Design

Bangkok Design Week 2025

เดือนแห่งความรัก, p.m.2.5 และแดดจ้า คือสัญญาณบางอย่างที่บอกเราว่า นี่คือช่วงเวลาของ Bangkok Design Week (BKKDW)

ปีนี้ BKKDW มาพร้อมธีม “Design Up+Rising ออกแบบพร้อมบวก” ที่ตอนแรกฟังแล้วอาจจะงงๆ แต่พอมาขยายความต่อว่าเป็นการต่อยอดและหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ของงานออกแบบก็ อ๋อ…พอจะเข้าใจ งานจัดขึ้นเกือบตลอดเดือนกุมภาพันธ์ ในหลายย่านของเขตเมืองเก่า เช่น เจริญกรุง-ตลาดน้อย เยาวราช-ทรงวาด บางลำพู-ข้าวสาร ฯลฯ โดยมีกิจกรรมเยอะมากๆ จนคงจะเป็นเรื่องโกหกถ้าเราจะบอกว่าไปดูมาแล้วครบทุกงาน

เอาเป็นว่า QoQoon คัดเอาเฉพาะบางงานที่น่าสนใจ เหมาะกับชาว QoQoon และ… เป็นงานที่เราเชื่อว่าคนส่วนมากน่าจะอยากเห็นกันมากขึ้นใน “เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ” มาเล่าสู่กันฟังสักเล็กน้อยก็แล้วกัน

ดีไซน์วีคในเมืองแห่งการกิน กับการเล่าเรื่องรสชาติแบบคนกรุง

อาจเป็นเพราะ BKKDW จัดขึ้นในย่านเก่าแก่ของกรุงเทพฯ ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ นักออกแบบหลายคนจึงมักเลือกใช้ผลงานของพวกเขาบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาทางวัฒนธรรมของย่านเหล่านั้น โดยหนึ่งในวัฒนธรรมที่ถูกนำมาพูดถึงกันคือ อาหาร 

“Small Bites, Big Stories”: Immersive Culinary Experience โดย DECIDEKIT X SUTO X Banglamphu Everyday

เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ใช้อาหารเป็นองค์ประกอบหลักในการเล่าเรื่องราวของบางลำพู – ย่านเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่ก่อนตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยนอกจากจะขึ้นชื่อเรื่องการเป็นแหล่งรวมสินค้านานาชนิด เช่น ชุดนักเรียน เครื่องมือเย็บปักถักร้อย เครื่องสังฆภัณฑ์ ฯลฯ และเป็นที่ตั้งของห้างนิวเวิล์ดที่มีลิฟต์แก้วแล้ว บางลำพูก็ยังโดดเด่นในเรื่องอาหารที่มีตั้งแต่ข้าวแช่ชาววังไปจนถึงสตรีทฟู้ด ในกิจกรรมครั้งนี้ ทีมงานจึงเปิดให้ผู้ชมเข้ามานั่งกินอาหารคาว-หวาน 9 อย่าง ที่จัดมาเมนูละ 2-3 คำ ในกล่องอาหารที่ออกแบบให้มีเรื่องราวและสถานที่ของบางลำพูอยู่ในนั้น และสถานที่ที่มานั่งกินกันนั้นก็คือภายในห้างนิวเวิล์ดเก่าที่เคยเปิดให้คนเข้ามาเยี่ยมชมมาแล้วใน BKKDW ปีก่อนๆ และได้รับเสียงตอบรับอย่างดีมาก นอกจากนั้น ระหว่างที่ลองลิ้มชิมรสอาหารที่มีชื่อของบางลำพู เช่น ไส้กรอกปลาแนม ช่อม่วง ข้าวตังเมี่ยงลาว ข้าวหมกมัสมั่น (เมนูที่ทำให้เรารู้ว่าบางลำพูมีชุมชนมุสลิมอยู่ด้วย) ฯลฯ ผู้ชมก็จะได้ชม projection mapping ที่บอกเล่าเรื่องราวของผู้คนและบางลำพูไปพร้อมๆ กัน

