Art & Lifestyle

Thailand Biennale Chiang Rai

จากภาคใต้ ที่จังหวัดกระบี่ ปีพ.ศ.2561ภายใต้แนวคิด “สุดขอบฟ้าแห่งดินแดนมหัศจรรย์” สู่ภาคอีสาน ที่นครราชสีมา ปีพ.ศ.2564 กับ “เซิ้งสิน…ถิ่นย่าโม” จนมาถึงภาคเหนือที่จังหวัดเชียงรายในครั้งนี้ ปีพ.ศ.2566 ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 3 ของงานไทยแลนด์เบียนนาเล่ (Thailand Biennale) ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม โดยมีวัตถุประสงค์หลักของงานเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย โดยจัดแสดงงานศิลปะร่วมสมัยนานาชาติขึ้นในจังหวัดต่างๆ ทุกๆ 2 ปี ซึ่งสำหรับงานไทยแลนด์เบียนนาเล่ครั้งล่าสุดนี้ เชียงราย 2023 (Thailand Biennale Chiang Rai 2023) ได้เริ่มแสดงมาตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2566 และจะจัดต่อเนื่องยาวนานไปจนถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2567 นี้ ซึ่งไม่เพียงแต่การจัดกิจกรรมต่ามสถานที่ต่างๆในตัวอำเภอเมืองเชียงรายเท่านั้น แต่ยังมีอำเภออื่นๆอีก เช่น อำเภอเชียงแสน อำเภอพาน และอำเภอแม่ลาว 

หอศิลป์ร่วมสมัยเมืองเชียงราย Chiang Rai International Art Museum (CIAM) เปิดตัวในงาน Thailand Biennale, Chiang Rai 2023
หอศิลป์ร่วมสมัยเมืองเชียงราย Chiang Rai International Art Museum (CIAM) เปิดตัวในงาน Thailand Biennale, Chiang Rai 2023

งานศิลปะร่วมสมัยที่นำมาจัดแสดงมีทุกรูปแบบทั้งงานขนาดเล็ก งานขนาดใหญ่ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว สามารถชื่นชม สัมผัส สูดดม และเกิดการตอบโต้ระหว่างชิ้นงานและผู้ชมผลงานได้อีกด้วย โดยมีผลงานของศิลปินมากกว่า 60 คนจากทั่วโลก ตั้งแต่กลุ่มชาติพันธ์ สามเหลี่ยมทองคำลุ่มน้ำโขง ไกลไปถึงศิลปินจากลุ่มน้ำอะเมซอน ชิ้นงานส่วนใหญ่เกิดจากการรังสรรค์ร่วมกันระหว่างศิลปิน สล่า หรือช่างฝีมือท้องถิ่น การถอดความจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในจังหวัดเชียงรายในมุมมองของศิลปิน หรือแม้แต่การหยิบจับวัตถุดิบจากชุมชนมาใช้ในการสร้างสรรค์งาน

สำหรับธีมหลักในปีนี้มีชื่อว่า “เปิดโลก” หรือ “Open World” ตามความหมายที่ภัณฑารักษ์ ได้ให้ไว้ ซึ่งนอกเหนือจากที่มาจากบริบทของวีดีโอเกม อย่าง โอเพ่นวีดีโอเกม (Open World Video Game) เกมที่ต้องอาศัยความท้าทาย การมีตัวเลือก และมิติมากมายเพื่อให้ผู้เล่นเกมได้สัมผัสและทดลองกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวของผู้เล่น “เปิดโลก” ยังมีนัยยะความหมายแฝงอื่นๆอีกมากมาย เช่น ปัจจุบันเรามักใช้คำว่า เปิดโลก กับสิ่งที่เราเพิ่งรู้ เพิ่งเข้าใจ เพิ่งเคยเห็นเคยเจอเป็นครั้งแรกของชีวิต ทั้งก่อนหน้านี้เราอยู่ในภาวะที่ต้องปิดพรมแดน ปิดการเชื่อมต่อทางกายภาพ เพราะโรคอุบัติใหม่ แต่เรากำลังค่อยๆ เปิดการเชื่อมต่อนั้นอีกครั้ง ซึ่งเป็นโลกในยุคหลังโควิด (Post-COVID Era)

ผลงาน ชื่อ The Imperative Landscape ภายใน ‘โบสถ์ไม้’ณ ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน ของศิลปิน Zen Teh หรือเซน เท
ผลงาน ชื่อ The Imperative Landscape ภายใน ‘โบสถ์ไม้’ณ ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน ของศิลปิน Zen Teh หรือเซน เท
สำหรับธีมหลักในปีนี้มีชื่อว่า “เปิดโลก” หรือ “Open World” ตามความหมายที่ภัณฑารักษ์ ได้ให้ไว้ ซึ่งนอกเหนือจากที่มาจากบริบทของวีดีโอเกม อย่าง โอเพ่นวีดีโอเกม (Open World Video Game) เกมที่ต้องอาศัยความท้าทาย การมีตัวเลือก และมิติมากมายเพื่อให้ผู้เล่นเกมได้สัมผัสและทดลองกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวของผู้เล่น “เปิดโลก” ยังมีนัยยะความหมายแฝงอื่นๆอีกมากมาย เช่น ปัจจุบันเรามักใช้คำว่า เปิดโลก กับสิ่งที่เราเพิ่งรู้ เพิ่งเข้าใจ เพิ่งเคยเห็นเคยเจอเป็นครั้งแรกของชีวิต ทั้งก่อนหน้านี้เราอยู่ในภาวะที่ต้องปิดพรมแดน ปิดการเชื่อมต่อทางกายภาพ เพราะโรคอุบัติใหม่ แต่เรากำลังค่อยๆ เปิดการเชื่อมต่อนั้นอีกครั้ง ซึ่งเป็นโลกในยุคหลังโควิด (Post-COVID Era)
ผลงาน ที่พึ่ง (Sanctuary) เป็นงานศิลปะจัดวางเฉพาะ พื้นที่ (Site-Specific Installation) ที่ ทรงเดช ทิพย์ทอง ศิลปินชาวเชียงราย สนใจตั้งคําถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อและความ เป็นมนุษย์
ผลงาน ที่พึ่ง (Sanctuary) เป็นงานศิลปะจัดวางเฉพาะ พื้นที่ (Site-Specific Installation) ที่ ทรงเดช ทิพย์ทอง ศิลปินชาวเชียงราย สนใจตั้งคําถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อและความ เป็นมนุษย์

