Art & Lifestyle
The Capital of Craft
เสน่ห์ Art and Craft เมืองเชียงใหม่
ชมงานดีไซน์และเฟอร์นิเจอร์ที่ให้ความสำคัญกับความคราฟท์อันละเมียด
หากเอ่ยถึงเชียงใหม่ ภาพของความเป็นเมืองศิลปะและงานคราฟท์เปี่ยมเสน่ห์มักจะโดดเด่นขึ้นมาแทรกปนกับความสวยงามของธรรมชาติและวัฒนธรรมอันเนิบช้าสง่างามของวัดวาอาราม เมื่อมีโอกาสได้ไปเยือน จึงนับเป็น a must สำหรับหลายคนที่จะใช้เวลาไปกับการตามหาและชื่นชมพื้นที่แสดงตัวตนความเป็นงานอาร์ตและคราฟท์ในหลากสถานที่ ทั้งผ่านผลิตภัณฑ์อันประณีต และผ่านการจัดแสดงผลงานที่ดึงดูดสายตา สอดคล้องกับวิถีชีวิต ทว่าลึกซึ้งเปี่ยมเอกลักษณ์
บวกกับการที่เทรนด์ของโลกในช่วงห้าปีหลังและในอนาคตข้างหน้าที่หันมาให้คุณค่ากับงาน Local มากขึ้น เชียงใหม่ถือเป็นเมืองที่มีองค์ประกอบความคราฟท์และอาร์ตชัดเจนต่อเนื่องมายาวนาน หากย้อนไปในยุคก่อน หลายคนอาจสนใจมาเยือนถิ่นบ่อสร้าง ย่านสันกำแพงที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับการผลิตร่มกระดาษ หรือในภาษาเหนือเรียกว่าจ้อง จนกลายเป็นคำติดปากในยุคห้าสิบกว่าปีที่แล้วว่า บ่อสร้างกางจ้อง และยังมีงานกระดาษสา งานผ้าทอพื้นเมือง เครื่องเงินในถิ่นถนนวัวลาย เครื่องเขินโบราณ ภาชนะดินเผาเหมืองกุง เครื่องหวาย และเฟอร์นิเจอร์ไม้สักของคนเมืองซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาที่สะสมและส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น รวมถึงอาหารพื้นเมืองและความคราฟท์ในกาแฟและเครื่องดื่มที่ตอนนี้กำลังเป็นที่สนใจของคน gen ใหม่
หากเอ่ยถึงเชียงใหม่ ภาพของความเป็นเมืองศิลปะและงานคราฟท์เปี่ยมเสน่ห์มักจะโดดเด่นขึ้นมาแทรกปนกับความสวยงามของธรรมชาติและวัฒนธรรมอันเนิบช้าสง่างามของวัดวาอาราม เมื่อมีโอกาสได้ไปเยือน จึงนับเป็น a must สำหรับหลายคนที่จะใช้เวลาไปกับการตามหาและชื่นชมพื้นที่แสดงตัวตนความเป็นงานอาร์ตและคราฟท์ในหลากสถานที่ ทั้งผ่านผลิตภัณฑ์อันประณีต และผ่านการจัดแสดงผลงานที่ดึงดูดสายตา สอดคล้องกับวิถีชีวิต ทว่าลึกซึ้งเปี่ยมเอกลักษณ์
บวกกับการที่เทรนด์ของโลกในช่วงห้าปีหลังและในอนาคตข้างหน้าที่หันมาให้คุณค่ากับงาน Local มากขึ้น เชียงใหม่ถือเป็นเมืองที่มีองค์ประกอบความคราฟท์และอาร์ตชัดเจนต่อเนื่องมายาวนาน หากย้อนไปในยุคก่อน หลายคนอาจสนใจมาเยือนถิ่นบ่อสร้าง ย่านสันกำแพงที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับการผลิตร่มกระดาษ หรือในภาษาเหนือเรียกว่าจ้อง จนกลายเป็นคำติดปากในยุคห้าสิบกว่าปีที่แล้วว่า บ่อสร้างกางจ้อง และยังมีงานกระดาษสา งานผ้าทอพื้นเมือง เครื่องเงินในถิ่นถนนวัวลาย เครื่องเขินโบราณ ภาชนะดินเผาเหมืองกุง เครื่องหวาย และเฟอร์นิเจอร์ไม้สักของคนเมืองซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาที่สะสมและส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น รวมถึงอาหารพื้นเมืองและความคราฟท์ในกาแฟและเครื่องดื่มที่ตอนนี้กำลังเป็นที่สนใจของคน gen ใหม่
เชียงใหม่คราฟท์
ดีไซเนอร์หลายคนที่เรามีโอกาสพูดคุยและเที่ยวชมผลงาน ต่างกล่าวว่าสิ่งสำคัญที่ทำให้ทั้งคนไทยและต่างชาติพูดถึงเชียงใหม่ว่าเป็นหมุดหมายในการมาเยือนนั้น ส่วนหนึ่งเพราะเสน่ห์ของงานคราฟท์ และเมื่อพูดเจาะจงลงไปว่า หากนิยามคำว่าคราฟท์เมืองเชียงใหม่ คำตอบที่ได้ไปในทิศทางเดียวกันคือ เป็นงานที่มีคุณค่าอยู่ที่ฝีมือ เป็นทักษะที่ผ่านการศึกษาเรียนรู้ ผ่านภูมิปัญญา ผ่านการฝึกฝนออกมาด้วยการลงมืออย่างประณีต ละเมียดละไม ความคราฟท์นั้นเริ่มตั้งแต่กระบวนการคิด การสร้างสรรค์ เป็นของที่เติมเต็มความพึงพอใจ สอดคล้องกับการใช้งานและวิถีชีวิต ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของเสื้อผ้า ของใช้ เฟอร์นิเจอร์ ไอเทมต่างๆ โดยมีความตั้งใจของคนทำงาน ที่ช่างผู้ลงมือมองไปถึงคนที่จะใช้ เป็นการถ่ายทอดรสนิยมที่อ้างอิงสอดคล้องกับภูมิทัศน์ ทุ่งนา ป่า เขา และลำน้ำ