นอกจากนั้น ระหว่างที่ลองลิ้มชิมรสอาหารที่มีชื่อของบางลำพู เช่น ไส้กรอกปลาแนม ช่อม่วง ข้าวตังเมี่ยงลาว ข้าวหมกมัสมั่น (เมนูที่ทำให้เรารู้ว่าบางลำพูมีชุมชนมุสลิมอยู่ด้วย) ฯลฯ ผู้ชมก็จะได้ชม projection mapping ที่บอกเล่าเรื่องราวของผู้คนและบางลำพูไปพร้อมๆ กัน

“Bangkok Seasoning”: เครื่องกรุงรส โดย CEA X iliU

อีกหนึ่งนิทรรศการใน BKKDW ครั้งนี้ ที่โฟกัสไปที่เรื่องวัฒนธรรมการกินเหมือนกัน คือ “Bangkok Seasoning” หรือ “เครื่องกรุงรส” โดย CEA X iliU ที่จัดขึ้นที่ Neighbourmart ด้านหน้าทางเข้า TCDC อย่างไรก็ดี นิทรรศการที่ว่ากลับไม่ใช่เรื่องของอาหาร แต่ niche กว่านั้น เพราะเป็นเรื่องของ “รสชาติ” เสียมากกว่า โดยทีมงานคัดสรรเครื่องปรุงยี่ห้อเก่าแก่ของกรุงเทพฯ มาถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นมาของแบรนด์ที่ในขณะเดียวกันก็สะท้อนให้เห็นประวัติศาสตร์และการเดินทางของวัฒนธรรมได้อย่างน่าสนใจ เพราะจากที่คนไทยคุ้นเคยกับรสชาติเครื่องปรุงอย่าง เกลือ กะปิ น้ำเคย ก็ค่อยๆ รับเอารสชาติจากวัฒนธรรมอื่นเข้ามาผสมผสาน

เริ่มจากโรงน้ำปลาทั่งง่วนฮะที่อากง “ไต้ชิง แซ่ตึ้ง” จากเมืองแต้จิ๋วหมักนำ้ปลารสชาติแบบแต้จิ๋วแท้ๆ ขายกันกับเพื่อนที่บ้านในย่านตลาดพลู โรงซีอิ๊วเคียมง่วยเชียง (โชติสกุลรัตน์) ที่หมักซีอิ๊วจากเชื้อราโคจิ สูตรจากเมืองเก๊กเอี้ย มณฑลกวางตุ้ง ที่ถือเป็นแหล่งผลิตซีอิ๊วดำเค็มที่ดีที่สุดของจีน นอกจากนั้นก็ยังมีซอสชื่อดัง อย่าง ซอสพริกศรีราชา และน้ำส้มสายชูหมักข้าวเหนียว บ่มในถังไม้สัก และผสมเครื่องยาจีนหลายชนิด ที่เป็นส่วนผสมสำคัญที่ทำให้น้ำจิ้มไก่ย่าง น้ำสลัด และจิ๊กโฉ่วของภัตตาคารจันทร์เพ็ญเป็นที่ลือเลื่องจนถึงทุกวันนี้ หรืออีกเรื่องราวหนึ่งคือ ซอสวูสเตอร์ตราไก่งวงที่หม่อมหลวงหญิงข้าหลวงตระกูลทินกรเป็นผู้ดัดแปลงมาจากสูตรของต่างชาติจนกลายมาเป็นซอสที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ กินกับอาหารจำพวกสเต็ก สตูว์ บาร์บีคิว

เริ่มจากโรงน้ำปลาทั่งง่วนฮะที่อากง “ไต้ชิง แซ่ตึ้ง” จากเมืองแต้จิ๋วหมักนำ้ปลารสชาติแบบแต้จิ๋วแท้ๆ ขายกันกับเพื่อนที่บ้านในย่านตลาดพลู โรงซีอิ๊วเคียมง่วยเชียง (โชติสกุลรัตน์) ที่หมักซีอิ๊วจากเชื้อราโคจิ สูตรจากเมืองเก๊กเอี้ย มณฑลกวางตุ้ง ที่ถือเป็นแหล่งผลิตซีอิ๊วดำเค็มที่ดีที่สุดของจีน นอกจากนั้นก็ยังมีซอสชื่อดัง อย่าง ซอสพริกศรีราชา และน้ำส้มสายชูหมักข้าวเหนียว บ่มในถังไม้สัก และผสมเครื่องยาจีนหลายชนิด ที่เป็นส่วนผสมสำคัญที่ทำให้น้ำจิ้มไก่ย่าง น้ำสลัด และจิ๊กโฉ่วของภัตตาคารจันทร์เพ็ญเป็นที่ลือเลื่องจนถึงทุกวันนี้ หรืออีกเรื่องราวหนึ่งคือ ซอสวูสเตอร์ตราไก่งวงที่หม่อมหลวงหญิงข้าหลวงตระกูลทินกรเป็นผู้ดัดแปลงมาจากสูตรของต่างชาติจนกลายมาเป็นซอสที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ กินกับอาหารจำพวกสเต็ก สตูว์ บาร์บีคิว