สำหรับศิลปินหรือผู้ที่ทำงานในแวดวงศิลปะอาจจะต้องเลือกช่วงเวลาเพื่อมาร่วมกิจกรรมที่อาจจะมีแค่บางช่วงเวลา ซึ่งมีงานที่จบลงไปแล้วอย่างเช่น งาน “บทสนทนากับดวงอาทิตย์ (A Conversation with the Sun)” เป็นงานผ่านระบบเสมือนจริง (virtual reality; VR) ของคุณอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล สร้างสรรค์ร่วมกับ คุณเรียวอิจิ ซากาโมโตะ และคุณคัตสึยะ ทานิกุจิ หรืองานใหม่เอี่ยม พาวิลเลี่ยน ที่จัด ณ ร้านหนังสือเวียงทองเก่า Point of No Concern: return to the rhizomatic state เป็นงานที่พาทุกคนไปสำรวจเส้นทางโบราณของพ่อค้าวัว ที่เดินทางไปมาตั้งแต่ตอนใต้ของประเทศจีน ผ่านประเทศพม่าและภาคเหนือของประเทศไทยในปัจจุบัน ได้มีกิจกรรมเสวนาปิดท้ายนิทรรศการไปเมื่อวันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 และนิทรรศการจะจบลงในวันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 

ผลงานชื่อ Garden of Silence (สวนแห่งความ เงียบ) ของ สนิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์ Sanitas Pradittasnee เป็นการจําลองมิติของจักรวาลในลักษณะปริภูมิ-เวลา (Space and Time) เพื่อเปิดพื่นที่ ให้คนได้หยุดคิดถึงการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง ตั้ง คําถามถึงการคงอยู่และความว่าง
ผลงานชื่อ Garden of Silence (สวนแห่งความ เงียบ) ของ สนิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์ Sanitas Pradittasnee เป็นการจําลองมิติของจักรวาลในลักษณะปริภูมิ-เวลา (Space and Time) เพื่อเปิดพื่นที่ ให้คนได้หยุดคิดถึงการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง ตั้ง คําถามถึงการคงอยู่และความว่าง

แต่สำหรับประชาชนทั่วไปผู้สนใจงานศิลปะที่มีเวลาจำกัด นอกจากมาชมงานไทยแลนด์เบียนนาเล่แล้วอยากไปชื่นชมธรรมชาติ หรือใช้เวลาทำกิจกรรมอย่างอื่นในจังหวัดเชียงรายด้วย มีเส้นทางหลักที่อยากแนะนำ ตามเส้นทางของรถบริการนำชมนิทรรศการสายสีเหลือง โดยเริ่มตั้งแต่วัดร่องขุ่น ไปจนถึงหอศิลป์ร่วมสมัยเมืองเชียงราย (Chiang Rai International Art Museum; CIAM) หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่างานไทยแลนด์เบียนนาเล่มีรถบริการนำชมนิทรรศการด้วย ซึ่งเป็นรถที่วิ่งไปมา ระหว่างสถานที่จัดนิทรรศการหลัก (main venue) ซึ่งมีทั้งหมด 6 เส้นทาง นอกจากเส้นทางสายสีเหลืองแล้ว ยังมีเส้นทางสายสีม่วง (หอศิลป์ร่วมสมัยฯ ไปพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มน้ำโขง) สายสีแดง (วัดร่องขุ่น ไปศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน) สายสีฟ้า (หอศิลป์ร่วมสมัย ไปพิพิธภัณฑ์ฯ เชียงแสน) สายสีส้ม (พิพิธภัณฑ์ฯ เชียงแสน ไปโรงเรียนบ้านแม่มะ) และสายสีเขียว (วัดร่องขุ่น ไปหอศิลปะและวัฒนธรรมอำเภอพาน) ซึ่งสามารถวางแผน และใช้บริการได้ฟรีตั้งแต่เวลา 8.30 -17.30 น.ของทุกวัน 

วัดร่องขุ่น

ทางหลวง 1208 ต.ป่าอ้อดอนชัย เปิดทุกวัน เวลา 8.00-17.00 น. (อาจมีช่วงเวลาพักกลางวัน)

นอกจากจะเยี่ยมชมความงามของวัดร่องขุ่น หรือบางคนอาจจะเรียกว่า “วัดขาว” ที่ออกแบบ และก่อสร้างโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติแล้ว ภายในวัดมีการจัดแสดงของ 2 ศิลปิน คือคุณกรกฤต อรุณานนท์ชัย ซึ่งเป็นศิลปะจัดวางและสื่อผสมที่ชวนให้ขบคิดและคุณเซอริน เซอร์ปา (Tsherin Sherpa) ศิลปินจากกาฐมาณฑุ ที่มีทั้งงานภาพวาด และประติมากรรมที่ได้แรงบันดาลใจมาจากความเชื่อและจิตวิญญาณของชาวทิเบต

ป้ายประชาสัมพันธ์ งาน คุณกรกฤต อรุณานนท์ชัย ซึ่งเป็นศิลปะจัดวางและสื่อผสม ที่วัดร่องขุ่น
ป้ายประชาสัมพันธ์ งาน คุณกรกฤต อรุณานนท์ชัย ซึ่งเป็นศิลปะจัดวางและสื่อผสม ที่วัดร่องขุ่น
และคุณเซอริน เซอร์ปา (Tsherin Sherpa) ศิลปินจากกาฐมาณฑุ ที่มีทั้งงานภาพวาด และประติมากรรมที่ได้แรงบันดาลใจมาจากความเชื่อและจิตวิญญาณของชาวทิเบต
เซอริน เซอร์ปา (Tsherin Sherpa) ศิลปินจากกาฐมาณฑุ ที่มีทั้งงานภาพวาด และประติมากรรมที่ได้แรงบันดาลใจมาจากความเชื่อและจิตวิญญาณของชาวทิเบต
เซอริน เซอร์ปา (Tsherin Sherpa) ศิลปินจากกาฐมาณฑุ ที่มีทั้งงานภาพวาด และประติมากรรมที่ได้แรงบันดาลใจมาจากความเชื่อและจิตวิญญาณของชาวทิเบต

อุทยานศิลปะวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวง (ไร่แม่ฟ้าหลวง)

ถนนป่างิ้ว ต.รอบเวียง เปิดวันอังคาร ถึงวันอาทิตย์ เวลา 8.30-16.30 น. (บางวันอาจเปิดถึง 18.00 น. โปรดสอบถามเจ้าหน้าที่) มีค่าเข้าชม

