"Livable Scape" Bangkok Design Week 2024
หากมีใครจับตามองวงการดีไซน์ที่เกี่ยวกับของใช้ไลฟ์สไตล์ของบ้านเรา ในช่วงระยะ 10-20 ปีที่ผ่านมามีหลากหลายกระแสและหลากหลายแบรนด์ที่ผุดขึ้นมาแล้วก็จากไป ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยใดๆ ทั้งเทรนด์แฟชั่น การมาถึงของโซเชียลมีเดียและสารพัดแพลตฟอร์มที่ทำให้การเข้าถึงสินค้านำเข้าใดๆ กลายเป็นเรื่องแสนง่าย รวมทั้งการสนับสนุนจากภาครัฐที่ละไว้ในฐานที่เข้าใจไม่ว่าจะยุคใดสมัยใด จึงนับได้ว่าแบรนด์และดีไซน์เนอร์ที่ยังคงสามารถยืนหยัดและเติบโตท่ามกลางปัจจัยเหล่านี้คือผู้ที่มีทั้งฝีมือและแนวทางเป็นของตัวเองอย่างแท้จริง
QoQoon ขอนำเสนอเรื่องราวจาก 2 ดีไซน์เนอร์ ผู้มีเอกลักษณ์ลายเซ็นของตัวเองในแนวที่ฉีกจากขนบรูปแบบเดิมๆ ไม่ติดกับกระแสใด และยังคงมีผลงานโดดเด่นที่น่าจับตาอยู่เสมอ
จิรวัฒน์ ศรีเลื่อนสร้อย
The Only Market เป็นแบรนด์ที่ชื่ออาจจะยังไม่ค่อยคุ้นหู แต่ถ้าหากพูดว่า “แบรนด์ที่ทำเสื้อยืดกับกระเป๋าลายกรุงเทพมหานคร” เชื่อว่าแทบไม่มีคนไทยคนไหนไม่รู้จัก ด้วยภาพจำที่มีความเป็นเอกลักษณ์และเป็นผู้มาก่อนกาล ผู้ซึ่งเป็นแบรนด์แรกที่หยิบเอาความเป็นไทยมาใส่กับหลากหลาย itemในชีวิตประจำวัน
The Only Market เป็นแบรนด์ที่ชื่ออาจจะยังไม่ค่อยคุ้นหู แต่ถ้าหากพูดว่า “แบรนด์ที่ทำเสื้อยืดกับกระเป๋าลายกรุงเทพมหานคร” เชื่อว่าแทบไม่มีคนไทยคนไหนไม่รู้จัก ด้วยภาพจำที่มีความเป็นเอกลักษณ์และเป็นผู้มาก่อนกาล ผู้ซึ่งเป็นแบรนด์แรกที่หยิบเอาความเป็นไทยมาใส่กับหลากหลาย itemในชีวิตประจำวัน
QoQoon ได้มีโอกาสไปเยี่ยมออฟฟิศและสตูดิโอ The Only Market และนั่งคุยกับ จิรวัฒน์ ศรีเลื่อนสร้อย หรือคุณแม่น ครีเอทีฟไดเร็กเตอร์ของแบรนด์ ซึ่งคุณแม่นได้เล่าถึงที่มาที่ไป กระบวนการความคิดและการผลิตชิ้นงานให้เราฟังว่า “แบรนด์ของเราเริ่มขึ้นในปี 2017 ตอนนั้นทำให้กับแบรนด์ Dry Clean Only ทำโชว์รูมที่ปารีสและเป็นที่ปรึกษาให้กับแบรนด์แฟชั่นต่างๆ ปีนั้นเป็นปีที่แฟชั่นดีไซน์เนอร์ทั่วโลกเริ่มใช้ภาษา local ของตัวเองมาใส่ลงบนเสื้อผ้า ไม่ว่าจะดีไซน์เนอร์จากรัสเซีย จีน ปารีส เราก็รู้สึกว่าเราควรแนะนำภาษาไทยให้คนรู้จัก แล้วเราจะไปด้วยวิธีใด