Art & Lifestyle

Faith Can Make The Mountains Move

ในบรรดาสถานที่ท่องเที่ยวที่ฉันเดินทางไปเยือน ฉันเห็นการสร้างงานที่เกิดขึ้นจากความเชื่อและความศรัทธาในรูปแบบที่แตกต่างกันมากมาย ทั้งที่แสดงออกทางงานศิลปะ เป็นสถาปัตยกรรม จิตรกรรม หรือประติมากรรม หรือแสดงออกด้วยตัวบุคคล โดยเฉพาะความเชื่อทางศาสนา

นอกจากการสร้างงานเพื่ออุทิศให้กับความเชื่อเหล่านี้ ฉันยังเห็นความพยายามที่จะลบล้างความเชื่อเก่าด้วยความเชื่อใหม่หรือความเชื่อของตน เมื่อฟาโรห์องค์ใหม่ขึ้นครองอำนาจ ชื่อขององค์เก่าก็ถูกลบทิ้ง เมื่อพระเจ้าองค์ใหม่เกิดขึ้น พระเจ้าองค์เก่าก็อาจจะถูกลืมเลือน บางศาสนามีรากเดียวกัน พระเจ้าองค์เดียวกัน แต่มีชื่อเรียกที่ต่างกัน สงครามหลายๆ ที่ในโลกก็เกิดจากความเชื่อที่แตกต่างกัน เมื่อสเปนเข้ารุกรานอารยธรรมท้องถิ่น มายา แอซเท็ค หรือ อินคา พวกเขาก็ทำลายความเชื่อเก่าด้วยการทำลายศาสนสถานและสร้างโบสถ์ของตนเองทับขึ้นไปด้านบนเพื่อสร้างศรัทธาใหม่

สิ่งเหล่านี้ทำให้ฉันทึ่ง-ทึ่งในความเพียรพยายาม ความทุ่มเท และแน่นอนความศรัทธา และที่น่าทึ่งขึ้นไปอีก คือความศรัทธานี้เกิดกับทุกศาสนาเท่าเทียมกัน และในบรรดาความศรัทธาที่ฉันค้นพบ กลุ่มโบราณสถานที่เรียกว่า Rock Cut คือหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ที่มนุษย์จะสามารถสร้างขึ้นได้ โบราณสถานแบบ Rock Cut หรือการสลักหน้าผาหินนี้ มีมาเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยอียิปต์เมื่อสามพันปีที่ผ่านมา ในตะวันออกกลางก็มีหลายที่แต่ส่วนใหญ่จะสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ฝังพระศพและศพมากกว่าจะเป็นเรื่องทางศาสนา เช่นเมืองโบราณเพตราในจอร์แดน หลุมพระศพกษัตริย์ในอิหร่าน หรือในอิสราเอล การสลักหินเพื่ออุทิศให้ศาสนาเกิดขึ้นในประเทศแถบเอเชียเป็นส่วนใหญ่ โดยจะเป็นการสลักหินเข้าไปเป็นพระพุทธรูปเกือบลอยตัวขนาดใหญ่ เช่น พระพุทธรูปแห่งบามียานที่อัฟกานิสถานซึ่งโดนตอลีบันระเบิดทิ้งไปเสียแล้ว หรือพระพุทธรูปเล่อซานในเมืองเฉิงตูที่สร้างในราชวงศ์ถัง ที่ถ้ำคัวคชา อูบุด เป็นวัดที่สร้างโดยการเจาะภูเขาเข้าไป ภายในถ้ำเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาฮินดู เช่นเดียวกับที่ศรีลังกา ที่อุทิศให้ศาสนาพุทธ

อาบู ซิมเบล อียิปต์ 1,300 ปีก่อนคริสตกาล

วิหารอาบู ซิมเบล อียิปต์
วิหารอาบู ซิมเบล อียิปต์

สถานที่แรกที่นำพาให้ฉันรู้จักความมหัศจรรย์นี้คือ โบราณสถานอาบู ซิมเบล ซึ่งเก่าแก่กว่าสามพันปี อยู่ในเขตเมืองอัสวาน (Aswan)​ ทางใต้เกือบจะสุดประเทศอียิปต์ติดกับประเทศซูดาน สร้างขึ้นโดยฟาโรห์รามเสสที่ 2 กษัตริย์อียิปต์ผู้ยิ่งใหญ่และครองราชย์ยาวนานที่สุดองค์หนึ่งในสมัยราชวงศ์ใหม่ (New Kingdom) ความยิ่งใหญ่ตระการตาของอาบู ซิมเบลประกอบด้วยวิหารสองหลัง วิหารใหญ่ คือวิหารของฟาโรห์รามเสสที่ 2 ที่สร้างอุทิศถวายเทพ แห่งพระอาทิตย์ Ra-Herakhte (เป็นเทพที่ผสมระหว่าง เทพราและฮอรัส ส่วนใหญ่จะมีพระเศียรเป็นเหยี่ยว) ด้านหน้าวิหารมีรูปสลักขนาดใหญ่ของพระองค์เองประทับนั่งอยู่ 4 รูป รูปสลักนี้สูงถึง 20 เมตร ด้านล่างสลักรูปครอบครัวของพระองค์ ไม่ว่าจะเป็นพระมารดา Mut-tuy , มเหสี Nefertari , และบรรดาพระโอรส ธิดา (ฟาโรห์องค์นี้มีพระโอรสพระธิดาเยอะมาก ประมาณร้อยองค์ได้) ด้านในสกัดหินออกเป็นห้องโถงใหญ่ มีเสาหิน ที่สลักรูปปั้นรามเสสในรูปของเทพโอสิริสอยู่แปดองค์ รูปสลักนูนสูงรอบๆห้อง แสดงถึงเหตูการณ์ต่างๆ เช่น การรบกับพวกฮิคไตต์ (ในซีเรีย) แต่ส่วนที่สำคัญที่สุดคือ ห้องด้านในสุด ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด มีรูปสลัก 4 รูปของ Ra-Herakhte, ฟาโรห์รามเสสที่ 2, เทพอามุนรา และเทพพทาห์ ที่มหัศจรรย์คือการออกแบบของคนโบราณที่คำนวณให้ทุกปีในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นวันประสูติขององค์ฟาโรห์ และวันที่ 21 ตุลาคม วันที่ขึ้นครองราชย์ แสงอาทิตย์จะฉายแสงตรงเข้าไปถึงห้องด้านในนี้ โดยส่องไปบนรูปเทพ Ra-Herakhte ก่อน แล้วเคลื่อนไปที่รูปรามเสส และเทพอามุนราตามลำดับ ส่วนเทพพทาห์นั้น พระอาทิตย์ไม่เคยส่องไปถึง (ฉันคิดเอา เองว่าอาจจะเป็นเพราะพทาห์เป็นเทพแห่งพระอาทิตย์ช่วงลับขอบฟ้าตอนเย็น)

รูปสลักฟาโรห์รามเสสและพระมเหสีตระหง่านหน้าทางเข้าวิหารใหญ่
รูปสลักฟาโรห์รามเสสและพระมเหสีตระหง่านหน้าทางเข้าวิหารใหญ่