สุดท้าย แน่นอนว่าเมื่อเป็นเรื่องของรสชาติ ก็ต้องจัดให้ผู้ชมสามารถเข้ามาเลือกชิมได้ถึงจะเป็นการชม (และชิม) นิทรรศการที่สมบูรณ์ โดยทีมงานจะมีเซ็ตอาหารว่างขายให้เราเลือกจิ้มกับน้ำจิ้มแต่ละชนิด หรือใครอยากจะเอากลับไปกินต่อที่บ้าน เขาก็มี “เครื่องกรุงรส” ที่บรรจุในขวดเล็กๆ จำนวน 6 ชนิด และจัดเป็นเซ็ตขายให้ซื้อหาไปกินกันหรือเป็นของขวัญ

"Octave Maze" ถ่ายทอดตำนานอัศวินภาพยนตร์ด้วยบทเพลง

ในความเห็นของ QoQoon รวมทั้งใครอีกหลายคน ผลงานใน BKKDW ครั้งนี้ ที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ของพื้นที่ได้อย่างลงตัวและรื่นรมย์ที่สุด น่าจะเป็นศิลปะติดตั้งจัดวาง “Octave Maze” (2025) โดย วิชญ์ พิมกาญจนพงศ์ ที่จัดแสดงที่อัศวิน

เมื่อ 70 กว่าปีก่อน ตั้งแต่ พ.ศ.2491 อาคาร 5 ชั้น บนถนนนาคราชแห่งนี้เคยเป็นที่ทำการของบริษัทอัศวินภาพยนตร์ โดยเป็นทั้งสถานที่ทรงงานของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล หรือ พระองค์ชายใหญ่ ผู้ก่อตั้งอัศวิน ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ ผู้กำกับ และนักประพันธ์เนื้อเรื่อง-เนื้อร้อง รวมทั้งภายในอาคารยังใช้เป็นโรงเรียนการแสดง มีโกดังเก็บฟิล์มภาพยนตร์ ห้องอัดเสียง และ (น่าจะมี) ห้องฉายภาพยนตร์สำหรับตรวจสอบด้วย เรียกว่าในสมัยนั้น อัศวินคือจุดเริ่มต้นของภาพยนตร์ ดนตรี และการแสดงสมัยใหม่ของไทย

แต่หลังจากพระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคลสิ้นพระชนม์เมื่อปี 2538 อาคารแห่งนี้ก็ถูกปิดร้างมายาวนาน 30 กว่าปี จนกระทั่งเมื่อปลายปีที่ผ่านมาที่อัศวินได้เปิดประตูขึ้นอีกครั้งในบทบาทใหม่ นั่นคือพื้นที่ศิลปะและวัฒนธรรมร่วมสมัย โดยมีกิจกรรมแรกคือ การแสดงของ Pichet Klunchun Dance Company ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการแสดงละครนอกในภาพยนตร์เรื่องละครเร่ ของบริษัทอัศวินภาพยนตร์

แต่หลังจากพระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคลสิ้นพระชนม์เมื่อปี 2538 อาคารแห่งนี้ก็ถูกปิดร้างมายาวนาน 30 กว่าปี จนกระทั่งเมื่อปลายปีที่ผ่านมาที่อัศวินได้เปิดประตูขึ้นอีกครั้งในบทบาทใหม่ นั่นคือพื้นที่ศิลปะและวัฒนธรรมร่วมสมัย โดยมีกิจกรรมแรกคือ การแสดงของ Pichet Klunchun Dance Company ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการแสดงละครนอกในภาพยนตร์เรื่องละครเร่ ของบริษัทอัศวินภาพยนตร์