เราก็คิดว่าที่ผ่านมาเราเคยดึงคอนเซ็ปต์ของเมืองแต่ละเมืองแล้วตีเป็นคอลเล็กชั่น เราก็เลยอยากดึงความเป็นกรุงเทพฯ ออกมาเลยเขียนคำว่า กรุงเทพมหานคร และทำเป็นพาร์ทหนึ่งของคอลเล็กชั่นนั้น และก็ได้รับผลตอบรับอย่างดีคนให้ความสนใจ ได้ไปขายที่ฮ่องกง ฝรั่งเศส และเกาหลี ก็เลยคิดแตกยอดนำสิ่งนี้ออกมาทำแบรนด์ The Only Market โดยทำกับ Siwilai ตั้งเป็นร้านปี 2018 เมื่อได้รับการตอบรับที่ดีก็ทำจริงจังและเป็นเรื่องเป็นราวขึ้น”
และทำเป็นพาร์ทหนึ่งของคอลเล็กชั่นนั้น และก็ได้รับผลตอบรับอย่างดีคนให้ความสนใจ ได้ไปขายที่ฮ่องกง ฝรั่งเศส และเกาหลี ก็เลยคิดแตกยอดนำสิ่งนี้ออกมาทำแบรนด์ The Only Market โดยทำกับ Siwilai ตั้งเป็นร้านปี 2018 เมื่อได้รับการตอบรับที่ดีก็ทำจริงจังและเป็นเรื่องเป็นราวขึ้น”
นอกจากเสื้อยืดแล้ว ทางแบรนด์ยังทำเสื้อเชิ้ต กระเป๋า ของใช้ต่างๆ โดยอีกด้วย “เรานำเสนอกรุงเทพมหานครแบบที่เราเป็นอยู่ในแบบปัจจุบัน มีความ contemporary ไม่ได้หยิบเอาวัฒนธรรมการไหว้ วัดวาอารามหรืออะไรไทยๆ มาใช้ แต่เป็นการหยิบนำไอเดีย จากเก้าอี้ซักผ้า ฝาท่อน้ำ รถเข็นขายสติกเกอร์ตัวหนังสือป้ายร้านอะไรที่อยู่ในชีวิตจริงๆ มาใช้ในการดีไซน์ โดยที่เรานิยามตนเองเป็น souvenir brand เราไม่ได้มีคอลเล็กชั่น แต่จะมีชิ้นคลาสสิกอย่างเสื้อยืดที่ขายอยู่ตลอด และสินค้าอื่นๆ เราจะเลือกใช้ซัพพลายเออร์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ หรือใช้ของ second hand หรือ dead stock มาทำใหม่ภายใต้การดีไซน์ของเรา ซึ่งมีการ cross culture ส่งไปปักไปสกรีนที่อื่น เช่น งานปักบางอย่างส่งไปปักที่อินเดีย ซึ่งพอเราทำงานกับปริมาณของที่จำนวนผลิตต่อล็อตไม่มาก ไม่ mass มันก็ทำให้มีความ selected อยู่ในตัวเอง การไม่ผลิตของใหม่ หรือใช้ของที่เป็น byproduct เพราะเราให้ความสำคัญกับเรื่องการลดขยะด้วย”
เราจะเลือกใช้ซัพพลายเออร์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ หรือใช้ของ second hand หรือ dead stock มาทำใหม่ภายใต้การดีไซน์ของเรา ซึ่งมีการ cross culture ส่งไปปักไปสกรีนที่อื่น เช่น งานปักบางอย่างส่งไปปักที่อินเดีย ซึ่งพอเราทำงานกับปริมาณของที่จำนวนผลิตต่อล็อตไม่มาก ไม่ mass มันก็ทำให้มีความ selected อยู่ในตัวเอง การไม่ผลิตของใหม่ หรือใช้ของที่เป็น byproduct เพราะเราให้ความสำคัญกับเรื่องการลดขยะด้วย”