ด้านในสกัดหินออกเป็นห้องโถงใหญ่ มีเสาหิน ที่สลักรูปปั้นรามเสสในรูปของเทพโอสิริสอยู่แปดองค์ รูปสลักนูนสูงรอบๆห้อง แสดงถึงเหตูการณ์ต่างๆ เช่น การรบกับพวกฮิคไตต์ (ในซีเรีย) แต่ส่วนที่สำคัญที่สุดคือ ห้องด้านในสุด ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด มีรูปสลัก 4 รูปของ Ra-Herakhte, ฟาโรห์รามเสสที่ 2, เทพอามุนรา และเทพพทาห์ ที่มหัศจรรย์คือการออกแบบของคนโบราณที่คำนวณให้ทุกปีในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นวันประสูติขององค์ฟาโรห์ และวันที่ 21 ตุลาคม วันที่ขึ้นครองราชย์ แสงอาทิตย์จะฉายแสงตรงเข้าไปถึงห้องด้านในนี้ โดยส่องไปบนรูปเทพ Ra-Herakhte ก่อน แล้วเคลื่อนไปที่รูปรามเสส และเทพอามุนราตามลำดับ ส่วนเทพพทาห์นั้น พระอาทิตย์ไม่เคยส่องไปถึง (ฉันคิดเอา เองว่าอาจจะเป็นเพราะพทาห์เป็นเทพแห่งพระอาทิตย์ช่วงลับขอบฟ้าตอนเย็น)

รูปสลักด้านในวิหารใหญ่
รูปสลักด้านในวิหารใหญ่

นอกจากนี้ที่พิเศษคือทรงสร้างวิหารให้พระนางเนเฟอร์ตารีพระมเหสีอันเป็นที่รักไว้คู่กัน ฉันชอบภาพสลักในวิหารเล็กมากกว่าวิหารใหญ่ เพราะมีความอ่อนหวานสวยงามแบบผู้หญิงมากกว่าความขึงขังและค่อนข้างหยาบที่พบในวิหารใหญ่ วิหารของพระนางเนเฟอร์ตารีนั้นอุทิศให้กับเทพีฮาธอร์ (Hathor) เทพีแห่งความรักและความงาม ด้านหน้าของวิหารมีรูปสลักยืน 6 รูป รูปสลัก 4 รูปเป็นรูปขององค์รามเสสเอง ส่วนอีกสองรูปคือ พระนางเนเฟอร์ตารี

วิหารของพระนางเนเฟอร์ตารี
วิหารของพระนางเนเฟอร์ตารี

ปัจจุบันอาบู ซิมเบล ไม่ได้อยู่ในจุดดั้งเดิมที่มีการสลักหินเข้าไปในผนังของหน้าผา เพราะรัฐบาลมีดำริจะสร้างเขื่อนเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม เก็บกักน้ำเพื่อการเกษตรและเพื่อใช้น้ำในการทำกระแสไฟฟ้า ทำให้โบราณสถานหลายร้อยแห่งที่อยู่ใต้เขื่อนลงมาจะต้องจมหาย รวมถึงอาบู ซิมเบล ด้วย ยูเนสโก้ร่วมกับประเทศต่างๆ เช่น อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ฯลฯ จึงเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาโดยการสร้างภูเขาจำลองสูงขึ้นอีก 65 เมตร และย้ายวิหารทั้งสองหลังขึ้นมา ฟังดูเหมือนง่ายแต่ไม่ง่าย โครงการที่แสนมหัศจรรย์นี้ทำให้อาบู ซิมเบลยังคงอยู่ให้คนรุ่นหลังอย่างเรา ได้มีโอกาสเห็น 

หน้าวิหารพระนางเนเฟอร์ตารี
หน้าวิหารพระนางเนเฟอร์ตารี
ภายในวิหารพระนางเนเฟอร์ตารี
ภายในวิหารพระนางเนเฟอร์ตารี
ภาพฟาโรห์รามเสสประหารศัตรูเพื่อแสดงอำนาจเหนือชาติต่างๆ
ภาพฟาโรห์รามเสสประหารศัตรูเพื่อแสดงอำนาจเหนือชาติต่างๆ

ในขณะที่อาบู ซิมเบลนั้นสร้างอุทิศให้กับเทพเจ้า เรายังมีโบราณสถานแบบ Rock cut ที่สำคัญในอียิปต์อีก นั่นคือบรรดาหลุมฝังพระศพของฟาโรห์และเหล่าราชินีในหุบผากษัตริย์ และหุบเขาราชินี ที่ลุกซอร์ ที่หลายๆแห่งเจาะเข้าไปในภูเขาหินขนาดใหญ่ เพื่อใช้เป็นที่อยู่อันนิรันดร์ มองจากภายนอกแทบจะไม่เห็น แต่ภายในกลับสวยงามตระการตาด้วยภาพวาด เพียงแต่แผนผังการเจาะหินอาจจะไม่ซับซ้อนเท่าศาสนสถานในสมัยหลังๆ 

Naqsh-e Rostam เมืองชิราซ อิหร่าน 1,000 ปีก่อนคริสตกาล

สุสานของกษัตริย์ในราชวงศ์อาเคเมนิด
สุสานของกษัตริย์ในราชวงศ์อาเคเมนิด

Naqsh-e Rostam นครโบราณที่อยู่ในแคว้นฟาร์สของอิหร่าน อยู่ห่างจากเมืองสำคัญ Persepolis ไปแค่ 12 กม. เชื่อว่าเป็นสุสานของกษัตริย์องค์สำคัญๆ ในราชวงศ์อาเคเมนิด หรืออาณาจักรเปอร์เซียเก่า (อายุราว 550 ปีก่อนคริสตกาล) อย่างพระเจ้าดาริอุสที่ 1, เซอร์เซสที่ 1, อาร์ตาเซอร์เซสที่ 1, ดาริอุสที่ 2

หลุมศพนี้จะสลักอยู่บนหน้าผาสูงชัน มีลักษณะด้านหน้าเป็นรูปกากบาทที่เป็นที่รู้จักกันในท้องถิ่นว่า “Persian Crosses” ไม้กางเขนแห่งเปอร์เซีย โดยมีทางเข้าอยู่ตรงกลาง ด้านในเป็นห้องโถงสำหรับตั้งโลงพระศพ นอกจากนี้ โดยรอบใกล้ๆ สุสาน ยังมีทั้งภาพสลักนูนสูง นูนต่ำ ที่มีอายุตั้งแต่สมัยราชวงศ์อีลาไมท์ Elamites, อาเคเมนิด Achaemenids ไปจนถึงซัสซาเนี่ยน Sassanians และจารึกที่ทำให้เราได้ทราบเรื่องราวต่างๆ โดยเฉพาะในรัชสมัยของพระเจ้าดาริอุสที่ 1 ที่ทรงขยายอาณาเขตเกรียงไกรครองคลุมหลายต่อหลายชาติทั้ง มีเดีย อีแลม พาร์เทีย อาเรีย แบคเทรีย ไปถึงอินเดีย อียิปต์ บาบีโลเนีย อัสซีเรีย อารเบีย กรีก ลิเบีย นูเบีย เป็นต้น