มีงานจัดแสดงของศิลปินทั้งหมด 9 ศิลปิน เริ่มตั้งแต่บริเวณสนามหน้าหอคำ จะเห็นผ้าถักโครเชต์สีแดงถูกขึงตึงไว้ด้วยไม้ไผ่และโอ่งดิน “Chantdance” เป็นงานของคุณเอิร์นเนสโต เนโต (Ernesto Neto) ศิลปินชาวบราซิล ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากวัดมุงเมือง นอกจากนี้ภายในงานโครเชต์เขายังได้ใส่ทรายและเครื่องเทศสมุนไพรของไทย เช่น ขิง ขมิ้น กระวาน ผสมมัดให้เกิดเป็นลูกทรายที่มีกลิ่น โดยแต่ละลูกจะมีกลิ่นที่ไม่เหมือนกัน ผู้ชมสามารถบีบจับ สัมผัส สูดดม กลิ่นเครื่องเทศสมุนไพรในแต่ละลูกได้ อีกทั้งใต้งานถักนี้ยังมีกลองให้ได้ลองเล่น ลองตีเพื่อให้เกิดเสียง เพื่อให้เกิดความรื่นเริงเฉกเช่นงานเฉลิมฉลอง ริโอคาร์นิวัล ในประเทศบราซิล

ภายในหอคำนอกจากได้เดินชมงานแกะสลักไม้ และงานพุทธศิลป์เก่าแก่ของภาคเหนือแล้ว จะได้ยินเสียงของเครื่องดินตรีที่มีจังหวะการตี และเป่า จากผลงานของคุณเหงียน ตรินห์ ตี (Nguyen Trinh Thi) โดยติดตั้งเครื่องสั่งการลักษณะคล้ายกังหันไว้ที่แม่น้ำโขง บริเวณชายแดนไทย-ลาวอำเภอเชียงของ เมื่อน้ำในลำน้ำโขงเกิดการเคลื่อนไหว จะส่งสัญญาณให้เครื่องดนตรีที่ถูกซ้อนไว้ในหอคำตีและเป่า เสมือนการบรรเลงเพลงโดยการประพันธ์ของลำน้ำโขงนั่นเอง ผลงานชิ้นนี้มีชื่อว่า “Sound-Less”

“Chantdance” ผลงานของคุณเอิร์นเนสโต เนโต (Ernesto Neto) ศิลปินชาวบราซิล ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากวัดมุงเมือง
“Chantdance” ผลงานของคุณเอิร์นเนสโต เนโต (Ernesto Neto) ศิลปินชาวบราซิล ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากวัดมุงเมือง

ภายในหอคำนอกจากได้เดินชมงานแกะสลักไม้ และงานพุทธศิลป์เก่าแก่ของภาคเหนือแล้ว จะได้ยินเสียงของเครื่องดินตรีที่มีจังหวะการตี และเป่า จากผลงานของคุณเหงียน ตรินห์ ตี (Nguyen Trinh Thi) โดยติดตั้งเครื่องสั่งการลักษณะคล้ายกังหันไว้ที่แม่น้ำโขง บริเวณชายแดนไทย-ลาวอำเภอเชียงของ เมื่อน้ำในลำน้ำโขงเกิดการเคลื่อนไหว จะส่งสัญญาณให้เครื่องดนตรีที่ถูกซ้อนไว้ในหอคำตีและเป่า เสมือนการบรรเลงเพลงโดยการประพันธ์ของลำน้ำโขงนั่นเอง ผลงานชิ้นนี้มีชื่อว่า “Sound-Less”

หอคำนอกจากได้เดินชมงานแกะสลักไม้ และงานพุทธศิลป์เก่าแก่ของภาคเหนือแล้ว จะได้ยินเสียงของเครื่องดินตรีที่มีจังหวะการตี และเป่า จากผลงานของคุณเหงียน ตรินห์ ตี (Nguyen Trinh Thi) ผลงานชิ้นนี้มีชื่อว่า “Sound-Less”
หอคำนอกจากได้เดินชมงานแกะสลักไม้ และงานพุทธศิลป์เก่าแก่ของภาคเหนือแล้ว จะได้ยินเสียงของเครื่องดินตรีที่มีจังหวะการตี และเป่า จากผลงานของคุณเหงียน ตรินห์ ตี (Nguyen Trinh Thi) ผลงานชิ้นนี้มีชื่อว่า “Sound-Less”

ถัดออกมาจากหอคำ บริเวณสนามหญ้าด้านข้าง ยุ้งข้าว (หรือหล่องข้าวของภาคเหนือ) ไม้สักเก่าแก่ได้ถูกนำมาฉะลุโดยสล่าเมืองให้เกิดความรู้สึก เหมือนถูกกัดกินจากปรสิต เมื่อเปิดไฟด้านในยุ้งข้าว แสงไฟจะรอดผ่านรู และลายเหล่านี้ออกมา เกิดเป็นชิ้นงาน “Inner Light-Chiang Rai Rice Bran” ซึ่งสร้างสรรค์โดยศิลปินชาวญี่ปุ่น คุณริวสุเกะ คิโดะ 

ชิ้นงาน “Inner Light-Chiang Rai Rice Bran” ซึ่งสร้างสรรค์โดยศิลปินชาวญี่ปุ่น คุณริวสุเกะ คิโดะ
ชิ้นงาน “Inner Light-Chiang Rai Rice Bran” ซึ่งสร้างสรรค์โดยศิลปินชาวญี่ปุ่น คุณริวสุเกะ คิโดะ
ยุ้งข้าว (หรือหล่องข้าวของภาคเหนือ) ไม้สักเก่าแก่ได้ถูกนำมาฉะลุโดยสล่าเมืองให้เกิดความรู้สึก เหมือนถูกกัดกินจากปรสิต เมื่อเปิดไฟด้านในยุ้งข้าว แสงไฟจะรอดผ่านรู และลายเหล่านี้ออกมา
ยุ้งข้าว (หรือหล่องข้าวของภาคเหนือ) ไม้สักเก่าแก่ได้ถูกนำมาฉะลุโดยสล่าเมืองให้เกิดความรู้สึก เหมือนถูกกัดกินจากปรสิต เมื่อเปิดไฟด้านในยุ้งข้าว แสงไฟจะรอดผ่านรู และลายเหล่านี้ออกมา