“คนทำงานคราฟท์คือคนที่มี mindset แบบนั้น”
“เราเติบโตมา งานคราฟท์ก็อยู่ในวิถีชีวิตเราตั้งแต่ตื่นจนหลับ”
คือคำอธิบายของหลายดีไซเนอร์ที่เป็นชาวเชียงใหม่ หรือย้ายมาลงหลักปักฐานในเมืองเชียงใหม่แล้วได้ทำงานร่วมกับสล่าพื้นเมืองที่อยู่ในท้องถิ่น ได้มองเห็น ได้สัมผัสความรักในการทำงาน สิ่งเหล่านี้แทรกซึมอยู่ในการออกแบบดีไซน์ การทำงานจึงเกิดแรงบันดาลใจและพัฒนาผลงานโดยให้คุณค่ากับความมีทักษะฝีมือขั้นสูง แมททีเรียล และความรู้ที่สืบต่อกันมา
ตระเวนย่านคราฟท์ฉบับวันเดียวก็เที่ยวได้
คอมมูนิตี้ สเปสที่เป็น all day craft market ชื่อดังในเมืองเชียงใหม่ แหล่งรวมงานคราฟท์และอาร์ตที่สามารถไปเยือนได้แทบทุกวัน (หยุดวันจันทร์) ที่ต้องพูดถึงในวันนี้คือบ้านข้างวัด โซนวัดอุโมงค์ ใกล้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่แม้เปิดมาหลายปีแล้ว แต่ความน่าสนุกในการไปเยือนก็ยังสร้างความประทับใจให้ชาวต่างถิ่นที่หลงรักงานฝีมือหลากหลายสไตล์และรสนิยม ในพื้นที่แห่งนี้ มีทั้งงานเสื้อผ้า อาหารท้องถิ่น กาแฟคราฟท์ งานอาร์ตที่ศิลปินรุ่นใหม่ผลิตงานสร้างสรรค์นำมาจำหน่าย และยังมีมุมให้ได้ใช้เวลาลงมือทำเวิร์คชอปสร้างงานคราฟท์ด้วยตัวเองในหลากพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นงานกระเบื้องโมเสก งานปั้นเซรามิค งานเพ้นท์สีมิวสิคบ็อกซ์ และเรียนรู้การเขียนรูปสีน้ำในสตูดิโอที่มีศิลปินสีน้ำสอนด้วยตัวเอง
คอมมูนิตี้ สเปสที่เป็น all day craft market ชื่อดังในเมืองเชียงใหม่ แหล่งรวมงานคราฟท์และอาร์ตที่สามารถไปเยือนได้แทบทุกวัน (หยุดวันจันทร์) ที่ต้องพูดถึงในวันนี้คือบ้านข้างวัด โซนวัดอุโมงค์ ใกล้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่แม้เปิดมาหลายปีแล้ว แต่ความน่าสนุกในการไปเยือนก็ยังสร้างความประทับใจให้ชาวต่างถิ่นที่หลงรักงานฝีมือหลากหลายสไตล์และรสนิยม ในพื้นที่แห่งนี้ มีทั้งงานเสื้อผ้า อาหารท้องถิ่น กาแฟคราฟท์
งานอาร์ตที่ศิลปินรุ่นใหม่ผลิตงานสร้างสรรค์นำมาจำหน่าย และยังมีมุมให้ได้ใช้เวลาลงมือทำเวิร์คชอปสร้างงานคราฟท์ด้วยตัวเองในหลากพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นงานกระเบื้องโมเสก งานปั้นเซรามิค งานเพ้นท์สีมิวสิคบ็อกซ์ และเรียนรู้การเขียนรูปสีน้ำในสตูดิโอที่มีศิลปินสีน้ำสอนด้วยตัวเอง
สำหรับใครที่มองหาของแต่งบ้าน ภาพวาดจากศิลปินรุ่นใหม่ที่ลดทอนภาพให้ดูเป็นงานกราฟิกของ Kaptor หรือภาพวาดสีน้ำ 15.28 Studio ภาพวาดจากศิลปินญี่ปุ่น Momoko ภาพวาดรูปเหมือนแนวสนุก Bookoo Studio หรืองานกลุ่มศิลปะอื่นๆ ที่นี่ก็มีให้เลือกหาอีกมาก นอกเหนือไปจากภาพวาดก็ยังมีงานไม้ กรอบรูปไม้สัก งานเซรามิกจากสตูดิโอ Pachana หรืองานโคมไฟเท่ๆ เป็นงานศิลปะจากเหล็กโดยศิลปิน Luka ในร้าน Momo garden
ในโซนบ้านข้างวัด มีแหล่งให้แฮงก์เอ้าท์ที่ตอบสนองคนรักงานคราฟท์ โดยเฉพาะงานงานผ้าเย็บมือ อาทิ เวิ้งมาลัย และ SENsitive Space
หรือหากอยากเดินทางออกไปไกลสักนิด สามารถไปเยี่ยมชมโซนฉำฉามาร์เก็ต ใกลๆ ร้านอาหารมีนา ที่มีกลุ่มเสื้อผ้าและงานคราฟท์ที่ดึงดูดใจไม่แพ้โซนอื่นๆ