จากไอเท็มสู่ไอเท็มที่ขยายวาไรตี้ออกไปนั้น ที่มาที่ไปก็มาจากช่วงโควิดที่ผ่านมานี้เอง “ช่วง covid ได้มีเวลาอยู่บ้านเยอะ ก็เลยเริ่มทำของหลากหลายมากขึ้น ทั้งผ้าเช็ดตัว จาน ถ้วย เทียน และตัวเองก็ไปเรียนการเขียนตัวอักษรไทย คำว่ากรุงเทพมหานคร คือค่อยๆ เขียนเองด้วยมือแล้วค่อยเอาไปปรับต่อในคอมพิวเตอร์ โดยมีแรงบันดาลใจจาก font ribbon ของเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ซึ่งเป็น font ที่ยังใช้กันแพร่หลายจนถึงทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นฝาท่อ ถังขยะ หรือโลโก้กรุงเทพมหานคร รวมไปถึงใช้ปักชื่อบนเสื้อนักเรียน แต่เรานำมาปรับเปลี่ยนให้เป็นรูปแบบใหม่”
และตัวเองก็ไปเรียนการเขียนตัวอักษรไทย คำว่ากรุงเทพมหานคร คือค่อยๆ เขียนเองด้วยมือแล้วค่อยเอาไปปรับต่อในคอมพิวเตอร์ โดยมีแรงบันดาลใจจาก font ribbon ของเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ซึ่งเป็น font ที่ยังใช้กันแพร่หลายจนถึงทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นฝาท่อ ถังขยะ หรือโลโก้กรุงเทพมหานคร รวมไปถึงใช้ปักชื่อบนเสื้อนักเรียน แต่เรานำมาปรับเปลี่ยนให้เป็นรูปแบบใหม่”
เมื่อเราถามถึงตัวตนของ The Only Market Bangkok จิรวัฒน์ให้กับตอบกับ QoQoon ว่า “ถ้าหากให้นิยามสไตล์ของแบรนด์ๆ นี้ รู้สึกว่ายังจะให้คำนิยามไม่ได้เพราะเรายังไม่โตพอ ยังต้องใช้เวลาในการเติบโตอยู่ แต่รู้ว่าสไตล์ไหนที่เราชอบ คือมีความเป็นของใช้ธรรมดา general store ที่หยิบมา twist นิดหนึ่ง มีความ nostalgic ที่เอาไปบวกกับความสมัยใหม่และความเรียบง่าย ดังนั้นเราจะไม่มีอะไรที่สีสันฉูดฉาดแปร๊ดมากไป เป็นข้าวของปกติที่วางอยู่ในบ้านได้ไม่เคอะเขิน ทิศทางที่เราอยากเห็นก็คือ อยากให้แบรนด์เป็นของที่มีคุณค่าทางจิตใจ เป็นของที่ระลึกที่คนซื้อฝากกัน ในฐานะดีไซน์เนอร์ไทย เราชื่นชอบและเป็นกำลังใจให้กับทุกคนอยากให้ทุกคนตั้งใจทำงานในเส้นทางของตนเอง และกลับมาดูที่รากและวิธีคิด เจริญเติบโต และซื่อสัตย์กับเส้นทางนั้น ตัวเราเองก็อาจจะเคยเผลอไปกับการคิดแบบ super brand หรือไปติดกับภาพ แต่สุดท้ายความ Unique ของตัวเองย่อมมาจากรากของตัวเองเสมอ”