เดินไปด้านหลังหอคำ จะพบกับงานศิลปะจัดวางเสียง “The Wind Harvestor” ของ คุณทาเร็ก อาทุย (Tarek Atoui) ศิลปินและนักแต่งเพลงชาวเลบานอน อยู่ในศาลาแก้ว โดยเขาได้แรงบันดาลใจมาจากเหมืองฝายในนาข้าวในตำบลศรีดอนมูล อำเภอเชียงแสน เกิดเป็นวงจรไหลเวียนอากาศ เมื่ออากาศผ่านเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องดนตรีจากชนเผ่าลีซูและอาข่า ก็จะเกิดเป็นเสียงเพลง

ผลงานศิลปะจัดวางเสียง “The Wind Harvestor” ของ คุณทาเร็ก อาทุย (Tarek Atoui)
ผลงานศิลปะจัดวางเสียง “The Wind Harvestor” ของ คุณทาเร็ก อาทุย (Tarek Atoui)
นักท่องเที่ยวชม ผลงานศิลปะจัดวางเสียง “The Wind Harvestor” ของ คุณทาเร็ก อาทุย (Tarek Atoui)
นักท่องเที่ยวชม ผลงานศิลปะจัดวางเสียง “The Wind Harvestor” ของ คุณทาเร็ก อาทุย (Tarek Atoui)

ต่อจาศาลาแก้ว เดินเข้าไปในหอแก้ว จะพบกับงานอีกหลายชิ้น เช่น งานเจดีย์ซ้อนกัน หรือ “Open Chedi” ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากวัดอาทิต้นแก้ว อำเภอเชียงแสน ที่สะท้อนถึงอำนาจใหม่ที่กดทับอำนาจเก่า ของ คุณวุธ ลีโน (Vuth Lyno) ศิลปิน และภัณฑารักษ์จากกรุงพนมเปญ เชือกสีแดงที่มีหัวเป็นพญางู หรือนาค ที่ล้อมรอบภาพวาดของเทพีคาดรู (Kadru) ในงาน “ตะวันออกสีแดง X: โรงละครในดินแดนแห่งเทพและสัตว์ (Timur Merah Project X: Theater in The Land of God and Beast)” ของ คุณจิตรา ซาสมิตา (Citra Sasmita) ศิลปินจากบาหลี อินโดนิเชีย งานสามส่วน (“Sketch” Three Parts) ของ คุณธวัชชัย พันธุ์สวัสดิ์ เป็นการนำภาพบุคคลนั่งสมาธิ มานำเสนอในมิติพื้นที่ว่างเปล่าทั้งแกนนอนและแกนตั้ง เพื่อให้ผู้ชมได้สำรวจถึงความว่างเปล่าทั้งในภาพตรงหน้าและในตัวเอง งานคอลลาจกระดาษตัดตุงแบบเมืองเหนือผสมผสานกับแนวคิดของศิลปินชาวเกาหลีใต้ คุณแฮกู ยาง (Haegue Yang) ก็สวยงามสะดุดตา ในชื่อ “Enveloped Domestic Soul Channels – Mesmerizing Mesh #208” ผลงานที่คมที่สุดต้องยกให้กับ การนำใบมีดโกนมาประกอบเป็นรถเข็นเด็ก เตารีด ที่สะท้อนให้เห็นบทบาทของสตรีในฐานะ แม่ ภรรยา และลูกสาว ของคุณตาเยบา เบกัม ลิปี (Tayeba Begum Tipi) ศิลปินหญิงจากเมืองธากา บังกลาเทศ พร้อมกับงานปักผ้าเป็นอวัยวะต่างๆ และสิ่งที่เธอได้พบเจอในจังหวัดเชียงราย โดยได้กลุ่มอาชีพผ้าปักด้วยมือ บ้านสันกอง มาร่วมปักผ้า ภายใต้งานที่ชื่อว่า “In The Same Vein”

งานเจดีย์ซ้อนกัน หรือ “Open Chedi” ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากวัดอาทิต้นแก้ว อำเภอเชียงแสน ที่สะท้อนถึงอำนาจใหม่ที่กดทับอำนาจเก่า ของ คุณวุธ ลีโน (Vuth Lyno) ศิลปิน และภัณฑารักษ์จากกรุงพนมเปญ
งานเจดีย์ซ้อนกัน หรือ “Open Chedi” ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากวัดอาทิต้นแก้ว อำเภอเชียงแสน ที่สะท้อนถึงอำนาจใหม่ที่กดทับอำนาจเก่า ของ คุณวุธ ลีโน (Vuth Lyno) ศิลปิน และภัณฑารักษ์จากกรุงพนมเปญ
เชือกสีแดงที่มีหัวเป็นพญางู หรือนาค ที่ล้อมรอบภาพวาดของเทพีคาดรู (Kadru) ในงาน “ตะวันออกสีแดง X: โรงละครในดินแดนแห่งเทพและสัตว์ (Timur Merah Project X: Theater in The Land of God and Beast)” ของ คุณจิตรา ซาสมิตา (Citra Sasmita) ศิลปินจากบาหลี อินโดนิเชีย งานสามส่วน (“Sketch” Three Parts) ของ คุณธวัชชัย พันธุ์สวัสดิ์ เป็นการนำภาพบุคคลนั่งสมาธิ มานำเสนอในมิติพื้นที่ว่างเปล่าทั้งแกนนอนและแกนตั้ง เพื่อให้ผู้ชมได้สำรวจถึงความว่างเปล่าทั้งในภาพตรงหน้าและในตัวเอง งานคอลลาจกระดาษตัดตุงแบบเมืองเหนือผสมผสานกับแนวคิดของศิลปินชาวเกาหลีใต้ คุณแฮกู ยาง (Haegue Yang) ก็สวยงามสะดุดตา ในชื่อ “Enveloped Domestic Soul Channels – Mesmerizing Mesh #208” ผลงานที่คมที่สุดต้องยกให้กับ การนำใบมีดโกนมาประกอบเป็นรถเข็นเด็ก เตารีด ที่สะท้อนให้เห็นบทบาทของสตรีในฐานะ แม่ ภรรยา และลูกสาว ของคุณตาเยบา เบกัม ลิปี (Tayeba Begum Tipi) ศิลปินหญิงจากเมืองธากา บังกลาเทศ พร้อมกับงานปักผ้าเป็นอวัยวะต่างๆ และสิ่งที่เธอได้พบเจอในจังหวัดเชียงราย โดยได้กลุ่มอาชีพผ้าปักด้วยมือ บ้านสันกอง มาร่วมปักผ้า ภายใต้งานที่ชื่อว่า “In The Same Vein”
“Enveloped Domestic Soul Channels – Mesmerizing Mesh #208” งานคอลลาจกระดาษตัดตุงแบบเมืองเหนือผสมผสานกับแนวคิดของศิลปินชาวเกาหลีใต้ คุณแฮกู ยาง (Haegue Yang)
“Enveloped Domestic Soul Channels – Mesmerizing Mesh #208” งานคอลลาจกระดาษตัดตุงแบบเมืองเหนือผสมผสานกับแนวคิดของศิลปินชาวเกาหลีใต้ คุณแฮกู ยาง (Haegue Yang)