สำหรับใครที่มองหาของแต่งบ้าน ภาพวาดจากศิลปินรุ่นใหม่ที่ลดทอนภาพให้ดูเป็นงานกราฟิกของ Kaptor หรือภาพวาดสีน้ำ 15.28 Studio ภาพวาดจากศิลปินญี่ปุ่น Momoko ภาพวาดรูปเหมือนแนวสนุก Bookoo Studio หรืองานกลุ่มศิลปะอื่นๆ ที่นี่ก็มีให้เลือกหาอีกมาก นอกเหนือไปจากภาพวาดก็ยังมีงานไม้ กรอบรูปไม้สัก งานเซรามิกจากสตูดิโอ Pachana หรืองานโคมไฟเท่ๆ เป็นงานศิลปะจากเหล็กโดยศิลปิน Luka ในร้าน Momo garden
ในโซนบ้านข้างวัด มีแหล่งให้แฮงก์เอ้าท์ที่ตอบสนองคนรักงานคราฟท์ โดยเฉพาะงานงานผ้าเย็บมือ อาทิ เวิ้งมาลัย และ SENsitive Space
หรือหากอยากเดินทางออกไปไกลสักนิด สามารถไปเยี่ยมชมโซนฉำฉามาร์เก็ต ใกลๆ ร้านอาหารมีนา ที่มีกลุ่มเสื้อผ้าและงานคราฟท์ที่ดึงดูดใจไม่แพ้โซนอื่นๆ
และหากเดินทางมาในช่วงวีคเอนด์ กาดหรือตลาดงานคราฟท์ที่ไม่ควรพลาด คือ โซนถนนคนเดิน ที่รวบรวมหลากหลายงานคราฟท์ทั้งจากช่างฝีมือรุ่นลายครามและรุ่นใหม่ของคนเมืองให้ได้ชื่นชม ถ้าเป็นวันเสาร์ถนนคนเดินยามเย็นจะอยู่บนถนนวัวลายที่เป็นแหล่งเครื่องเงินอันลือชื่อ และหากเป็นถนนคนเดินวันอาทิตย์ สามารถเดินเล่นได้ตั้งแต่บ่ายสามเป็นต้นไป ตั้งแต่บริเวณประตูท่าแพลงไปบนถนนราชดำเนินจนถึงวัดพระสิงห์ ถนนคนเดินเส้นนี้ถือเป็นถนนสายคราฟท์ที่ใหญ่ที่สุดในเชียงใหม่ก็ว่าได้
และนอกจากถนนคนเดินแล้ว ตลาดงานคราฟท์ที่ใหญ่และน่าเยือนที่สุดอีกแห่งหนึ่งในเชียงใหม่ คือ กาดจริงใจมาร์เก็ต บางครั้งก็ถูกเรียกว่า rustic market ที่นี่คนชอบแต่งตัว แต่งบ้าน สายกิน สายช้อป สามารถมาใช้เวลาได้ตลอดช่วงเช้าถึงบ่าย นั่งพูดคุยกับเจ้าของแบรนด์ต่างๆ ที่มาออกบูธขนผลงานมาให้เลือกสรรถึงที่ ที่อยากให้ได้ไปลองชมและพูดคุยกับศิลปินคือเจ้าของแบรนด์ chinclay studio ที่นำงานปั้นและงานไม้ที่เขาลงมือทำเองมาออกบูธนำเสนอผลงานให้เห็นอย่างใกล้ชิด
และหากเดินทางมาในช่วงวีคเอนด์ กาดหรือตลาดงานคราฟท์ที่ไม่ควรพลาด คือ โซนถนนคนเดิน ที่รวบรวมหลากหลายงานคราฟท์ทั้งจากช่างฝีมือรุ่นลายครามและรุ่นใหม่ของคนเมืองให้ได้ชื่นชม ถ้าเป็นวันเสาร์ถนนคนเดินยามเย็นจะอยู่บนถนนวัวลายที่เป็นแหล่งเครื่องเงินอันลือชื่อ และหากเป็นถนนคนเดินวันอาทิตย์ สามารถเดินเล่นได้ตั้งแต่บ่ายสามเป็นต้นไป ตั้งแต่บริเวณประตูท่าแพลงไปบนถนนราชดำเนินจนถึงวัดพระสิงห์ ถนนคนเดินเส้นนี้ถือเป็นถนนสายคราฟท์ที่ใหญ่ที่สุดในเชียงใหม่ก็ว่าได้
และนอกจากถนนคนเดินแล้ว ตลาดงานคราฟท์ที่ใหญ่และน่าเยือนที่สุดอีกแห่งหนึ่งในเชียงใหม่ คือ กาดจริงใจมาร์เก็ต บางครั้งก็ถูกเรียกว่า rustic market ที่นี่คนชอบแต่งตัว แต่งบ้าน สายกิน สายช้อป สามารถมาใช้เวลาได้ตลอดช่วงเช้าถึงบ่าย นั่งพูดคุยกับเจ้าของแบรนด์ต่างๆ ที่มาออกบูธขนผลงานมาให้เลือกสรรถึงที่ ที่อยากให้ได้ไปลองชมและพูดคุยกับศิลปินคือเจ้าของแบรนด์ chinclay studio ที่นำงานปั้นและงานไม้ที่เขาลงมือทำเองมาออกบูธนำเสนอผลงานให้เห็นอย่างใกล้ชิด
หากบ่ายวันอาทิตย์ยังมีแรงเหลือพอจะเดินเล่น สามารถเลือกเดินเล่นในโซนถนนสายช้างม่อย ที่ตอนนี้เครื่องหวายท้องถิ่นกำลังเป็นที่จับตา นักท่องเที่ยวสายเกาหลีและญี่ปุ่นผู้ชื่นชอบงานคราฟท์แบบทำมือแท้ๆ มักจะเดินเล่นและเลือกช้อปกันในโซนนี้ หรือหากเดินเลยย่านท่าแพขึ้นไปทางฝั่งแม่น้ำปิง มีร้าน Rivers and Roads ที่รวบรวมงานแฮนด์เมดเท่ๆ ไว้ให้เลือกเพียบ ติดๆ กันเป็นร้านของศิลปินคู่สามีภรรยา-หนุ่มฝรั่งเศสและสาวไทย ซึ่งสร้างสรรค์ภาพเขียนเมืองเชียงใหม่ในมุมมองของสถาปนิกชาวตูลูสในนาม Arthur illustration
เยือนสตูดิโอดีไซเนอร์ Naphakard