สุสานของกษัตริย์ดาริอุสที่ 1
สุสานของกษัตริย์ดาริอุสที่ 1

น่าเสียดายที่เราไม่สามารถจะเข้าไปข้างในได้ ทำให้ไม่เห็นการตกแต่ง แต่ถ้าจะให้เดาจากที่เคยเห็นที่อื่นๆ มา น่าจะเจาะเป็นห้องเข้าไปเฉยๆ ไม่ได้มีรายละเอียดอะไรมากนัก

สุสานสลักเป็นรูปกางเขนแห่งเปอร์เซีย
สุสานสลักเป็นรูปกางเขนแห่งเปอร์เซีย
ภาพชายขีม้า เชื่อว่าคือกษัตริย์รอสตัม วีรบุรุษในงานเขียนของชาห์นาเมห์
ภาพชายขีม้า เชื่อว่าคือกษัตริย์รอสตัม วีรบุรุษในงานเขียนของชาห์นาเมห์
จารึกที่หลุมฝังศพของพระเจ้าดาริอุสที่ 1
จารึกที่หลุมฝังศพของพระเจ้าดาริอุสที่ 1

เพตรา จอร์แดน ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล

หน้า The Corinthian Tomb
หน้า The Corinthian Tomb

เพตรา เป็นจุดท่องเที่ยวหลักของจอร์แดน ไม่ว่าจะเป็นเพราะความเก่าแก่ ความลึกลับของสถานที่ และการเข้าถึงที่ค่อนข้างยาก เรื่องราวการค้นพบ ความสวยงามที่ยังคงอยู่ ทำให้เพตราติดอันดับสถานที่ที่ควรได้เห็นสักครั้งก่อนตาย เช่นเดียวกับฉันที่ตั้งใจแน่วแน่ว่าจะต้องไปเห็นเพตราให้ได้สักครั้งในชีวิต

อาณาจักรเพตราก่อตั้งขึ้นในราว 400 ปีก่อนคริสตกาลโดยชาวนาบาทาอีน ซึ่งคุมกองคาราวานการค้าทั้งเครื่องหอมและยางไม้จากอารเบีย ผ้าไหมและเครื่องเทศจากอินเดีย งาช้างและหนังสัตว์จากแอฟริกา ในราวปี ค.ศ. 106 เพตราตกเป็นของโรมันและเจริญรุ่งเรืองต่อมาอีกนับพันปี จนช่วงต้นศตวรรษที่ 12 หลังจากสมัยสงครามครูเสด เพตราก็ค่อยๆหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ มาถึงปีค.ศ. 1812 นักสำรวจชาวสวิส Johann Ludwiq Burckhardt คนเดียวกับที่พบอาบู ซิมเบล เป็นผู้ทำให้เพตรากลับมาเป็นที่รู้จักแก่ชาวโลกอีกครั้งหนึ่ง เขาได้ยินข่าวลือเรื่องเมืองโบราณแห่งนี้ระหว่างที่เดินทางไปๆ มาๆ ระหว่างซีเรียและอียิปต์ ด้วยวิญญาณนักผจญภัยทำให้ เขาหาทางที่จะไปยังเมืองนี้ให้ได้ แม้จะถูกขัดขวางจากชาวพื้นเมืองที่ต้องการจะเก็บเมืองเพตราเป็นความลับก็ตาม

หุบเขาหรือวาดีที่เป็นที่ตั้งของเมืองเพตรา
หุบเขาหรือวาดีที่เป็นที่ตั้งของเมืองเพตรา

เมืองโบราณแห่งนี้ซ่อนตัวอยู่ในหุบเขาหินที่เรียกว่าวาดี (วาดีมูซา หรือหุบเขาโมเสส) จะเข้าไปในเมืองนี้ได้ต้องเดินผ่านช่องหินแคบๆ ระยะทางยาวกิโลกว่าๆ และนั่นทำให้เพตราสามารถซ่อนตัวจากสายตาชาวโลกได้ดีมาตลอด อาณาจักรนี้กว้างใหญ่มาก ประกอบด้วยอาคารเล็กใหญ่ที่มีการเจาะหน้าผาหินเข้าไป โดยเชื่อว่าน่าจะใช้เป็นที่ฝังศพ ซึ่งมีทั้งสุสานของข้าราชการและชนชั้นสูง ถ้าเป็นระดับธรรมดาก็จะเป็นแค่การเจาะหินเป็นช่อง บางช่องมีการสลักเป็นซุ้มหน้าทางเข้า แต่ถ้าเป็นกลุ่มอาคารสำคัญที่เริ่มจาก Royal Tomb อันมี Tomb of Urn เป็น สุสานที่ใหญ่ที่สุด The Silk Tomb ที่สวยด้วยลวดลายของหินอ่อนอยู่ติดกับ The Corinthian Tomb และ The Palace Tomb สุสานกลุ่มนี้จะสลักอยู่บนหน้าผาที่อยู่ตรงกับทางเดินโรมันพอดี โดยจะสลักด้านหน้าเป็นเหมือนอาคารสองชั้น มีเสาโครินเทียนประดับตกแต่ง ด้านในของอาคารเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเจาะเป็นช่องแบบเรียบๆ นอกจากอาคารสำคัญๆ ที่จะมีการสลักเป็นเสาหรือสลักช่องบนริมผนังด้านใน อาคารที่สำคัญที่สุดและสวยที่สุดในเพตราคือ Treasury หรือ El Khazneh และ Monastery หรือ Ad Deir ที่ต้องปีนบันได กว่า 800 ขั้นขึ้นไป 

Monastery หรือ Ad Deir ได้ชื่อนี้เพราะสมัยโรมันมีการสลักรูปกางเขนไว้ด้านใน
Monastery หรือ Ad Deir ได้ชื่อนี้เพราะสมัยโรมันมีการสลักรูปกางเขนไว้ด้านใน

แต่ถ้าเป็นกลุ่มอาคารสำคัญที่เริ่มจาก Royal Tomb อันมี Tomb of Urn เป็น สุสานที่ใหญ่ที่สุด The Silk Tomb ที่สวยด้วยลวดลายของหินอ่อนอยู่ติดกับ The Corinthian Tomb และ The Palace Tomb สุสานกลุ่มนี้จะสลักอยู่บนหน้าผาที่อยู่ตรงกับทางเดินโรมันพอดี โดยจะสลักด้านหน้าเป็นเหมือนอาคารสองชั้น มีเสาโครินเทียนประดับตกแต่ง ด้านในของอาคารเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเจาะเป็นช่องแบบเรียบๆ นอกจากอาคารสำคัญๆ ที่จะมีการสลักเป็นเสาหรือสลักช่องบนริมผนังด้านใน อาคารที่สำคัญที่สุดและสวยที่สุดในเพตราคือ Treasury หรือ El Khazneh และ Monastery หรือ Ad Deir ที่ต้องปีนบันได กว่า 800 ขั้นขึ้นไป