ถ้ามีเวลามากพอ ลองเดินชมพันธุ์ไม้นานาพรรณที่เขียวชะอุ่มเต็มอุทยาน เพราะระหว่างที่เราเดินชมงานอยู่นั้น ชาวต่างชาติก็พยายามมองหาต้นกำเนินของกลิ่นหอมที่เขาได้กลิ่น ก่อนที่จะมีเจ้าหน้าที่ภายในงานมาเฉลยว่า คือกลิ่นหอมของดอกไม้ทางภาคเหนือของไทยนั่นเอง 

โกดังยาสูบ

สำนักงานยาสูบเชียงราย ถนนธนาลัย ต.เวียง เปิดทุกวัน เวลา 9.00-18.00 น.

เมื่อเดินเข้าไปในบริเวณด้านหน้าโกดัง จะเห็นลำโพงจำนวนมากถูกวางไว้บนพื้น ซึ่งเป็นผลงานของคุณอาร์โต ลินด์เซย์ (Arto Lindsay) ซึ่งมีขนาดเท่ากับจตุรัสเล็กๆ ที่บราซิล ซึ่งเป็นประเทศเกิดของเขา (นอกจากนี้ยังมีงานของเขาอีกงานในโกดังอีกด้วย) ข้างๆกันนั้นมีสวนหย่อมที่เราไม่รู้เลยว่านั่นคืองานศิลปะหรือสวนหย่อมที่มีมาแต่เดิมแล้ว เป็นผลงานของคุณมาเรีย เทเรซา อัลเวซ (Maria Thereza Alves) ที่นอกจากสวนหย่อม “Curing Dismembered Knowledges” ยังมีผลงานสติ๊กเกอร์บนแผ่นไม้อัดทำสีขนาดใหญ่บนผนังใหญ่ทางเข้าโกดัง โดยข้อความเหล่านั้นคือชื่อพืชพรรณสมุนไพรที่พบเจอและถูกรวบรวมไว้บริเวณลุ่มน้ำกกในช่วงศตวรรษที่ 17 ถึง 20 โดยมีทั้งชื่อภาษาไทย และชื่อวิทยาศาสตร์เป็นจำนวนมาก

บริเวณด้านหน้าโกดังยาสูบ ลำโพงจำนวนมากถูกวางไว้บนพื้น ซึ่งเป็นผลงานของคุณอาร์โต ลินด์เซย์ (Arto Lindsay) ซึ่งมีขนาดเท่ากับจตุรัสเล็กๆ ที่บราซิล
บริเวณด้านหน้าโกดังยาสูบ ลำโพงจำนวนมากถูกวางไว้บนพื้น ซึ่งเป็นผลงานของคุณอาร์โต ลินด์เซย์ (Arto Lindsay) ซึ่งมีขนาดเท่ากับจตุรัสเล็กๆ ที่บราซิล

ถัดเข้าไปในโกดัง มีว่าวคนขนาดเท่าตัวจริงแขวนไว้เต็มผนังใหญ่ โดยชิมาบุกุ (Shimabuku) ศิลปินชาวญี่ปุ่น ซึ่งได้เชิญชวนผู้คนในชุมชน และผู้ร่วมนิทรรศการมาร่วมผลิตชิ้นงานด้วยกัน ในชื่อ “Flying People” หรือ “We are flying” รวมทั้งมีวีดีทัศน์การเล่นว่าวคนวางแสดงภายในงานด้วย 

ว่าวคนขนาดเท่าตัวจริงแขวนไว้เต็มผนังใหญ่ โดยชิมาบุกุ (Shimabuku) ศิลปินชาวญี่ปุ่น ซึ่งได้เชิญชวนผู้คนในชุมชน และผู้ร่วมนิทรรศการมาร่วมผลิตชิ้นงานด้วยกัน
ว่าวคนขนาดเท่าตัวจริงแขวนไว้เต็มผนังใหญ่ โดยชิมาบุกุ (Shimabuku) ศิลปินชาวญี่ปุ่น ซึ่งได้เชิญชวนผู้คนในชุมชน และผู้ร่วมนิทรรศการมาร่วมผลิตชิ้นงานด้วยกัน
ผลงาน We are flying โดยชิมาบุกุ หรือ Shimabuku ศิลปินชาวญี่ปุ่นจากยุค 90 ผู้ที่มักสร้างงานเพื่อพูดถึงวัฒนธรรมต่าง ๆ และสิ่งที่พบเจอได้ในชีวิตประจำวัน
ผลงาน We are flying โดยชิมาบุกุ หรือ Shimabuku ศิลปินชาวญี่ปุ่นจากยุค 90 ผู้ที่มักสร้างงานเพื่อพูดถึงวัฒนธรรมต่าง ๆ และสิ่งที่พบเจอได้ในชีวิตประจำวัน

งานที่น่าสนใจอีกงาน เป็นการนำพลาสติกจากถุงพลาสติกใช้แล้วมาต่อกันโดยใช้เทปกาวให้เกิดเป็นเหมือนบอลลูนขนาดใหญ่ ซึ่งขณะแสดงงานนั้น ผู้ร่วมชมสามารถเขียนข้อความอะไรลงไปบนบอลลูนยักษ์ก็ได้ เป็นผลงานของคุณโทมัส ซาราเซโน (Tomas Saraceno) และวันที่ 30 เมษายน ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของไทยแลนด์เบียนนาเล่ บอลลูนลูกนี้จะถูกลอยขึ้นไปบนฟ้า เป็นเหมือนประติมากรรมลอยฟ้า ภายใต้ชื่อ “Museo Aero Solar” 

“Museo Aero Solar” บอลลูนยักษ์พลาสติก ผลงานของคุณโทมัส ซาราเซโน (Tomas Saraceno)
“Museo Aero Solar” บอลลูนยักษ์พลาสติก ผลงานของคุณโทมัส ซาราเซโน (Tomas Saraceno)
ภายใน “Museo Aero Solar” บอลลูนยักษ์พลาสติก ผลงานของคุณโทมัส ซาราเซโน (Tomas Saraceno)
ภายใน “Museo Aero Solar” บอลลูนยักษ์พลาสติก ผลงานของคุณโทมัส ซาราเซโน (Tomas Saraceno)