สำหรับคนที่อยากเจาะลึกเฉพาะงานดีไซน์ที่มีความเฉพาะตัว สตูดิโอแห่งหนึ่งที่อยากแนะนำให้ไปเยือนคือ Naphakard ของรัฐธีร์ ไพศาลโชติสิริ แม้เขาจะบอกว่าพื้นที่ห้องของเขาเล็กมาก แต่ที่นี่เต็มไปด้วยแรงบันดาลใจ และไอเดียสร้างสรรค์
คำว่า Naphakard มาจากการผสมผสานสองคำระหว่าง นภา คือ ท้องฟ้า และ กาด ที่แปลว่าตลาดในภาษาเหนือ ดังนั้น คำนี้จึงตั้งใจบอกเล่าไอเดียการทำตลาดบนท้องฟ้า บนก้อนเมฆ หรือตลาดออนไลน์นั่นเอง รัฐธีร์ตั้งใจให้ที่เล็กๆ แห่งนี้เป็นพื้นที่นำเสนอผลงานออกแบบของเขา ผสมผสานกับงานสะสมที่เขาเลือกสรรมาเก็บและส่งต่อให้กับผู้ที่มีความชื่นชอบคล้ายๆ กัน อย่างเช่น แจกันที่เขาสะสมมาจากหลายๆ แหล่ง ภายใต้ชื่อ collectibles anonymous ด้วยแนวคิดเก็บอย่างตั้งใจเพื่อให้คนนำไปใช้ต่อ และเห็นคุณค่าของสิ่งเหล่านั้น
พื้นที่ด้านในสตูดิโอมีขนาดเล็กๆ แบ่งมุมทำงานออกเป็นสัดส่วนจากพื้นที่แสดงผลงาน เขาให้ความสำคัญกับการออกแบบแสงเพื่อนำเสนอเรื่องราวในงานออกแบบอย่างที่ชื่นชอบ เก้าอี้ไม้ตัวเล็กที่จัดวางอยู่คือ งานดีไซน์ของเขาในชื่อผลงานว่า เก้าอี้สมาธิ ซึ่งมีสองดีไซน์ด้วยกัน และรอบๆ ห้องประดับด้วยแจกันที่เขาเลือกสรรบางส่วนมาจากงานสะสม ชิ้นที่โดดเด่นเป็นงานของดีไซเนอร์ที่เขาชื่นชอบจาก O-D-A คือ ปิติ อัมระรงค์ และจุฑามาส บูรณะเจตน์ “ชิ้นนี้ดีไซน์เหมือนแจกันกระดาษ พี่ดีไซเนอร์ส่งมาให้ผม พอคนมาแล้วชอบ ผมก็จะแนะนำให้ไปซื้อจากพี่เค้าโดยตรงครับ งานชิ้นนี้ผมว่ามันน่ารักดี มันดูผิดที่ผิดทางดี ผมวางตรงนี้ เพื่อว่าพอจะเดินเข้าไปทำงาน ก็จะได้เห็นตลอด”
คำว่า Naphakard มาจากการผสมผสานสองคำระหว่าง นภา คือ ท้องฟ้า และ กาด ที่แปลว่าตลาดในภาษาเหนือ ดังนั้น คำนี้จึงตั้งใจบอกเล่าไอเดียการทำตลาดบนท้องฟ้า บนก้อนเมฆ หรือตลาดออนไลน์นั่นเอง รัฐธีร์ตั้งใจให้ที่เล็กๆ แห่งนี้เป็นพื้นที่นำเสนอผลงานออกแบบของเขา ผสมผสานกับงานสะสมที่เขาเลือกสรรมาเก็บและส่งต่อให้กับผู้ที่มีความชื่นชอบคล้ายๆ กัน อย่างเช่น แจกันที่เขาสะสมมาจากหลายๆ แหล่ง ภายใต้ชื่อ collectibles anonymous ด้วยแนวคิดเก็บอย่างตั้งใจเพื่อให้คนนำไปใช้ต่อ และเห็นคุณค่าของสิ่งเหล่านั้น
พื้นที่ด้านในสตูดิโอมีขนาดเล็กๆ แบ่งมุมทำงานออกเป็นสัดส่วนจากพื้นที่แสดงผลงาน เขาให้ความสำคัญกับการออกแบบแสงเพื่อนำเสนอเรื่องราวในงานออกแบบอย่างที่ชื่นชอบ เก้าอี้ไม้ตัวเล็กที่จัดวางอยู่คือ งานดีไซน์ของเขาในชื่อผลงานว่า เก้าอี้สมาธิ ซึ่งมีสองดีไซน์ด้วยกัน และรอบๆ ห้องประดับด้วยแจกันที่เขาเลือกสรรบางส่วนมาจากงานสะสม ชิ้นที่โดดเด่นเป็นงานของดีไซเนอร์ที่เขาชื่นชอบจาก O-D-A คือ ปิติ อัมระรงค์ และจุฑามาส บูรณะเจตน์ “ชิ้นนี้ดีไซน์เหมือนแจกันกระดาษ พี่ดีไซเนอร์ส่งมาให้ผม พอคนมาแล้วชอบ ผมก็จะแนะนำให้ไปซื้อจากพี่เค้าโดยตรงครับ งานชิ้นนี้ผมว่ามันน่ารักดี มันดูผิดที่ผิดทางดี ผมวางตรงนี้ เพื่อว่าพอจะเดินเข้าไปทำงาน ก็จะได้เห็นตลอด”
ส่วนแจกันอีกอันที่โดดเด่นและถูกนำมาจัดวางโชว์อยู่ด้านหน้าทางเข้า คือแจกันงานเครื่องเขิน lacquerware ของครูมานพ วงศ์น้อย ศิลปินพื้นเมืองที่เขาชื่นชมและทำงานร่วมด้วย
รัฐธีร์ให้มุมมองต่อเก้าอี้ในแง่ดีไซน์ไว้ว่าสำหรับเขาแล้ว เก้าอี้คือ sculpture ชิ้นหนึ่งของบ้าน ที่ต้องเลือกสรรให้เหมาะกับพื้นที่ ส่วนแจกันและโคมไฟเป็นเหมือน accent piece อยู่ในสเปซ ที่มีความสำคัญที่จะก่อให้เกิดความงามอันมีเอกลักษณ์ ซึ่งเขากำลังให้ความสนใจกับงานโคมไฟกระดาษที่กำลังจะออกแบบและลงมือทำด้วยตัวเอง เป็นเสมือนงานคราฟท์สร้างสรรค์ในช่วงเวลาที่เขาอยากทดลองและเรียนรู้ไปกับมัน