The Treasury หรือ El Khazneh
The Treasury หรือ El Khazneh

ชื่อ Treasury มีที่มาจากตำนานที่เชื่อว่ามีสมบัติโจรสลัดฝังอยู่ หรือบ้างก็ว่าเป็นที่เก็บสมบัติฟาโรห์โดยซ่อนอยู่ ใต้รูปสลักรูปโถบนสุดตรงกลาง แต่คนแถวนี้เขาว่าตำนานนี้แต่งขึ้นจากคนในท้องถิ่นเพื่อหาเรื่องกีดกันคนแปลกหน้าออกจากพื้นที่ มีการขุดค้นพบหลุมฝังศพใต้อาคารแห่งนี้ในปีค.ศ. 2003 มีโครงกระดูกถึง 11 โครง หนึ่งในนั้นเชื่อว่าน่าจะเป็นที่ฝังศพของกษัตริย์อเรตัสที่ 4 (ค.ศ. 8-40) ส่วนอาคารด้านบนน่าจะเป็นวิหารที่ทำพิธีบูชากษัตริย์พระองค์นี้ ปัจจุบันเขาไม่ให้เข้าไปชมข้างในเสียแล้ว แต่ยังพอมองลงไปเห็นที่ขุดค้นได้ลางๆ 

อาคารที่อยู่ลึกเข้าไปในวาดี
อาคารที่อยู่ลึกเข้าไปในวาดี
รายละเอียดด้านหน้าของ Monastery
รายละเอียดด้านหน้าของ Monastery
การสลักหินเป็นอาคารในเพตรา
การสลักหินเป็นอาคารในเพตรา
The Palace Tomb และ The Corinthian Tomb
The Palace Tomb และ The Corinthian Tomb
ลวดลายหินอ่อนในสุสาน
ลวดลายหินอ่อนในสุสาน
The Palace Tomb และ The Corinthian Tomb
The Palace Tomb และ The Corinthian Tomb

ถ้ำอชันตา อินเดีย ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล ถึงค.ศ. 480 หรือ 650

ด้านหน้าถ้ำหมายเลข 9
ด้านหน้าถ้ำหมายเลข 9

อชันตา ตั้งอยู่ในเมืองโอรังคาบัด รัฐมหาราษฏระ ทางตะวันตกของประเทศอินเดีย โบราณสถานที่อชันตาทั้งหมดเป็น Rock cut แบบที่เจาะเข้าไปในภูเขา หรือวัดถ้ำ สร้างอุทิศให้ศาสนาพุทธทั้งนิกายมหายานและเถรวาท ได้ชื่อว่าเป็นวัดถ้ำในพุทธศาสนาที่งดงามและเก่าแก่ที่สุดในโลก มีทั้งหมด 30 ถ้ำ เรียงรายอยู่บนหน้าผาหินสูงลิบลิ่ว ในจำนวนนี้มี 5 ถ้ำ ที่เป็นเจติยสถานและอีก 25 ถ้ำ เป็นวิหารมีอายุตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 3 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 11 หลังจากนั้นศาสนาพุทธเสื่อมความสำคัญลง ทำให้อชันตาถูกทิ้งร้างและปกคลุมไปด้วยป่ารกชัฏอยู่หลายร้อยปี จนถึงพุทธศักราช 1819 เมื่อคณะล่าสัตว์ที่นำโดยนายทหารอังกฤษ จอห์น สมิธ บุกมาถึงบริเวณหน้าผาฝั่งตรงข้ามและสังเกตเห็นวงโค้งของซุ้มหน้าถ้ำที่ 10 รำไรออกมาเหนือยอดไม้ 

ถ้ำอชันตา
ถ้ำอชันตา

เนื่องจากอชันตาอยู่บนหน้าผาใหญ่ใจกลางป่า ต้องมาขึ้นรถตรงจุดที่เรียกว่าทีจังก์ชั่น T Junction ซึ่งจะเป็นทั้งที่จอดรถส่วนตัว รถบัส ร้านอาหาร และซุ้มขายของ ด้านหลังของทั้งหมดนี้เป็นที่จอดรถบัสที่จะพาขึ้นไปยังอชันตา รถมี 2 แบบ 2 ราคา คือรถปรับอากาศ และ รถธรรมดา ส่วนใหญ่เราจะเลือกนั่งรถธรรมดาเพราะได้บรรยากาศมากกว่า ทุกวันเราจะได้เจอเพื่อนร่วมทางแปลกๆใหม่ๆ บางครั้งเป็นกลุ่มนักเรียนที่พวกสาวๆจะแอบมองพวกเราอย่างเขินๆ ในขณะที่เด็กชายจะตรงเข้ามาขอจับมืออย่างเปิดเผย บางครั้งเจอกลุ่มนักศึกษาเข้ามานั่งคุย ทำให้เวลา 15 นาทีผ่านไปไม่น่าเบื่อ เมื่อรถมาถึงเรายังต้องไต่บันไดขึ้นไปอีก ไม่ได้เดินเข้าไปเจอเลยเหมือนเอลโลร่า

ความงามของอชันตาคือเงาสะท้อนของศรัทธาที่ช่างฝีมือมีต่อศาสนาและความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นลายสลักที่แสนอ่อนช้อยบนหัวเสา เจดีย์ พระพุทธรูป ถ้ำที่สวยที่สุดของอชันตาคือ ถ้ำเลขที่ 26 ที่ตรงกลางคือเจดีย์ ด้านหน้ามีพระพุทธรูปนั่ง มีเสาที่สลักละเอียดยิบ เพดานแกะเลียนแบบโครงไม้ ด้านข้างสลักเป็นพระนอน และสาวก งามจนแทบลืมหายใจ 

ถ้ำ 26 ที่สวยที่สุด
ถ้ำ 26 ที่สวยที่สุด
การสลักหินในถ้ำที่ 26
การสลักหินในถ้ำที่ 26

ส่วนที่พิเศษสุดของอชันตา คือภาพเขียนสีบนผนังถ้ำไม่ว่าจะเป็นถ้ำที่ 1 ที่มีรูปพระโพธิสัตว์ปัทมปาณีแลวชิรปาณี ถ้ำที่ 2 เป็นเรื่องราวในชาดกและภาพเด่นเป็นหนุ่มเปอร์เซีย 2 คนใส่ถุงเท้าลาย ถ้ำ 9 และ 10 ที่มีรูปพระพุทธเจ้าในอริยาบถต่างๆบนเสาและ ผนังภาพวาด dying princess เป็นภาพเด่นของถ้ำที่ 16 อีกถ้ำที่มีภาพวาดสวยงามมาก คือถ้ำ 17 เป็นภาพชาดกต่างๆ อย่างเวสสันดรชาดกซึ่งอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์มากที่สุด เทคนิคการวาดภาพที่นี่ เรียกว่า tempera โดยการบดสีผสมเข้ากับยางจากพืชและกาวที่ได้จากสัตว์ทาไปบนพื้นแห้ง ซึ่งทำให้สีติดคงทน 