สำหรับกิจกรรมที่สองของอัศวินที่ถูกรวมอยู่ใน BKKDW ครั้งนี้ ก็คือ “Octave Maze” ที่วิชญ์เลือกถ่ายทอดเรื่องราวในอดีตของอัศวินผ่านเพลงประกอบภาพยนตร์ในยุคเริ่มต้นการทำหนังของพระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล เช่น บัวขาว ในฝัน ลมหวน ฯลฯ โดยเพลงทั้งหมดบรรเลงขึ้นจากเปียโน (ที่เล่นเองโดยไม่มีคน) ที่ตั้งอยู่ข้างพระฉายาลักษณ์ของพระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล และมีอินสตอเลชันที่ประกอบไปด้วยผนังไฟ 88 ชิ้น เคลื่อนที่ขึ้นลงด้วยกลไกชักรอก ตอบสนองไปกับบทเพลงแต่ละเพลง นอกจากนั้นยังมีเสียงบรรยายอันสุดแสนคลาสสิกของศ.เกียรติคุณ นพ.พูนพิศ อมาตยกุล คอยเล่าถึงเพลงแต่ละเพลงคล้ายดีเจในคลื่นวิทยุสมัยก่อนอีกด้วย

ทั้งหมดทั้งมวลนี้เมื่อบวกกับการที่ศิลปินจัดเก้าอี้สนามตั้งไว้รายรอบอินสตอเลชันเพื่อให้ผู้ชมเข้ามานั่งใช้เวลาละเลียดไปกับภาพ เสียง และบรรยากาศของอาคารประวัติศาสตร์แห่งนี้ ก็ทำให้ประสบการณ์การชม “Octave Maze” คล้ายการรับชมการแสดงที่เต็มไปด้วยบรรยากาศคลาสสิกในอดีต

ทั้งหมดทั้งมวลนี้เมื่อบวกกับการที่ศิลปินจัดเก้าอี้สนามตั้งไว้รายรอบอินสตอเลชันเพื่อให้ผู้ชมเข้ามานั่งใช้เวลาละเลียดไปกับภาพ เสียง และบรรยากาศของอาคารประวัติศาสตร์แห่งนี้ ก็ทำให้ประสบการณ์การชม “Octave Maze” คล้ายการรับชมการแสดงที่เต็มไปด้วยบรรยากาศคลาสสิกในอดีต

ค้นหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในงานออกแบบ

Thai Twist ต่อยอดงานฝีมือเชิงช่างไทยสู่สากล

แน่นอนว่าศูนย์กลางของ BKKDW ทุกปีย่อมอยู่ที่ TCDC และอาคารไปรษณีย์กลาง ซึ่งก็คงเพราะเป็น prime location นี่แหละ ทำให้การจัดแสดงนิทรรศการผลงานต่างๆ ทำออกมาแล้วค่อนข้างแออัด พลุกพล่าน และเต็มไปด้วยบูธของสปอนเซอร์ จนเรารู้สึกว่าบรรยากาศที่ออกมาเหมือนงานแฟร์มากกว่าดีไซน์วีค

จากอาคารไปรษณีย์กลาง เราจึงขอปลีกตัวออกมาเดินไปตามถนนเจริญกรุงเพื่อชมนิทรรศการเล็กๆ ที่กระจายตัวกันอยู่ดีกว่า โดยหนึ่งในนั้นคือ “The Wonder of Fabric” by Homework ที่จัดขึ้นที่อาคาร World Travel Service (Panyarachun) งานนี้ Homework ที่เป็นแบรนด์สิ่งทอผ้าม่านและผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ รวมทั้งมี Homework Fabric Lab แล็บทดลองหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้กับสิ่งทอ ได้เข้ามาทำงานร่วมกับนักออกแบบจาก 8 สตูดิโอ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพใหม่ๆ ของสิ่งทอในงานออกแบบ 