ส่วนแจกันอีกอันที่โดดเด่นและถูกนำมาจัดวางโชว์อยู่ด้านหน้าทางเข้า คือแจกันงานเครื่องเขิน lacquerware ของครูมานพวงศ์น้อยศิลปินพื้นเมืองที่เขาชื่นชมและทำงานร่วมด้วย
รัฐธีร์ให้มุมมองต่อเก้าอี้ในแง่ดีไซน์ไว้ว่าสำหรับเขาแล้ว เก้าอี้คือ sculpture ชิ้นหนึ่งของบ้าน ที่ต้องเลือกสรรให้เหมาะกับพื้นที่ ส่วนแจกันและโคมไฟเป็นเหมือน accent piece อยู่ในสเปซ ที่มีความสำคัญที่จะก่อให้เกิดความงามอันมีเอกลักษณ์ ซึ่งเขากำลังให้ความสนใจกับงานโคมไฟกระดาษที่กำลังจะออกแบบและลงมือทำด้วยตัวเอง เป็นเสมือนงานคราฟท์สร้างสรรค์ในช่วงเวลาที่เขาอยากทดลองและเรียนรู้ไปกับมัน
สตูดิโอแห่งนี้อยู่ไม่ไกลบ้านข้างวัด แต่อยู่อีกฝั่งฟากของคลองชลประทานในหมู่บ้านเชียงใหม่เลคแลนด์ ในพื้นที่ร่วมกับสตูดิโอสถาปนิก Sher Maker หากสนใจสามารถนัดเข้าไปเยี่ยมชมสตูดิโอได้ ผ่านทาง IG : Naphakard
This is a Chair เฟอร์นิเจอร์ไม้สักผสมเหล็ก
“ด้วยความรักในคุณค่าของไม้สัก ซึ่งเป็นไม้พื้นถิ่นของทางเหนือ จึงอยากสร้างเฟอร์นิเจอร์ที่ผสานไม้สักเข้ากับเหล็ก ให้มีความทันสมัย ใช้ไม้อย่างคุ้มค่า ตอบโจทย์ทั้งความสวยงาม ทนทานและใช้งานในที่อยู่อาศัยได้จริง ไม่แข็งกระด้าง หรือดุดันเกินไป ที่สำคัญงานทุกชิ้นต้องแสดงออกถึงตัวตน และสอดคล้องกับการใช้งานของเจ้าของได้อย่างลงตัว”
คำอธิบายแนวคิดการทำงานของ “This is a Chair” แบรนด์ผู้ผลิตงานเฟอร์นิเจอร์แบบคราฟท์โดยแท้ ทุกชิ้นผ่านการเฟอร์นิชชิ่งด้วยมือของเจ้าของ รุ่งโรจน์ วิริยะชน และวิจิตรา กิติศักดิ์
This is a Chair อยู่ห่างออกจากย่านกลางเมืองเชียงใหม่ก็จริง แต่ถิ่นที่ที่ตั้งนั้นคือย่านเฟอร์นิเจอร์ไม้สักชื่อดังที่เราคุ้นชื่อกันมาเนิ่นนาน ได้แก่ โซนบ้านถวาย
งานออกแบบของรุ่งโรจน์เน้นการเชื่อมโยงแนวคิดและไอเดียของผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าของเฟอร์นิเจอร์ชิ้นนั้นๆ กับแนวทางของแบรนด์เอง เขาอธิบายว่านี่คือจุดเด่นของแบรนด์ “เรามีแบบประมาณนี้ นี่คือสไตล์ของเรา และลูกค้าจะมีส่วนร่วมในแบบเสมอ custom ได้แม้สั่งเพียงแค่หนึ่งชิ้น”
คำอธิบายแนวคิดการทำงานของ “This is a Chair” แบรนด์ผู้ผลิตงานเฟอร์นิเจอร์แบบคราฟท์โดยแท้ ทุกชิ้นผ่านการเฟอร์นิชชิ่งด้วยมือของเจ้าของ รุ่งโรจน์ วิริยะชน และวิจิตรา กิติศักดิ์
This is a Chair อยู่ห่างออกจากย่านกลางเมืองเชียงใหม่ก็จริง แต่ถิ่นที่ที่ตั้งนั้นคือย่านเฟอร์นิเจอร์ไม้สักชื่อดังที่เราคุ้นชื่อกันมาเนิ่นนาน ได้แก่ โซนบ้านถวาย
งานออกแบบของรุ่งโรจน์เน้นการเชื่อมโยงแนวคิดและไอเดียของผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าของเฟอร์นิเจอร์ชิ้นนั้นๆ กับแนวทางของแบรนด์เอง เขาอธิบายว่านี่คือจุดเด่นของแบรนด์ “เรามีแบบประมาณนี้ นี่คือสไตล์ของเรา และลูกค้าจะมีส่วนร่วมในแบบเสมอ custom ได้แม้สั่งเพียงแค่หนึ่งชิ้น”
This is a Chair เรียกได้ว่าเป็นแบรนด์ที่พัฒนาต่อยอดจากร้านแอนทีคและเฟอร์นิเจอร์ไม้สักของรุ่นพ่อแม่ของวิจิตรา รุ่งโรจน์ ซึ่งเป็นคู่ชีวิต ได้ค้นพบความเป็นตัวเองจากงานอดิเรกที่มาทำที่ร้านเฟอร์นิเจอร์ไม้สักแห่งนี้ แล้วพัฒนาก่อเกิดเป็นรูปแบบงานดีไซน์ของตัวเอง ถ่ายทอดความชอบกลายมาเป็นผลงาน เป็นงานคราฟท์ที่ต้องทำผ่านตา ผ่านมือตัวเองทุกชิ้น ดังนั้น เฟอร์นิเจอร์ที่ต้องการจึงต้องสั่งทำและรอคอยเวลาสักนิด
ผลงานโดดเด่นของ This is a Chair คือ “ALEX” เป็น side table ที่ได้รับรางวัล CDA Design Awards 2020 สาขา Product Design และได้จัดแสดงในเทศกาล Chiang Mai Design Week 2020
