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากประเทศญี่ปุ่นแบรนด์ MUJI หรือ Mujirushi Ryohin ซึ่งมีความหมายว่า “สินค้าคุณภาพดีที่ไม่มียี่ห้อ” ได้รับแนวคิดมาจาก “มิงเก” (mingei) และ “มิงกุ” (mingu)
โดยมิงเก นั้นมาจากคำว่า มิง ที่มีความหมายว่า “มวลชน หรือผู้คน” และ เก ที่มีความหมายว่า “ศิลปะ หรือหัตถกรรม” เมื่อรวมกันแล้วจึงมีความหมายว่า “ศิลปะพื้นบ้าน” หรือ “หัตถกรรมสำหรับผู้คน” เป็นการผลิตด้วยมือ และมองงานหัตถกรรมด้วยใจอันบริสุทธิ์ เรียบง่าย ซื่อสัตย์ต่อวัสดุต้นกำเนิดของหัตถกรรมชิ้นนั้น เช่น sageju bako (กล่องไม้สำหรับใส่อาหารไปรับประทานนอกบ้าน), yunomi (ถ้วยชาที่ใช้ดื่ม), tenugui (ผ้าที่ใช้เช็ดมือสารพัดประโยชน์) เหล่านี้เป็นเครื่องใช้ที่ผูกพันกับสามัญชนคนธรรมดา โดยคำนึงถึงการใช้งาน มิใช่ลวดลา ความสวยงามแต่อย่างใด
โดยมิงเก นั้นมาจากคำว่า มิง ที่มีความหมายว่า “มวลชน หรือผู้คน” และ เก ที่มีความหมายว่า “ศิลปะ หรือหัตถกรรม” เมื่อรวมกันแล้วจึงมีความหมายว่า “ศิลปะพื้นบ้าน” หรือ “หัตถกรรมสำหรับผู้คน”
เป็นการผลิตด้วยมือ และมองงานหัตถกรรมด้วยใจอันบริสุทธิ์ เรียบง่าย ซื่อสัตย์ต่อวัสดุต้นกำเนิดของหัตถกรรมชิ้นนั้น เช่น sageju bako (กล่องไม้สำหรับใส่อาหารไปรับประทานนอกบ้าน), yunomi (ถ้วยชาที่ใช้ดื่ม), tenugui (ผ้าที่ใช้เช็ดมือสารพัดประโยชน์) เหล่านี้เป็นเครื่องใช้ที่ผูกพันกับสามัญชนคนธรรมดา โดยคำนึงถึงการใช้งาน มิใช่ลวดลา ความสวยงามแต่อย่างใด
สำหรับ มิงกุ นั้น ก็มาจากคำว่า มิง ที่มีความหมายว่าผู้คนเช่นเดียวกัน และคำว่า กุ นั้นมีความหมายว่า “วัสดุ อุปกรณ์ หรือภาชนะ” เมื่อรวมกันแล้วจึงมีความหมายว่า “เครื่องใช้ไม้สอยสำหรับผู้คน” ซึ่งมิงกุ จะมองถึงประโยชน์ใช้สอยมากกว่า มิงเก โดยผู้ใช้งานอาจไม่จำเป็นต้องจดจำชื่อของสิ่งของเหล่านั้น เช่น กล่องใส่อาหาร, ถ้วยใส่ชา และผ้าเช็ดมือ ซึ่งเป็นรากฐานแนวคิดการพัฒนา และผลิตผลิตภัณฑ์ของ MUJI ที่ไม่ได้คำนึงถึงยี่ห้อ หรือแบรนด์ แต่ให้มองถึงประโยชน์สูงสุดของผลิตภัณฑ์ หรือสินค้านั้นนั่นเอง
สำหรับ มิงกุ นั้น ก็มาจากคำว่า มิง ที่มีความหมายว่าผู้คนเช่นเดียวกัน และคำว่า กุ นั้นมีความหมายว่า “วัสดุ อุปกรณ์ หรือภาชนะ” เมื่อรวมกันแล้วจึงมีความหมายว่า “เครื่องใช้ไม้สอยสำหรับผู้คน”
ซึ่งมิงกุ จะมองถึงประโยชน์ใช้สอยมากกว่า มิงเก โดยผู้ใช้งานอาจไม่จำเป็นต้องจดจำชื่อของสิ่งของเหล่านั้น เช่น กล่องใส่อาหาร, ถ้วยใส่ชา และผ้าเช็ดมือ ซึ่งเป็นรากฐานแนวคิดการพัฒนา และผลิตผลิตภัณฑ์ของ MUJI ที่ไม่ได้คำนึงถึงยี่ห้อ หรือแบรนด์ แต่ให้มองถึงประโยชน์สูงสุดของผลิตภัณฑ์ หรือสินค้านั้นนั่นเอง
MANGOSTEAK