ภาพวาดพระโพธิสัตว์ปัทมปาณีในถ้ำหมายเลข 1
ภาพวาดพระโพธิสัตว์ปัทมปาณีในถ้ำหมายเลข 1
ถ้ำ 26 ที่สวยที่สุด
ถ้ำ 26 ที่สวยที่สุด

การค้นพบถ้ำที่อยู่กลางหน้าผาชันแถมถูกทิ้งร้างไปหลายร้อยปีเป็นเรื่องโรแมนติคไม่แพ้การค้นพบเมืองโบราณอื่นๆ แต่ฉันก็ยังทำใจไม่ได้กับการที่พ่อหนุ่มจอห์นเซ็นชื่อตนเองลงไปบนภาพเขียนโบราณในถ้ำที่ค้นพบ 

สาวๆ นักท่องเที่ยวที่อชันตา
สาวๆ นักท่องเที่ยวที่อชันตา

ถ้ำเอลโลร่า ศตวรรษที่ 6-10

หน้าถ้ำหมายเลข 32
หน้าถ้ำหมายเลข 32

ถ้ำเอลโลราอยู่ห่างจากเมืองโอรังคาบัด เมืองหลวงของรัฐมหาราษฎร์ประมาณ 30 กิโลเมตร มีทั้งถ้ำที่สร้างให้กับศาสนาพุทธ ฮินดู และเชน มีอายุอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 10 ถึง 18 เอลโลรามีทั้งหมด 34 ถ้ำ เรียงรายเป็นระยะทาง 2 กิโลเมตร เริ่มต้นจากถ้ำเบอร์ 1-12 เป็นถ้ำในพระพุทธศาสนา ถ้ำ 13-29 สร้างอุทิศให้ศาสนาฮินดู ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไศวนิกาย มีไวษณพนิกาย ถ้ำเบอร์ 26 และถ้ำ 30-34 เป็นถ้ำในศาสนาเชน โบราณสถานในเอลโลร่าจะผสมผสานระหว่างวัดถ้ำและโบราณสถานแบบลอยตัว คือสกัดลงไปในหินทั้งก้อนให้เป็นอาคารทั้งหลัง ที่เรียกว่า Monolithic 

ถ้ำหมายเลข 16 หรือถ้ำไกรลาศ อุทิศให้ศาสนาฮินดู
ถ้ำหมายเลข 16 หรือถ้ำไกรลาศ อุทิศให้ศาสนาฮินดู

ถ้ำเอลโลราอยู่ห่างจากเมืองโอรังคาบัด เมืองหลวงของรัฐมหาราษฎร์ประมาณ 30 กิโลเมตร มีทั้งถ้ำที่สร้างให้กับศาสนาพุทธ ฮินดู และเชน มีอายุอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 10 ถึง 18 เอลโลรามีทั้งหมด 34 ถ้ำ เรียงรายเป็นระยะทาง 2 กิโลเมตร เริ่มต้นจากถ้ำเบอร์ 1-12 เป็นถ้ำในพระพุทธศาสนา ถ้ำ 13-29 สร้างอุทิศให้ศาสนาฮินดู ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไศวนิกาย มีไวษณพนิกาย ถ้ำเบอร์ 26 และถ้ำ 30-34 เป็นถ้ำในศาสนาเชน โบราณสถานในเอลโลร่าจะผสมผสานระหว่างวัดถ้ำและโบราณสถานแบบลอยตัว คือสกัดลงไปในหินทั้งก้อนให้เป็นอาคารทั้งหลัง ที่เรียกว่า Monolithic

ถ้ำแรกที่เข้าประตูไปถึงแล้วจะเจอเลยคือถ้ำหมายเลข 16 หรือถ้ำไกรลาศ อันเป็นถ้ำฮินดู ถ้ำ 16 นี้ถือเป็นงานสลักหินที่งดงามวิจิตรที่สุดในจำนวนทั้งหมด เพราะสกัดหินก้อนมหึมาออกมาเป็นวิหารลอยตัวที่สลักเสลาทั้งด้านนอกและด้านในเป็นลวดลายต่างๆอย่างละเอียดยิบ ทำเป็นสองชั้น ด้านบนสุดสลักเป็นเขาพระสุเมรุ ซึ่งจะเห็นได้ก็ต่อเมื่อปีนเขาขึ้นไปดูจากด้านบน ภาพสลักเล่าเรื่องบนผนังด้านข้างขนาดใหญ่ ด้านทิศใต้เป็นเรื่องมหาภารตะ และทางทิศเหนือเป็นเรื่องรามยณะ ถ้ำนี้เป็นถ้ำที่เราใช้เวลากันนานมากและกลับมาชมซ้ำแล้วซ้ำอีกในเวลาต่างๆกัน เพราะจะมีนักท่องเที่ยวเนืองแน่นอยู่ตลอด เวลาที่ดีที่สุดคือช่วงเช้าทันทีที่เขาเปิด และตอนเย็นก่อนเขาปิด 

ถ้ำไกรลาศ คืองานสลักหินทั้งก้อนออกมาเป็นศาสนาสถานที่งดงามที่สุด
ถ้ำไกรลาศ คืองานสลักหินทั้งก้อนออกมาเป็นศาสนาสถานที่งดงามที่สุด

ถ้ำพุทธส่วนใหญ่จะสร้างขึ้นเป็นวิหาร หรืออารามสำหรับพระ นอกจากถ้ำ 10 ที่สร้างเป็นเจติยสถานในศาสนาพุทธแบบมหายาน โดยมีรูปสลักเจดีย์ขนาดใหญ่อยู่สุดห้อง ด้านหน้าสลักเป็นรูปพระพุทธเจ้าประทับนั่งห้อยพระบาทในท่าปรลัมพปาทาสนะ (ท่านั่งห้อยพระบาท ที่พระชานุหรือเข่าห่างกัน แต่พระบาทชิดกัน) บนบัลลังก์ โดยที่พระบาทมีรูปกลีบบัวรองรับ พระหัตถ์แสดงปางธรรมจักรประวรรตนะมุทรา (ปฐมเทศนา) เพดานสลักหินเป็นรูปโค้งก้างปลาเลียนแบบโครงหลังคาไม้ ที่น่าอัศจรรย์ที่สุดคือระยะห่าง ช่องไฟ ความโค้ง ขนานเท่ากัน จนไม่อยากเชื่อว่านี่คือการแกะสลักหินในถ้ำมืดๆ นอกเหนือจากถ้ำพุทธถ้ำที่ 10 ที่ทำให้เรารู้สึกปิติไปกับเสียงสวดก้องกังวานที่คุณลุงคนเฝ้าสวดให้ฟังแล้ว ถ้ำเชนเป็นกลุ่มถ้ำที่ฉันชอบมากเพราะสลักเสลาได้ละเอียดยิบ ผนังเต็มไปด้วยรูปเคารพ และยังมีภาพเขียนสีหลงเหลือให้เห็นอยู่บ้าง โดยเฉพาะถ้าคนเฝ้าเห็นเราเป็นนักท่องเที่ยวประเภทไม่รีบเร่ง เขาจะเข้ามาเรียกให้ขึ้นไปดูภาพเขียนฝาผนังที่ซ่อนอยู่ในห้องชั้นกลางที่คนไม่ค่อยขึ้นไป เพื่อแลกกับทิปเล็กๆน้อยๆ