ผลงานน่าสนใจ เช่น “MA-HIN” Collection by MOBELLA ที่ออกแบบชุดโต๊ะและเก้าอี้ออกมาเป็นสไตล์ม้าหินที่พบได้ทั่วไปตามวัด โรงเรียน และชุมชนต่างๆ ในสมัยก่อน (รวมทั้งในปัจจุบัน) แต่ใช้ผ้าพิมพ์ลายหินขัดหุ้มตัวโซฟา บุฟองน้ำด้านใน ทำให้มีสัมผัสนุ่ม น้ำหนักเบา แถมยังตบท้ายด้วยลูกเล่นการสกรีนประโยคไว้บนพนักว่า “ที่ระลึกจาก บจก.โมเบลลา แกลเลอเรีย” เหมือนอย่างที่เรามักพบเห็นกันตามวัดวาอาราม ส่วนผลงานอีกชิ้นเป็นโคมไฟที่ทำจากเศษผ้าเหลือใช้จากการผลิตในโรงงาน โดย Hawaii Thai ที่แม้โคมไฟจะทำจากวัสดุเหลือใช้ที่ไม่มีราคา แต่ใช้รูปทรงแบบแชนเดอเลีย จึงให้ความรู้สึกหรูหราตรงกันข้าม

สำหรับผลงานที่เราชอบมากที่สุดในนิทรรศการนี้ คือ “Skin Kayak” โดย Dots Design Studio ที่ผลักความเป็นไปได้ของสิ่งทอในงานออกแบบไปได้ไกลจริงๆ เพราะผิวภายนอกของ “Skin Kayak” ทำมาจากผ้าที่ได้มาจากวัสดุรีไซเคิลจากขวด PET และเคลือบกันน้ำ ที่สำคัญ ดีไซน์ที่ออกมาเรียบเท่และมีน้ำหนักเบา คือลดน้ำหนักจากคายัคเดิมไปถึง 30% เรียกว่านอกจากจะเปิดความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้กับงานผ้าแล้ว ยังผลักขีดจำกัดของงานออกแบบอุปกรณ์กีฬาออกไปด้วย ที่ผ่านมา Dots Design Studio สนใจและทำงานออกแบบอุปกรณ์กีฬาอยู่แล้ว และก่อนหน้า “Skin Kayak” พวกเขาก็เคยประสบความสำเร็จกับ “Bamboo Kayak” ที่กวาดรางวัลมาแล้วด้วย

"Dialogues of Forms" โดย Kitt.ta.khon X Suchai Craft

จากนั้นเมื่อเดินเลี้ยวเข้ามาในซอยเจริญกรุง 30 เราก็พบกับนิทรรศการที่ถือเป็น collaboration ที่ลงตัวที่สุดงานหนึ่ง นั่นคือ “Dialogues of Forms” โดย Kitt.ta.khon X Suchai Craft ซึ่งที่บอกว่าลงตัวนั้นก็เพราะนอกจากทั้งสองแบรนด์จะทำงานออกแบบที่ใช้งานฝีมือไทยและสนับสนุนช่างฝีมือไทยด้วยกันทั้งคู่แล้ว ในการจับมือกันครั้งนี้ Kitt.ta.Khon ได้นำเอาผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียมสีเงินวาวของ Suchai Craft ที่ส่วนมากเป็นข้าวของที่ใช้ตามงานบุญ เช่น พาน หม้อใส่ข้าวสวย ทัพพี ปิ่นโต เหยือกน้ำ ฯลฯ มาตีความและจัดเรียงให้กลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหม่ที่มีกลิ่นอายความเป็นตะวันตกและหรูหรามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น แชนเดอเรีย เชิงเทียน และที่เราชอบมากที่สุดคือ ผลงานที่นำเอาภาชนะเครื่องใช้อะลูมิเนียมแบบไทยๆ บ้านๆ ที่เราคุ้นตาเหล่านี้ มาบีบอัดจนแบน แล้วนำไปจัดวางบนแคนวาสสีดำสนิท ทำให้ดูคล้ายงานศิลปะราคาแพง ตรงกับคอนเซ็ปต์ที่ Suchai Craft ต้องการจะต่อยอดผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียมลวดลายไทยที่เป็นธุรกิจของครอบครัวมายาวนานกว่า 57 ปี ให้ไปไกลกว่าการเป็นข้าวของเครื่องใช้บ้านๆ ที่ใช้กันอยู่แค่ในวัดวาอาราม