เมื่อมองย้อนกลับมาถึงงานหัตถกรรมในภาคเหนือโดยเฉพาะเชียงใหม่นั้น ก็มีช่างฝีมือ หรือ “สล่า” มากมาย เช่น งานผ้า, งานดิน, งานไม้, งานเครื่องเงิน ถ้าเปรียบถึงงานหัตถกรรมเหล่านี้ก็คล้ายกับคำว่า มิงเก เทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ในครั้งนี้ จึงชวนนักสร้างสรรค์คืนถิ่นรุ่นใหม่ (homecoming creators) ให้ทำงานร่วมกับ สล่าเมือง เพื่อพัฒนางานหัตถกรรมพื้นบ้านภาคเหนือให้มีความยั่งยืนและร่วมสมัย เช่น MANGOSTEAK (coth studio x hearts and hands by Sanai Kaewchaisa) เป็นการนำไม้สักที่เหลือจากการทำประตู หน้าต่าง มาดัดแปลงให้เป็นถาดใส่ผลไม้ เชื่อมต่อเข้ากับมังคุดทองเหลืองประดับไว้ด้านบนของถาดไม้ ทำให้ชิ้นงานหัตถกรรมนี้ดูสวยงาม และทันสมัยขึ้น
เมื่อมองย้อนกลับมาถึงงานหัตถกรรมในภาคเหนือโดยเฉพาะเชียงใหม่นั้น ก็มีช่างฝีมือ หรือ “สล่า” มากมาย เช่น งานผ้า, งานดิน, งานไม้, งานเครื่องเงิน ถ้าเปรียบถึงงานหัตถกรรมเหล่านี้ก็คล้ายกับคำว่า มิงเก เทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ในครั้งนี้ จึงชวนนักสร้างสรรค์คืนถิ่นรุ่นใหม่ (homecoming creators) ให้ทำงานร่วมกับ สล่าเมือง เพื่อพัฒนางานหัตถกรรมพื้นบ้านภาคเหนือให้มีความยั่งยืนและร่วมสมัย
เช่น MANGOSTEAK (coth studio x hearts and hands by Sanai Kaewchaisa) เป็นการนำไม้สักที่เหลือจากการทำประตู หน้าต่าง มาดัดแปลงให้เป็นถาดใส่ผลไม้ เชื่อมต่อเข้ากับมังคุดทองเหลืองประดับไว้ด้านบนของถาดไม้ ทำให้ชิ้นงานหัตถกรรมนี้ดูสวยงาม และทันสมัยขึ้น
MAD Project
งานบ้าบอโปรเจกต์ (MAD Project) เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างนักออกแบบของแบรนด์ชั้นนำในเชียงใหม่ของประเทศไทย ได้แก่ เปรมประชา (PREMPRACHA), ดีสวัสดิ์ (DEESAWAT) และ พาซาย่า (PASAYA)
โดยมีศิลปินอิสระที่มีความพิเศษ หรือออทิสติก สเปคตรัม “คุณธีรัช อภิพัฒนา” ซึ่งมีพรสวรรค์ในการรังสรรค์ภาพในรูปแบบนามธรรม (abstract) ที่มีสีสันตามอารมณ์อย่างบ้าคลั่ง ร่วมกับผู้ดูแลโครงการ (curator) คุณอริสรา แดงประไพ ให้เป็นชิ้นงานหัตถกรรมที่มีความเป็นศิลปะในแบบต่าง ๆ เช่น พรมผืนใหญ่จากเส้นใยขวดพลาสติก PET, งานเซรามิกที่มีสีสันตามฝีแปรง และการรังสรรค์ของศิลปิน และเก้าอี้ UMM…mm share ที่แฝงนัยยะในประเด็นการพูดคุย สื่อสารภายใจตัวเอง และผู้คนรอบตัว
โดยมีศิลปินอิสระที่มีความพิเศษ หรือออทิสติก สเปคตรัม “คุณธีรัช อภิพัฒนา” ซึ่งมีพรสวรรค์ในการรังสรรค์ภาพในรูปแบบนามธรรม (abstract) ที่มีสีสันตามอารมณ์อย่างบ้าคลั่ง ร่วมกับผู้ดูแลโครงการ (curator) คุณอริสรา แดงประไพ
ให้เป็นชิ้นงานหัตถกรรมที่มีความเป็นศิลปะในแบบต่าง ๆ เช่น พรมผืนใหญ่จากเส้นใยขวดพลาสติก PET, งานเซรามิกที่มีสีสันตามฝีแปรง และการรังสรรค์ของศิลปิน และเก้าอี้ UMM…mm share ที่แฝงนัยยะในประเด็นการพูดคุย สื่อสารภายใจตัวเอง และผู้คนรอบตัว
Transforming Local Craft
งาน Transforming local craft ซึ่งเป็นนิทรรศการที่เซ็นทรัลชวนนักออกแบบท้องถิ่นทั้งในเชียงใหม่ และประเทศไทย 10 แบรนด์ทำงานร่วมกับช่างฝีมือ เพื่อพัฒนางานหัตถกรรมให้มีความทันสมัยและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่นเก้าอี้ “Kena Lounge” ซึ่งเป็น Lounge chair ที่มีกลิ่นอายสไตล์ Mid-Century Modern ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง Moonler แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ไม้จามจุรีระดับพรีเมียม กับ รัฐธีร์ ไพศาลโชติสิริ หรือแจกันแก้วกับเซรามิก “Clay and Glass Vessels” จากผลงาน คุณจิระวงศ์ วงษ์ตระหง่าน แห่ง InClay Studio ที่นำเศษแก้ว เศษขวดเครื่องดื่มต่าง ๆ มาทำเป็นสีเคลือบลงบนงานเซรามิก ที่ประกอบกับแจกันแก้ว ทำให้แจกันที่ประกอบด้วยแก้ว และเซรามิกชิ้นนี้มีความน่าสนใจ สวยงาม และมีมูลค่ามากขึ้น