ด้านในถ้ำหมายเลข 10 อุทิศให้พุทธศาสนา
ด้านในถ้ำหมายเลข 10 อุทิศให้พุทธศาสนา
นอกเหนือจากถ้ำพุทธถ้ำที่ 10 ที่ทำให้เรารู้สึกปิติไปกับเสียงสวดก้องกังวานที่คุณลุงคนเฝ้าสวดให้ฟังแล้ว ถ้ำเชนเป็นกลุ่มถ้ำที่ฉันชอบมากเพราะสลักเสลาได้ละเอียดยิบ ผนังเต็มไปด้วยรูปเคารพ และยังมีภาพเขียนสีหลงเหลือให้เห็นอยู่บ้าง โดยเฉพาะถ้าคนเฝ้าเห็นเราเป็นนักท่องเที่ยวประเภทไม่รีบเร่ง เขาจะเข้ามาเรียกให้ขึ้นไปดูภาพเขียนฝาผนังที่ซ่อนอยู่ในห้องชั้นกลางที่คนไม่ค่อยขึ้นไป เพื่อแลกกับทิปเล็กๆน้อยๆ
รายละเอียดการสลักหิน
รายละเอียดการสลักหิน

ทั้งอชันตาและเอลโลร่า ทำให้ฉันทึ่งทุกครั้งที่เห็นงานที่ไม่ใช่แค่การแกะหินเป็นก้อนๆซ้อนขึ้นไป แต่นี่คือการค่อยๆ สกัดหน้าผาหินที่ละน้อย ไหนจะต้องมีการวางแผนล่วงหน้าว่าจะสลักตรงไหนเข้าไปอย่างไร ไหนจะต้องสกัดหินให้เข้าไปเป็นห้องข้างในโดยไม่ทำให้ข้างนอกพัง ไหนจะสลักประติมากรรมนูนสูงบนหินที่ออกมาสมบูรณ์งดงามและได้จังหวะสมดุลย์ ในยุคสมัยที่ไม่มีเครื่องมือที่อันเหมาะสมทันสมัย และในความมืดที่แสงสว่างส่องเข้าไปได้น้อยมาก จะเป็นงานที่ใช้ความอดทนและความศรัทธาแค่ไหน ข้อสำคัญ เขาไม่ได้สร้างแค่ที่เดียวแต่มีเป็นหลายสิบถ้ำ และแต่ละถ้ำไม่ได้เล็กๆ บางถ้ำมีถึง 4-5 ชั้น แต่ละชั้นแตกต่างกันไปตามฝีมือช่าง มีหลายถ้ำที่สกัดไปได้หน่อยก็ทิ้งไป เราเดากันว่าน่าจะเป็นเพราะเจาะแล้วไม่ลงตัว หรือเจาะแล้วพบว่าไม่แข็งแรงพอที่จะทำต่อไป

ส่วนหนึ่งของถ้ำไกรลาศ
ส่วนหนึ่งของถ้ำไกรลาศ
รายละเอียดการสลักหัวเสาที่ละเอียดและแสดงถึงศรัทธาอันสูงสุด
รายละเอียดการสลักหัวเสาที่ละเอียดและแสดงถึงศรัทธาอันสูงสุด
รายละเอียดการสลักหินในถ้ำเชน
รายละเอียดการสลักหินในถ้ำเชน
สาวทำความสะอาด
สาวทำความสะอาด

ลาลิเบล่า เอธิโอเปีย ศตวรรษที่ 12-13

ด้านบนของโบสถ์ St.George เป็นรูปกางเขนด้านเท่า
ด้านบนของโบสถ์ St.George เป็นรูปกางเขนด้านเท่า

ถ้าอชันตาและเอลโลร่า คือที่สุดของความศรัทธาในศาสนาพุทธ ฮินดูและเชน ลาลิเบล่า ก็คือที่สุดแห่งศรัทธาในศาสนาคริสต์

ลาลิเบล่าเป็นเมืองเล็กๆ ที่ตั้งอยู่บนเขาสูงค่อนไปทางเหนือของประเทศเอธิโอเปีย เป็นเมืองที่เล็กมาก จนไม่น่าเชื่อว่าเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญ แหล่งท่องเที่ยวของลาลิเบล่าอยู่กลางเมือง เป็นโบสถ์ที่เกิดจากการเจาะลงไปและเข้าไปในหินภูเขาไฟสีแดง มีทั้งสิ้น 11 โบสถ์ มีทั้งสามแบบคือแบบลอยตัว ซึ่งคือการสกัดลงไปในหินทั้งก้อนให้เป็นอาคารทั้งหลัง สองเจาะเข้าไปในหน้าผาหิน และสามสร้างอาคารในถ้ำธรรมชาติ และเช่นเดียวกับที่อินเดีย ความมหัศจรรย์ของสถานที่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแห่งนี้อยู่ที่นอกจากจะแกะสลักหินทั้งก้อนให้กลายเป็นโบสถ์แล้ว ภายในยังมีการแกะสลักเข้าไปเป็นห้องใหญ่ด้านในที่มีการประดับตกแต่งที่สวยงามโดยไม่มีการผิดพลาด 

ด้านบนของโบสถ์ St.George เทียบจากระดับก้อนหิน
ด้านบนของโบสถ์ St.George เทียบจากระดับก้อนหิน

โบสถ์สำคัญที่เป็นต้นเหตุให้ฉันเลือกเดินทางมาเอธิโอเปีย คือ Bet Giyorgis (House of St. George) ฉันได้เห็นรูปของโบสถ์นี้มานานมาก เคยอัศจรรย์ใจในความประหลาดของตัวอาคารหินที่สลักเป็นรูปทรงกางเขนด้านเท่าแบบกรีก โบสถ์หลังนี้แยกตัวอยู่อย่างโดดเดี่ยวใกล้กับแม่น้ำจอร์แดนซึ่งตั้งชื่อตามแม่น้ำที่พระเยซูทรงรับการ ล้างบาปจากนักบุญจอห์น เดอะ แบ็บทิสต์ Bet Giyorgis เกิดจากการสกัดหินก้อนใหญ่ลงไปเป็นโบสถ์ สูงประมาณ 15 เมตร เจาะทางเดินเป็นทางลงวนรอบโบสถ์ ผนังทางเดินมีช่องเล็กๆ แคบๆ เจาะเข้าไปคล้ายถ้ำอยู่หลายจุด สอบถามได้ความว่าเป็นที่ที่พวกแสวงบุญมาพักและบางคนก็สิ้นชีวิตไปในถ้ำเหล่านี้ Bet Giyorgis จะคึกคักมากในช่วงเทศกาล อย่างเช่น เทศกาล Timkat (ฉลองการล้างบาปของพระเยซู) ในวันที่ 19 มกราคม เป็นพิธีประจำปีที่คนจากทั่วสารทิศจะมารวมตัวกัน เสียดายที่ฉันอยู่ไม่ถึง ข้างในของโบสถ์มีการเจาะหินเข้าไปเป็นห้องกว้างสูง และเจาะช่องหน้าต่างให้แสงเข้าด้วย 