ด้านนอกบริเวณลานจอดรถ จะเห็นผนังปูนสีสันสดใสซึ่งเป็นผลงานของศิลปินชาวกานา คุณอัททา ความิ (Atta Kwami) โดยใช้สีสันและลวดลายผสมผสานรูปทรงทางสถาปัตยกรรมและลายผ้าเคนเต้ (kente) ที่ชาวเอวาและชาวเอแซนเตในกานาสวมใส่นั่นเอง 

ผลงาน Dzidzɔ kple amenuveve (Joy and Grace, 2021-22) ของศิลปินชาวกานา อัททา ความิ (Atta Kwami)
ผลงาน Dzidzɔ kple amenuveve (Joy and Grace, 2021-22) ของศิลปินชาวกานา อัททา ความิ (Atta Kwami)

ศาลากลางจังหวัดเชียงราย (หลังเก่า)

ถนนสิงหไคล ต.เวียง เปิดทุกวัน

อาคารก่ออิฐถือปูนขนาด 3 ชั้น สไตล์โคโลเนียล หลังคาทรงปั้นหยา ที่ครั้งหนึ่งเคยทำหน้าที่เป็นที่ทำการของรัฐ ได้ถูกปลดระวางลงและขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานกรมศิลปากร กำลังได้รับการปรับปรุงเพื่อเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์ภาพเชียงราย 

Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ครั้งนี้ โบราณสถานอายุกว่าร้อยปีได้ถูก สร้างสรรค์ให้กลายเป็นส่วนหนึ่งกับงานศิลปะบนผืนผ้าของไมเคิล ลิน ศิลปิน ชื่อดังจากไทเป เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์และความหลากหลาย ของภูมิภาค
Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ครั้งนี้ โบราณสถานอายุกว่าร้อยปีได้ถูก สร้างสรรค์ให้กลายเป็นส่วนหนึ่งกับงานศิลปะบนผืนผ้าของไมเคิล ลิน ศิลปิน ชื่อดังจากไทเป เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์และความหลากหลาย ของภูมิภาค

คุณไมเคิล ลิน (Michael Lin) ได้หยิบยืมบริเวณด้านหน้าอาคารศาลากลางเก่าทั้งหลังนี้มาบรรเลงและรังสรรค์ชิ้นงานที่ได้แรงบันดาลใจมาจากลายผ้าของชาวเขาในบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ ในชื่อผลงานว่า “weekend” นอกจากงานของคุณไมเคิล ลินแล้ว ยังมีบริการรถฉายหนัง “เฉลิมทัศน์” จอดบริการให้ผู้สนใจสามารถเข้าชมภาพยนตร์บนรถได้ตามรอบที่กำหนดอีกด้วย 

ผลงานชื่อ “weekend” โดย ไมเคิล ลิน (Michael Lin)
ผลงานชื่อ “weekend” โดย ไมเคิล ลิน (Michael Lin)
นอกจากงานของคุณไมเคิล ลินแล้ว ยังมีบริการรถฉายหนัง “เฉลิมทัศน์” จอดบริการให้ผู้สนใจสามารถเข้าชมภาพยนตร์บนรถได้ตามรอบที่กำหนดอีกด้วย
รถฉายหนัง “เฉลิมทัศน์” จอดบริการให้ผู้สนใจเข้าชมภาพยนตร์บนรถ
รถฉายหนัง “เฉลิมทัศน์” จอดบริการให้ผู้สนใจเข้าชมภาพยนตร์บนรถ

บ้านสิงหไคล มูลนิธิมดชนะภัย

ถนนสิงหไคล ต.เวียง เปิดวันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 10.00-17.00 น. (เปิดระหว่างวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2566-28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567) 

เครื่องฉายวีดีทัศน์ บนจอกรวย ของคุณมาเอดะ โคเฮ ในผลงาน Breathing
เครื่องฉายวีดีทัศน์ บนจอกรวย ของคุณมาเอดะ โคเฮ ในผลงาน Breathing

เป็นอีกหนึ่งพาวิลเลี่ยนที่น่าสนใจ ภายใต้โปรดักชั่นโซเมีย และอยู่ในเส้นทางของรถสายสีเหลือง มีร้านกาแฟเล็กๆ ด้านล่างของอาคาร สามารถแวะพักก่อนจะเริ่มกิจกรรมต่อ บริเวณด้านบนจัดนิทรรศการชื่อ “Zomia in The Cloud” ซึ่งเป็นงานที่รวมศิลปินที่หลากหลายทั้งประเทศไทย ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ และญี่ปุ่น เช่น คุณทิธ คณิฐา, คุณชเว วุด มน, คุณอ่อง เมียต เธ และคุณมาเอดะ โคเฮ เป็นต้น เป็นงานที่พูดถึง โซเมีย (zomia) กลุ่มคนชายขอบ ชนกลุ่มน้อย ผู้ลี้ภัย ที่ถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นภาพวาด ภาพถ่าย ภาพพิมพ์ งานจัดวางสื่อผสม และวีดีทัศน์จัดวาง (เสียดายที่เครื่องฉายวีดีทัศน์ บนจอกรวย ของคุณมาเอดะ โคเฮ ในผลงาน Breathing เสียไป เราจึงไม่มีโอกาสได้ชมวีดีทัศน์ในห้องใต้หลังคานั้น) แต่งานอื่นๆ ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน  

นิทรรศการชื่อ “Zomia in The Cloud”
นิทรรศการชื่อ “Zomia in The Cloud”
เป็นงานที่พูดถึง โซเมีย (zomia) กลุ่มคนชายขอบ ชนกลุ่มน้อย ผู้ลี้ภัย ที่ถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นภาพวาด ภาพถ่าย ภาพพิมพ์ งานจัดวางสื่อผสม และวีดีทัศน์จัดวาง (เสียดายที่เครื่องฉายวีดีทัศน์ บนจอกรวย ของคุณมาเอดะ โคเฮ ในผลงาน Breathing เสียไป เราจึงไม่มีโอกาสได้ชมวีดีทัศน์ในห้องใต้หลังคานั้น) แต่งานอื่นๆ ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน
ผลงานในนิทรรศการชื่อ “Zomia in The Cloud”
ผลงานในนิทรรศการชื่อ “Zomia in The Cloud”

ห้องสมุดรถไฟเชียงราย

ตรงข้ามโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ถนนหน้าสนามกีฬา เปิดวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.00-16.30 น. และวันเสาร์เวลา 9.00-16.00 น. 