และที่เราชอบมากที่สุดคือ ผลงานที่นำเอาภาชนะเครื่องใช้อะลูมิเนียมแบบไทยๆ บ้านๆ ที่เราคุ้นตาเหล่านี้ มาบีบอัดจนแบน แล้วนำไปจัดวางบนแคนวาสสีดำสนิท ทำให้ดูคล้ายงานศิลปะราคาแพง ตรงกับคอนเซ็ปต์ที่ Suchai Craft ต้องการจะต่อยอดผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียมลวดลายไทยที่เป็นธุรกิจของครอบครัวมายาวนานกว่า 57 ปี ให้ไปไกลกว่าการเป็นข้าวของเครื่องใช้บ้านๆ ที่ใช้กันอยู่แค่ในวัดวาอาราม

จาก คุณากิจเทรดดิ้ง สู่ RES เฟอร์นิเจอร์ร่วมสมัยบนพื้นที่จากอดีต

RES เป็นอีกหนึ่งแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ที่ทำงานร่วมกับนักออกแบบใน BKKDW ครั้งนี้ แต่บอกตามตรงว่าสิ่งที่เรามองว่าโดดเด่นที่สุดในนิทรรศการ “The Beauty of Difference” กลับเป็นการที่ RES เลือกจัดแสดงผลงานทั้งหมดในตึกแถวเก่าซอยเท็กซัส เยาวราช ที่ที่เคยเป็นบ้านที่อยู่อาศัยของครอบครัวและที่ทำการของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด คุณากิจเทรดดิ้ง หรือในอีกนัยหนึ่งก็คือบรรพบุรุษต้นกำเนิดของแบรนด์เฟอร์นิเจอร์อะลูมิเนียม RES นี่เอง

จากชั้นหนึ่งของอาคารที่จัดแสดงผลงานเชิงทดลองที่ RES ทำงานกับดีไซเนอร์ออกมาเป็น อินสตอเลชันที่ใช้ร่วมกับการจัดดอกไม้ ประติมากรรมที่ทำขึ้นจากวัสดุอะลูมิเนียมรีไซเคิล และสิ่งทอที่นำมาใช้ในเฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ เมื่อเดินขึ้นไปบนชั้นลอย เราจะพบกับพื้นที่ที่อยู่ในบรรยากาศตรงกันข้าม เพราะบนชั้นที่ว่านี้จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ที่เคยถูกใช้งานจริงๆ ในตึกแถวหลังนี้โดยรุ่นอากงของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็น โต๊ะ เก้าอี้สำนักงาน ชั้นเหล็กเก็บเอกสาร โทรศัพท์แบบหมุน เก้าอี้เปล ป้ายร้าน “ศูนย์รวมเฟอร์นิเจอร์ คองเกอร์”  ปิ่นโตสีเงินวาว (แบบเดียวกับของ Suchai Craft) รวมทั้งยังมีโต๊ะพับที่เป็นไม้อัดปิดผิวด้วยลามิเนตลายดอกไม้สีสันน่ารักน่าชังแบบที่บรรดาเจนเอ็กซ์น่าจะคุ้นเคยกันจากวัยเด็ก และโต๊ะเด็กที่เป็นลาย ก.ไก่ ข.ไข่  A B C ซึ่งโต๊ะทั้งสองแบบนี้คือสินค้าที่ขายดีของคุณากิจฯ ในอดีต

เมื่อเดินขึ้นไปบนชั้นลอย เราจะพบกับพื้นที่ที่อยู่ในบรรยากาศตรงกันข้าม เพราะบนชั้นที่ว่านี้จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ที่เคยถูกใช้งานจริงๆ ในตึกแถวหลังนี้โดยรุ่นอากงของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็น โต๊ะ เก้าอี้สำนักงาน ชั้นเหล็กเก็บเอกสาร โทรศัพท์แบบหมุน เก้าอี้เปล ป้ายร้าน “ศูนย์รวมเฟอร์นิเจอร์ คองเกอร์”  ปิ่นโตสีเงินวาว (แบบเดียวกับของ Suchai Craft) รวมทั้งยังมีโต๊ะพับที่เป็นไม้อัดปิดผิวด้วยลามิเนตลายดอกไม้สีสันน่ารักน่าชังแบบที่บรรดาเจนเอ็กซ์น่าจะคุ้นเคยกันจากวัยเด็ก และโต๊ะเด็กที่เป็นลาย ก.ไก่ ข.ไข่  A B C ซึ่งโต๊ะทั้งสองแบบนี้คือสินค้าที่ขายดีของคุณากิจฯ ในอดีต