ความลึกที่ต้องเจาะหินลงไป
ความลึกที่ต้องเจาะหินลงไป
ผนังทางเดินมีช่องเล็กๆ แคบๆ เจาะเข้าไปคล้ายถ้ำอยู่หลายจุด สอบถามได้ความว่าเป็นที่ที่พวกแสวงบุญมาพักและบางคนก็สิ้นชีวิตไปในถ้ำเหล่านี้ Bet Giyorgis จะคึกคักมากในช่วงเทศกาล อย่างเช่น เทศกาล Timkat (ฉลองการล้างบาปของพระเยซู) ในวันที่ 19 มกราคม เป็นพิธีประจำปีที่คนจากทั่วสารทิศจะมารวมตัวกัน เสียดายที่ฉันอยู่ไม่ถึง ข้างในของโบสถ์มีการเจาะหินเข้าไปเป็นห้องกว้างสูง และเจาะช่องหน้าต่างให้แสงเข้าด้วย
Tomb of Adam
Tomb of Adam

ส่วนโบสถ์ที่ใหญ่ที่สุดในจำนวน 11 แห่ง คือ Bet Medhane Alem ซึ่งเป็นโบสถ์หนึ่งที่เจาะลงไปข้างล่าง และเราน่าจะได้เห็นส่วนหลังคาที่สลักเป็นลายไม้กางเขน และเสาหินที่เรียงรายรอบๆโบสถ์ ที่แต่เดิมมีอยู่ถึง 72 ต้น จากด้านบน แต่ตอนที่ไปทางยูเนสโกเขากำลังก่อสร้างหลังคาคลุม นัยว่าเพื่อป้องกันความสึกหรอของโบสถ์ เลยทำให้มองดูไม่ได้ ข้างในโบสถ์ถูกสกัดเป็นห้องหลายห้อง ชั้นในสุดคือ ห้องศักดิ์สิทธิ์ (Holy of holy) ที่เข้าได้เฉพาะพระเท่านั้น ที่นี่เป็นที่เก็บรักษาไม้กางเขนแห่งลาลิเบล่าทำด้วยทองคำ หนัก 7 กิโล ตอนแรกหลวงพ่อไม่ยอมเอาออกมาให้ชม เนื่องเพราะไม้กางเขนนี้เคยโดนขโมยไปเมื่อปี ค.ศ. 1997 โดยนักท่องเที่ยว (หรือคนที่ปลอมมาเป็นนักท่องเที่ยว) แล้วในที่สุดก็ไปตามเจอที่เบลเยี่ยม และนำกลับคืนมาที่นี่ในอีก 2 ปีต่อมา โดยรัฐบาลต้องจ่ายเงินไปจำนวนหนึ่ง เราต้องส่งไกด์ไปเจรจาอ้อนวอนพร้อมสัญญาว่าจะบริจาคเงินทำบุญจึงได้เห็นเป็นบุญตา

การตกแต่งข้างในโบสถ์
การตกแต่งข้างในโบสถ์
พระและกางเขนประจำโบสถ์ แต่ละโบสถ์จะคล้ายๆกัน
พระและกางเขนประจำโบสถ์ แต่ละโบสถ์จะคล้ายๆกัน

ถัดมามีกลุ่มโบสถ์ 3 หลัง โบสถ์หลังที่สำคัญที่สุด คือ Bet Maryam (House of St. Mary) ทั้งเก่าแก่ที่สุดและเต็มไปด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ สลักอยู่บนเพดาน ไม่ว่าจะเป็นดาวเดวิด ที่เป็นตัวแทนของคัมภีร์พันธสัญญาเก่า และไม้กางเขนที่แทนคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ และยังมีเสา Light of Pillar ที่มีสัญลักษณ์อัลฟ่าและโอเมก้า อันหมายถึงพลังแห่งอดีตและอนาคตของโลกที่แล่นผ่านเสาต้นนี้ โบสถ์ถัดมา ชื่อ Bet Debre Sina (House of Mt. Sinai) หรือมีอีกชื่อหนึ่งคือ Bet Mikael เป็นโบสถ์ที่กำลังทำพิธี เราซอกแซกเดินไปตามทางแคบๆ ที่เจาะเข้าไปในหินตามเสียงเพลงสวดที่ก้องกังวานไปจนถึงอาคารหินแคบๆเล็กๆแต่เพดานสูง ณ ที่นั้น กลุ่มพระผิวดำห่มคลุมด้วยผ้าขาวผืนใหญ่ มือหนึ่งถือไม้เท้า อีกมือหนึ่งถือที่เขย่าจังหวะ กำลังร้องเพลงสวดพร้อมกับโยกตัวประสานกับเสียง กลองที่กลุ่มนักดนตรีหนุ่มนั่งบรรเลง แสงสว่างที่ส่องผ่านช่องประตูเข้ามาทางด้านหลัง ช่วยเพิ่มมิติและอากาศที่ค่อนข้างเยือกเย็นเหมือนอยู่ในถ้ำก็ทำให้บรรยากาศ เหมือนอยู่ในความฝัน หรือไม่ก็เป็นหนังขาวดำ 35 มิล พร้อมเสียงในฟิลม์ ติดกันเหมือนฝาแฝดที่ใช้ทางเข้าร่วมกันคือโบสถ์ Bet Golgotha 

Bet Maryam (House of St. Mary)
Bet Maryam (House of St. Mary)
โบสถ์ Abba Libanos หนึ่งในโบสถ์นอกเมือง
โบสถ์ Abba Libanos หนึ่งในโบสถ์นอกเมือง
โบสถ์ถัดมา ชื่อ Bet Debre Sina (House of Mt. Sinai) หรือมีอีกชื่อหนึ่งคือ Bet Mikael เป็นโบสถ์ที่กำลังทำพิธี เราซอกแซกเดินไปตามทางแคบๆ ที่เจาะเข้าไปในหินตามเสียงเพลงสวดที่ก้องกังวานไปจนถึงอาคารหินแคบๆเล็กๆแต่เพดานสูง ณ ที่นั้น กลุ่มพระผิวดำห่มคลุมด้วยผ้าขาวผืนใหญ่ มือหนึ่งถือไม้เท้า อีกมือหนึ่งถือที่เขย่าจังหวะ กำลังร้องเพลงสวดพร้อมกับโยกตัวประสานกับเสียง กลองที่กลุ่มนักดนตรีหนุ่มนั่งบรรเลง แสงสว่างที่ส่องผ่านช่องประตูเข้ามาทางด้านหลัง ช่วยเพิ่มมิติและอากาศที่ค่อนข้างเยือกเย็นเหมือนอยู่ในถ้ำก็ทำให้บรรยากาศ เหมือนอยู่ในความฝัน หรือไม่ก็เป็นหนังขาวดำ 35 มิล พร้อมเสียงในฟิลม์ ติดกันเหมือนฝาแฝดที่ใช้ทางเข้าร่วมกันคือโบสถ์ Bet Golgotha
พระเอธิโอเปียนขณะทำพิธี
พระเอธิโอเปียนขณะทำพิธี