ห้องสมุดรถไฟเชียงรายดำเนินการจัดตั้งโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ผ่านการประยุกต์ดัดแปลงโบกี้รถไฟ และนำหนังสือในหมวดหมู่ต่างๆ มาจัดเรียง อย่างเป็นระเบียบไว้ในโบกี้ต่างๆ โดยเปิดให้บริการมาตั้งแต่พ.ศ. 2553
ห้องสมุดรถไฟเชียงรายดำเนินการจัดตั้งโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ผ่านการประยุกต์ดัดแปลงโบกี้รถไฟ และนำหนังสือในหมวดหมู่ต่างๆ มาจัดเรียง อย่างเป็นระเบียบไว้ในโบกี้ต่างๆ โดยเปิดให้บริการมาตั้งแต่พ.ศ. 2553

ด้วยสถานที่ เป็นรถไฟเก่าสีฟ้าจำนวนไม่กี่โบกี้ ถูกดัดแปลงเป็นห้องสมุดเล็กๆ ภายในห้องสมุดนี้ มีงานจัดแสดงทั้งรูปถ่ายไมโครพลาสติก ด้วยกล้องจุลทรรศน์ รูปถ่ายของผู้คนถือกระจกสะท้อนแสงอาทิตย์ กระทบเลนส์กล้องของศิลปินชาวเชียงราย คุณทรงเดช ทิพย์ทอง ชื่อผลงาน “anonymity” และงานวีดีทัศน์ ผืนน้ำจากโรงบำบัดน้ำเสีย สะท้อนแสงอาทิตย์ ชื่อ “every water is an island (Chiang Rai)’ ทั้ง 2 ชิ้นงานเป็นผลงานของคุณโปกล็อง อะนาดิง (Poklong Anading) ศิลปินชาวฟิลิปปินส์ ความน่ารักของสถานที่จัดนิทรรศการนี้อีกอย่างคือ มีมุมที่นำชิ้นงานมาจัดแสดง และผู้ชมสามารถนำผลงานไปชื่นชมที่บ้านได้ แต่จะต้องมีสิ่งของ (ไม่จำเป็นต้องเป็นงานศิลปะ) มาวางแทนชิ้นงานที่ผู้ชมนำไป เป็นการแบ่งปันและสร้างปฏิสัมพันธ์ต่อกัน

รูปถ่ายของผู้คนถือกระจกสะท้อนแสงอาทิตย์ กระทบเลนส์กล้องของศิลปินชาวเชียงราย คุณทรงเดช ทิพย์ทอง ชื่อผลงาน “anonymity”
รูปถ่ายของผู้คนถือกระจกสะท้อนแสงอาทิตย์ กระทบเลนส์กล้องของศิลปินชาวเชียงราย คุณทรงเดช ทิพย์ทอง ชื่อผลงาน “anonymity”
ความน่ารักของสถานที่จัดนิทรรศการนี้อีกอย่างคือ มีมุมที่นำชิ้นงานมาจัดแสดง และผู้ชมสามารถนำผลงานไปชื่นชมที่บ้านได้ แต่จะต้องมีสิ่งของ (ไม่จำเป็นต้องเป็นงานศิลปะ) มาวางแทนชิ้นงานที่ผู้ชมนำไป เป็นการแบ่งปันและสร้างปฏิสัมพันธ์ต่อกัน
ห้องสมุดรถไฟเชียงรายจัดแสดงผลงานของศิลปิน: โปกล็อง อะนาดิง
ห้องสมุดรถไฟเชียงรายจัดแสดงผลงานของศิลปิน: โปกล็อง อะนาดิง

หอศิลป์ร่วมสมัยเมืองเชียงราย (Chiang Rai International Art Museum; CIAM)

ระหว่างถนนพหลโยธิน กับ ถนนเวียงบูรพา ใกล้สนามบินแม่ฟ้าหลวง เปิดทุกวัน เวลา 9.00-18.00 น. 

เราแนะนำให้มาเป็นสถานที่สุดท้าย เพราะนอกจากจะได้ชมงานศิลปะในตัวอาคาร ที่มีทั้งงานภาพถ่าย ภาพวาด ภาพพิมพ์ ศิลปะจัดวาง ของหลากหลายศิลปิน ไม่ว่าจะคุณแฮกู ยาง (ที่ได้กล่าวถึงผลงานงานจัดแสดงในอุทยานศิลปะวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวง), คุณอัลมากุล เมนลิบาเยวา (Almagul Menlibayeva), คุณมาเรีย ฮาซซาบิ (Maria Hassabi), คุณโมวานา เฉิน (Movana Chen), คุณปีแอร์ ฮุยจ์ (Pierre Huyghe), คุณซาราห์ เซ (Sarah Sze), คุณซิน หลิว (Xin Liu) และคุณโหกูดูร์ ยอนดอนแจมตส์ (Tuguldur Yondonjames) 

หอศิลป์ร่วมสมัยเมืองเชียงราย พื้นที่ศิลปะแห่งใหม่โดยชาวเชียงราย
หอศิลป์ร่วมสมัยเมืองเชียงราย พื้นที่ศิลปะแห่งใหม่โดยชาวเชียงราย

เมื่อชมงานภายในอาคารจนถึงเวลาปิดทำการแล้ว แนะนำว่าช่วงเวลาอาทิตย์ตกดิน ควรเดินชมงาน “Between Roof and Floor” ซึ่งเป็นอาคารแกลเลอรี่กลางทุ่งนาที่ออกแบบโดยกลุ่มสถาปนิกและนักออกแบบที่นำโดย คุณรชพร ชูช่วย ในนามกลุ่ม ออล(โซน) หรือ all (zone) ซึ่งมีงานจัดแสดงของคุณพรีเวียส โอโคโยมอน (Precious Okoyomon) ที่ชื่อ “A Blue Instant, a Forward Looking Sky” อยู่ภายในอาคาร ถัดจากนั้นเป็นอีกงานถ้าไม่สังเกตดีๆ อาจะไม่รู้ว่ามีการจัดนิทรรศการอยู่ เพราะเป็นห้องที่ ‘จม’ อยู่ในท้องนา ซึ่งจะต้องเดินลงบันไดไป ภายในห้องประกอบไปด้วยกล่องขนาด 10 x 10 เซนติเมตร และปลากระป๋องจากหลากหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งงานมีชื่อเป็นภาษาไทยว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ “Nai Nam Mee Pla Nai Na Mee Khao – In the water there is fish, in the field there is rice” ผลงานของคุณโทเบียส เรห์แบร์เกอร์ (Tobiak Rehberger) เดินต่อมาอีกนิดจะมีโรงแสดงงานกลางแจ้ง ซึ่งสร้างจากไม้ซุงเก่า ผลงานคุณสมลักษณ์ ปันติบุญศิลปินชาวเชียงราย ที่ได้แรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมภาคเหนือ และภายในโรงแสดงงานนี้มีงานแสดงของศิลปินชาวเชียงรายท่านอื่นๆ อีกด้วย