This is a Chair เรียกได้ว่าเป็นแบรนด์ที่พัฒนาต่อยอดจากร้านแอนทีคและเฟอร์นิเจอร์ไม้สักของรุ่นพ่อแม่ของวิจิตรา รุ่งโรจน์ ซึ่งเป็นคู่ชีวิต ได้ค้นพบความเป็นตัวเองจากงานอดิเรกที่มาทำที่ร้านเฟอร์นิเจอร์ไม้สักแห่งนี้ แล้วพัฒนาก่อเกิดเป็นรูปแบบงานดีไซน์ของตัวเอง ถ่ายทอดความชอบกลายมาเป็นผลงาน เป็นงานคราฟท์ที่ต้องทำผ่านตา ผ่านมือตัวเองทุกชิ้น ดังนั้น เฟอร์นิเจอร์ที่ต้องการจึงต้องสั่งทำและรอคอยเวลาสักนิด
ผลงานโดดเด่นของ This is a Chair คือ “ALEX” เป็น side table ที่ได้รับรางวัล CDA Design Awards 2020 สาขา Product Design และได้จัดแสดงในเทศกาล Chiang Mai Design Week 2020
“This is a Chair มีอีกความหมายแฝง คือ เราจะทำยังไงให้ a chair กลายเป็น my chair ของเค้าได้ นั่นก็คือ เราก็ต้องเอาไอเดียเค้ามาร่วมด้วย”
สนใจสามารถไปเข้าชมได้ทุกวัน ยกเว้นวันอาทิตย์ ตั้งแต่ 9.00-17.00 น. หรือโทร.ไปนัดก่อนได้ที่ 081 671 2190
Moonler แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ไม้ฉำฉาที่ต้องตาตลาดต่างประเทศ
ออกห่างจากเมืองไปทางด้านเหนือของเชียงใหม่ในเขตอำเภอดอยสะเก็ด โชว์รูมเรียบเท่ของแบรนด์ Moonler ตั้งอยู่ท่ามกลางทุ่งนาใกล้ๆ กับโรงงานบนเนื้อที่ 12 ไร่ ภูวนาถ ดำรงพร วิศวกรที่มีความหลงใหลในงานไม้เป็นผู้ก่อตั้งขึ้น งานดีไซน์และการผลิตของที่นี่คืองานอินดัสเทรียลคราฟท์ เพราะเฟอร์นิเจอร์ทุกชิ้นต้องผ่านทั้งเครื่องจักรทุ่นแรงและจากสองมือของช่างฝีมือหรือสล่าพื้นเมืองที่มีความชำนาญและสายตาอันแหลมคม
ดีไซน์ของมูนเลอร์ไม่ได้ทำงานเฉพาะแค่เรื่องฟอร์ม แต่ทำงานกับความทรงจำ เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่มีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์และออบเจ็ค เน้นความงามในลักษณะที่เป็น sculpture ที่มีฟังก์ชั่น และสะท้อนปรัชญาตะวันออกที่มีความเชื่อโยงใยกับธรรมชาติ โดยคอนเซปต์ต้นทางแนวคิดของการดีไซน์อ้างอิงมาจากปรัชญาวาบิซะบิ โดยหนึ่งในถ้อยคำอธิบายได้ชัดเจนคือ “ลอกเปลือกให้ถึงแก่น แต่อย่าถอดถอนความงามของบทกวี” (Pare down to the essence, but don’t remove the poetry. by LEONARD KOREN ผู้เรียบเรียงหนังสือ Wabi Sabi)
ชั้นไม้ Darakorn คือหนึ่งในงานดีไซน์ที่ทำให้มูนเลอร์ถูกกล่าวถึงในการรับรู้หลังจากการรีแบรนด์ดิ้งราว 5 ปีที่ผ่านมา รัฐธีร์ ไพศาลโชติสิริ บอกว่า งานออกแบบชั้นไม้ที่เลือกใช้การวางแผ่นปีกไม้ในแนวตั้ง ให้เห็นความงามอีกรูปแบบหนึ่ง ส่วนใหญ่คนจะใช้ปีกไม้ในแนวนอนมากกว่า เมื่อเปลี่ยนทิศทางการใช้งาน การรับรู้ก็เปลี่ยน ทำให้คนเกิดความสนใจและตั้งคำถามกับมัน
หรืองานที่โดดเด่นอีกชิ้นคือ ม้านั่งทื่ชื่อ แซลมอน ผลงานออกแบบของ O-D-A ที่ได้รับรางวัลมา และมูนเลอร์ได้ขอนำมาผลิต รัฐธีร์ในฐานะดีไซน์ ไดเรคเตอร์อธิบายว่า “งานดีไซน์ชิ้นนี้ของพี่ปิติ วิธีคิดมันลงตัวกับ มูนเลอร์มากๆ สะท้อนความเป็นมูนเลอร์ได้พอดี มันลอกเปลือกให้ถึงแก่นจริงๆ คือเป็นการทำงานกับไม้ท่อนหนึ่งมาผ่าแนว 45 องศา แล้วเกิดเป็นชิ้นงาน แค่ 3-4 ชิ้นเท่านั้นแล้วมาต่อกัน เหมือนเซฟซูชิที่แล่ปลาแซลอน ต้องแล่อย่างตั้งใจ”
ชั้นไม้ Darakorn คือหนึ่งในงานดีไซน์ที่ทำให้มูนเลอร์ถูกกล่าวถึงในการรับรู้หลังจากการรีแบรนด์ดิ้งราว 5 ปีที่ผ่านมา รัฐธีร์ ไพศาลโชติสิริ บอกว่า งานออกแบบชั้นไม้ที่เลือกใช้การวางแผ่นปีกไม้ในแนวตั้ง ให้เห็นความงามอีกรูปแบบหนึ่ง ส่วนใหญ่คนจะใช้ปีกไม้ในแนวนอนมากกว่า เมื่อเปลี่ยนทิศทางการใช้งาน การรับรู้ก็เปลี่ยน ทำให้คนเกิดความสนใจและตั้งคำถามกับมัน