ทิศทางที่เราอยากเห็นก็คือ อยากให้แบรนด์เป็นของที่มีคุณค่าทางจิตใจ เป็นของที่ระลึกที่คนซื้อฝากกัน ในฐานะดีไซน์เนอร์ไทย เราชื่นชอบและเป็นกำลังใจให้กับทุกคนอยากให้ทุกคนตั้งใจทำงานในเส้นทางของตนเอง และกลับมาดูที่รากและวิธีคิด เจริญเติบโต และซื่อสัตย์กับเส้นทางนั้น ตัวเราเองก็อาจจะเคยเผลอไปกับการคิดแบบ super brand หรือไปติดกับภาพ แต่สุดท้ายความ Unique ของตัวเองย่อมมาจากรากของตัวเองเสมอ”
ศรันย์ เย็นปัญญา
อีกหนึ่งดีไซน์เนอร์ผู้คร่ำหวอดในวงการและสร้างผลงานที่มีสไตล์อันจัดจ้านเป็นของตนเองอย่างน่าสนใจตั้งแต่การนำลังพลาสติกมาใส่ขาวิคตอเรียน ไปจนเก้าอี้สตูลปักลายสดใสที่ลบภาพจำเดิมๆ ของข้าวของเครื่องใช้ที่เราคุ้นตาไปได้อย่างสิ้นเชิง โดยมีผลงานล่าสุดคือการ collab กับ Jacob แบรนด์เครื่องหนังเก่าแก่ของคนไทย ที่ทุกคนรู้จักดี เปิดตัวคอลเล็กชั่นใหม่ที่ทั้งหลากสีสันและสไตล์ หากยังคงความปราณีตในการผลิต
โดยมีผลงานล่าสุดคือการ collab กับ Jacob แบรนด์เครื่องหนังเก่าแก่ของคนไทย ที่ทุกคนรู้จักดี เปิดตัวคอลเล็กชั่นใหม่ที่ทั้งหลากสีสันและสไตล์ หากยังคงความปราณีตในการผลิต
“การ collaboration ครั้งนี้เริ่มจากการที่ท่าง Jacob เดินเข้ามาบอกว่าอยากได้นักออกแบบกระเป๋า แต่เรารู้สึกว่ากระเป๋าของเขาสวยอยู่แล้ว และแบรนด์ของเขาก็เป็นที่จดจำอยู่แล้ว ดังนั้นสิ่งที่เขาต้องการจริงๆอาจจะไม่ใช่แค่กระเป๋าแต่เป็นการนำเสนอรูปแบบใหม่ของแบรนด์ เราจึงขอเขาว่านอกจากออกแบบกระเป๋าแล้วขอออกแบบภาพลักษณ์ใหม่ให้ด้วย ซึ่งภาพที่เรานำเสนอคือภาพที่ทุกคนจดจำ นั่นก็คือกระเป๋านักเรียนในตำนาน ก็เลยเป็นที่มาของกระเป๋า 11 รุ่น ที่เอา detail ทุกอย่างที่มาจากกระเป๋านักเรียนใบเดียวย้าย สลับ พลิกปักเข้าใหม่ เพื่อให้เป็นกระเป๋าที่มองไปแล้วยังคงนึกถึงกระเป๋านักเรียนซึ่งในยุคหนึ่งทุกคนต้องเคยถือ โดยที่เราไม่ได้คิดว่าต้องการให้แบรนด์มีภาพลักษณ์เด็กลง เพราะเราคิดว่ากระเป๋าใบนึงคนสามารถใช้ได้ทุกเจนเนอเรชั่น ไม่จำเป็นว่าแบรนด์นี้อยู่มา 84 ปีแล้วจะต้องปรับใหม่ให้ดูเด็ก เพียงแต่อยากให้มีภาพลักษณ์ที่สนุก