งาน Transforming local craft ซึ่งเป็นนิทรรศการที่เซ็นทรัลชวนนักออกแบบท้องถิ่นทั้งในเชียงใหม่ และประเทศไทย 10 แบรนด์ทำงานร่วมกับช่างฝีมือ เพื่อพัฒนางานหัตถกรรมให้มีความทันสมัยและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่นเก้าอี้ “Kena Lounge” ซึ่งเป็น Lounge chair ที่มีกลิ่นอายสไตล์ Mid-Century Modern ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง Moonler แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ไม้จามจุรีระดับพรีเมียม กับ รัฐธีร์ ไพศาลโชติสิริ
หรือแจกันแก้วกับเซรามิก “Clay and Glass Vessels” จากผลงาน คุณจิระวงศ์ วงษ์ตระหง่าน แห่ง InClay Studio ที่นำเศษแก้ว เศษขวดเครื่องดื่มต่าง ๆ มาทำเป็นสีเคลือบลงบนงานเซรามิก ที่ประกอบกับแจกันแก้ว ทำให้แจกันที่ประกอบด้วยแก้ว และเซรามิกชิ้นนี้มีความน่าสนใจ สวยงาม และมีมูลค่ามากขึ้น
Trnasforming local Art Exhibition
Transforming Local Art Exhibition ผลงานของ อาจารย์ธนัชชา ไชยรินทร์ ที่นำเสนอผ่านประติมากรรมที่ผสมผสานระหว่างงานแกะสลักไม้ กับรูปทรงกระดูกภายในชิ้นงาน ที่ได้มาจากแนวคิด “Memento Mori” ที่มาจากภาษาละตินมีความหมายว่า “โปรดจงจำไว้ว่าเราทุกคนต้องตาย” (remember that you will die) เพื่อให้เห็นว่างานหัตถกรรมเหล่านี้มีจิตวิญญาณ มีคุณค่ามีความหมาย อีกนัยหนึ่งงานของอาจารย์มีความคล้ายกับลักษณะของของเล่น หรือ art toy ที่กำลังได้รับความนิยมในแบบ Semi-Anatomy
Transforming Local Art Exhibition ผลงานของ อาจารย์ธนัชชา ไชยรินทร์ ที่นำเสนอผ่านประติมากรรมที่ผสมผสานระหว่างงานแกะสลักไม้ กับรูปทรงกระดูกภายในชิ้นงาน ที่ได้มาจากแนวคิด “Memento Mori” ที่มาจากภาษาละตินมีความหมายว่า “โปรดจงจำไว้ว่าเราทุกคนต้องตาย” (remember that you will die)
เพื่อให้เห็นว่างานหัตถกรรมเหล่านี้มีจิตวิญญาณ มีคุณค่ามีความหมาย อีกนัยหนึ่งงานของอาจารย์มีความคล้ายกับลักษณะของของเล่น หรือ art toy ที่กำลังได้รับความนิยมในแบบ Semi-Anatomy
การเปลี่ยนแปลงและปรับตัวของงานหัตถกรรมท้องถิ่น ที่มีทั้งความงามและเอกลักษณ์เฉพาะตัว จะถูกต่อยอดให้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไรนั้น นับเป็นความท้าทายของนักออกแบบในประเทศไทย ถ้าได้เรียนรู้จากแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จจากนานาประเทศ ก็คงไม่ยากเกินกว่ากำลังและความสามารถของนักออกแบบไทย ซึ่งในครั้งนี้เราได้มีตัวอย่างจากประเทศญี่ปุ่นให้ได้เรียนรู้ เพื่อการปรับตัวและต่อยอดให้งานหัตถกรรมท้องถิ่นได้เติบโตต่อไป
Story: Somjing Roongjang
Photos: Kitti Bowonphatnon