หรืองานที่โดดเด่นอีกชิ้นคือ ม้านั่งทื่ชื่อ แซลมอน ผลงานออกแบบของ O-D-A ที่ได้รับรางวัลมา และมูนเลอร์ได้ขอนำมาผลิต รัฐธีร์ในฐานะดีไซน์ ไดเรคเตอร์อธิบายว่า “งานดีไซน์ชิ้นนี้ของพี่ปิติ วิธีคิดมันลงตัวกับ มูนเลอร์มากๆ สะท้อนความเป็นมูนเลอร์ได้พอดี มันลอกเปลือกให้ถึงแก่นจริงๆ คือเป็นการทำงานกับไม้ท่อนหนึ่งมาผ่าแนว 45 องศา แล้วเกิดเป็นชิ้นงาน แค่ 3-4 ชิ้นเท่านั้น แล้วมาต่อกัน เหมือนเซฟซูชิที่แล่ปลาแซลอน ต้องแล่อย่างตั้งใจ”
สนใจมูนเลอร์ สามารถเข้าชมเว็บไซต์ moonler.com ได้ก่อนไปชมของจริงในโชว์รูมที่อำเภอดอยสะเก็ด เปิดทุกวันเว้นวันอาทิตย์ ตั้งแต่ 8.00-17.00 น. โทร. 081 791 9661
เลือกประติมากรรมดินปั้นประดับบ้าน Have a Hug Studio
จากดอยสะเก็ดก่อนกลับเข้าสู่ตัวเมือง แวะย่านอำเภอสันทรายทางไปแม่โจ้กันสักนิด จิบชากาแฟ แล้วทานขนมเบาๆ หรือจะเลือกทานอาหารจริงจังที่ร้าน Have a Hug Fusion Farm พร้อมเยี่ยมเยือนสตูดิโอดินปั้นของ ภูริดล พิมสาร ผู้ทุ่มเทชีวิตทั้งชีวิตให้กับงานปั้นอย่างมีความสุข
ผลงานปั้นของเขาเป็นงานคราฟท์ที่ชวนให้ยิ้มรื่น บางชิ้นเป็นประติมากรรมขนาดใหญ่ที่สามารถเลือกไปตั้งประดับกลางสวนเหมือนที่เราเห็นในสวนของสตูดิโอ หรือกลางทุ่งนาที่เขาจัดวางไว้ใกล้มุมนั่งเล่น
เดินเล่นในสตูดิโอจะมองเห็นงานอันหลากหลาย แต่ละชิ้นทำมือและขึ้นรูปด้วยมือจากดินในท้องถิ่นเมืองเชียงใหม่ และเน้นเคลือบสีจากธรรมชาติ ที่นี่ยังมีมุมเวิร์คชอปที่สามารถสอบถามและขอเข้าไปเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ผลงานด้วยตัวเอง
ผลงานปั้นของเขาเป็นงานคราฟท์ที่ชวนให้ยิ้มรื่น บางชิ้นเป็นประติมากรรมขนาดใหญ่ที่สามารถเลือกไปตั้งประดับกลางสวนเหมือนที่เราเห็นในสวนของสตูดิโอ หรือกลางทุ่งนาที่เขาจัดวางไว้ใกล้มุมนั่งเล่น
เดินเล่นในสตูดิโอจะมองเห็นงานอันหลากหลาย แต่ละชิ้นทำมือและขึ้นรูปด้วยมือจากดินในท้องถิ่นเมืองเชียงใหม่ และเน้นเคลือบสีจากธรรมชาติ ที่นี่ยังมีมุมเวิร์คชอปที่สามารถสอบถามและขอเข้าไปเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ผลงานด้วยตัวเอง
Real Art, Real Life คือสโลแกนที่เขาตั้งใจกำหนดขึ้นสื่อถึงผลงานปั้นของ have a hug ที่จะสร้างประโยชน์ต่อผู้คนที่ได้พบเห็น ได้เกิดความสงบและรอยยิ้ม เห็นแล้วอิ่มอกอิ่มใจและคลายความเศร้าลง
Have a Hug Studio ตั้งอยู่ในอำเภอสันทราย เปิดทุกวัน 8.30-17.00 น. โทร. 081 118 4021
คราฟท์แสนงาม ที่ Kalm Village
กลับเข้ามากลางใจเมืองเชียงใหม่ Kalm Village คือ พื้นที่กึ่งคอมมูนิตี้ที่สร้างสรรค์ รวมความคราฟท์แบบ casual space ที่อยากให้ทุกคนได้ไปเยือน
แค่ได้ไปเห็นดีไซน์ของอาคาร การจัดนิทรรศการ งานผ้า สินค้าทำมือ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ห้องสมุด ข้าวของที่นำมาเสนอ ต้นไม้ sculpture ผ่านการออกแบบทางสถาปัตยกรรมที่สะท้อนความเป็นล้านนาและพื้นที่ที่สวยเท่ ผสานความหลากหลายทางศิลปะและวัฒนธรรม รวมถึงคอนเซปต์ของการสร้างสรรค์ Kalm Village ก็คุ้มค่าแล้ว และที่บนชั้น 3 ของ Kalm Gallery สามารถมองเห็นชุมชนกลางเมืองเชียงใหม่ และวัดเจดีย์หลวงได้ด้วย
คำว่า Kalm นั้นหากออกเสียงเป็นภาษาไทย ก็คือ คาม ซึ่งมีความหมายถึงหมู่บ้าน เขตคาม และพ้องเสียงกับคำว่า สงบ (calm) และคำนี้ก็เชื่อมโยงไปถึงคำว่า (สี)คราม ซึ่งเป็นสีสัญลักษณ์ของหมู่บ้านแห่งนี้ ด้วยความตั้งใจของ “ครอบครัวโรจนะภิรมย์” ที่ต้องการถ่ายทอดองค์ความรู้ทั้งเก่าและใหม่ในรูปแบบของความร่วมสมัย โดยไม่เน้นว่าคนที่มาเยือนจะต้องชอบงานศิลปะ หรืองานคราฟท์หรือไม่ แต่เชื่อว่างานสร้างสรรค์เหล่านี้จะมีพลังดึงดูดให้ผู้ที่มาเยือนมองเห็นความงาม ได้รับแรงบันดาลใจอาจจะในขณะที่เข้าสู่คามวิลเลจแห่งนี้หรือในภายหลังก็ได้