สดใส รวมทั้งเป็นครั้งแรกที่แบรนด์ให้ลูกค้าสามารถ customise แบบ สไตล์ และสีสันที่ชอบได้ อยากให้ทาร์เก็ตกว้างขึ้นไม่ใช่แค่นักเรียน แล้วถึงจะมีสีสันแต่ก็มีแบบที่เบสิคเช่นกัน โดยที่เราใช้เวลากับโปรเจ็กต์นี้อยู่ปีครึ่ง ใส่พลังเต็มที่และลูกค้าก็ซื้อไอเดียไม่ว่าจะเครซี่ขนาดไหน”
โดยที่เราไม่ได้คิดว่าต้องการให้แบรนด์มีภาพลักษณ์เด็กลง เพราะเราคิดว่ากระเป๋าใบนึงคนสามารถใช้ได้ทุกเจนเนอเรชั่น ไม่จำเป็นว่าแบรนด์นี้อยู่มา 84 ปีแล้วจะต้องปรับใหม่ให้ดูเด็ก เพียงแต่อยากให้มีภาพลักษณ์ที่สนุก สดใส รวมทั้งเป็นครั้งแรกที่แบรนด์ให้ลูกค้าสามารถ customise แบบ สไตล์ และสีสันที่ชอบได้ อยากให้ทาร์เก็ตกว้างขึ้นไม่ใช่แค่นักเรียน แล้วถึงจะมีสีสันแต่ก็มีแบบที่เบสิคเช่นกัน โดยที่เราใช้เวลากับโปรเจ็กต์นี้อยู่ปีครึ่ง ใส่พลังเต็มที่และลูกค้าก็ซื้อไอเดียไม่ว่าจะเครซี่ขนาดไหน”
ก่อนที่จะมาถึงงาน Cololaboration ครั้งนี้ ศรันย์ พยายามจะพิสูจน์ว่ารสนิยมที่แย่ไม่มีอยู่จริง โดยเขาเห็นว่า “รสนิยมที่แย่ไม่มีอยู่จริง ของที่ใครดูว่าห่วยหรือเชยก็สามารถเก๋ได้ แต่ในตอนหลังมีปัญหาด้านสุขภาพ ตอนนี้ก็เลยพยายามทำแต่งานที่ follow the fun ทำอะไรที่ดีดีต่อใจไม่ว่ามีโปรเจ็กต์อะไรเข้ามา ก็จะตั้งคำถามก่อนว่า ทำแล้วมันดีกับใจของเราหรือเปล่า” และถ้าพูดถึงแรงบันดาลใจแล้ว แรงบันดาลใจของศรันย์นั้นอาจจะแปลกกว่าคนอื่นสักหน่อย “แรงบันดาลใจในการทำงานโดยทั่วไปน่าจะเป็นความดื้อของเราเอง เราอยากจะพิสูจน์อะไรที่คนบอกว่าไม่ดี เห่ย แต่เรากลับรู้สึกดื้อ อยากพิสูจน์ว่ารสนิยมก็คือรสนิยม มันไม่มีรสนิยมที่ดี หรือไม่ดี ก็เลยรู้สึกดึงดูดกับการนำของข้างถนนมาทำใหม่ ขั้นต่อไปต่อไปที่อยากจะทำคือ อยากทำงานกับชุมชนมากขึ้น เราจะมีอีกแบรนด์ชื่อ Citizen Of Nowhere ที่ทำงานกับชุมชนกับช่างฝีมือชุมชน ซึ่งที่ผ่านมาไม่ค่อยได้ทำ ตอนนี้เวลาก็คิดว่าจะทุ่มเทมากขึ้น เพราะอยากให้ผลงานของชุมชนต่างๆ ออกมาสู่สายตาคนทั่วไปมากขึ้น”