ถัดขึ้นไปจากนั้นอีก 2-3 ชั้นก็จะเป็นงานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ของ RES ซึ่งทางผู้จัดงานเอ่ยปากไว้ว่า ถ้าขี้เกียจไม่ต้องขึ้นไปก็ได้ ที่เอางานของแบรนด์ไว้ชั้นบนๆ เพราะไม่อยากจะขายของมากไป… แต่เรากลับมองว่าเฟอร์นิเจอร์ของ RES ที่กระจายตัวจัดแสดงกันอยู่ในตึกแถวหลังนี้ เล่าเรื่องราวความเป็นมาของแบรนด์ที่ส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่นได้ดีโดยไม่ต้องมีคำพูดใดๆ โดยพื้นที่ตึกแถวเก่าจากรุ่นอากงและเฟอร์นิเจอร์ร่วมสมัยจากรุ่นหลานต่างเป็นความงามจากสองยุคสมัยที่อยู่ร่วมกันอย่างลงตัว อ้อ… โบนัสอีกอย่างของการขยันเดินขึ้นไป ก็คือ ยิ่งสูงยิ่งได้เห็นวิวหาดูยากของเยาวราช ซึ่งแม้สิ่งเหล่านี้จะเป็นรายละเอียดเล็กๆ แต่เราเชื่อว่าน่าจะทำให้การเดินชมดีไซน์วีคเขตย่านเมืองเก่ามีอรรถรสสมบูรณ์มากขึ้น และน่าจะเป็นบรรยากาศ open house ที่หลายคนน่าจะอยากเห็นมากขึ้นอีกใน BKKDW ครั้งต่อๆ ไป

อ้อ… โบนัสอีกอย่างของการขยันเดินขึ้นไป ก็คือ ยิ่งสูงยิ่งได้เห็นวิวหาดูยากของเยาวราช ซึ่งแม้สิ่งเหล่านี้จะเป็นรายละเอียดเล็กๆ แต่เราเชื่อว่าน่าจะทำให้การเดินชมดีไซน์วีคเขตย่านเมืองเก่ามีอรรถรสสมบูรณ์มากขึ้น และน่าจะเป็นบรรยากาศ open house ที่หลายคนน่าจะอยากเห็นมากขึ้นอีกใน BKKDW ครั้งต่อๆ ไป

“Mega Mat” เสื่อยักษ์จากเนเธอร์แลนด์ ให้คนกรุงเทพฯ ใช้งานงานออกแบบอย่างใกล้ชิด

งานสุดท้ายที่อยากพูดถึงแม้ว่าจะมีคนพูดถึงกันมากแล้วก็ตามคือ “Mega Mat” โดย MVDRV เพราะนอกจากงานชิ้นนี้จะบอกเล่าประเด็นเรื่องขยะพลาสติกในประเทศไทยที่มีมากถึง 2 ล้านตันต่อปีแล้ว ก็ยังเป็นอินสตอเลชันเสื่อลายไทยขนาดใหญ่ที่เอามาปูบนลานคนเมือง หน้าศาลาว่าการกรุงเทพฯ เพื่อให้ชาวกรุงเทพฯ ได้เข้ามาใช้งานนั่งเล่นกินลมชมวิวกันจริงๆ ซึ่งจะว่าไป งานออกแบบที่เล่นเรื่องประเด็นสังคม/สิ่งแวดล้อมร่วมสมัย และเปิดโอกาสให้ผู้คนที่ไม่จำเป็นต้องสนใจเรื่องดีไซน์ ได้เข้ามามีส่วนร่วมกับงานออกแบบอย่างเกิดประโยชน์นี้ ก็น่าจะเป็นผลงานที่หลายคนอยากเห็นกันมากขึ้นใน BKKDW