โรงแสดงงานกลางแจ้ง ซึ่งสร้างจากไม้ซุงเก่า ผลงานคุณสมลักษณ์ ปันติบุญ ศิลปินชาวเชียงราย
โรงแสดงงานกลางแจ้ง ซึ่งสร้างจากไม้ซุงเก่า ผลงานคุณสมลักษณ์ ปันติบุญ ศิลปินชาวเชียงราย
ถัดจากนั้นเป็นอีกงานถ้าไม่สังเกตดีๆ อาจะไม่รู้ว่ามีการจัดนิทรรศการอยู่ เพราะเป็นห้องที่ ‘จม’ อยู่ในท้องนา ซึ่งจะต้องเดินลงบันไดไป ภายในห้องประกอบไปด้วยกล่องขนาด 10 x 10 เซนติเมตร และปลากระป๋องจากหลากหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งงานมีชื่อเป็นภาษาไทยว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ “Nai Nam Mee Pla Nai Na Mee Khao – In the water there is fish, in the field there is rice” ผลงานของคุณโทเบียส เรห์แบร์เกอร์ (Tobiak Rehberger) เดินต่อมาอีกนิดจะมีโรงแสดงงานกลางแจ้ง ซึ่งสร้างจากไม้ซุงเก่า ผลงานคุณสมลักษณ์ ปันติบุญศิลปินชาวเชียงราย ที่ได้แรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมภาคเหนือ และภายในโรงแสดงงานนี้มีงานแสดงของศิลปินชาวเชียงรายท่านอื่นๆ อีกด้วย
ผลงาน“ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” โดยคุณโทเบียส เรห์แบร์เกอร์ (Tobiak Rehberger)
ผลงาน“ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” โดยคุณโทเบียส เรห์แบร์เกอร์ (Tobiak Rehberger)

อีกหนึ่งสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ ถือเป็นแลนด์มาร์คที่สำคัญอีกงานนึงสำหรับไทยแลนด์เบียนนาเล่ เป็นอาคารไม้ไผ่อันเป็นผลงานร่วมกันระหว่างศิลปิน คุณหวัง เหวิน จื้อ (Wang Wen-Chih) ศิลปินชาวไต้หวัน และสล่าท้องถิ่น ซึ่งสามารถเดินเข้าไปภายในอาคารไม้ไผ่นี้ได้ เพื่อสำรวจพื้นที่จากภายนอกสู่ภายใน และจากภายในสู่ภายนอก โดยจะมีหน้าต่างรูปทรงเรขาคณิตหลากหลายให้ได้มองผ่าน ตัวอาคารตัดกับแสงไฟ และแสงของอาทิตย์ตกดิน เป็นบรรยากาศที่อยากชวนให้ทุกท่านได้ลองไปสัมผัส 

อาคารไม้ไผ่ Beyond the Site, 2023 โดย คุณหวัง เหวิน จื้อ (Wang Wen-Chih) ศิลปินชาวไต้หวัน และสล่าท้องถิ่น
อาคารไม้ไผ่ Beyond the Site, 2023 โดย คุณหวัง เหวิน จื้อ (Wang Wen-Chih) ศิลปินชาวไต้หวัน และสล่าท้องถิ่น
หน้าต่างรูปทรงเรขาคณิตหลากหลายให้ได้มองผ่าน เพื่อสำรวจพื้นที่จากภายในสู่ภายนอก และจากภายนอกสู่ภายใน
หน้าต่างรูปทรงเรขาคณิตหลากหลายให้ได้มองผ่าน เพื่อสำรวจพื้นที่จากภายในสู่ภายนอก และจากภายนอกสู่ภายใน

นอกจากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดยังมีงานอื่น ๆ ตามสถานที่ต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงรายอีกมากที่ถ้าใครมีเวลา หรือสนใจลองหาเวลามาสัมผัส มาเปิดโลก เปิดประสบการณ์ดูสักครั้ง ก่อนที่งานครั้งนี้จะจบลง หรืออาจจะต้องรออีก 2 ปี เพื่อไปชมนิทรรศการไทยแลนด์เบียนนาเล่ 2025 ที่จังหวัดภูเก็ต

อีกหนึ่งสิ่งที่ประทับใจ นอกจากสถานที่ ชิ้นงานที่จัดแสดงแล้ว ก็คือ การเล่าถึงชิ้นงาน จากวิทยากรอาสาสมัครต่างวัย หรือ docent ภายในงาน ที่นอกจากเปลี่ยนบรรยากาศการชมชิ้นงานแบบแห้งๆให้มีสีสัน มีชีวิตชีวาขึ้นมา (เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ได้เตรียมตัวมา หรือไม่ชอบอ่านคำอธิบาย) นับว่านอกจากงานไทยแลนด์เบียนนาเล่ในครั้งนี้จะช่วยเชื่อมต่อระหว่างศิลปินนานาชาติและศิลปินไทยแล้ว ยังเชื่อมต่อระหว่างศิลปินและผู้ร่วมชมศิลปะ โดยมีวิทยากรท้องถิ่นอาสาสมัครเป็นผู้เชื่อมต่อ นอกจากผู้ชมจะได้รู้ข้อมูลของชิ้นงานแล้ว ยังได้ข้อมูลของสถานที่จัดนิทรรศการ หรือสิ่งที่เชื่อมโยงกับชิ้นงาน ตัวงานอื่นๆอีกด้วย สร้างความภาคภูมิใจให้กับ docent เหล่านั้นที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม เป็นเจ้าบ้านคอยต้อนรับผู้มาเที่ยวชม

เชื่อว่างานไทยแลนด์เบียนนาเล่ครั้งนี้น่าจะบรรลุวัตถุประสงค์ในทุกๆ ข้อ รวมทั้งการปลูกฝังให้ประชาชนได้เห็นถึงความสำคัญของงานศิลปะ กับวัฒนธรรมในท้องถิ่นอีกด้วย

Story: Somjing Roongjang
Photos: Kitti Bowonphatnon  

Share