และถ้าพูดถึงแรงบันดาลใจแล้ว แรงบันดาลใจของศรันย์นั้นอาจจะแปลกกว่าคนอื่นสักหน่อย “แรงบันดาลใจในการทำงานโดยทั่วไปน่าจะเป็นความดื้อของเราเอง เราอยากจะพิสูจน์อะไรที่คนบอกว่าไม่ดี เห่ย แต่เรากลับรู้สึกดื้อ อยากพิสูจน์ว่ารสนิยมก็คือรสนิยม มันไม่มีรสนิยมที่ดี หรือไม่ดี ก็เลยรู้สึกดึงดูดกับการนำของข้างถนนมาทำใหม่ ขั้นต่อไปต่อไปที่อยากจะทำคือ อยากทำงานกับชุมชนมากขึ้น เราจะมีอีกแบรนด์ชื่อ Citizen Of Nowhere ที่ทำงานกับชุมชนกับช่างฝีมือชุมชน ซึ่งที่ผ่านมาไม่ค่อยได้ทำ ตอนนี้เวลาก็คิดว่าจะทุ่มเทมากขึ้น เพราะอยากให้ผลงานของชุมชนต่างๆ ออกมาสู่สายตาคนทั่วไปมากขึ้น”
จากประสบการณ์ในการทำงานอย่างทุ่มเท ส่งผลกับสุขภาพจนเข้ามาเปลี่ยนแปลงมุมมองในการใช้ชีวิตสิ่งที่เปลี่ยนไปของศรันย์ “รู้สึกว่าได้เรียนรู้จากการทำงาน อย่างแรกสุดเลย คือ สุขภาพ เพราะมันเอาคืนมาไม่ได้ บางคนอาจคิดว่า creativity กับร่างกายไม่สัมพันธ์กัน คือในความเป็นจริง เราอาจจะยังสร้างสรรค์ได้ แต่ถ้าร่างเราพังใจเราก็พัง แล้วมันก็ไม่สร้างสรรค์ เคยมีคนพูดกับเราว่า Saran you have to protect your creative energy ซึ่งเป็นคำพูดที่เราไม่เคยลืมเพราะนั่นคือขุมทรัพย์ที่ดีที่สุด แล้วถ้าหากวันหนึ่งสร้างสรรค์ไม่ได้ นั่นคือ asset เดียวที่มีของมนุษย์สร้างสรรค์เลยนะ ดังนั้นเราต้องดูแลสุขภาพก่อนที่จะได้รับบทเรียน และเวลาเป็นสิ่งมีค่าที่สุด อย่าทำให้เวลาเหลือน้อย”
เคยมีคนพูดกับเราว่า Saran you have to protect your creative energy ซึ่งเป็นคำพูดที่เราไม่เคยลืมเพราะนั่นคือขุมทรัพย์ที่ดีที่สุด แล้วถ้าหากวันหนึ่งสร้างสรรค์ไม่ได้ นั่นคือ asset เดียวที่มีของมนุษย์สร้างสรรค์เลยนะ ดังนั้นเราต้องดูแลสุขภาพก่อนที่จะได้รับบทเรียน และเวลาเป็นสิ่งมีค่าที่สุด อย่าทำให้เวลาเหลือน้อย”
“ในฐานะดีไซน์เนอร์คนหนึ่งตอนนี้ สิ่งที่อยากพูดถึงคือเราได้มีโอกาสทำงานกับเด็กรุ่นใหม่เยอะ หลายคนเก่งมากๆแต่อาจจะแค่พีอาร์ตัวเองไม่เก่งหรือมี follower น้อย ก็ไม่ได้มีโอกาสรับแสง ทั้งที่โลกดิจิตัลมันอาจจะทำให้ดูเหมือนว่าคนรุ่นใหม่น่าจะมีโอกาสมากขึ้น แต่กลับน้อยลงด้วยซ้ำ เพราะทุกคนแข่งกัน มันแปลกตรงที่ช่องทางง่ายขึ้น การแข่งขันสูงขึ้น แต่เพดานของการทะลุขึ้นมาอยู่ในแสงในเวทีมันกลับยากขึ้นมาก ทำให้สุดท้ายแล้ว เราเห็นแต่คนเดิมๆตลอดเวลา ถ้าเป็นไปได้ก็อยากจะให้ช่วยกันปลูกปั้นคนรุ่นใหม่ขึ้นมาให้ยืนหยัดในวงการ”
Story: Titima C.