วันที่ออกไปชมกลุ่มโบสถ์เก่าที่อยู่นอกเมืองเป็นวันที่ฉันชอบมาก แต่แรกไกด์พยายามจะจัดคิวให้ไปแค่ที่เดียว โดยบอกว่ามันไกลมาก แต่มีหรือเราจะยอม ทำให้ต่อรองมาได้เป็น 4 แห่ง นี่ยังไม่นับที่ที่ไกด์เขาว่าต้องขี่ลาไปนะ เพราะไม่มีใครยอมไปกับฉันสักคน ถ้าโบสถ์และบรรยากาศในเมืองดูโบราณราวสมัยคริสตกาลแล้ว ที่นี่ก็ยิ่งกว่า โบสถ์ที่ฉันชอบที่สุดในกลุ่มนี้ คือ Arbatu Ensessa เป็นโบสถ์เก่าแก่ที่เก่ากว่าโบสถ์ในเมืองมาก รถเข้าไม่ถึง ต้องเดินเข้าไป ทางร่มรื่นด้วยไม้สูงและกระบองเพชรแชนเดอเลียพุ่มโตสูงกว่าฉันสองเท่า ระหว่างทางฉันได้ยินเสียงร้องเพลงสวดดังแว่วมาตามลม พอพ้นหมู่ไม้ถึงบริเวณหน้าตัวโบสถ์ ฉันเห็นชาวบ้านมานั่งชุมนุมกันเต็มลานดิน ทั้งผู้สูงอายุและเด็กหนุ่ม เขามารอเพื่อให้คุณพ่อสวดมนต์ภาวนาให้ โดยทำพิธีกันกลางแจ้งนี่แหละ ชาว บ้านจะพากันเข้าแถว ส่วนหลวงพ่อจะใช้ไม้กางเขนอันยักษ์แตะลากไปทั่วตัว พร้อมกับพึมพำท่องมนต์ไปพลาง เป็นพิธีที่ Primitive มากๆ ควบคู่ไปกับความศักดิ์สิทธิ์ โบสถ์นี้สร้างแบบเจาะเข้าไปในภูเขาและอยู่ต่ำกว่าพื้นดินพอสมควร เราต้องไต่ลงไป ข้างในค่อนข้างมืด และเสียงสวดที่ฉันได้ยินก็มาจากพิธีกรรมในโบสถ์นี่เอง พิธีนี้คล้ายคลึงกับโบสถ์ในเมืองที่เราไปมาเมื่อวาน และที่นี่ นอกจากไม้กางเขนประจำโบสถ์แล้ว คุณพ่อจะไปนำคัมภีร์ โบราณมาเปิดให้เราชม พร้อมให้ถ่ายรูปด้วย 

Bet Maryam (House of St. Mary)
Bet Maryam (House of St. Mary)
โบสถ์ Abba Libanos หนึ่งในโบสถ์นอกเมือง
โบสถ์ Abba Libanos หนึ่งในโบสถ์นอกเมือง

จากการได้มีโอกาสเดินทางไปตามสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายเหล่านี้ ฉันค้นพบว่าในสมัยโบราณความเชื่อและการนับถือศาสนาต่างๆมีความสำคัญต่อจิตใจของผู้คน ความศรัทธาก่อให้เกิดการสร้างงานศิลปะสารพัดแบบ เมื่อมองไปถึงความงดงาม อ่อนช้อย สัญลักษณ์ที่สื่อออกมาในรูปแบบที่แม้แต่คนสมัยใหม่อย่างเรายังอดที่จะทึ่งและประทับใจไม่ได้  

Story & Photos: Sivika Prakobsantisukh 

Share

Amidst the myriad destinations, the writer Sivika Prakobsantisukh has traversed, she has witnessed the profound impact of faith and belief, manifested in diverse forms of artistic expression. These expressions range from grand architectural marvels to intricate paintings and sculptures, and extend to the embodiment of beliefs in individuals. Religious faith stands out as a particularly potent force shaping human creations.

“Beyond the creation of works dedicated to these beliefs, I’ve also observed the persistent efforts to supersede or replace existing beliefs with new ones. Upon the ascension of a new pharaoh, the names of their predecessors were often erased. The rise of a new deity could lead to the fading of older gods. While some religions share common roots and acknowledge a single supreme being, they differ in their nomenclature. Many of the world’s conflicts stem from these disparities in belief. When the Spanish conquistadors invaded indigenous civilizations like the Maya, Aztec, or Inca, they sought to dismantle the prevailing belief systems by destroying sacred sites and erecting their own churches in their stead, aiming to establish a new order of faith.

These observations have instilled in me a profound admiration for the unwavering dedication, unwavering devotion, and, of course, the unwavering faith that humanity exhibits. What further astonishes me is the universality of this faith, transcending the boundaries of individual religions.”

The writer took us to different places and cultures to show us how faith and belief can move mountains;

Abu Simbel, Egypt: A Timeless Marvel
Your journey began at Abu Simbel, an ancient Egyptian temple complex carved into the sandstone cliffs along the banks of the Nile River, near the southern border of Egypt. This UNESCO World Heritage Site, dating back over 3,200 years, stands as a testament to the architectural brilliance and unwavering faith of the ancient Egyptian

Naqsh-e Rostam: A Chronicle of Ancient Persia
A captivating archaeological site nestled within Iran’s Fars Province, stands as a testament to the grandeur of the ancient Persian Empire. Situated a mere 12 kilometers northwest of the majestic city of Persepolis, this necropolis served as the final resting place for several prominent Achaemenid kings, who ruled over a vast empire spanning from the Indus River to the Aegean Sea during the 6th to 4th centuries BCE.

Petra: A Rose-Red City Half as Old as Time
Petra, an ancient city carved into the rose-colored sandstone cliffs of Jordan, stands as a testament to the ingenuity and artistry of the Nabataean civilization. Its captivating blend of historical significance, enigmatic allure, and relative inaccessibility has propelled it to the top of many travelers’ bucket lists, including yours.

Ajanta Caves: A Journey into the Spiritual Realm
Nestled amidst the lush greenery of Maharashtra, India, the Ajanta Caves stand as a testament to the enduring legacy of Buddhism and the artistic mastery of its devotees. These 30 rock-cut cave temples, dating back to the 2nd century BCE to about 480 CE, have earned the title of being “the finest surviving examples of ancient Indian art.”

Ellora Caves: A Tapestry of Faith and Artistic Grandeur
Ellora Caves stand as a testament to the harmonious coexistence of three great religions: Hinduism, Buddhism, and Jainism. Spanning over 300 years of construction, from the 6th to the 10th centuries CE, these 34 rock-cut cave temples represent the culmination of artistic mastery, spiritual devotion, and religious tolerance.

Lalibela: A Sacred City Carved from Stone
A city renowned for its extraordinary collection of 11 rock-hewn churches, dating back to the 12th and 13th centuries. These architectural marvels, sculpted from the very bedrock of the earth, stand as testaments to the enduring faith and artistic brilliance of Ethiopia’s past.