แต่ความเจ๋งของ “Mega Mat” ยังไม่หมดแค่นั้น ตัวเสื่อยักษ์ที่ทำมาจากเสื่อพลาสติกรีไซเคิลราว 500 ผืน ยังทำหน้าที่เป็น infographic บอกเล่าถึงปัญหาขยะพลาสติกในประเทศไทย (ที่เอาเข้าจริงก็ไม่ต้องไปดูตัวเลขที่ไหนหรอก แค่เห็นขยะจากผู้ร่วมงาน BKKDW ที่ถูกทิ้งอย่างไม่มีการแยกก็พอจะเห็นภาพแล้ว) โดยการบอกเล่านั้นทำผ่านสีที่ใช้บนตัวเสื่อ คือ สีแดงแทนปริมาณของขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งในหลุมฝังกลบที่ไม่ได้มาตรฐาน สีส้มแทนปริมาณขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งในหลุมฝังกลบเหมือนกัน แต่มีการควบคุมไม่ให้เกิดการปนเปื้อนออกมา สีเหลืองคือปริมาณขยะพลาสติกที่กระจัดกระจายอยู่ในสิ่งแวดล้อมอย่างไม่ได้รับการจัดเก็บ และสุดท้ายสีเขียวที่มีปริมาณอันน้อยนิดเมื่อเทียบกับสามสีที่ว่ามา คือ ปริมาณขยะพลาสติกที่ถูกนำไปรีไซเคิล

แต่ความเจ๋งของ “Mega Mat” ยังไม่หมดแค่นั้น ตัวเสื่อยักษ์ที่ทำมาจากเสื่อพลาสติกรีไซเคิลราว 500 ผืน ยังทำหน้าที่เป็น infographic บอกเล่าถึงปัญหาขยะพลาสติกในประเทศไทย (ที่เอาเข้าจริงก็ไม่ต้องไปดูตัวเลขที่ไหนหรอก แค่เห็นขยะจากผู้ร่วมงาน BKKDW ที่ถูกทิ้งอย่างไม่มีการแยกก็พอจะเห็นภาพแล้ว) โดยการบอกเล่านั้นทำผ่านสีที่ใช้บนตัวเสื่อ คือ สีแดงแทนปริมาณของขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งในหลุมฝังกลบที่ไม่ได้มาตรฐาน สีส้มแทนปริมาณขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งในหลุมฝังกลบเหมือนกัน แต่มีการควบคุมไม่ให้เกิดการปนเปื้อนออกมา สีเหลืองคือปริมาณขยะพลาสติกที่กระจัดกระจายอยู่ในสิ่งแวดล้อมอย่างไม่ได้รับการจัดเก็บ และสุดท้ายสีเขียวที่มีปริมาณอันน้อยนิดเมื่อเทียบกับสามสีที่ว่ามา คือ ปริมาณขยะพลาสติกที่ถูกนำไปรีไซเคิล

นอกจากพื้นที่ของ “Mega Mat” ส่วนมากที่ปูให้ชาวกรุงฯ ได้มาใช้งานนั่งเล่นกันแล้ว มุมนึงของเสื่อยังถูกยกขึ้นกลายเป็นเสมือนเต็นท์สำหรับจัดนิทรรศการเล็กๆ บอกเล่าเรื่องราวของขยะพลาสติกและการรีไซเคิลในประเทศไทย ที่สำคัญ เมื่อมองจากด้านหนึ่งสีสันของเสื่อยักษ์ที่ถูกยกมุมขึ้นก็ตัดกันฉูดฉาดกับ projection mapping ที่ฉายลงบนอาคารศาลาว่าการฯ ยามค่ำคืน แต่ถ้ามองมาอีกด้าน มุมเสื่อที่ถูกยกขึ้นก็ยังมีรูปทรงคล้ายกับหลังคาโบสถ์ของวัดสุทัศน์ที่ตั้งเป็นฉากหลัง เรียกว่านอกจาก “Mega Mat” จะมีฟังก์ชันใช้งานได้จริง พูดถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม และสร้างการมีส่วนร่วมกับสาธารณะแล้ว ก็ยังมีกิมมิคของงานออกแบบที่ชนะเลิศ

แค่ว่ามันตลกร้ายนิดนึงตรงที่ ผลงานที่ (น่าจะ) สร้างการมีส่วนร่วมกับคนกรุงเทพฯ ได้เป็นวงกว้างมากที่สุดใน BKKDW ครั้งนี้ กลับเป็นผลงานออกแบบจากบริษัทสถาปนิกชาวดัชต์…ก็เท่านั้นเอง

Story: Tunyaporn Hongtong
Photos: Santawat Chienpradit

อ้างอิง

Share