แค่ได้ไปเห็นดีไซน์ของอาคาร การจัดนิทรรศการ งานผ้า สินค้าทำมือ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ห้องสมุด ข้าวของที่นำมาเสนอ ต้นไม้ sculpture ผ่านการออกแบบทางสถาปัตยกรรมที่สะท้อนความเป็นล้านนาและพื้นที่ที่สวยเท่ ผสานความหลากหลายทางศิลปะและวัฒนธรรม รวมถึงคอนเซปต์ของการสร้างสรรค์ Kalm Village ก็คุ้มค่าแล้ว และที่บนชั้น 3 ของ Kalm Gallery สามารถมองเห็นชุมชนกลางเมืองเชียงใหม่ และวัดเจดีย์หลวงได้ด้วย
คำว่า Kalm นั้นหากออกเสียงเป็นภาษาไทย ก็คือ คาม ซึ่งมีความหมายถึงหมู่บ้าน เขตคาม และพ้องเสียงกับคำว่า สงบ (calm) และคำนี้ก็เชื่อมโยงไปถึงคำว่า (สี)คราม ซึ่งเป็นสีสัญลักษณ์ของหมู่บ้านแห่งนี้ ด้วยความตั้งใจของ “ครอบครัวโรจนะภิรมย์” ที่ต้องการถ่ายทอดองค์ความรู้ทั้งเก่าและใหม่ในรูปแบบของความร่วมสมัย โดยไม่เน้นว่าคนที่มาเยือนจะต้องชอบงานศิลปะ หรืองานคราฟท์หรือไม่ แต่เชื่อว่างานสร้างสรรค์เหล่านี้จะมีพลังดึงดูดให้ผู้ที่มาเยือนมองเห็นความงาม ได้รับแรงบันดาลใจอาจจะในขณะที่เข้าสู่คามวิลเลจแห่งนี้หรือในภายหลังก็ได้
ที่ Kalm Village แห่งนี้ออกแบบเป็นบ้าน 8 หลังที่มีทางเดินเชื่อมถึงกัน ออกแบบให้แต่ละหลังมีเรื่องราวและหน้าที่การใช้งานแตกต่างกันไป ตัวอาคารก่อด้วยอิฐสีดำที่ผ่านกรรมวิธีเฉพาะ เรียงตัวเป็นลวดลายไม่ซ้ำกัน ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากงานจักสาน เช่น ลายก๋วยสังฆ์ ลายแอ็บข้าว ลายสาดแหย่ง ฯลฯ ช่องแสงของแต่ละหลังยังทำเป็นตราสัญลักษณ์ประจำบ้าน โดยแรงบันดาลใจมาจากลวดลายที่พบในเครื่องปั้นดินเผาของเวียงกาหลง จังหวัดเชียงราย แต่ละลายมีความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรในท้องถิ่น ความเชื่อและนิทานธรรมะ เช่น รูปปลาตะเพียนคู่ รูปอีกา รูปดอกบัว เป็นต้น
ที่นี่ไม่ได้เป็นเพียงพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตเท่านั้น แต่ยังเต็มไปด้วยบรรยากาศแห่งการสร้างสรรค์ ทั้งการจัดนิทรรศการหมุนเวียน การจัดงานพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ กิจกรรมโยคะในบางช่วง และเวิร์คชอปต่างๆ ที่ชักชวนให้คนหันมาสนใจงานคราฟท์ งานศิลปะ วิถีชีวิตคนเมือง และใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมในระดับสากล
Kalm Village ตั้งอยู่บนถนนพระปกเกล้าซอย 4 เปิดให้ผู้ที่รักงานศิลปะและงานคราฟท์เข้าชมฟรี ตั้งแต่เวลา 9.30-18.30 น. ทุกวันยกเว้นวันพุธ
หลากหลายคอมมูนิตี้สเปส สตูดิโอ และร้านค้าที่ได้นำเสนอไป อาจครอบคลุมความเป็นคราฟท์และอาร์ตของเมืองเชียงใหม่ได้เพียงบางส่วนเท่านั้น แต่ก็พอฉายภาพให้เห็นความเป็นเมืองสร้างสรรค์ที่ส่งผ่านผลงานและฝีมืออันละเมียดละไมและเต็มไปด้วยคุณค่าที่หาไม่ได้จากที่อื่น
ในช่วงปลายปี เมืองเชียงใหม่ยังมีเทศกาลใหญ่ๆ อย่างน้อย 2 งาน ซึ่งถือเป็นการสร้างพื้นที่เพื่อรวมศิลปินอาร์ตและคราฟท์ให้ผู้ที่สนใจได้ทำความรู้จักอย่างสะดวกและใกล้ชิดง่ายขึ้น หนึ่งคืองาน Chiangmai Design Week (2-10 ธันวาคม 2566) ที่จัดขึ้นในหลากหลายพื้นที่ ได้แก่ ย่านกลางเวียง ย่านช้างม่อยและย่านท่าแพ และงานที่สองคือ งาน NAP อีเวนท์ที่ถือเป็นต้นกำเนิดศิลปินหลากหลายแขนงและรวมความสนุกบนถนนสายเล็กๆ ของนิมมานเหมินท์ ซอย 1 ปีนี้จัดตรงกับวันที่ 5-11 ธันวาคม 2566
Story: Sakunee Nattapoolwat
Photos: Nat Bowonphatnon, Moonler, Kalm Village, Ratthee Phaisanchotsiri, Simple, DOF, Pichan Sujaritsatit